การฝึกให้เด็กรู้จักทักษะการแก้ปัญหา ช่วยให้เด็กมีวิธีในการคิดเรื่องการแก้ปัญหา ทักษะการแก้ปัญหา มี การหาข้อมูล การวิเคราะห์ และการคิดอย่างมีหลักการ

การเลี้ยงลูก การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา

คำกล่าวที่ว่า ” การเรียนรู้สำคัญกว่าความรู้ “ หากจะขยายความถึงคำคำนี้แล้ว หากลูกของเรารู้จัก การคิดวิเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหา ต่างๆ นั้น จะ ช่วยเสริมทักษะในการคิด และ พัฒนาให้ลูกอย่างยั่งยืนได้

การแก้ไขปัญหา ภายใต้ ความคิด หลักการ เหตุผล และ ความคิดสร้างสรรค์ ช่วยให้ลูกน้อยเป็นผู้ใหญ่ที่ ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ในอนาคตได้

ทักษะที่เกี่ยวข้องในเรื่องการแก้ปัญหา

การพัฒนาทักษะ ในเรื่อง การคิดแก้ไขปัญหา นั้น ต้อง พัฒนาทักษะ ในด้านต่างๆ คือ การหาข้อมูล การคิดเชิงวิเคราะห์ และ การคิดเชิงหลักการ ซึ่งรายละเอียดของทักษะในการแก้ปัญหา มีรายละเอียด ดังนี้

  1. ทักษะการหาข้อมูล รากฐานของการแก้ไขปัญหาคือ ข้อมูล ก่อนที่เราจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ จำเป็นต้องมีข้อมูลประกอบในการคิด ไม่ใช่การคิดโดยปราศจากข้อมูลและหลักการ การหาข้อมูลในปัจจุบันง่ายขึ้นมาก เนื่องจากข้อมูลข่าวสารต่างๆอยู่บนโลกออนไลน์ เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายกว่าเมื่อก่อน ที่ความรู้ต่างๆจะอยู่ในห้องสมุดเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่การพิจารณาข้อเท็จจริง และความถูกต้องของข้อมูล จึงต้องคำนึงถึงมากที่สุด หากเราคิดและตัดสินใจจากข้อมูลที่ผิดพลาดแล้ว ก็เป็นความคิดที่ผิดจากฐานความรู้นั้นเอง
  2. ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ ทักษะการวิเคราะห์ นั้น เป็น การทำความเข้าใจกับสถานการณ์ แยกแยะ ส่วนประกอบ ความสัมพันธ์ของข้อมูล ที่จะนำมาใช้ คิดวิเคราะห์ เพื่อนำไป ประกอบการคิด และ การตัดสินใจ อย่างถูกต้อง
  3. ทักษะการคิดเชิงหลักการ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยหลักการและเหตุผล เพื่อการเชื่อมโยง แนวความคิดอย่างมีเหตุผล ซึ่งในสถานการณ์ต่างๆที่มีปัญหา หาก คิดวิเคราะห์ปัญหา ต่างๆที่มีความสลับซับซ้อน หากวิเคราะห์ดีๆ เราจะมองเห็น สาเหตุของปัญหา และ แก้ไขได้อย่างถูกต้อง

การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

การเรียน แบบการใช้ปัญหาเป็นหลัก ภาษาอังกฤษ เรียก Problem Based Learning คือ วิธีการเรียนการสอน ที่ใช้ปัญหา หรือ สถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นของการแสวงหาความรู้ของเด็ก ซึ่งเป็น การเรียนที่ พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา การเรียนรู้ด้วยตนเองและการทำงานร่วมกันเป็นทีม มุ่งเน้นให้เด็กเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาความรู้

การจัดการการเรียนแบบการแก้ปัญหาเป็นหลัก จะมุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ทักษะ 4 ด้าน คือ ทักษะการคิด ( Critical thinking )  ทักษะการสื่อสาร ( Communicate ) ทักษะการทำงานเป็นทีม ( Collaborate ) ทักษะการสร้างนวตกรรม ( Creative )

วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

พ่อแม่ และครู สามารถสร้างกิจกรรมง่ายๆ สำหรับเด็กได้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็น แนวทางใน การจัดกิจกรรม การเรียนที่ พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา  และ การเรียนรู้ด้วยตนเอง

  • จะมีการแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม
  • การจัดกลุ่ม จะต้องสร้างความแตกต่างของกลุ่มต่างๆ เพื่อสร้างข้อจำกัดของปัญหา เพื่อฝึกการคิดวิเคราะห์ปัญหา
  • การกระตุ้นความรู้สึกอยากเรียนรู้ในแต่และปัญหา
  • ให้เวลาในการลงมือแก้ไขปัญหา
  • ส่งเสริมให้เด็กทุกคนมีความคิดว่าเราทำได้ เป็นกำลังใจและคอยสนับสนุนไม่ทิ้งให้เด็กรู้สึกว่าถูกทิ้งให้อยู่กับปัญหาคนเดียว

การเรียนรู้สำคัญกว่าความรู้ จุดเริ่มต้นของการแสวงหาความรู้ สู่ การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา และ การเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องการเลี้ยงลูกเป็น สิ่งสำคัญ ที่สุด ของคนเป็นพ่อกับแม่ ลูกจะโตขึ้นมาอย่างปลอดภัย ใน ภาวะสังคมที่อยู่ยาก พ่อแม่ ต้องสร้างพื้นฐานอย่างเอาใจใส่

การเลี้ยงลูก ตั้งแต่เริ่มต้นตั้งแต่ปัญหาจนถึงการเลี้ยงลูกให้มีพัฒนาการที่ดี แข็งแรง สมบรูณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การเลี้ยงลูกนั้น มีรายละเอียดที่แตกต่างกันตามช่วงอายุของลูก การจะสร้างลูกให้เจริญเติบโตขึ้มมาพร้อมกับพัฒนาการที่ดี เป็นคนเก่ง มีพัฒนาการด้านร่างกาย สมองและอารมณ์ ที่ดี จำเป็นต้องเข้าใจเด็ก อย่างถูกต้อง

การจักการกับความกร้าวร้าว อารมณ์ร้ายของลูก ต้องหาสาเหตุของอารมณ์ร้ายของลูก และเทคนิคการจัดการกับลูกน้อยที่อารมณ์ร้าย รู้จักการใช้เหตุผล พฤติกรรมของลูกสร้างได้

ความบกพร่องด้านพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก

ความบกพร่องทางพฤติกรรม และ อารมณ์ของเด็ก เรียกว่า Children with Behavioral and Emotional Disorders เป็น การแสดงออกของลูก ด้วย พฤติกรรมความรุนแรงและความกร้าวร้าว เช่น การข้วางของ การร้องกรีด การทำลายของ การทำร้ายตัวเอง และคนรอบข้าง ซึ่งเราจะมาหาสาเหตุและวิธีการรับมือกับสิ่งนี้

พฤติกรรมความกร้าวร้าวของเด็ก นั้นเราสามารถแก้ไขได้ด้วยการมองหาสาเหตุของปัญหา และ ปรับพฤติกรรมของลูก อย่างเข้าใจ สาเหตุของพฤติกรรมความกร้าวร้าว ของลูกนั้น ประกอบด้วย ครอบครัว สิ่งแวดล้อม ตัวเด็กเองและอาการป่วยของเด็ก รายละเอียด ดังนี้

  1. พฤติกรรมความกร้าวร้าว จากครอบครัว ครอบครัวเป็นสิ่งที่หล่อหลอม พฤติกรรมของลูกน้อย ในครอบครัวที่มีความรัก ความอบอุ่น จากคนในครอบครัว เด็กจะได้รับการซึมซับพฤติกรรม ทั้งอ่อนโยนและกร้าวร้าวได้
  2. พฤติกรรมความกร้าวร้าว จากสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมมีส่วนในเรื่อง พฤติกรรมเลียนแบบ ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรง ความกร้าวร้าวต่างๆ การจักการสิ่งแวดล้อมสำหรับ การเลี้ยงลูก มีความสำคัญกับ พฤติกรรมและอารมณ์ของลูก
  3. พฤติกรรมความกร้าวร้าว จากตัวเด็กเอง เด็กจะเรียนรู้ในการแสดงออกเพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ การที่ เด็กแสดงออกทางกร้าวร้าว แล้วได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ เด็กจะเรียนรู้พฤติกรรมนั้นๆว่าจะได้สิ่งที่ตนเองต้องการ โดยไม่สามารถแยกแยะความเหมาะสมได้
  4. พฤติกรรมความกร้าวร้าว จากอาการป่วยของเด็ก อาการป่วยที่ส่งผลถึง พฤติกรรมความกร้าวร้าว นั้น พ่อกับแม่ ต้องเข้าใจในตัวลูก อาการปวด อาการเจ็บ ความไม่สบาย ทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด และ แสดงออกมาในทางกร้าวร้าว

เมื่อเราทราบถึง สาเหตุของพฤติกรรมความกร้าวร้าว ของลูกน้อยแล้ว จะเห็นได้ว่าสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งแรกที่มี ผลต่อพฤติกรรมความกร้าวร้าว หาก พ่อแม่ เข้าใจถึง สาเหตุของปัญหา จะทำให้เราสามารถ จัดการกับปัญหา นี้ได้อย่างเข้าใจ

เทคนิคในการจักการกับลูกที่โมโหร้าย

ความบกพร่องด้านพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กการที่ลูกน้อยมี อารมณ์ความกร้าวร้าว เช่น โยนข้าวของเครื่องใช้จนเสียหาย เดินกระแทกเสียงดังใส่ ปิดประตูเสียงดัง หรือร้องเสียงดัง เรามีเทคนิคในการจัดการกับปัญหาเหล่านี่ได้จาก วิธีต่างๆเหล่านี้

  1. การชมเชย ให้รางวัล ในวันที่ลูกน้อยแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม การให้รางวัลเป็นการสร้างการเรียนรู้ว่าพฤติกรรมใดจะได้รับการชมเชย เช่น การตั้งใจเรียนหนังสือ การกล้าแสดงออกในกิจกรรมต่างๆ พ่อแม่ควรให้รางวัลและชมเชยลูก กอดลูก เพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่าสิ่งที่ตนทำนั้น เป็นสิ่งดีงามและจะได้รับความชมเชย
  2. การเฉยเมย เมื่อลูกแสดง พฤติกรรมกร้าวร้าว เมื่อต้องการสิ่งของ เด็กจะแสดงพฤติกรรม เช่น ร้องไห้เสียงดัง ดิ้นลงไปนอนกลับพื้น ทำลายของ เพื่อให้เราให้ในสิ่งที่ต้องการ การเฉยเมยจะทำให้ลูกน้อยเรียนรู้ว่า สิ่งที่ทำจะไม่ช่วยให้ได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ
  3. การทำโทษอย่างมีเหตุผล บางครั้งในการที่ลูกทำผิดจำเป็นต้องทำโทษ เพื่อให้เด็กเรียนรู้ว่าสิ่งที่ตนทำเป็นสิ่งที่ผิดและห้ามกระทำ แต่ในการทำโทษนั้น พ่อแม่ ต้องจำเป็นต้องอธิบายเหตุผลให้ลูกเข้าใจ การทำโทษอย่างไม่แสดงเหตุผลทำให้ลูกซึมซับ พฤติกรรมความกร้าวร้าว
  4. จัดสิ่งแวดล้อมที่ดีให้ลูก การเรียนรู้ พฤติกรรมความกร้าวร้าว ของลูกเกิดจาก การเลียนแบบพฤติกรรม เช่น การพาลูกไปอยู่ในสถานที่ที่พูดจาหยาบคาย เด็กจะซึมซับ เลียนแบบคำพูดที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น
  5. พยายามหาสาเหตุของ พฤติกรรมความกร้าวร้าว และจัดการกับสิ่งนั้นให้หมดไป จากหลักการเรื่อง ความกร้าวร้าวของเด็ก มาจากสาเหตุ คือ ครอบครัว สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ของเด็กเองและอาการป่วยของตัวเด็ก หากเราทราบว่าความกร้าวร้าวมาจากอะไรก็ให้แก้ไขปัญหานั้นให้หมดไป

จะเห็นได้ว่า การจัดการพฤติกรรมของลูก น้อยเป็นเรื่องใหญ่ มีผลต่อความฉลาดด้านอารมณ์ของเด็กที่จะเป็นผู้ใหญ่ในสังคม ผู้ที่ต้องมีส่วนรวมที่สุด คือ พ่อและแม่ การสร้างความอบอุ่นในครอบครัว จัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้และการแสดงออก เป็นสิ่งที่ ต้องลงทุนในการเลี้ยงลูก

การเลี้ยงลูก ตั้งแต่เริ่มต้นตั้งแต่ปัญหาจนถึงการเลี้ยงลูกให้มีพัฒนาการที่ดี แข็งแรง สมบรูณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การเลี้ยงลูกนั้น มีรายละเอียดที่แตกต่างกันตามช่วงอายุของลูก การจะสร้างลูกให้เจริญเติบโตขึ้มมาพร้อมกับพัฒนาการที่ดี เป็นคนเก่ง มีพัฒนาการด้านร่างกาย สมองและอารมณ์ ที่ดี จำเป็นต้องเข้าใจเด็ก อย่างถูกต้อง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove