เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ( Meningitis ) โรคอันตราย เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังติดเชื้อจากไวรัส แบคทีเรีย รา อาการมีไข้สูง ปวดหัวรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้อาเจียน ชักหมดสติ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมอง โรคติดเชื้อ

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นภาวะการอักเสบของเยื่อที่อยู่รอบสมองและไขสันหลัง ซึ่งโดยรวมเรียกว่า เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งการอักเสบเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือจุลชีพต่างๆ แต่ในบางครั้งก็สามารถเกิดจากการใช้ยาบางชนิด โรคนี้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากการอักเสบ เกิดขึ้นใกล้กับเนื้อสมองและไขสันหลัง

เยื่อหุ้มสมอง ภาษาอังกฤษ เรียก Meninges เป็นเนื้อเยื่อบางๆ ที่มีความแข็งแรง หุ้มสมองทุกส่วน โดยทำหน้าที่ปกป้องสมอง การเกิดการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อของสมอง เป็นโรคทีีสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ได้พบบ่อยมาก แต่อาการของโรคนี้ค่อนข้างรุนแรง จากสถิติในประเทศแถบตะวันตก พบผู้ป่วยโรคนี้ 100,000 คน พบได้ 3 คน และพบว่าสาเหตุของโรคเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ที่ 10 คน ต่อประชากร 100,000 คน โรคนี้พบได้ในประเทศกำลังพัฒนาได้มากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนในทุก เพสและทุกวัย

การเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไร

เราพบว่า สาเหตุของการเกิดโรค จากการติดเชื้อไวรัส มากเป็นอันดับหนึ่ง และรองลงมา เป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ตามลำดับ  เชื้อต่างๆสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทาง เราได้รวบรวม เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีดังนี้

  • เชื้อไวรัสเอนเทโร ภาษาอังกฤษ เรียก Enterovirus เป็นชื้อโรคที่ทำให้เกิด โรคมือ เท้า ปาก และโรคหวัด
  • เชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์  ภาษาอังกฤษ เรียก Varicella zoster virus เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส
  • เชื้อไวรัสคางทูม ภาษาอังกฤษ เรียก Mumps virus เป้นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคคางทูม
  • เชื้อแบคทีเรียนัยซ์ซีเรีย เมนิงไจติดิส ภาษาอังกฤษ เรียก Neisseria meningitidis
  • เชื้อแบคทีเรียมัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คุโลสิส ภาษาอังกฤษ เรียก Mycobacterium tuberculosis เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรควัณโรค
  • เชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปรา ภาษาอังกฤษ เรียก Leptospira เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคฉี่หนู

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สามารถรับเชื้อโรคเข้าสู่เยื่อหุ้มสมองทางกระแสเลือดมากที่สุด นอกจากการรับเชื้อโรคทางกระแสเลือดแล้ว การรับเชื้อโรคจากการฉีกขาดของเนื้อเยื้อโดยอุบัตติเหตุ นอกจากนี้การสัมผัสเชื้อโรค ผ่านทาง อื่นๆ เช่น การหายใจ การไอ การจาม สัมผัสอุจจาระ สัมผัสปัสสาวะ และแผล ก็สามารถเป็นช่องทางการที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งหมด

ปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ รายละเอียด ดังนี้

  1. ภูมิคุ้มกันร่างกายที่ต่ำ สามารถพบได้ในเด็กและผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังของโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคตับแข็ง และโรคเอดส์ เป็นต้น
  2. การติดสุรา เนื่องจากผู้ติดสุรามักจะมีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ
  3. ผู้ป่วยที่ผ่าตัดม้าม เนื่องจากม้ามเป็นอวัยวะที่สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  4. ผู้ป่วยที่ผ่าตัดทางเดินน้ำไขสันหลัง เนื่องจากน้ำไขสันหลังเป็นช่องทางที่เข้าสู่สมอง จึงเป็นช่องทางที่ทำให้เชื้อโรคสามารถเข้าสู่สมองได้
  5. ผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับการติดเชื้อที่หูเรื้อรัง
  6. คนที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน

อาการของผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

โดยอาการของโรค อาการอาจเหมือนหรือต่างกันได้ ตามช่วงอายุ โดยรายละเอียด ดังนี้

  1. เด็กอายุไม่เกิน 1 เดือนสามารถพบได้บ่อย โดยอาการที่พบ คือ มีไข้สูง กระสับกระส่าย ร้องโยเย ร้องไห้เสียงสูง ไม่ดูดนม อาเจียน อาจชัก บริเวณกระหม่อมนูน
  2. เด็กวัยทั้วไป และคนทั่วไป อาการที่พบ คือ มีไข้สูง ปวดหัวอย่างรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้ อาเจียน ตากลัวแสง อาจชัก ซึม มึนงง สับสน และอาจหมดสติ
  3. ผู้สูงอายุและคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานร่างกายต่ำ อาการที่พบ คือ ไม่ค่อยมีไข้ มึนงง และง่วงซึม

การตรวจโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

สามารถทำได้โดย ตรวจสอบประวัติการติดเชื้อ การเกิดอุบัติเหตุ การตรวจน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง และตรวจเชื้อโรคจากน้ำหล่อเลี้ยงสมองไขสันหลัง การตรวจเลือด เพื่อดูภูมิต้านทานต่างๆ   เป็นต้น

การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การรักษาสามารถทำได้โดยการรักษาตามสาเหตุ และประคับประคองตามอาการ เช่น เมื่อติดเชื้อแบคทีเรีย ก็จะทำการให้ยาปฏิชีวนะ ตามชนิดของเชื้อ เมื่อติดเชื้อไวรัส ประคับประคองตามอาการ
เมื่อเกิดจากเชื้อโรคอื่นๆ ก็ให้ยาฆ่าเชื้อโรคนั้นๆ ส่วนการประคับประคองโรคให้รักษาตามอาการ เช่น มีไข้สูง ก็ให้ยาลดไข้ ปวดหัว ก็ให้ยาแก้ปวด หากมีการอาเจียนก็ให้น้ำเกลือ เป็นต้น

การป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

สามารถทำได้โดย การป้องกันการติดเชื้อต่างๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกาย เช่น รักษาสุขอนามัย หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ป่วยติดเชื้อต่างๆ ใช้หน้ากากอนามัยป้องกันตัว ล้างมือให้สะอาด กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ เช่น วัคซีนโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบบางชนิด วัคซีนโรคคางทูม และวัคซีนโรคอีสุกอีใส เป็นต้น

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ( Meningitis ) ภาวะการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือ เชื้อ อาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ คือ มีไข้สูง ปวดหัวรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง ชัก หมดสติ โรคนี้เป็นอันตรายถึงชีวิต การรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

โรคอัลไซเมอร์ ความผิดปรกติของโครโมโซม คู่ที่ 1 14 19 และ 21 ทำให้ความจำเสื่อม หลงลืม พฤติกรรมเปลี่ยนไป ในที่สุดจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และ เสียชีวิตในที่สุดโรคอัลไซเมอร์ ความจำเสือม อัลไซล์เมอร์ โรคสมอง

โรคอัลไซเมอร์ ภาษาอังกฤษ เรียก Alzheimer’s disease คือ ความผิดปรกติของโครโมโซม คู่ที่ 1 14 19 และ 21 ไม่ใช่โรคติดต่อ สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ โรคที่เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม ทำให้เกิดอาการ เช่น ความจำเสื่อม หลงลืม นิสัยและพฤติกรรมเปลี่ยน ซึ่งอาการจะค่อยๆเป็นอย่างละช้าๆ จนในที่สุดผู้ป่วยจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และ เสียชีวิตในที่สุด โรคอัลไซเมอร์ สามารถพบได้มากกับผู้ป่วยที่อายุมาก อายุยิ่งมากเท่าไรก็มีโอกาสเป็นมากขึ้น จากสถิติ ประชากรไทย ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นโรคนี้ร้อยละ 2 ถึงร้อยละ 4

สาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์

ซึ่งทางการแพทย์พบว่า ร้อยละ 7 ของผู้ป่วยสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งเป็นความผิดปรกติของโครโมโซม คู่ที่ 1 14 19 และ 21 ซึ่งในผู้ป่วยที่เป็นโรคปัญญาอ่อน หรือโรคกลุ่มอาการดาวน์ (Down’s syndrome) หลังจากอายุเกิน 40 ปี จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ในที่สุด นอกจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแล้วยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ เช่น อายุที่มากขึ้น การเกิดอุบัติเหตุที่สมอง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโหิตสูง สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเกิดอัลไซลเมอร์ได้

อาการของโรคอัลไซเมอร์เป็นอย่างไร

อาการของโรคนี้สามารถแบ่งได้ เป็น 4 ระยะ คือ ระยะก่อนสมองเสื่อม สมองเสื่อมระยะแรก สมองเสื่อมระยะปานกลาง และสมองเสื่อมระยะสุดท้าย ซึ่งรายละเอียดของอาการสมองเสื่อมแต่ละระยะมีดังนี้

  1. ระยะก่อนสมองเสื่อม ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องการจดจำสิ่งที่พึ่งเรียนรู้มาไม่นาน แต่ว่ายังไม่มีอาการที่ชัดเจน ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ และยังสามารถตัดสินใจทำในสิ่งต่างๆได้ ยกเว้นเรื่องที่สลับซับซ้อน
  2. สมองเสื่อมระยะแรก ในระยะนี้ผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจำระยะสั้น หรือความจำที่เพิ่งเรียนรู้มา ลักษณะอาการ เช่น ลืมของ ลืมเวลานัด ทานยารักษาโรคซ้ำๆ ถามซ้ำ พูดซ้ำ ในระยะนี้การใช้ชีวิตของผู้ป่วยเริ่มไม่เป็นปกติ แต่ยังสามารถสื่อสารบอกความคิดพื้นฐานของตนได้ ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆได้ แต่ขาดความคล่องแคล่วเหมือนปรกติ
  3. สมองเสื่อมระยะปานกลาง ในระยะนี้ผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจำระยะสั้นไปเลย ส่วนความจำระยะยาว และความรู้ทั่วไป จะค่อยๆเสื่อมลง ในระยะนี้ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะอาศัยอยู่ในบ้านของตัวเองแต่จะมีความรู้สึกว่าอยู่ต่างสถานที่ตลอดเวลา เรื่องของภาษาและการพูดจะมีปัญหาชัดเจน ทักษะเรื่องของการอ่านและการเขียน จะค่อยๆเสื่อมลง ผู้ป่วยรู้สึกสับสน วิตกกังวล หงุดหงิด โมโหง่าย และอารมณ์แปรปรวน
  4. สมองเสื่อมระยะสุดท้าย ในระยะนี้ผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจทั้งหมด ทั้ง ระยะสั้น ระยะยาว และความรู้ทั่วไป ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยจะไม่สามารถทำกิจกรรมใดๆได้เลย แม้กระทั้งการอาบน้ำ การกินข้าว การแต่งตัว การเดิน หรือการนั่ง และไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้

ผลข้างเคียงของโรคอัลไซเมอร์เป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ และส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายใน 10 ปี ซึ่งการใช้ชีวิตจะเริ่มลำบาก และจะเปลี่ยนแปลงมาก เมื่อความทรงจำหาย

การรักษาโรคอัลไซเมอร์ 

ปัจจุบันยังไม่มี ยาหรือวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้ แต่การรักษาสามารถทำได้ด้วยการให้ยาเพื่อช่วยชะลออาการของโรค โดย ยาที่ให้ มีอยู่ 4 ชนิด คือ Donezpezil , Rivastigmin, Galantamine, และ Memantine  และการให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง เช่น ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด การบำบัดโดยอาศัยสัตว์เลี้ยง

การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

ผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการความจำเสื่อม ให้หยุดขับรถด้วยตนเอง ไม่ควรให้ผู้ป่วยไปยังสถานที่ไม่คุ้นเคยเพียงลำพัง ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยไปทำธุระสำคัญคนเดียว เช่น การทำธุรกรรมทางการเงิน และเมื่อมีอาการมากต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา พาผู้ป่วยพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินอาการ ควรให้ผู้ป่วยพกป้ายประจำตัว ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเบอร์ติด อย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการพลัดหลง

ป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์สามารถทำได้อย่างไร

เราได้รวบรวมมาให้ มีรายละเอียด ดังนี้

  1. ในผู้หญิงวัยหมดประำเดือน ต้องให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือให้ฮอร์โมนชนิดผสมเอสโตรเจน-โปรเจสโตโรน  ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ ดังนั้นต้องระวังการบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม
  2. ให้รับประทานอาหาร ที่มีสิตามินบี 12 และมีกรดโฟลิกสูง จำพวก ผักและผลไม้สด ธัญพืชต่างๆ น้ำมันมะกอก ปลา ไวน์แดง
  3. ลดการบริโภค อาหารประเภท ไขมันสูง เค็มจัด หวานจัด และอาหารจานด่วนต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงของดรค โรคไขมันในเส้นเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  5. ทำกิจกรรมที่ฝึกสมองและความคิด เช่น อ่านหนังสือ เล่นหมากรุก เป็นต้น

สมุนไพรช่วยบำรุงสมอง

ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาทได้ มีดังนี้

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพร
หอมหัวใหญ่
มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้
มะละกอ
กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมนุไพรชมจันทร์
งาดำ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรงาดำ
หญ้าคา สมุนไพร สมุนไพรไทย
หญ้าคา
มะพร้าว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชยืนต้น
มะพร้าว
กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมนุไพร
กระเจี๊ยบเขียว
ตะไคร้ สมุนไพร พืชสมุนไพร สมุนไพรไทย
ตะไคร้