มะเร็งปอด Lung Cancer เนื้อเยื้อของปอดผิดปรกติเกิดเนื้องอก โรคมะเร็งปอดมักเกิดกับคนสูบบุหรี่ อาการไอเรื้อรัง หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุมะเร็งปอด โรคมะเร็งปอด การรักษามะเร็งปอด โรคมะเร็ง

มะเร็งปอด ( Lung cancer ) คือ ภาวะเซลล์ของเนื้อเยื้อปอด เกิดการแบ่งตัวผิดปกติไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมักไม่แสดงอาการในระยะแรก ซึ่งการดูแลรักษาร่างกายสามารถทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้นได้ หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัด

ชนิดของโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก ( Non-small cell lung cancer – NSCLC ) และ  มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ( Small cell lung cancer – SCLC )

  • มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก ( Non-small cell lung cancer – NSCLC ) มะเร็งปอดชนิดนี้พบได้ประมาณร้อยละ  80 ของมะเร็งปอดทั้งหมด มะเร็งปอดชนิด มี 3 ชนิดย่อย คือ ชนิดสะความัสเซลล์ ( Squamous cell carcinoma ) ชนิดเซลล์ขนาดใหญ่ ( Large cell carcinoma ) ชนิดอะดีโน ( Adenocarcinoma )
  • มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ( Small cell lung cancer – SCLC ) มะเร็งปอดชนิดนี้พบได้ประมาณร้อยละ 20 ของมะเร็งปอดทั้งหมด มะเร็งชนิดนี้มีความรุนแรง แพร่กระจายได้เร็ว หากมะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง และ แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอด

สำหรับสาเหตุของโรคมะเร็งปอด ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดมะเร็งที่ชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การสูบบุหรี่ สำหรับการสูบบุหรี่ทำลายปอด เป็นปัจจัยสำคัญของโรคมะเร็งปอด ร้อยละ 90 ของคนสูบบุหรี่เป็นโรคมะเร็งปอด
  • การสูดดมควันบุหรี่ พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยมะเร็งปอด ไม่ได้สูบบุหรี่แต่สูดดมควันจากบุหรี่ ตามสถานที่เที่ยวตอนกลางคืน
  • การสูดดมฝุ่นระอองจากสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน เช่น การทำงานในเหมืองแร่ สถานที่ก่อสร้าง ทำงานตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น
  • การสูดดมก๊าซต่างๆเป็นเวลานาน เช่น ก๊าซเรดอน ( Radon ) เป็นก๊าซกัมมันตรังสีที่เกิดจากการสลายตัวของแร่ยูเรเนียม (Uranium)ในหินและดิน เป็นต้น
  • พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ทที่การกินผักและผลไม้น้อย
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในกรณีทีมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
  • ภาวะความเสื่อมของร่างกาย ตามอายุที่มากขึ้น
  • ภาวะการรติดเชื้อเอชไอวี หรือ ป่วยโรคเกี่ยวกับปอดอย่างเรื่องรัง เช่น วัณโรค ถุงลมปอดโป่งพอง ภาวะเยื่อพังผืดในปอด เป็นต้น

อาการของโรคมะเร็งปอด

สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด นั้นส่วนมากจะไม่ค่อยแสดงอาการในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณบางอย่างบ่งบอกว่าอาจการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ สามารถสังเกตอาการต่างๆ ได้ดังนี้

  • มีอาการไอเรื้อรังเป็นเวลานาน
  • ไอเป็นเลือด
  • หายใจเหนื่อยหอบ
  • หายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอก
  • เบื่ออาหาร กลืนอาหารลำบาก
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ
  • เจ็บและปวดเวลาหายใจหรือไอ
  • หายใจมีเสียงวีด
  • เสียงแหบ
  • ใบหน้าและคอบวม

การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาไปมาก การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด ทำได้แม่นยำมากขึ้น โดยเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค มีดังนี้

  • การเอกซเรย์ทรวงอก ( Chest X-ray )
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีทีสแกน ( CT-scan )
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพทซีทีสแกน ( Positron Emission Tomography – Computerised Tomography : PET-CT Scan )
  • การส่องกล้อง และ การตัดชิ้นเนื้อ ( Bronchoscopy และ Biopsy )
  • การเจาะตัดชิ้นเนื้อผ่านผิวหนังด้วยเข็มขนาดเล็ก ( Percutaneous Needle Biopsy )
  • การส่องกล้องในช่องอก ( Mediastinoscopy )

การรักษาโรคมะเร็งปอด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งปอด นั้น ใช้การรักษาด้วยการผ่าตัด การทำเคมีบำบัด และ การฉายแสง ซึ่งการรักษามักใช้ทั้ง 3 วิธีร่วมกัน โดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์ จากความรุนแรงของโรค ชนิดของมะเร็งปอด และ วิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล

  • การผ่าตัด ( Surgery ) จะผ่าเอาเนื้อเยื่อปอดบางส่วนที่มีเซลล์มะเร็งออก
  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด ( Chemotherapy ) เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก และ ทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย
  • การฉายแสง ( Radiation Therapy ) เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง มักจะใช้ควบคู่กับวิธีการรักษาอื่น ๆ เช่น การผ่าตัด การทำเคมีบำบัด

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด ไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเด็ดขาด แต่เป็นแนวทางการปฏิบัติ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยแนวทางการปฏิบัติ มีดังนี้

  • ไม่สูบบุหรี่ และ เลิกสูบหรี่
  • หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อม ที่ต้องสูดดมควันบุหรี่ ควันพิษ หรือ ฝั่น ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ผ่อนคลายความตึงเครียด ฝึกคิดในแง่บวก

โรคมะเร็งปอด ( Lung Cancer ) คือ ความผิดปรกติของเนื้อเยื้อของปอด เกิดเนื้องอกผิดปรกติ จากสาเหตุต่างๆ โรคมะเร็งปอดมี 2 ชนิด อาการของโรคมะเร็งปอด การรักษามะเร็งปอดต้องทำอย่างไร การป้องกันการเกิดโรค

มะเร็งกล่องเสียง ( Laryngeal cancer ) เนื้องอกที่กล่องเสียง ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด มีก้อนที่คอเป็นก้อนโต มีหลายก้อนหรือก้อนเดียว เสียงแหบ เจ็บคอ น้ำหนักลดลงมาก มะเร็งกล่องเสียง โรคมะเร็ง เสียงแหบนานๆ โรคไม่ติดต่อ

มะเร็งกล่องเสียง หมายถึง ภาวะผิดปรกติของเนื้อเยื่อบุผิวกล่องเสียง โดยเกิดเนื้องอกที่กล่องเสียง มะเร็งที่กล่องเสียงนั้น พบว่า มีอัตรการเกิด ร้อยละ 2 ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด ไม่ใช่มะเร็งที่พบบ่อย จัดว่าเป็น โรคหูคอจมูก ชนิกหนึ่ง มะเร็งกล่องเสียง นั้นจะพบมากในเพศชาย ที่มีประวัติการสูบบุหรี่ โดยกลุ่มคนที่เป็นมะเร็งกล่องเสียงมาก จะเป็น คนอายุ 50 ถึง 70 ปี การเกิดเนื้องอกที่กล่องเสียง นั้นสามารถเกิดได้ในทุกตำแหน่งของกล่องเสียง

หากพบว่าเป็นมะเร็งกล่องเสียง ต้องพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการลุกลามของมะเร็งสู่ยังอวัยวะข้างเคียง เช่น หลอดเลือดแดง หลอดอาหาร เป็นต้น แต่มะเร็งกล่องเสียง สามารถรักษาให้หยาขาดได้ หากเข้ารับการรักษาในระยะการเกิดโรคแรกๆ

ลักษณะของการแพร่กระจายของมะเร็งกล่องเสียง

การแพร่กระจายของมะเร็งกล่องเสียงนั้นมี 3 ลักษณะ คือ การแพร่กระจายโดยตรง การแพร่กระจายสู่ต่อมน้ำเหลือง และ การแพร่กระจายสู่เส้นเลือด รายละเอียด ดังนี้

  1. การแพร่กระจายโดยตรง จะเกิดในระยะของมะเร็งกล่องเสียงในระยะสุดท้าย มะเร็งจะแทรกซึมเข้าสู่ชั้นเยื่อบุกล่องเสียงและเข้าสู่ ต่อมไทรอยด์ และ หลอดอาหาร ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ ที่อยู่ใกล้กับกล่องเสียง
  2. การแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลืองจะอยู่บริเวณหลอดเลือดแดงที่ลำคอ และจะแพร่กระจายไปตามหลอดเลือดดำในลำคอ รวมถึงเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่ลำคอ
  3. การแพร่กระจายเข้าสู่เส้นเลือด เมื่อเชื้อมะเร็งเข้าสู่เส้นเลือด จะทำให้เกิดการแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เช่น ปอด ตับ ไต กระดูก สมอง เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดมะเร็งกล่องเสียง

สำหรับสาเหตุของการเกิดมะเร็งกล่องเสียง นั้นทางการแพทย์ยังไม่ทราบสรุปถึงสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่สามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดมะเร็งกล่องเสียง มีดังนี้

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะกระตุ้นเยื่อบุกล่องเสียง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในกล่องเสียง กลายเป็นเนื้อร้ายได้
  • การสูบบุหรี่  ควันของบุหรี่มีสารก่อมะเร็ง ทำให้เยื่อบุกล่องเสียง หยุดการเคลื่อนไหว หรือ ทำให้เคลื่อนไหวช้าลง และทำให้สารคัดหลั่ง หรือ สารระคายเคือง ตกค้างอยู่ในกล่องเสียง ส่งผลให้เยื่อบุกล่องเสียงหนาขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์กลายเป็นเนื้อร้ายได้
  • การอักเสบของเยื่อบุกล่องเสียงชนิดเรื้อรัง การอักเสบแบบเรื้อรังทำให้เกิดการสร้างเซลล์ของร่างกายที่ผิดปรกติได้
  • สภาพแว้ล้อมที่มีมลพิษทางอากาศสูง การสูดดมอากาศที่มีพิษ ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการสร้างเซลล์มะเร็ง
  • การติดเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อไวรัสบางชนิดทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ที่ผิดปรกติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งได้
  • เคยมีประวัติการฉายรังสีก้อนเนื้อบริเวณลำคอ
  • ความผิดปรกติของฮอร์โมนเพศ  จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง จะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนรีเซบเตอร์ ( Estrogen receptor , ER ) สูงกว่าปรกติ

อาการของผู้ป่วนโรคมะเร็งกล่องเสียง

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่กล่องเสียง นั้น จะมีอาการเด่นชัดที่ระบบร่างกายที่เกี่ยวข้องกับลำคอ เช่น การออกเสียง การกลืนอาหาร และ การหายใจ โดยรายละเอียดของอาการโรคมะเร็งกล่องเสียงมีดังนี้

  • มีอาการเสียงแหบแห้งเป็นเวลานาน เรื้อรังรักษาไม่หาย
  • ความสามารถในการกลืนอาหารลดลง มีลักษณะของการติดขัด และ เจ็บ รวมถึงสำลักอาหารด้วย
  • เกิดเสมหะ และ มีเลือดปน
  • หายใจลำบาก มีการหายใจติดขัด
  • มีอาการไม่ยากกินอาหาร เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักตัวลดลง เนื่องจากไม่กินอาหาร
  • มีก้อนที่คอ เป็นก้อนโต อาจจะมีหลายก้อนหรือมีก้อนเดียว
  • เจ็บคอบ่อย และ รักษาไม่หายสักที
  • มีอาการไอแบบเรื่องรัง
  • ปวดที่หูบ่อย

หากท่านมีอาการตามลักษณะดังที่กล่าวมาในข้างต้น แสดงว่าท่านมีโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งที่กล่องเสียง ควรเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยด่วน

การรักษาโรคมะเร็งกล่องเสียง

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งที่กล่องเสียงนั้น จากที่กล่าวมาข้างต้น หากรักษาแต่เนิ่นๆ สามารถรักษาให้หายขาด และ กลับเข้าสู่การใช้ชีวิตอย่างปรกติได้ โดยการรักษานั้น ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาด้วย การฉายรังสี การผ่าตัด และใบบางรายต้องเข้ารับการทำเคมีบำบัดด้วย โดยแนวทางการรักษาของแพยทย์ มีแนวทางดังนนี้

  • สำหรับผู้ป่วยในระยะเริ่มแรก แพทย์จะรักษาด้วยการฉายรังสีเป็นหลัก หรือ จะผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์ เพื่อทำการรักษากล่องเสียงเอาไว้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาพูดได้อย่างปกติ
  • สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะมะเร็งลุกลาม นั้นต้องเข้ารับการผ่าตัดกล่องเสียง และฉายรังสี รวมถึงเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ซึ่งผู้ป่วยจะไม่สามารถพูดไม่ได้อย่างเป็นปกติ ผู้ป่วยต้องฝึกพูดใหม่ ด้วยการออกเสียงผ่านหลอดอาหาร และ ใช้อุปกรณ์ช่วยพูดเสริม

การรักษามะเร็งที่กล่องเสียง สิ่งที่ต้องระวัง คือ ภาวะแทรกซ้อน หากปล่อยทิ้งไว้ มะเร็งจะลุกลามไปยังอวัยวะรอบข้าง ทำให้ ความสามารถในการ กลืนอาหาร และ การหายใจ ลำบาก และ การแพร่เข้าสู่อวัยวะต่างๆทั่วร่างกายผ่านทางเส้นเลือด จะทำให้ไม่สามารถรักษาได้

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งที่กล่องเสียง

สำหรับการป้องกันการเกิดมะเร็งกล่องเสียงนั้น ต้องป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคทั้งหมด รายละเอียดดังนี้

  • ไม่สูบบุหรี่ หรือ เลิกสูบบุหรี่
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลลกอฮอร์ หรือ เลิกดื่มเหล้า
  • ไม่นำตัวเองไปอยู่ในสถานที่ที่มีมลละพิษทางอากาศสูง
  • ไม่ควรปล่อยให้ตัวเองเป็นโรคกรดไหลย้อน
  • รับประทานอาหารให้มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

มะเร็งกล่องเสียง ( Laryngeal cancer ) เนื้องอกที่กล่องเสียง ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด มีก้อนที่คอ เป็นก้อนโต อาจจะมีหลายก้อนหรือมีก้อนเดียว การรักษาโรคและการป้องกันต้องทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove