มะขาม ( Tamarind ) ไม้ยืนต้น ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงผิว บำรุงหัวใจ ยาถ่ายพยาธิ ยาระบาย ไม้ผลในเขตร้อนมีถิ่นกำเนิดอยู่ทวีปแอฟริกา

มะขาม สมุนไพร สรรพคุณของมะขาม

มะขาม  มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Tamarind ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamardus lndica Linn  ชื่ออื่นๆของมะขาม เช่น ขาม ตะลูบ ม่องโคล้ง มอดเล ส่ามอเกล หมากแกงอำเบียล มะขามไทย อำเปียล มะขามเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานและดอกไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ขามหวานมีหลายพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย เช่น พันธุ์น้ำผึ้ง อินทผลัม หมื่นจง สีทอง

ต้นมะขาม จัดเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในทวีฟแอฟริกาและมีการนำเข้ามาปลูกในแถบเอเชีย นอกจากนี้มะขามยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ และตามตำราพรหมชาติยังถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ที่ช่วยป้องกันสิ่งเลวร้าย ผีร้ายต่าง ๆ ไม่ให้มากล้ำกราย อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อมงคล ถือกันเป็นเคล็ดทำให้มีคนเกรงขาม

มะขาม เป็นผลไม้ มีผลเป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 เซนติเมตร ฝักอ่อนเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือกเมื่อแก่ (maturity) เป็นประเภทผลแห้ง (dry fruit) ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด ซึ่งฝักหนึ่งๆ จะมีเนื้อหุ้มเมล็ดประมาณ 1-12 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมัน และมีสีน้ำตาล มะขามในประเทศไทยแบ่งกลุ่มได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  • มะขามเปรี้ยว (sour tamarind)
  • มะขามหวาน (sweet tamarind) ได้แก่ หมื่นจง สีทอง ศรีชมภู อินทผลัม น้ำผึ้’

ลักษณะของฝักมะขาม

  • ฝักดาบ มีลักษณะฝักค่อนข้างแบนและโค้งเล็กน้อยคล้ายดาบ
  • ฝักฆ้อง มีลักษณะฝักโค้งวนมาเกือบจรดกัน มีลักษณะเหมือนฆ้องวง
  • ฝักดิ่ง มีลักษณะฝักเหยียดตรงค่อนข้างยาว
  • ฝักดูก มีลักษณะเป็นปล้องๆ ข้อถี่ เปลือกนูนขึ้นมาเป็นเหลี่ยมมองเห็นได้ชัดเจน

คุณค่าทางโภชนาการของมะขาม

การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะขามดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 239 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย
คาร์โบไฮเดรต 62.5 กรัม น้ำตาล 57.4 กรัม กากใยอาหาร 5.1 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม วิตามินบี 1 0.428 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.152 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.938 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.143 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.066 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม โคลีน 8.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.8 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 74 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.8 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 92 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 628 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม และสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะขาม

การนำเอามะขามมาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร นิยมนำมะขามมาใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางใช้บำรุงผิว  สรรพคุณอื่นๆ มากมายประกอบด้วย

  • ใบมะขาม มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ นำใบสดมาต้มน้ำอาบหลังคลอด ช่วยทำให้ผิวพรรณสะอาดและช่วยต้านทานโรค นอกจากนี้น้ำต้มใบมะขามยังใช้บ้างแผลเรื้อรังได้อีกด้วย
  • เนื้อผลของมะขาม มีกรดอินทรีย์หลายชนิด ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดรอยคล้ำของผิว ช่วยให้ผิวสดใส เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ไอ ขับเสมหะ ถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย ขับน้ำนม
  • เปลือกของผลมะขาม นำมาทำยาฝาดสมาน เพราะในเปลือกมีสารพวกแทนนินสูง

สำหรับประโยชน์ของมะขามและสรรพคุณมะขามนั้นมีมากมาย จัดว่าเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและยังมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคอีกด้วย โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาจะเป็นเนื้อฝักแก่ (มะขามเปียก) เปลือกของลำต้น (ทั้งสดและแห้ง) และเนื้อในเมล็ด สามารถช่วยรักษาได้หลายโรค เช่น เป็นยาขับเสมหะ แก้อาการท้องเดิน บรรเทาอาการท้องผูก ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เป็นต้น

ความเชื่อเกี่ยวกับมะขาม

มะขาม มีความหมายไปในทางดี คำว่า “ขาม” หมายถึง ความคร้ามเกรง ชาวไทยจึงนิยมปลูกต้นมะขามในบริเวณบ้าน เพื่อให้ศัตรูเกิดความเกรงขาม ไม่กล้าเข้ามาทำอันตราย ดังบทกลอน ในตำราปลูกต้นไม้ในบ้าน กล่าวไว้ว่า

“มะขามคุ้มไพรี ให้ปลูกไว้ปัจฉิมา” หมายความว่า มะขามคุ้มครองเจ้าของบ้านจากศัตรูได้ ให้ปลูกไว้ทางทิศตะวันตกของตัวบ้าน

ต้นมะขาม  เป็น ไม้ผล ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาตรงส่วนยอดของต้น ลำต้นสูงประมาณ 60 ฟุต เปลือกลำต้นจะมีสีน้ำตาล แตกสะเก็ดเป็นร่อง ใบของมะขามจะออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันตามก้านใบ ปลายของใบและโคนใบมนมีสีเขียว ดอกของมะขามออกเป็นช่อเล็ก ๆ ตามปลายกิ่ง ดอกจะออกในช่วงฤดูฝน ผลของมะขาม จะเป็นฝักกลมเล็กยาว

หอมใหญ่ หอมหัวใหญ่ สมุนไพร ผักสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นหอมใหญ่ คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงเลือด บำรุงหัวใจ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของหอมหัวใหญ่

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สรรพคุณหอมหัวใหญ๋

หอมหัวใหญ่ ( Onion ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของหอมใหญ่ คือ Allium cepa L. ต้นหอมใหญ่ มีถิ่นกำเนิดและมีเขตการกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียกลาง บ้างก็บอกว่ามีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และสำหรับแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และประเทศอินเดีย โดยจัดเป็นพืชล้มลุก

พืชมหัสจรรย์ ทำอาหารก็อร่อย สรรพคุณของหอมใหญ่ ช่วยรักษาเบาหวาน รักษาโรคหัวใจได้ ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยละลายลิ่มเลือด บำรุงระบบโลหิตได้ดี ช่วยขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ป้องกันมะเร็งได้ ขับสารพิษในร่างกาย ช่วยผ่อนคลาย แก้การนอนไม่หลับ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดความดับโลหิต ช่วยขับเสมหะ ในหอมหัวใหญ่พบว่ามีวิตามินซีสูง และสารอื่น ๆ เช่น สารเคอร์ซีทิน สามารถช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ป้องกันโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่

ต้นหอมหัวใหญ่ เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

  • ต้นหอมใหญ่ มีความสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดินคล้ายหัวหอม ลักษณะกลมป้อม มีเปลือกนอกบาง ๆ สีม่วงแดงหุ้มอยู่ แต่เมื่อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
  • ใบหอมใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุก 3-4 ใบ ลักษณะเป็นรูปดาบ มีความกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร เส้นใบจีบตามยาวลักษณะคล้ายพัด
  • ดอกหอมใหญ่ ออกดอกเป็นช่อ แทงขึ้นมาจากลำต้นใต้ดิน กลีบดอกมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวใหญ่

สำหรับการบริโภคหอมหัวใหญ่นิยมรับประทานหัวหอมใหญ่ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวหอมใหญ่ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 40 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.34 กรัม น้ำตาล 4.24 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม น้ำ 89.11 กรัม วิตามินบี 1 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 0.116 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.123 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.12 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 19 ไมโครกรัม วิตามินซี 7.4 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 23 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.21 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.129 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 29 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 146 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.17 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์ 1.1 ไมโครกรัม

สรรพคุณของหอมหัวใหญ่

คุณประโยชน์ของหอมหัวใหญ่ เราได้รวบรวมมาให้เป็นความรู้ ดังนี้

การรับประทาน หัวหอมใหญ่ สามารป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ เพราะ ว่า หอมหัวใหญ่ มีสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยแก้การนอนไม่หลับได้ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยกำจัดสารตะกั่วและโลหะหนักที่ปนเปื้อนมากับอาหาร ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของอัมพาต ช่วยรักษาโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ช่วยในการขยายหลอดเลือด ช่วยทำให้เลือดไม่ไปอุดตันในหลอดหลอด ช่วยในการสลายลิ่มเลือดปกป้องหลอดเลือดเลี้ยงสมองเกิดการอุดตัน ลดความอ้วน ช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิต แก้ความดันโลหิตสูง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยรักษาไข้หวัด แก้หวัดคัดจมูก และช่วยลดน้ำมูก ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ หอมหืด คุณช่วยขับเสมหะได้ ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยแก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิ ช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยแก้ลมพิษ ลดอาการปวดอักเสบ ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยรักษาผิวหนังที่ถูกน้ำร้อนลวกได้

วิธีปลูกหอมหัวใหญ่

สามารถปลูกได้จากการเพาะต้นกล้า โดยหว่านเมล็ดพันธุ์ให้ทั่วแปลงกล้า รดน้ำให้ทั่ว หลังจากที่เมล็ดงอกประมาณ 10-15 วัน ใช้หญ้าแห้งคลุมดินอย่าให้แปลงชื้น หรือร้อนเกินไป เมื่อกล้าอายุได้ 45 วัน ก็ย้ายเพื่อลงแปลงปลูก จัดเป็นแถว ห่างกัน 10 – 15 เซ็นติเมตร หมั่นพรวนดิน และกำจัดวัชพืช หลังจากย้ายกล้าลงแปลงปลูกประมาณ 90-100 วัน ก็ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว

โทษของหอมหัวใหญ่

สำหรับการรับประทานหอมหัวใหญ่ มีข้อควรระวังในการรับประทานหอมหัวใหญ่ ดังนี้

  • แม้ว่าสรรพคุณหัวหอมใหญ่จะมีอยู่มากมาย แต่เนื่องจากหอมใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์อุ่นและมีรสเผ็ด การนำมาใช้ในแต่ละบุคคล ควรคำนึงถึงสภาพร่างกายและโรคของผู้ป่วยด้วย ซึ่งฤทธิ์ดังกล่าวสามารถช่วยขับความเย็น ทำให้หยางทะลุทะลวงไปยังส่วนต่าง ๆ ช่วยกำจัดพิษและปัจจัยที่กระทบจากภายนอกเนื่องจากความเย็นได้ดี แต่ไม่มีฤทธิ์ในการบำรุงหยางในร่างกาย เมื่อใช้ไปนาน ๆ อาจจะทำให้ร่างกายเสียพลังได้ง่าย เช่น ในกรณีผู้ป่วยหอบหืดที่มีพลังอ่อนแออยู่แล้ว แทนที่จะมีอาการหอบดีขึ้น แต่กลับจะทำให้อาการหอบหืดกำเริบมากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น ดังนั้นจึงควรรู้ถึงข้อดีและข้อเสียเพื่อนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมด้วย จึงจะเกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างสูงสุด
  • การรับประทานหัวหอมใหญ่ในปริมาณมากหรือรับประทานติดต่อกันนานเกินไป อาจจะทำลายจิตประสาท ทำให้จิตฟุ้งซ่าน ลืมง่าย ความจำเสื่อม มีอาการตามัว พลังและเลือดถูกทำลาย ทำให้เส้นเลือดไหลเวียนได้ไม่ดี ทำให้โรคต่าง ๆ ที่เป็นอยู่หายช้าและเรื้อรัง และยังไปทำลายสมรรถภาพทางเพศ
  • เมื่อคุณมีอาการปวดศีรษะเนื่องจากความเครียดหรือจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ มีคำแนะนำว่าไม่ควรจะรับประทานหัวหอมใหญ่
  • อย่างไรก็ตามไม่ควรรับประทานหัวหอมใหญ่สดในขณะที่ท้องว่าง เพราะอาจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ทำให้เยื่อบุในกระเพาะเกิดการอักเสบได้
  • สำหรับผู้ที่ถูกสัตว์มีพิษมีเขี้ยวกัด ไม่ควรรับประทานหอมใหญ่ เพราะการรับประทานหัวหอมใหญ่จะทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น ทำให้พิษแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
  • สิ่งที่คุณควรรู้อีกเรื่องนั้นก็คือ หอมใหญ่เป็นหนึ่งในอาหารที่มีกลิ่นแรงและทำให้เกิดกลิ่นปาก
  • สำหรับผู้ที่มีกลิ่นตัวแรงอยู่แล้ว การรับประทานหัวหอมใหญ่มากเกินไปอาจจะทำให้มีกลิ่นตัวแรงยิ่งขึ้น
  • ว่ากันว่าในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ไม่ควรรับประทานหอมหัวใหญ่ เพราะจะทำให้อาการหอบหืดรุนแรงมากขึ้น

ต้นหอมหัวใหญ่ ภาษาอังกฤษ เรียก Onion เป็นพืชชนิดหัว (bulb) สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิดที่มีการระบายน้ำและอากาศดี เจริญได้ดี หอมหัวใหญ่ปลูกได้ในช่วงฤดูหนาว หอมหัวใหญ่มีชื่อ วิทยาศาสตร์ ว่า Allium cepa L. หอมใหญ่ หอมหัวใหญ่ สมุนไพร ผักสวนครัว นิยมนำหัวหอมใหญ่มาทำอาหาร ลักษณะของต้นหอมใหญ่เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของหอมใหญ่ สรรพคุณของหอมหัวใหญ่ เช่น บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของหอมหัวใหญ่มีอะไรบ้าง