โยคะท่าอีกา ( Crow Pose ) ท่าโยคะที่บ่งบอกถึงความสำเร็จของการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ท่าที่ต้องใช้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความสมดุลของร่างกาย

ท่าอีกา โยคะ การฝึกโยคะ โยคะพื้นฐาน

การออกกำลังกายโยคะ ท่าอีกา Crow Pose ท่านี้คล้ายๆกับท่า หกกบ ของบ้านเรา แต่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ไม่ได้แตกต่างกันเลย ต้องใช้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน และข้อมือ ช่วยยืดหยุ่นกล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อหลัง และบริเวณลำคอ ประกอบกับการใช้สมาธิเพื่อสร้างสมดุลให้กับร่างกายในการทรงตัว ท่านี้ถือว่าต้องใช้ความชำนาญในการฝึกฝนค่อนข้างมาก ช่วงฝึกฝนในตอนแรกๆ หากกล้ามเนื้อแขนและข้อมือของคุณยังไม่แข็งแรง อาจสั่นเป็นเจ้าเข้ากันเลยทีเดียว ยิ่งประกอบกับการขาดสมาธิด้วยแล้ว อาจได้หกล้ม หน้ากระแทกพื้นกันวันละหลายหน กว่าจะบินได้แบบอีกา สำหรับการฝึกฝนท่านี้

วิธีการฝึกโยคะท่าอีกา ( Crow Pose )

  1. เริ่มต้นด้วยการนั่งยองๆ จากนั้นกางนิ้วมือทั้งห้านิ้ววางราบลงกับพื้น เหตุผลที่ให้กางนิ้วออกเพื่อให้กระจายน้ำหนักให้ทั่วทั้งผ่ามือ
  2. จากนั้นงอข้อศอกโน้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย ใช้เข่าหนีบโดยให้อยู่ระดับเหนือข้อศอก แล้วค่อยๆยกสะโพกขึ้นจิกปลายเท้าแล้วยกให้เท้าลอยขึ้นทีละข้าง เพื่อปรับสมดุลร่างกายก่อน
  3. พยายามเทน้ำหนักไปที่แขน และกระจายน้ำหนักลงไปที่นิ้วมือทั้งห้านิ้ว หากยกขาทั้งสองขึ้นได้แล้ว ก็ให้พยายามเหยียดข้อศอกขึ้นเล็กน้อย ทำค้างไว้ซัก 30 วินาที โดยหายใจเข้า-ออกตามปกติ
  4. จากนั้นค่อยๆผ่อนคลายด้วยการวางเท้าลงสู่พื้น

นอกจากคิวการจัดระเบียบร่างกายที่บอกไปด้านบนนะคะ สิ่งที่สำคัญมากๆ คือ

  • อย่ากลั้นหายใจ
  • เลิกดูถูกตัวเองนะคะ ว่า “ทำไม่ได้อ้ะ” “เค้ากลัว” เปลี่ยนมันซะ ลองคิดข้ามชอตไปถึงตอนที่บินอย่างสง่างามแล้วพยายามอยู่ในท่าให้นาน

โยคะท่าอีกา Crow Pose ถือว่าเป็นท่าที่ต้องใช้ร่างกายหลายส่วนประกอบกัน เมื่อฝึกฝนจนชำนาญก็จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้ฝึกฝนได้มากในเรื่องการสร้างสมดุล และ การทรงตัว ซึ่งท่านี้ก็จะสามารถพลิกแพลงต่อเนื่องไปสู่ท่าโยคะที่ยากได้อีกหลายท่า ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนของแต่ละบุคคล

โยคะท่าอีกา Crow Pose โยคะท่านี้ ผู้ฝึกฝนควรละทิ้งความกังวลทั้งหลายทิ้งไปก่อน ไม่ว่าจะกังวลว่าจะทำไม่ได้ หรือ ความกังวลว่าจะเจ็บตัวเพราะหน้ากระแทกพื้น แต่ควรหันมาฝึกสมาธิ และพยายามทรงตัวโดยยกขาขึ้นทีละข้างแทน แทนที่จะดีดยกขาขึ้นพร้อมกัน นั่นถือว่าเสี่ยงต่อการหกล้มและทำให้ร่างกายเสียสมดุล การฝึกฝนควรมีการทำท่าพื้นฐานเพื่ออุ่นเครื่องก่อน เพื่อยืดเส้นหรือคลายกล้ามเนื้อ จะช่วยทำให้ร่างกายของคุณพร้อมสำหรับการฝึกฝนได้ดีขึ้น และการฝึกฝนควรทำไปตามขั้นตอน อย่ารีบร้อนหรือรีบเร่ง เพราะนอกจากจะสร้างความเครียดแล้ว ยังมีโอกาสทำผิดพลาดได้สูงด้วย

โยคะท่าอีกา Crow Pose จะทำท่านี้สำเร็จได้ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ไม่แนะนำให้คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อมือฝึกฝนท่านี้ เพราะอาจทำให้บาดเจ็บมากขึ้นไปอีก ควรปลอดภัยไว้ก่อนเพื่อความสุขในการออกกำลังกายท่าอีกาหรือท่านกยาง ซึ่งเรียกกันว่า ผกาสนะ (bakasana) ในภาษาสันสกฤตนั้น เป็นหนึ่งในท่าการทรงตัวด้วยแขนท่าแรกๆ ที่นักเรียนโยคะจะได้เรียน ท่าอีกานี้ช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้แขน ข้อมือ และกล้ามเนื้อหน้าท้อง มันยังยืดบริเวณหลังส่วนบนกับโคนขาหนีบด้วย ผกาสนะอาจจะเรียนรู้ลำบากสักหน่อย แต่ถ้าฝึกเป็นประจำก็จะสามารถทำท่านี้ได้คล่องจนสามารถดัดแปลงไปสู่ท่าอาสนะอื่นๆ ที่ยากขึ้นได้

โยคะ (สันสกฤต: योग) เป็นกลุ่มของการปฏิบัติหรือการประพฤติทางกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยถือกำเนิดที่ประเทศอินเดีย หลายพันปีมาแล้ว วิธีการฝึกโยคะนั้นมีการได้ถ่ายทอดจากอดีตถึงปัจจุบัน ในแถบหุบเขาอินดัส วอลเลย์ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยนักโบราณคดีได้ค้นพบไม้แกะสลัก และงานศิลปะประเภทรูปปั้น ที่มีการฝึกโยคะ นักปราชญ์ชาวฮิน ชื่อ ปตัญชลี ได้ปรับปรุงรูปแบบการฝึกโยคะขั้นพื้นฐาน และได้เขียนตำราสูตรการฝึกโยคะไว้ 8 ข้อ ผู้ที่ฝึกและปฏิบัติโยคะ หากเป็นชายจะเรียกว่า โยคี และหากเป็นสตรีจะเรียกว่า โยคินี โยคะมาเป็นการออกกำลังกาย จะเน้นความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกระดูกทำให้เลือดและสารอาหารไปเลี้ยงส่วนประสาท ทำให้การทำงานของต่อมต่างๆทำงานดีขึ้น ท่าต่างๆในการฝึกโยคะ จะยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามแบบของโยคะสอดคล้องกับการหายใจ และการทำสมาธิ การฝึกโยคะจะทำให้สุขภาพจิตและสุขภาพกายดี

แหล่งอ้างอิง

  • Denise Lardner Carmody, John Carmody (1996), Serene Compassion. Oxford University Press US. p. 68.
  • Stuart Ray Sarbacker, Samādhi: The Numinous and Cessative in Indo-Tibetan Yoga. SUNY Press, 2005, pp. 1–2.
  • Tattvarthasutra [6.1], see Manu Doshi (2007) Translation of Tattvarthasutra, Ahmedabad: Shrut Ratnakar p. 102

โยคะท่านกพิราบ ( Pigeon Pose ) ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะในอุ้งเชิงกราน แก้ปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ช่วยกระตุ้นต่อมเพศอีกด้วย

ท่านกพิราบ โยคะ การฝึกโยคะ โยคะพื้นฐาน

ท่านกพิราบ นั้นมีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ง่ายไปจนถึงยาก การฝึกท่านกพิราบจะเน้นเฉพาะร่างกายส่วนล่างที่การเปิดสะโพกก็ได้ หรือจะเน้นที่ร่างกายส่วนบนคือการเปิดไหล่และแอ่นหลังด้วยก็ได้ หรือจะเน้นการยืดเฉพาะบริเวณหน้าขาส่วนบนและเอวก็ได้เช่นกัน

วิธีฝึกโยคะท่านกพิราบ

  1. เริ่มต้นท่านี้ด้วยการนั่งเหยียดขาซ้ายตรงไปด้านหลัง ส่วนขาขวาเหยียดไปด้านหน้าโดยงอเข่าเข้ามาให้ส้นเท้าขวาอยู่ใกล้กับต้นขาซ้าย
  2. พยายามคว่ำสะโพกลงให้แนบชิดติดพื้น ยืดหลังให้ตรง เปิดอกเปิดไหล่ มองตรงไปด้านหน้า ท่านี้อาจจะทำให้รู้สึกตึงๆบริเวณขาหนีบ แต่ถือว่าเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและช่วยให้เลือดไหลเวียนเป็นอย่างดี
  3. จากนั้นให้งอเข่าซ้ายขึ้นตั้งเป็นมุมฉากประมาณ 90 องศา แล้วใช้ข้อพับแขนซ้ายเกี่ยวปลายนิ้วเท้าซ้ายเอาไว้ มือขวาให้พับข้อศอกยกขึ้นชี้ฟ้า แล้วอ้อมมือขวาไปจับมือซ้ายไว้ด้านหลังศรีษะ
  4. แหงนหน้ามองตามศอกขวา ทำค้างไว้ 30-60 วินาที โดยหายใจเข้า- ออกช้าๆ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ จากนั้นค่อยๆ ปล่อยมือขวาออกจากมือซ้ายเพื่อทำสลับข้างกัน

โยคะ ท่านกพิราบ Pigeon Pose ช่วยยืดกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก แถมยังช่วยกดนวดบริเวณกระดูกสันหลังให้รู้สึกผ่อนคลาย ตั้งแต่บั้นเอวลงไป เคล็ดลับของท่านี้อยู่ที่การคว่ำสะโพก ยิ่งคว่ำสะโพกได้มากเท่าไร ยิ่งช่วยยืดหยุ่นกล้ามเนื้อบริเวณขาหนีบและสะโพกได้มากเท่านั้น การคว่ำสะโพกที่ถูกวิธียังส่งผลให้เราสามารถฝึกฝนท่าโยคะที่ต่อเนื่องให้ยากขึ้นไปอีก ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงและการฝึกฝนของแต่ละบุคคล

การออกกำลังกายโยคะ ท่านกพิราบ Pigeon Pose ท่านี้ช่วยให้รูปร่างบริเวณบั้นเอวลงไปกระชับมากขึ้น ช่วยลดต้นขาให้เล็กลง ทำให้ ขาเรียว น่องเรียว แถมเอวเล็กลงอีกด้วย หากฝึกฝนท่านี้เป็นประจำจะทำให้รู้สึกสดชื่น เพราะท่านี้ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยบริเวณหลัง หัวไหล่ บริเวณต้นคอ และยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อขาและกล้ามเนื้อสะโพกอีกด้วย

การออกกำลังกายโยคะ ท่านกพิราบ Pigeon Pose เป็นท่าโยคะที่เหมาะกับพนักงานออฟฟิตมาก เพราะเป็นท่าที่ช่วยผ่อนคลายความเมื่อยล้าจากการนั่งทำงานบนเก้าอี้เป็นเวลานานๆ แต่ท่านี้ไม่เหมาะกับกลุ่มคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับสะโพก หรือกระดูกสันหลัง เพราะอาจทำให้บาดเจ็บเพิ่มขึ้นจากท่านี้ได้ ก่อนฝึกฝนโยคะท่านี้ควรสำรวจความพร้อมของร่างกาย และ ควรมีการอบอุ่นร่างกายเพื่อคลายเส้นที่ตึงของร่างกายให้พร้อมกับการฝึกฝน นอกจากจะลดการบาดเจ็บแล้ว ยังทำให้คุณยืดหยุ่นกล้ามเนื้อได้มากขึ้นด้วย

สะโพกของคุณนั้นเป็นระบบศูนย์รวมที่ซับซ้อนของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยึดกระดูก และเส้นเอ็นยึดข้อที่มีความสำคัญต่อการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกาย การนั่งแหมะหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวันทำให้สะโพกไม่ได้ขยับยืดเหยียดอย่างที่มันต้องการ กิจกรรมอย่างการวิ่ง การเดิน หรือการปั่นจักรยานนั้นสร้างความแข็งแกร่งให้กับสะโพกก็จริง ทว่ามันไม่ได้ช่วยสะโพกได้ยืดเหยียดหรือยืดหยุ่น และลงท้ายอาจยิ่งทำให้มันรู้สึกตึงขึ้นไปอีก ความเครียดก็เป็นอีกปัจจัยหลักที่ทำให้สะโพกรู้สึกตึง เพราะเรามักทิ้งน้ำหนักตัวลงบนบริเวณสะโพก สลายความตึงของสะโพกไปด้วยการใช้ท่านกพิราบขาเดียว หรือ Eka Pada Rajakapotasana เข้าไปในการเล่นโยคะหรือในการออกกำลังกายของคุณ

การฝึกโยคะ ท่านกพิราบ ( Pigeon Pose ) ท่าโยคะพื้นฐานที่แสนง่ายแต่ให้ผลลัพธ์ดีเกินคาด ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ใครที่อยากขา การออกกำลังกายโยคะ ท่านกพิราบ Pigeon Pose ท่าโยคะพื้นฐานที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้คุณรับมือกับปัญหาที่เกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ ไม่ว่าจะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ถือว่าโยคะท่านี้เอาอยู่ ท่านี้ช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณอุ้งเชิงกราน และช่วยกระตุ้นต่อมเพศอีกด้วย

โยคะ (สันสกฤต: योग) เป็นกลุ่มของการปฏิบัติหรือการประพฤติทางกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยถือกำเนิดที่ประเทศอินเดีย หลายพันปีมาแล้ว วิธีการฝึกโยคะนั้นมีการได้ถ่ายทอดจากอดีตถึงปัจจุบัน ในแถบหุบเขาอินดัส วอลเลย์ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยนักโบราณคดีได้ค้นพบไม้แกะสลัก และงานศิลปะประเภทรูปปั้น ที่มีการฝึกโยคะ นักปราชญ์ชาวฮิน ชื่อ ปตัญชลี ได้ปรับปรุงรูปแบบการฝึกโยคะขั้นพื้นฐาน และได้เขียนตำราสูตรการฝึกโยคะไว้ 8 ข้อ ผู้ที่ฝึกและปฏิบัติโยคะ หากเป็นชายจะเรียกว่า โยคี และหากเป็นสตรีจะเรียกว่า โยคินี โยคะมาเป็นการออกกำลังกาย จะเน้นความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกระดูกทำให้เลือดและสารอาหารไปเลี้ยงส่วนประสาท ทำให้การทำงานของต่อมต่างๆทำงานดีขึ้น ท่าต่างๆในการฝึกโยคะ จะยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามแบบของโยคะสอดคล้องกับการหายใจ และการทำสมาธิ การฝึกโยคะจะทำให้สุขภาพจิตและสุขภาพกายดี

แหล่งอ้างอิง

  • Denise Lardner Carmody, John Carmody (1996), Serene Compassion. Oxford University Press US. p. 68.
  • Stuart Ray Sarbacker, Samādhi: The Numinous and Cessative in Indo-Tibetan Yoga. SUNY Press, 2005, pp. 1–2.
  • Tattvarthasutra [6.1], see Manu Doshi (2007) Translation of Tattvarthasutra, Ahmedabad: Shrut Ratnakar p. 102