ถุงน้ำดีอักเสบ เกิดจากนิ่วอุดตันท่อน้ำดี ทำให้ปวดท้อง ปวดตามชายโครงด้านขวา เจ็บเวลาหายใจเข้าลึกๆ อาการลามไปถึงกล้ามเนื้อหน้าท้อง หากไม่รักษาต้องตัดถุงน้ำดีทิ้ง
น้ำดี คือ น้ำที่สร้างจากตับเป็นน้ำที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และเก็บน้ำดีไว้ที่ถุงน้ำดี น้ำดีจะมีหน้าที่ย่อยไขมันและย่อยอาหาร เมื่อน้ำดีในร่างกายลดลงจะก็ทำให้เกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี
ถุงน้ำดี ( Gallbladder ) คือ อวัยวะที่ช่องท้องลักษณะเป็นถุงเล็กๆ อยู่บริเวณท้องด้านขวาใกล้ตับ สามารถจุน้ำได้ประมาณ 35 – 50 มิลลิลิตร มีหน้าที่หลักในการสำรองน้ำดีที่สร้างจากตับ เพื่อใช้ในการย่อยอาหารและไขมัน
ถุงน้ำดีอักเสบ (Choleycystitis) คือ การเกิดอาการอักเสบของถุงน้ำดี ซึ่งสาเหตุของการเกิดอักเสบของถุงน้ำดีเกิดจากการอุดตันของท่อน้ำดี ทำให้ถุงน้ำดีบวม อักเสบ และเกิดอาการปวดได้ การอุดตันของน้ำดีมักมีสาเหตุมาจากนิ่วรวมไปถึงปัญหาเกี่ยวกับท่อน้ำดีอื่นๆ เช่น เนื้องอก เป็นต้น
ชนิดของนิ่วในท่อน้ำดี
ซึ่งนิ่วที่ท่อน้ำดีที่เราพบ นั้นพบว่ามีนิ่วอยู่ 2 ชนิด คือ นิ่วที่เกิดจากคอเรสเตอรัล cholesterol และ นิ่วที่เกิดจากเกลือ และนิ่วในถุงน้ำดีเหล่านี้สามารถหลุดและเข้าไปอุดทางเดินของน้ำดีได้ จนเป็นต้นเหตุทำให้เกิดอาการถุงน้ำดีอักเสบ เพราะบวมน้ำดีจนเนื้อเยื่ออักเสบ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง อาการตัวเหลือง ตาเหลือง ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดถุงน้ำดีอักเสบ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดของโรคถุงน้ำดีอักเสบ จะเกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีและถุงน้ำดีอักเสบ โดยปัจจัยของการเกิดถุงน้ำดีอักเสบ ประกอบด้วย
- เพศหญิง
- การคุมกำเนิด
- พันธุกรรม
- เชื้อชาติ
- ผู้สูงอายุ
- อาหาร
- ภาวะอ้วน
- การลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว
- การกินยาลดไขมันในเลือดบางชนิด
- คอเลสเตอรอลในน้ำดีสูงขึ้น
- การอักเสบเรื้อรังของถุงน้ำดี
- โรคเบาหวาน
- ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเรื้อรัง
สาเหตุของโรคถุงน้ำดีอักเสบ
ถุงน้ำดีอักเสบ ( Cholecystitis ) เกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี นิ่วไปอุดตันทางเดินของน้ำดี และผนังของถุงน้ำดีหนาตัว โรคถุงน้ำดีอักเสบเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ สาเหตุจากนิ่วในถุงน้ำดี และสาเหตุที่ไม่ใช่มาจากนิ่วในถุงน้ำดี
- สาเหตุจากนิ่วในถุงน้ำดี เป็นกรณีที่พบได้สูงประมาณ 90-95% อาจเกิดเนื่องจากก้อนนิ่วที่ไปอุดตันท่อน้ำดีจนส่งผลให้น้ำดีไหลออกจากถุงน้ำดีเข้าสู่ลำไส้ไม่ได้ ทำให้ถุงน้ำดีมีแรงดันเพิ่มขึ้นและมีการยืดขยายตัวมากขึ้นจนไปกดเบียดหลอดเลือดต่าง ๆ ที่หล่อเลี้ยงถุงน้ำดี ทำให้เยื่อบุผนังของถุงน้ำดีขาดเลือด เป็นผลให้เกิดการบาดเจ็บและเกิดการอักเสบขึ้นตามมา หรืออาจเกิดจากการระคายเคืองของสารเคมีบางชนิดอันเป็นผลมาจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในถุงน้ำดี หรือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้ออีโคไล ( E.coli ) เชื้อเคล็บซิลลา ( Klebsiella ) เชื้อสแตฟีโลค็อกคัส (Staphylococcus), เชื้อสเตรปโตค็อกคัส ( Streptococcus ) เป็นต้น ทั้งนี้ ถ้าขาดเลือดมากขึ้นจะส่งผลทำให้เนื้อเยื่อถุงน้ำดีเน่าตายหรือเกิดการแตกทะลุของถุงน้ำดี ก่อให้การเกิดติดเชื้อรุนแรงในช่องท้องได้ด้วย
- สาเหตุที่ไม่ใช่มาจากนิ่วในถุงน้ำดี เป็นกรณีที่พบได้เพียงส่วนน้อยประมาณ 5-10% โดยอาจเกิดจากถุงน้ำดีติดเชื้อแบคทีเรีย เกิดจากเนื้องอกของถุงน้ำดีหรือของท่อน้ำดี เกิดจากท่อน้ำดีตีบตันจากสาเหตุต่าง ๆ ที่ไม่ใช่จากนิ่ว เช่น โรคไทฟอยด์ ถุงน้ำดีได้รับอุบัติเหตุและเกิดการฉีกขาด นอกจากนี้ ยังอาจพบได้ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด มีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีการทำลายของเนื้อเยื่อจำนวนมาก ภาวะโลหิตเป็นพิษ หรือเจ็บป่วยหนัก เป็นต้น
อาการของโรคถุงน้ำดีอักเสบ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง ปวดตามชายโครงด้านขวาและปวดร้าวไปถึงสะบักข้างขวา เวลาหายใจเข้าลึกๆ จะปวดมากขึ้น หลังจากนั้นอาการปวดท้องจะลามไปที่กล้ามเนื้อหน้าท้อง เมื่อกดจะเจ็บ มีไข้สูง คลื่นไส้ และอาเจียน ปัสสาวะเหลือง ตัวเหลือง สามารถสรุปเป็นข้อๆได้ดังนี้
- ปวดท้องบริเวณด้านขวา ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเสียด ปวดบีบ หรือ ปวดแบบตุบๆ อาการปวดท้องจะปวดร้าวไปที่หลังหรือบริเวณใต้สะบักด้านขวา และ อาการปวดแย่ลงเมื่อหายใจลึก ๆ
- ปวดท้องหลังรับประทานอาหาร
- ระบมที่ท้องด้านขวา เมื่อกดท้องจะปวดมาก
- อุจจาระออกสีเทาคล้ายดินโคลน
- ท้องอืด
- มีไข้สูง
- คลื่นไส้และอาเจียน
- เหงื่อออก
- เบื่ออาหาร
- ผิวและตาขาวมีสีเหลือง
การรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบ
แนวทางการรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบ ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดทันที เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่สามารถทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น อาการเนื้อเยื่อตาย (Gangrene) ถุงน้ำดีทะลุ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น การผ่าตัดถุงน้ำดีอักเสบมีเทคนิคในการผ่าตัดที่แตกต่างกัน เช่น การผ่าตัดแบบส่องกล้อง และ การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง ซึ่งอยู่ในดุลย์พินิจของแพทย์ในการรักษา
ป้องกันโรคถุงน้ำดีอักเสบ
สำหรับแนวทางการป้องกันภาวะถุงน้ำดีอักเสบนั้น ไม่สามารถป้องกันได้อย่างเด็ดขาด แต่สามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดนิ่วอุดตันท่อน้ำดีได้ โดยแนวทางการป้องกันโรคมีดังนี้
- จำกัดการกินอาหารที่มีไขมันสูง
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
- ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน และ โรคความดันโลหิตสูง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
- พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในปริมาณที่เหมาะสม