ใบเตย Pandan leaves สมุนไพร กลิ่นหอม ต้นเตยเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ รักษาเบาหวาน ใบเตยนิยมนำทำอาหารให้กลิ่นหอม และ ให้สีเขียวจากธรรมชาติ
ต้นเตย หรือที่เรียกกันว่า เตยหอม มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Pandan leaves ชื่อวิทยาศาสตร์ของเตย คือ Pandanus amaryllifolius Roxb. ชื่อเรียกอื่นๆ ของเตยนั้น เช่น ใบส้มม่า ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง ต้นลำเจียก เตยทะเลลำ เป็นต้น
เตยในสังคมไทย
พืชที่อยู่คู่ครัวไทย หลีกหนีไม่พ้น หนึ่งในในั้น คือ ใบเตยหอม เนื่องจากอาหารไทยนิยมใช้ใบเตยมาประกอบอาหาร โดยการนำมาแต่งกลิ่นและสีของอาหาร ใบเตยจะให้สีเขียวแบบธรรมชาติ การปลูกใบเตยจึงมีอยู่ทั่วไปในทุกบ้านของสังคมไทย ปัจจุบัน เตยเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย มีการส่งออกใบเตยรูปแบบใบแช่แข็งในหลายประเทศทั่วโลกที่มีชุมชนชาวไทยอาศัยอยู่
ชนิดของเตย
สำหรับต้นเตยนั้น มี 2 ชนิด คือ เตยหนาม และ เตยไม่มีหนาม โดยรายละเอียดดังนี้
- เตยหนาม เรียกว่า ต้นลำเจียก เตยทะเลลำ ซึ่ง ต้นเตยจะออกดอก และดอกมีกลิ่นหอม เตยหนามนั้นไม่นิยมนำใบมาประกอบอาหาร และนิยมนำมาใช้ทำเครื่องจักสาน
- เตยไม่มีหนาม เรียกว่า เตย หรือ เตยหอม ซึ่งลักษณะของลำต้นจะเล็ก ไม่มีดอก นิยมนำมาใช้ประกอบอาหาร หรือ ทำขนมหวาน
ลักษณะของต้นเตย
เตย เป็นไม้ยืนต้น มีพุ่มเล็ก ลักษณะเป็นกอ ลำต้นของเตยอยู่ใต้ดิน ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นทางยาว สีเขียวเข้ม มัน ขอบของใบเรียบมีกลิ่นหอม ซึ่งใบของเตย เราสามารถนำมาทำสีผสมอาหาร ให้สีเขียวได้
คุณค่าทางอาหารของเตย
นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบเตยหอม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 35 กิโลแคลลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย เบต้าแคโรทีน 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 8 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 124 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 4.6 กรัมและโปรตีน 1.9 กรัม
ใบเตย นั้นจะมีน้ำมันหอมระเหย และสารให้สีเขียว ซึ่งในน้ำมันหอมระเหย นั้นประกอบไปด้วยสารหลายชนิด เช่น เบนซิลแอซีเทต (benzyl acetate) และแอลคาลอยด์ (alkaloid) (Fatihanim et.al.,2008) ลินาลิลแอซีเทต (linalyl acetate ) ลินาโลออล (linalool) และเจอรานิออล (geraniol) และสารที่ทำให้ มีกลิ่นหอม คือคูมาริน (coumarin) และเอทิลวานิลลิน (ethyl vanillin)
สรรพคุณของเตย
เตย เรานำสามารถนำมาทำเป็นสมุนไพร เพื่อประโยชน์การบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ได้ทั้งราก และ ใบ ซึ่งรายละเอียดดังนี้
- ใบเตย มีสรรพคุณ บำรุงหัวใจ และช่วยลดการกระหายน้ำ มีกลิ่นหอม เมื่อนำไปต้มน้ำ ดื่มจะรู้สึกชุ่มคอ และให้ความสด นิยมนำมาน้ำผสมกับขนมไทย ใหเกลิ่นหอมและมีสีเขียว
- รากเตย มีสรรพคุณ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ลดระดับน้ำตาลในเลือด
โทษของเตย
การบริโภคเตยให้ปลอดภัยสูง ไม่มีข้อมูลทางการแพทย์รายงานว่าการบริโภคใบเตยมีอันตราย แต่พืชทุกชนิดจำเป็นต้องใช้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง การกินใบสดๆ นำมาเคี้ยวรับประทาน กลิ่นที่หอมของใบเตย อาจทำให้เกิดอาหารอาเจียนได้ โดยการใช้ประโยชน์จากใบเตย ต้องนำไปต้มเพื่อให้ได้กลิ่นหอม หรือ การนำเอาใบเตยมาบดให้ละเอียด และ คั้นเอาน้ำสีเขียวจากใบเตยมาใช้ประโยชน์ในการรับประทาน
ใบเตย ( Pandan leaves ) สมุนไพร กลิ่นหอม สีเขียว ลักษณะของต้นเตย เป็นอย่างไร สรรพคุณของใบเตย ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ รักษาเบาหวาน ใบเตย นิยมนำมาประกอบ อาหาร ให้กลิ่นหอม และ สีเขียว