ส้มแขก Garcinia นิยมนำผลส้มแขกมาทำยาสมุนไพร ขับเสมหะ ลดความดัน รักษาเบาหวาน บำรุงเลือด ฟอกเลือด ช่วยเจริญอาหาร ทำความรู้จักกับส้มแขกอย่างละเอียด

ส้มแขก สมุนไพร

ส้มแขก ภาษาอังกฤษ เรียก Garcinia ชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มแขก คือ Garcinia atroviridis Griff. ex T.Anderson ส้มแขกเป็นพืชตระกลูเดียวกับมังคุด  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของส้มแขก เช่น ชะมวงช้าง ส้มควาย อาแซกะลูโก ส้มพะงุน ส้มมะอ้น ส้มมะวน มะขามแขก เป็นต้น

ส้มแขกเป็นพืชท้องถิ่นของอินเดียและศรีลังกา และในประเทศไทยนิยมปลูกในภาคใต้ เนื่องจาก ส้มแขก มีรสเปรี้ยว นิยมนำมาทำส่วนประกอบในการทำ แกงส้ม แกงเลียง ต้มเนื้อ ต้มปลา เป็นต้น

ประโยชน์ของส้มแขก ใบส้มแขก ใบแก่นำมาทำเป็นชา ผลสดนำมาปรุงรสอาหารให้รสเปรี้ยว ลำต้นส้มแขกแก่ๆ สามารถนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรือทำเป็นไม้แปรรูปใช้ในการก่อสร้างได้ นอกจากนั้นสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างหลากหลาย เช่น ชาส้มแขก น้ำส้มแขก ส้มแขกกวน แคปซูลส้มแขก เป็นต้น ส้มแขกนำมาทำยาสมุนไพรได้ สรรพคุณของส้มแขก ลดความอ้วน แก้ไอ ขับเสมหะ ลดความดัน รักษาเบาหวาน บำรุงเลือด ฟอกเลือด ช่วยเจริญอาหาร แก้กษัย แก้ปวดท้อง ยาระบายอ่อนๆ ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว และ แก้ท้องผูก เป็นต้น

ลักษณะของต้นส้มแขก

ต้นส้มแขกเป็นไม้ยืนต้นตระกูลมังคุด การขยายพันธุ์ สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด การแตกหน่อ การติดตา และการต่อยอด ลักษณะของต้นส้มแขก มีดังนี้

  • ลำต้นส้มแขก ความสูงประมาณ 10 เมตร ลักษณะของเนื้อไม้แข็ง เปลือกลำต้นมีสีเขียว และ สีน้ำตาลอมดำ ลำต้นมียางสีเหลือง
  • ใบส้มแขก ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว ผิวใบเรียบ ขอบใยเรียบ ลักษณะมันวาว ปลายใบแหลม ใบอ่อนสีน้ำตาลอมแดง ใบแห้งจะเป็นสีน้ำตาล
  • ดอกส้มแขก ลักษณะดอกออกเป็นช่อ โดยดอกออกตามปลายยอด กลีบดอกด้านนอกสีเขียว ส่วนกลีบดอกด้านในสีแดง
  • ผลส้มแขก ลักษณะเป็นผลเดี่ยว เป็นแฉกๆลักษณะกลมมน ผิวของผลเรียบ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง ขนาดใกล้เคียงกับผลกระท้อน เนื้อผลแข็ง ผลมีรสเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ด

การปลูก ให้เตรียมพื้นที่ปลูก เนื่องจากส้มแขกเป็นไม้ผลที่มีทรงพุ่มขนาดใหญ่ ระยะปลูกที่แนะนำ คือ 8 X 8 เมตร หรือ 10 X 10 เมตร ซึ่งจะได้จำนวนต้นประมาณ 20 – 25 ต้นต่อไร่ ก่อนปลูกควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก หลังจากปลูกนาน 1 เดือน ให้ปลูกซ่อมต้นที่ตายทันที

นักโภชนาการ ได้ศึกษาส้มแขก พบว่ามีสาร HCA ( Hydroxycitric Acid ) ซึ่งมีคุณสมบัติเด่น คือ ยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการสร้างไขมัน จากคาร์โบไฮเดรต ส้มแขกจึงนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบสำหรับอาหารเสริมสำหรับลดน้ำหนัก มีการแปรรูบส้มแขก มากมาย เช่น เม็ด ชา แคปซูล

สรรพคุณของส้มแขก

สำหรับสรรพคุณของส้มแขก มีมากมาย สามารถนำส้มแขกมาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น ดอก ผล ราก ใบ รายละเอียด ดังนี้

  • ดอกของส้มแขก มีสรรพคุณ ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ ลดความดันโลหิต
  • ผลของส้มแขก สามารถนำมาช่วยลดความดัน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยฟอกโลหิต ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดไขมัน
  • รากของส้มแขก สามารถใช้ เป็นยาแก้กษัย บรรเทาอาการปวดท้องสำหรับสตรีมีครรภ์ เป็นยาระบายอ่อนๆ ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • ใบของส้มแขก สามารถใช้ แก้อาการท้องผูก ขับปัสสาวะ

ข้อควรระวังในการบริโภคส้มแขก

แม้ส้มแขกจะมีประโยชน์ และได้รับความนิยมมากแค่ไหน ส้มแขกก็ยังมีผลเสียบางประการต่อร่างกายอยู่เช่นกัน เหมือนกับการรับประทานอาหารอื่น ๆ ที่ถ้าหากมากเกินไปก็ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายได้เหมือนกัน ซึ่งข้อควรระวังในการบริโภคส้มแขกที่คุณควรรู้ มีดังนี้

  • ส้มแขกมีฤทธิ์เป็นกรด ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้ ไม่สบายท้อง ปวดศีรษะ เป็นต้น
  • สตรีมีครรภ์ หรือหญิงที่อยู่ในระหว่างการให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงรับประทานส้มแขก เพื่อเป็นการรักษาโรคมากเกินไป เพราะยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน และปลอดภัยมากพอที่จะรับประกันได้ว่า จะไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะกับสตรีมีครรภ์
  • ผู้ที่เป็นไบโพลาร์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานส้มแขก เพราะอาจส่งผลให้อารมณ์แปรปรวนได้
  • ผู้ที่เป็นโรคตับ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานส้มแขกในทุกกรณีจะเป็นการดีที่สุด เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักมากกว่าเดิม และทำให้ตับถูกทำลายได้ในที่สุด

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

นอนไม่หลับ Insomanai ภาวะไม่สามารถนอนหลับในเวลาปรกติ นอนไม่ได้ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้นอนไม่หลับ เราจะรักษาอาการนอนไม่หลับได้อย่างไร

โรคนอนไม่หลับ isomanai

โรคนอนไม่หลับ ภาษาอังกฤษ เรียก Insomnia คือ ภาวะการไม่สามรถนอนในเวลาปรกติทั่วไปได้ คนทั่วไปนอนในเวลากลงคืนและตื่นในเวลากลางวัน ซึ่งคนที่มีภาวะนอนไม่หลับในเวลากลางคืนแต่ต้องไปทำงานในเวลากลางวัน จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะอ่อนเพลียขาดการพักผ่อน ซึ่งการที่ร่างกายขาดการพักผ่อนจะทำให้เกิดผลเสียต่างๆต่อร่างกาย ทำให้การทำงานของอวัยวะในร่างกายผิดปรกติ โรคนอนไม่หลับปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษา

ลักษณะอาการนอนไม่หลับแบบไหนควรพบแพทย์ หลายๆครั้งการที่เรานอนหลับไม่สนิท หรือนอนไม่หลับติดต่อกันมากกว่า 3 วัน เป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือน จะส่งผลต่ออารมณ์ สมาธิ ความจำ เกิดภาวะเครียด กดดัน รู้สึกเป็นกังวล รบกวนจิตใจของคุณ และประสิทธิภาพในการทำงาน หากเริ่มมีความผิดปรกติด้านจิตใจและระบบการทำงานของร่างกายผิดปรกติ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหาการนอนไม่หลับ

เราสามารถแบ่งสาเหตุของการนอนไม่หลับได้จากความผิดปรกติต่างๆได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

  1. นอนไม่หลับจากความผิดปกติภายในร่างกาย การผิดปรกติลักษณะนี้ จะนอนไม่หลับแค่ช่วงเวลาหนึ่ง หากกลับคืนสู่ภาวะปรกติก็จะกลับมานอนได้ตามปรกติ
  2. นอนไม่หลับจากความผิดปกติจากสภาพแวดล้อม เช่น เสียงรบกวน หรือ แสงสว่าง เป็นต้น
  3. นอนไม่หลับจากความผิดปรกติทางด้านจิตใจ เช่น ความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า เบื่อ เป็นต้น

ประเภทของโรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับ เราสามารถแบ่งออกเป็นเป็น 3 ประเภท คือ นอนไม่หลับชั่วคราว นอนไม่หลับต่อเนื่อง และ นอนไม่หลับเรื้อรัง โดยรายละเอียด ดังนี้

  1. นอนไม่หลับแบบชั่วคราว คือ การนอนไม่หลับ ติดต่อกันเป็นหลายวันส่วนมากพบว่าเป็นเรื่องของความเครียด และความกังวลใจ บางประการ การนอนไม่หลับประเภทนี้จะหายได้เองเมื่อสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ หายไป
  2. นอนไม่หลับแบบต่อเนื่อง คือ การนอนไม่หลับต่อเนื่อง หลายสัปดาห์ พบว่าเกิดจากความเครียด หากเป็นเวลานาน ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์ ก่อนที่จะเป็นการนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง
  3. นอนไม่หลับแบบเรื้อรัง คือ การนอนไม่หลับ เป็นเวลานาน จนร่างกายปรับเวลา และส่งผลต่อการดำเนินชีวิต

สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ

เราพบว่าผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับ สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งความเครียด ความกังวล และสิ่งแว้ดล้อม เราได้รวบรวมสิ่งที่ทำให้นอนไม่หลับได้ มีรายละเอียดดังนี้

  1. สารคาเฟอีน หรือสารที่มีฤิทธิ์กระตุ้นระบบประสาท เช่น ชา กาแฟ หรือ ยาบางชนิด
  2. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่งผลให้ร่างกายหลับไม่ปกติ
  3. โรคบางชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคปวดไขข้อ โรคต่อมลูกหมากโต โรคไต โรคเบาหวาน เป็นต้น
  4. การออกกำลังหนักในช่วงบ่าย
  5. ภาวะตั้งครรภ์ ช่วงเดือนสุดท้ายคลอดลูก
  6. การสูบบุหรี่
  7. การรับประทานอาหาร มากหรือน้อยเกินไป
  8. สถานที่หลับนอนไม่เอื่ออำนวยต่อการนอน

อาการของโรคนอนไม่หลับ

สำหรับคนนที่มีภาวะการนอนไม่หลับเป็นเวลานานติดต่อกัน จะมีความผิดปรกติของร่างกายและจิตใจต่างๆ เช่น อ่อนเพลีย ไม่สามารถทำงานอย่างมีสมาธิ ความจำลดลง ประสิธิภาพการทำงานลดลง อารมณ์หงุดหงิดกระสับกระส่าย ง่วงนอนเวลากลางวัน เป็นต้น

การรักษาโรคนอนไม่หลับ

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนอนไม่หลับ สามารถรักษาได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการดำรงค์ชีวิตให้อื้อต่อความสามารถในการนอน และ หากจำเป็นต้องนอนให้ใช้ยาช่วยใหนอนหลับ แทน

แนวทางการปรับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมให้อื้นต่อการนอน มีดังนี้

  • ควบคุมสิ่งเร้าต่างๆ ( Stimuli control ) เช่น ไม่ควรทำกิจกรรมอื่นนอกจากการนอน งดนอนบนเตียงถ้ายังไม่ง่วง ลุกออกจากเตียงเมื่อผ่านไปแล้ว 20 นาทีถ้ายังไม่หลับและทำกิจกรรมเบาๆ นอกเตียง ลุกจากเตียงเมื่อตื่นนอนตอนเช้าแล้วในเวลาที่สม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการงีบหลับกลางวัน เป็นต้น
  • สร้างความผ่อนคลาย ( Relaxation ) สร้างความผ่อนทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่การนอนหลับ เช่น การนั่งสมาธิ ฟังเพลงบรรเลง ฝึกกำหนดลมหายใจ เป็นต้น
  • ปรับความคิดและพฤติกรรมต่างๆ ( Cognitive Behavioral Therapy for Insomnia ) ความวิตกกังวลเรื่องต่างๆ ทำให้เรานอนไม่หลับ ให้ปรับความคิดปล่อยวางเรื่องต่างๆก่อนนอน
  • อาหารอะไรบ้างที่ช่วยให้นอนหลับหรือหลับสบาย มีหลายอย่าง เช่น การดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ และเครื่องดื่มสมุนไพร เช่น แคโมไมล์วาเลอเรียน เก๊กฮวย มะตูม ไลม์บลอสซัม เป็นต้น ดื่มนมหวาน เนื่องจาก น้ำตาลจะช่วยทำให้เซลล์สมองดูดซึมกรดอะมิโน ทริปโตฟาน เข้าสู่กระแสเลือด ช่วยให้ผ่อนคลาย อาหารจำพวกแป้ง

การป้องกันการนอนไม่หลับ

สำหรับแนวทางการป้องกันการนอนไม่หลับ มีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

  • ปรับเวลานอนให้เป็นเวลา ไม่งีบหลับระหว่างวัน ไม่กดดันตัวเองให้นอนหลับ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มกระตุ้นให้ประสาทตื่นตัว เช่น กาแฟ หรือชา
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะ จะทำให้หลับยาก
  • สร้างสถานการณ์ให้เตียงนอน คือ การหลับเท่านั้น ดังนั้นการนอนเล่นดูทีวีทำงานพักผ่อนอื่นๆ ให้ทำนอกเตียง เคล็ดลับ คือ เมื่อรู้สึกง่วงแล้วเท่านั้นถึงลงมานอนที่เตียง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะช่วยให้นอนหลับได้สบายยิ่งขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังหนักก่อนนอน ซึ่งจะทำให้นอนหลับได้ยาก
  • พยายามหลับให้ได้ด้วยตัวเอง หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับ
  • อาบน้ำก่อนนอน การแช่ตัวในน้ำอุ่นก่อนนอน จะช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย
  • จัดสถานที่นอนให้โล่ง หายใจสะดวก น่านอน
  • กินในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป

ปัญหาการนอนไม่หลับ อดนอน หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ แน่นอนว่าจะส่งผลเสียกับร่างกายทำให้ระบบร่างกายทำงานติดขัด จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูง และปัญหาด้านระบบหลอดเลือดหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกันทำงานโดยมีประสิทธิภาพลดลง ดังนั้น ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรหาสาเหตุให้พบ และทำการป้องกันและรักษาอย่างถูกต้อง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา