กระชาย ขิงจีน ( Fingerroot ) สมุนไพร ตระกูลโสม เรียกว่า โสมไทย สมุนไพรท่านชาย สรรพคุณช่วยดูแลช่องปาก เหงือกและฟัน ช่วยขับลม บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหารกระชาย ขิงจีน สมุนไพร โสมไทย

กระชาย หรือ ขิงจีน ภาษาอังกฤษ เรียก Fingerroot มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Boesecnergia pandurata (Roxb.)Schltr. ชื่ออื่น ของกระชาย เช่น ว่านพระอาทิตย์ กระแอน ระแอน ขิงทราย จี๊ปู ซีฟู เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ เป็นต้น นักโภชนาการ พบว่า ในกระชายประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินบี1 วิตามินบี3 วิตามินซี และไนอาซิน เหง้าของกระชายจะมีน้ำมันหอมละเหย ซึ่งมีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย แบคทีเรียในลำไส้และแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง นอกจากนั้น น้ำมันหอมระเหย ยังสามารถช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยเจริญอาหารได้ดี

ลักษณะของต้นกระชาย

ต้นกระชาย เป็น พืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 1 เมตร ใบมีกลิ่นหอม ดอกของกระชายจะมีสีม่วง ดอกจะออกเป็นช่อ การขยายพันธุ์กระชาย โดยส่วนเหง้า กระชายชอบดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำได้ดี ดินเหนียว ลักษณะของต้นกระชาย มีดังนี้

  • ลำต้นกระชาย มีเหง้าสั้น แตกหน่อได้ มีรากอวบ เป็นรูปทรงกระบอกหรือรูปทรงไข่ค่อนข้างยาว ปลายเรียว มีความยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ออกเป็นกระจุก ผิวมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
  • ใบกระชาย มีลักษณะของส่วนที่อยู่เหนือดิน มีใบประมาณ 2-7 ใบ ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะเป็นรูปรี ใบยาวประมาณ 12-50 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 5-12 เซนติเมตร โคนใบมนหรือแหลม ส่วนปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ เส้นกลางใบ ด้านใบ และกาบใบด้านบนจะเป็นร่อง ส่วนด้านล่างจะนูนเป็นสัน ด้านใบเรียบมีความยาวประมาณ 7-25 เซนติเมตร ส่วนกาบใบเป็นสีชมพูยาวประมาณ 7-25 เซนติเมตร ระหว่างก้านใบและกาบใบจะมีลิ้นใบ
  • ดอกกระชาย จะออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่ยอดระหว่างกาบใบคู่ในสุด ความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร แต่ละดอกจะมีใบประดับ 2 ใบ มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน ๆ เป็นรูปใบหอกกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร ที่กลีบเลี้ยงมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร ปลายจะแยกเป็น 3 แฉก ส่วนกลีบดอกมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร และปลายแยกเป็น 3 กลีบ เป็นรูปใบหอก มีขนาดไม่เท่ากัน กลีบใหญ่มี 1 กลีบ กว้างประมาณ 7 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1.8 เซนติเมตร ส่วนอีก 2 กลีบจะมีขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้อยู่ 6 อัน แต่มี 5 อันที่เปลี่ยนไปมีลักษณะเหมือนกลีบดอก โดย 2 กลีบบนมีสีชมพู รูปไข่กลับขนาดเท่ากัน มีความกว้างประมาณ 1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร ส่วนอีก 3 กลีบล่างมีสีชมพูติดกันเป็นกระพุ้ง มีความกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.7 เซนติเมตร และที่ปลายจะแผ่กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีสีชมพูหรือสีม่วงแดงเป็นเส้นอยู่เกือบทั้งกลีบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกระเปาะและปลายกลีบ จะมีเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์อยู่ 1 อัน ก้านชูอับเรณูหุ้มก้านเกสรตัวเมีย
  • ผลกระชาย ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

สรรพคุณของกระชาย

สำหรับสรรพคุณทางยาของกระชายนั้น กระชายสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ทั้ง ใบ หัว ราก รายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าและรากของกระชาย มีรสเผ็ด ร้อน ขม แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้บิด แก้โรคกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก
  • ใบของกระชาย ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆได้

กระชายที่นิยมใช้กันก็ คือ กระชายเหลือง และ กระชายดำ ซึ่งกระชายดำปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยม จนทำให้กระชายเหลืองถูกลดความสำคัญลงไป แต่ว่ากันว่าในด้านสรรพคุณทางยาสมุนไพร กระชายเหลือง นั้นดีกว่า กระชายดำ เพราะ บางทีเราก็คิดไปเองว่าสมุนไพรถ้าเป็นสีเข้มกว่าก็น่าจะมีประโยชน์มากกว่า แถม กระชายดำ ยังได้รับการโปรโมตทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนทั่วไปหลงคิดว่า กระชายดำ นั้นดีกว่า กระชายเหลือง นั่นเอง

สมุนไพรกระชาย มีสรรพคุณทางยานานับประการ จนได้ชื่อในวงการแพทย์แผนไทยว่าเป็น “โสมไทย” เนื่องจาก กระชาย กับ โสม มีความคล้ายคลึงกันหลายอย่าง เช่น สรรพคุณในการบำรุงกำลัง และ เสริมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งเป็น ลักษณะเด่นของสมุนไพร ทั้งสองชนิด ทั้งกระชายและโสมต่างก็เป็นพืชที่มีส่วนสะสมอาหารที่ใช้เป็นยาอยู่ใต้ดินเหมือนกัน แถมยังสามารถเรืองแสงในที่มืดได้เหมือนกันด้วย และในเรื่องของลักษณะที่คล้ายกับรูปร่างมนุษย์เหมือน ๆ กัน ซึ่งบางครั้งเราจะเรียก โสม ว่า “ โสมคน ” และ เรียก กระชาย ว่า “ นมกระชาย ” ( เนื่องจาก กระชายมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับนมผู้หญิง นั่นเอง และ บางครั้งก็ดูคล้ายเพศชาย จึงเกิดความเชื่อที่ว่ามันน่าจะมีความเกี่ยวข้องในเรื่อง สรรพคุณทางเพศ )

น้ำกระชาย คุณค่าของน้ำกระชาย นั้นเมื่อ กินน้ำกระชาย เข้าไปแล้ว ในกระเพาะเรามีน้ำ มีไขมันและจุลินทรีย์สองกลุ่มจะแยกกันทำหน้าที่ของมันเอง ตัวจุลินทรีย์ในกระเพาะจะทำให้เกิดแอลกอฮอล์ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่สกัดตัวยากลุ่มที่ละลายน้ำออกมาจากกระชายได้เอง ส่วนกลุ่มที่ละลายในไขมันก็ทำงานของเขาเอง คนปกติดื่มกระชาย เพื่อบำรุงเอาไว้ ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคไต ผู้ชายป้องกันไม่ให้ต่อมลูกหมากโต ผู้หญิง ป้องกันไม่ให้เป็นมดลูกโต และถ้าให้เด็กดื่มกินเป็นประจำ จะ ช่วยสร้างกระดูก ให้มีโครงสร้างที่แข็งแรง เห็นประโยชน์มากมายเราก็นำ สูตรการทำกระชายปั่นคั้น น้ำมาฝากด้วย

กระชาย หรือ ขิงจีน ( Fingerroot ) สมุนไพร ตระกูลโสม เรียกว่า โสมไทย สมุนไพรสำหรับท่านชาย สรรพคุณของกระชาย เช่น ช่วยดูแลช่องปาก ดูแลเหงือกและฟัน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงหัวใจ เพิ่มสมรถภาพทางเพศ ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนร่างกาย แก้กระดูกเสื่อม กระชายยอดสมุนไพรบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยให้เจริญอาหาร

มะละกอ พืชท้องถิ่น นิยมนำผลมารับประทานเป็นอาหาร ลักษณะของต้นมะละกอเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะละกอ เช่น บำรุงระบบทางเดินอาหาร บำรุงสายตา เป็นยาระบาย โทษของมะละกอ

มะละกอ สมุนไพร ผลไม้

มะละกอ ภาษาอังกฤษ เรียก papaya ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะละกอ คือ Carica papaya L ชื่ออื่นของมะละกอ เช่น บักหุ่ง ก้วยลา แตงต้น มะก้วยเทศ มะเต๊ะ ลอกอ เป็นต้น สรรพคุณของมะละกอ ช่วยดูแลช่องปาก ดูแลเหงือกและฟัน ช่วยยาถ่ายพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย บำรุงสายตาและระบบประสาท ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน สารต้านอนุมูลอิสระ มะละกอเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกา ชาวต่างชาตินำเข้ามา ซึ่งปัจจุบันมะละกอเถือเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยเลย มะละกอนิยมนำมาทำ ส้มตำ ( papaya salad )

ลักษณะของต้นมะละกอ

มะละกอ เป็นไม้เนื้ออ่อน ความสูงประมาณ 8 เมตร ลำต้นตั้งตรง ใบของมะละกอ ออกเป็นแฉก มีรอยเว้าเล็กๆเหมือนขนนก ดอกของมะละกอ มีสีเหลือง กลีบดอกจะบางและยาวประมาณ 2 เซ็นติเมตร ผลของมะละกอ มีลักษณะยาวกลม ผลดิบของมะละกอจะมีสีเขียว เมื่อผลแก่จะมีสีเหลือง มีรสหวาน เมล็ดของผลมะละกอจะสีดำ การขยายพันธุ์มะละกอสามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ประโยชน์ของมะละกอ

  1. มะละกอมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิด ซึ่งช่วยให้สุขภาพของคุณแข็งแรง
  2. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสอยู่เสมอ
  3. ช่วยในการชะลอวัย ลดเลือน และป้องกันการเกิดริ้วรอยต่าง ๆ
  4. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
  5. สามารถนำมาใช้เป็นทรีตเมนต์ทำหน้าให้หน้าใสได้อีกด้วย ด้วยการนำมะละกอสุกผสมกับน้ำผึ้งและนมสด แล้วนำมาปั่นให้เข้ากัน หลังจากนั้นนำมาทาผิวหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วค่อยล้างออก
  6. ใช้นำมารับประทานเป็นผลไม้หรือของว่าง
  7. ใช้นำมาปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงส้ม ส้มตำ เป็นต้น
  8. สามารถนำมะละกอไปใช้หมักให้เนื้อนุ่มได้อีกด้วย เพราะมีเอนไซม์ที่ชื่อว่า Papain ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผงหมักสำเร็จรูปที่เราเห็นขายกันอยู่ตามท้องตลาดนั่นเอง
  9. นำมาแปรรูป การแปรรูปมะละกอ เช่น มะละกอแช่อิ่ม มะละกอแผ่น แยมมะละกอ มะละกอเชื่อม ซอสมะละกอ เยลลี่มะละกอ มะละกอแช่อิ่ม มะละกอสามรส มะละกอดอง มะละกอผง เป็นต้น

ประโยชน์ของมะละกอค่อนข้างมาก มีสรรพคุณเป็นทั้งยารักษาโรค โดยสรรพคุณมะละกอก็เช่น ใช้เป็นยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด เป็นต้น และยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอ

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของมะละกอ ขนาด 100 กรัม สามารถให้พลังงาน 23 กิโลแคลอรี มีสารอาหารประกอบด้วย เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม เส้นใยอาหาร 1.3 กรัม วิตามิน ซี 34 มิลลิกรัม วิตามิน บี 2 0.2 มิลลิกรัม วิตามิน บี 1 0.5 มิลลิกรัม แคลเซี่ยม 13 มิลลิกรัมฟอสฟอรัส 13 มิลลิกรัม

 

สรรพคุณทางยาของมะละกอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะละกอ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จาก ราก ผล และ ยางจากผลดิบ รายละเอียด มีดังนี้

  • ผลของมะละกอ ทั้งผลดิบและผลสุก นำมาต้มกิน สามารถช่วย ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน ขับน้ำเหลือง บำรุงน้ำนม ขับพยาธิ รักษาโรคริดสีดวงทวาร ผลมะละกอมี แคลเซี่ยม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน  มีวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดีและช่วยป้องกันเลือดอกตามไรฟัน มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตาและระบบประสาท
  • ผลสุกของมะละกอ สามารถใช้เป็นยาระบาย ในอาการท้องผูกได้ดี
  • ยางจากผลดิบของมะละกอ สามารถใช้เป็นยาช่วยย่อย และฆ่าพยาธิ
  • รากของมะละกอ ใช้ขับปัสสาวะได้ดี

โทษของมะละกอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะละกอในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มีข้อควรระวังการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • ไม่ควรรับประทานมะละกอสุกในปริมาณมาก ๆ หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะ อาจจะทำให้ผิวของคุณเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้
  • ยางของมะละกอ มีฤทธ์เป็นพิษ สามารถนำมาหมักเนื้อเป็นเนื้อเปื่อยได้ ไม่ควรรับประทานยางมะละกอ แบบสดๆ โดยไม่ผ่านความร้อน

มะละกอ เป็นพืชที่มีประโยชน์หลากหลาก สามารถใช้ได้ทุกส่วน เป็นพืชที่คู่ควรในการอยู่ในครัวเรือนอย่างแท้จริง