โรคพิษสุนัขบ้า ( hydrophobia ) ติดเชื้อไวรัสเรบีส์จากหมากัด ส่งผลต่อสมอง อาการมีไข้ เป็นเหน็บ การเคลื่อนไหวรุนแรง ควบคุมไม่ได้ กลัวน้ำ ขยับร่างกายบางส่วนไม่ได้
ภาษาทางการแพทย์ เรียก โรคพิษสุนัขบ้า ว่า hydrophobia เป็นโรคที่คนไทยรู้จักกันในโรคกลัวน้ำ เป็น โรคติตเชื้อที่มาจากสัตว์ ซึ่งอาการรุนแรง กระทบกับระบบประสาทและสมอง ซึ่งเชื้อโรค ที่ทำให้เกิดโรคคือ เชื้อไวรัส ทำให้สมองอักเสบฉับพลัน หากมีอาการ มีไข้ เป็นเหน็บ การเคลื่อนไหวรุนแรง ตื่นเต้นควบคุมไม่ได้ กลัวน้ำ ขยับร่างกายบางส่วนไม่ได้ กลัวน้ำ เป็นอาการเบื้องตนของโรคพิษสุนัขบ้า
โรคติดเชื้อจากสุนัข โรคพิษสุนัขบ้า นี้มีคนเสียชีวิตปีละ 50,000 คน และเสียชีวิตจากการโดนสุนัขที่มีเชื้อโรคถึงร้อยละ 95 พบว่าทวีปเอเชียและแอฟริกา มีอัตราการการเกิดโรคสูงสุด โรคพิษสุนัขบ้า จัดว่าเป็นโรคติดต่อร้ายแรง เกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ (Rabies) เป็นเชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนท โดยไวรัสชนดนี้จะทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เสียชีวิต
สาเหตุของการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า
เกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ ที่อยู่ในน้ำลายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทำให้เกิดอาการอักเสบ ซึ่งไวรัสนี้จะพบมากในสุนัขค้างคาว และหนู เชื้อไวรัสเรบีส์เข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดอาการอักเสบที่ผิวหนัง นอกจากเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังแล้ว ทางการหายใจก็สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ เช่น การเข้าไปในถ้ำที่มีค้างคาว จำเป็นต้องมีการป้องกัน หลังจากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เชื้อโรคจะทำลายระบบประสาท และเสียชีวิตในที่สุด
สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค คือ หมา และแมว เรามีวิธีในการสังเกตุสัตว์ที่มีโอกาสติดเชื้อพิษสุนัขบ้า ได้ 2 ลัษณะ คือ สัตว์มีอาการดุร้าย และสัตว์มีอาการซึมเศร้า ซึ่งลักษณะอาการมีรายละเอียด ดังนี้
- ลักษณะสัตว์มีอาการดุร้าย สำหรับสัตว์ที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า นั้น ในระยะแรก สังเกตุจากสัตว์มีพฤติกรรมผิดปรกติ เช่น สัตว์ไม่มีอาการดุร้ายเข้ากับคนได้ แต่อยู่ดีๆก็แยกตัวออกจากคน และมีอาการหวุดหงิด จากนั้น สุนัขจะหลบตัวอยู่ในที่มืด ไม่ตอบสนองต่อเสียง และสิ่งแวดล้อม สุนัขจะมีอาการกระวนกระวาย ไล่งับแมลง หรือทุกอย่างที่อยู่ข้างหน้า เช่น ดิน ก้อนหิน กิ่งไม้ จากนั้นเริ่มวิ่งพล่าน และดุร้าย ไล่กัดคน และทุกอย่างที่อยู่ข้างหน้า สุนัขจะเริ่มหอนผิดปกติ ลิ้นห้อย น้ำลายไหลยืด จากนั้นสุนัขจะอ่อนแรง ตัวแข็ง และตายในที่สุด สุนัขที่ล้มแล้วลุกขึ้นไม่ได้ จะตายภายใน 3 วัน
- ลักษณะของสัตว์ที่มีอาการซึมเศร้า สำหรับสัตว์ที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้าและอาการซึมเศร้า สังเกตุยาก โดยเริ่มจากเหมือนมีอาการเป็นหวัด มีไข้ ซึม นอนซม ไม่กินอาหาร ชอบหลบตัวในที่มืดๆ สัตว์จะไม่มีอาการดุร้ายให้เห็นแต่จะกัดหากถูกรบกวน สุนัขจมีอาการเหมือนก้างติดคอ ไอ ใช้ขาตะกุยคอ หลังจากนั้นสุนัขจะเป็นอัมพาต และจะภายใน 10 วัน
สำหรับสุนัขที่มีโอกาสติดเชื้อพิษสุนัขบ้านั้น ส่วนมากจะพบมากในสุนัขอายุน้อย เพศเมีย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความแข้งแรงน้อยจึงทำให้ไม่สามารถทนต่อการติดเชื้อได้
การแพร่เชื้อพิษสุนัขบ้าสู่คน
สำหรับการแพร่เชื้อสู่คนนั้น เราสามารถสรุปได้ 2 ลักษณะ คือ การโดนกับ หรือ สัมผัสเชื้อโรคจากการเลีย ซึ่งทั้ง 2 ลักษณ คือ การสัมผัสน้ำลายของสัตว์ เข้าสู่ร่างกาย เราได้สรุปมาให้ดังนี้
- การถูกสุตว์ที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ากัด เป็นการสัมผัสเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง
- การถูกสัตว์ที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าเลีย ซึ่งหากโดยเลียในส่วนของร่างกายที่อ่อนแอ เช่น มีแผลอยู่ ก็สามารถทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้
อาการของผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า
สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า นั้นเราสามารถแบ่งลักษณะอาการได้ 3 ระยะ คือ ระยะนำโรค ระยะเริ่มมีอาการทางระบบประสาท และระยะสุดท้าย คือ ระยะไม่รู้สึกตัว รายละเอียดของระยะต่างๆ ของโรคพิษสุนัขบ้ามีดังนี้
- ระยะแรก คือ ระยะนำของโรค ภาษาอังกฤษ เรียก Prodrome เป็นระยะที่มีอาการหลายอย่างไม่เฉพาะเจาะจงหากไม่ทราบว่าโดนสุนัขกัดจะวินิจฉัยยาก โดยลักษณะผู้ป่วยจะมีอาการต่าง ดังนี้ มีไข้ต่ำแต่ไม่สูง ประมาณ 38 องศาเซลเซียส แต่มีอาการหนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เจ็บคอ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ และอารมณ์ไม่ปรกติ มีอาการปวด ที่แผล รวมถึง คันและชา ปวดแสบปวดร้อน และลามไปทั่วทั้งแขนและขา
- ระยะที่สอง คือ เริ่มแสดงอาการทางระบบประสาท ภาษาอังกฤษ เรียก Acute neurologic หลังจากมีอาการในระยะที่หนึ่ง ไม่เกิน 10 วัน ลักษณะอาการทางระบบประสาทจะมี 3 อาการ คือ คุ้มคลั้ง อัมพาต และอาการแบบไม่เหมือนต้นแบบ รายละเอียดของอาการในระยะนี้มีดังนี้
- ลักษณะอาการคลุ้มคลั่ง (Furious rabies) อาการนี้พบมากร้อยละ 80 ของผุ้ป่วยจะมีอาการคลุ้มคลั่ง ในระยะแรก จะมีไข้ เห็นภาพหลอน ไม่ชอบแสงและเสียง จากนั้นจะเริ่มไม่เป้นตัวของตัวเอง เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย จะอาละวาด ผู้ป่วยจะมีอาการกลัวน้ำ กลัวลม ทั้งสองอาการกลัวน้ำและกลัวลมจะพบในผุ้ป่วยทุกราย เมื่อระบบประสาทเริ่มผิดปรกติ จะมีอาการน้ำลายไหล น้ำตาไหล เหงื่อออกมาก ขนลุก อวัยวะเพศแข็งตัว และหลั่งน้ำอสุจิบ่อย โดยไม่ตั้งใจ หลังจากนั้นจะซึมฌสณ็ษ หมดสติ และเสียชีวิตภายใน 7 วัน
- ลักษณะอาการอัมพาต(Paralytic rabies) อาการลักษณะนี้พบได้เพียงร้อยละ 20 ของผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า ผู้ป่วยจะมีไข้ และกล้ามเนื้อแขนและขาอ่อนแรง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ การกลัวน้ำ และกลัวลม ผู้ป่วยที่มีอาการลักษณะนี้พบว่าจะเสียชีวิตใน 2 สัปดาห์
- ลักษณะแสดงอาการไม่ตรงต้นแบบ (Non-classic) เป็นลักษณะอาการไม่เหมือนโรคพิษสุนัขบ้า เช่น มีอาการปวดประสาท กล้ามเนื้ออ่อนแรง ต่อมาเป้นอัมพาตครึ่งซีก มีอาการชัก การเคลื่อนไหวผิดปกติ แต่ไม่พบว่ามีอาการกลัวน้ำ และกลัวลม
- ระยะสุดท้าย (Coma) เป็นระยะผุ้ป่วยไม่รู้สึกตัว ผู้ป่วยทุกรายเมื่อแสดงอาการในระยะสุดท้ายจะไม่รู้สึกตัว มีอาการหมดสติ และเสียชีวิตด้วยระบบการหายใจและระบบการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว
การรักษาผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า
ปัจจุบันไม่มีวิธีรักษาโรคพิษสุนัขให้หายขาด การรักษาสามารภทำด้เพียงการรักษาตามอาการ และควรนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
- สำรับผู้ป่วยที่โดนสัตว์กัด ให้รีบพบแพทย์ เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสพิษสันัขบ้า โดยต้องฉีด 5 ครั้งในเวลา 30 วัน
- สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคชัดเจน การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยานอนหลับเพื่อลดการคลุ้มคลั่ง ให้ยาแก้ชัก และให้สารอาหารทางเส้นเลือด เนื่องจากผุ้ป่วยกินอาหารเองไม่ได้ และติดตามดูอาการไปจนกว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิต
- สำหรับผู้ป่วยที่แสดงอาการแต่ไม่ชัดเจน อาจต้องเจาะหลัง เพื่อตรวจหาเชื้อพิษสุนัขบ้า ถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นต้น
ข้อควรปฏิบัติหากถูกสุนัขกัด
หากเราถูกสุนัขและสัตว์ที่เราสงสัยว่ามีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ากัด มีข้อควรปฏิบัต ดังนี้
- ให้ล้างแผลทันที ล้างด้วยฟองสบู่และน้ำสะอาด ล้างด้วยแอลกอฮอล์ และทายาที่แผลด้วยน้ำยาเบตาดีน แล้วรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที
- นำสุนัขไปตรวจโรคพิษสุนัขบ้า ในบางรายแนะนำให้ขังสุนัขเพื่อดูอาการผิดปรกติ แต่อาจจะสายเกินไป เอาไปตรวจเลย จะได้รักษาทัน
- ให้รีบไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
หากท่านโดนสุนัขกัด หรือพบเห้นว่ามีสุนัขไล่กัดคน สิ่งที่ต้องทำ คือ แจ้งหน่วยงานในพื้นที่ทราบ ประสานกรมปศุสัตว์ในพื้นที่ เพื่อควบคุมการเกิดโรคพิษสันัขบ้า นำสัตว์ไปตรวจโดย ส่งห้องปฏิบัติการ ให้กักขังสัตว์ไว้ในที่ปลอดภัย และเฝ้าดูอาการ ไม่ควรฆ่าสัตว์โดยไม่จำเป็น แต่หากเป็นสัตว์ใหญ่ อย่าง วัว ควาย ต้องตัดหัว ใส่ถุงพลาสติกแช่น้ำแข็ง นำส่งห้องปฏิบัติการนำไปตรวจ
ซึ่งต้องทำอย่างระมัดระวัง หากทำม่ดีจะทำให้การตรวจสอบยาก ล้างมือให้สะอาดหลังจากเก็บซาก
การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
สำหรับการป้องกันการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า คือ อย่าให้ถูกสัตว์กัด และการฉีดยาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคพิษสุนัขบ้า แต่สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบล่วงหน้า นั้นต้องฉีด 3 เข็ม ในระยะเวลา 30 วัน โดยบุคคลที่ควรฉีด คือ คนที่ต้องคลุกคลีกกับสัตว์อย่างหมาและแมว ส่วนของการฉีดวัคซีนป้องการเชื้อพิษสุนัขบ้าหลังจากโดนกัดนั้น ใช้วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ชนิดที่ทำจากเซลล์เพาะเลี้ยง เนื่องจากประสิทธิภาพสูง ฉีดจำนวน 5 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการแพ้ต่อระบบประสาท
สำหรับการฉีดยาวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้านั้น มี 2 แบบ คือ แบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และแบบฉีดเข้าชั้นผิวหนัง
โรคพิษสุนัขบ้า ( hydrophobia ) การติดเชื้อไวรัสเรบีส์ จากโดนหมากัด โรคสมอง อาการมีไข้ เป็นเหน็บ การเคลื่อนไหวรุนแรง ตื่นเต้นควบคุมไม่ได้ กลัวน้ำ ขยับร่างกายบางส่วนไม่ได้ อาการเบื้องตนของโรคพิษสุนัขบ้า โรคกลัวน้ำ โรคติดต่อ กระทบต่อระบบประสาทและสมอง
Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา
Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma. The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.
ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก