เงาะ ( Rambutan ) ผลไม้แสนอร่อย พืชเศรษฐกิจ สมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณ รักษาอาการอักเสบ แก้ท้องร่วง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์

เงาะ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของเงาะ

เงาะ ( Rambutan ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของเงาะ คือ Nephelium lappaceum L. ผลไม้ สมุนไพร ประโยชน์ของเงาะ สรรพคุณของเงาะ ช่วยบำรุงผิวพรรณ รักษาอาการอักเสบในช่องปาก แก้ท้องร่วง เป็นยาแก้อักเสบ ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ชื่อเรียกอื่นๆของเงาะ เช่น เงาะป่า พรวน กะเมาะแต มอแต อาเมาะแต เป็นต้น

เงาะ ผลไม้ เป็น สมุนไพร มีสรรพคุณ ช่วยบำรุงผิวพรรณ รักษาอาการอักเสบในช่องปาก แก้ท้องร่วง เป็นยาแก้อักเสบ ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ เป็นต้น

เงาะ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Rambutan ชื่อวิทยาศาสตร์ของเงาะ คือ Nephelium lappaceum L. เงาะมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น เงาะป่า พรวน กะเมาะแต มอแต อาเมาะแต เป็นต้น เงาะเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย เป็นพืชเขตร้อน ในประเทศไทย ปลูกมากในภาคตะวันออกและภาคใต้ ซึ่งสายพันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทย เช่น พันธุ์โรงเรียน พันธุ์สีทอง พันธุ์สีชมพู เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของเงาะ

สำหรับการรับประทานเงาะ นิยมรับประทานเนื้อของผลเงาะ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเงาะ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 82 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 20.87 กรัม กากใยอาหาร 0.21 กรัม ไขมัน 0.65 กรัม โปรตีน 2.5 กรัม วิตามินบี1 0.013 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.022 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.352 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.9 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 22 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.35 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 7 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.343 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 9 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 42 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม

สรรพคุณของเงาะ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเงาะ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มักใช้ประโยชน์จากผลเงาะ โดยสรรพคุณของเงาะ มีดังนี้

  • ผลเงาะมีสรรพคุณ ช่วยบำรุงผิวพรรณ รักษาอาการอักเสบในช่องปาก แก้ท้องร่วง เป็นยาแก้อักเสบ ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์

โทษของเงาะ

สำหรับการรับประทานเงาะ เป็นอาหาร และ ใช้ในการรักษาโรค มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากเงาะ ดังนี้

  • เนื้อเงาะ มีสารเคมีสำคัญ คือ สารแทนนิน ( Tannin ) สรรพคุณช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในกระเพาะอาหาร หากกินเงาะมากเกินไปทำให้ท้องผูกได้
  • เมล็ดของเงาะ มีความพิษไม่ควรรับประทานเมล็ดเงาะ อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และ มีไข้ได้

เงาะ เป็น ผลไม้ ที่มีรสหวานอมเปรี้ยว การกินเงาะช่วยแก้ท้องร่วงได้ผลดี และหากนำเงาะมาต้ม น้ำจากเงาะสามารถใช้เป็นยาแก้อักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และรักษาอาการอักเสบในช่องปากได้ แต่ถ้ารับประทานมากเกินไป อาจทำให้ ปวดท้อง เวียนหัว มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ได้ ในเงาะมีสารชนิดหนึ่ง ชื่อว่าสารแทนนิน ซึ่งสารนี้สามารถ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ใช้บำบัดน้ำเสีย ฟอกหนัง ย้อมผ้า ใช้ป้องกันแมลง ทำกาว เป็นต้น แต่สารแทนนิน ก็มีโทษ คือ สารนี้จะยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในกระเพาะอาหาร จะทำให้ท้องอืด หรือท้องผูก

สรรพคุณเด่นของเงาะ คือ ใช้รักษาการอักเสบในช่องปาก ซึ่งสมุนไพรอื่นๆที่ใช่ดูแลปาก เหงือกและฟัน มีอีกมากมาย เราจึงขอแนะนำสมุนไพรที่ช่วยบำรุงช่องปาก อื่นๆ ดังนี้

เก๋ากี้ สมุนไพร โกจิเบอร์รี่ สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่เก๋ากี้ โกจิเบอร์รี่ ลูกสมอไทย สมอไทย ราชาสมุนไพร สมุนไพรไทยสมอไทย
ยางนา น้ำมันยางนา สมุนไพร สรรพคุณของยางนายางนา ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว
ชุมเห็ดเทศ ต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ สมุนไพรชุมเห็ดเทศ มะกอก สรรพคุณของมะกอก น้ำมันมะกอก โทษของมะกอกมะกอก

เงาะ ( Rambutan ) ผลไม้ สมุนไพร ประโยชน์ของเงาะ สรรพคุณของเงาะ ช่วยบำรุงผิวพรรณ รักษาอาการอักเสบ แก้ท้องร่วง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ชื่อเรียกอื่นๆของเงาะ เช่น เงาะป่า พรวน กะเมาะแต มอแต อาเมาะแต เป็นต้น

อาการเวียนศรีษะจากความผิดปรกติของหูชั้นใน และ ความผิดปรกติของระบบเลือด เลือดไหวเวียนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการโลกหมุน หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้อาเจียนโรคเวียนศีรษะ โรคหู บ้านหมุน โรคไม่ติดต่อ

โรคเวียนศีรษะ ภาษาอังกฤษ เรียก Dizziness หากท่านมีอาการ เช่น มึนหัว บ้านหมุน หนักหัว เป็นลม เป็นสัญญานว่าท่านกำลังเป็นโรคเวียนศรีษะ สาเหตุ การรักษา และการป้องกันโรคเวียนหัว อยู่ในเนื้อหา ในบทความนี้ แต่สาเหตุที่พบบ่อย โรคนี้เกิดจาก ความผิดปรกติของหูชั้นใน และความผิดปรกติของระบบเลือด

การตรวจวินิจฉัยโรคเวียนศรีษะ

แพทย์จะสังเกตุจากอาการ อยู่ 3 ส่วน ใหญ่ๆ คือ ลักษณะของอาการเวียนศรีษะ ระยะเวลาในการเวียนศรีษะ และอาการอื่นๆที่เกิดขึ้นในช่วงที่เวียนศรีษะ เป็นต้น  ซึ่งการตรวจวินิจฉัย จะทำการตรวจระบบหู ตรวจตา ตรวจการได้ยิน ตรวจหู คอ จมูก ตรวจชีพขจร วัดความดัน ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจการทำงานของหัวใจตรวจความเครียด ตรวจการทรงตัว และ ตรวจระบบประสาท เป็นต้น ซึ่งการตรวจทั้งหมดเพื่อดูความผิดปรกติของร่างกายว่าเกิดจากจุดใดที่มหให้เกิดอาการเวียนหัว

อาการของผู้ป่วยโรคเวียนศรีษะ

ทางการแพทย์แบ่งลักษณะของอาการ เป็น 4 ชนิด คือ การเวียนศรีษะแบบโลกหมุน การเวียนศรีษะแบบหน้ามืดเป็นลม การเวียนศรีษะแบบมึนๆหนักศรีษะ และการเวียนศรีษะแบบสูญเสียการทรงตัว รายละเอียด ดังนี้

  1. การเวียนศีรษะ แบบโลกหมุน ภาษาอังกฤษ เรียก vertigo ลักษณะ คือ ผู้ป่วยจะเห็นภาพหมุน หมุนมากจนต้องหลับตา หากเปิดตาก็จะทำให้เวียนหัว คลื่นไส้อาเจียน ได้ สาเหตุของอาการโลกหมุน เกิดจากความผิดปรกติของ หูชั้นใน ซึ่งโรคเกี่ยวกับหูชั้นในเช่น Benign paroxysmal positional vertigo (BPPV) หูชั้นในอักเสบจากเชื้อไวรัส น้ำเลี้ยงในหูชั้นในเพิ่มขึ้น เนื้องอกกดเส้นประสาท  และการบริโภคยาบางชนิด เช่น Aspirin, streptomycin, gentamicin, caffeine, alcohol และยาเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และยาเกี่ยวกับโรคหัวใจ เป็นต้น
  2. การเวียนศรีษะ แบบหน้ามืดเป็นลม ภาษาอังกฤษ เรียก Fainting อาการจะเกิดขึ้นตอน นั้งหรือนอนอยู่แล้วลุกขึ้นกระทันหัน แล้วเกิดอาการ หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออก หน้าซีด ต้องนั้งหรือนอนสักพักก็จะค่อยๆดีขึ้น ในผู้ป่วยบางรายถึงกับคลื่นไส้อาเจียน สาเหตุของอาการแบบนี้ เกิดจาก ภาวะความดันโลหิตต่ำ และอาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
  3. การเวียนศรีษะ แบบหนักศีรษะมึนๆ ลักษณะอาการแบบนี้เป็นอาการที่พบบ่อยสุดในอาการของผู้ป่วยโรคปวดศรีษะ ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ ความผิดปรกติของหูชั้นใน และโรคเครียด
  4. การเวียนศีรษะ แบบเสียการทรงตัว ผู้ป่วยจะไม่สามารถทรงตัวได้ ซึ่งสาเหตุของอาการลักษณะนี้ เกิดจาก ความผิดปรกติของหูชั้นใน โรคระบบประสาท โรคข้อเสื่อม โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และการใช้ยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับและยากันการชัก เป็นต้น

การป้องกันและการดูแลตนเองเบื้องต้น

สามารถทำได้โดย การนอนพัก อย่าเปลี่ยนท่าอย่างกระทันหัน หันศีรษะช้าๆ หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลง หลีกเลี่ยงการขับยานพาหนะ การขึ้นลงบันได หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือขณะอยู่ในยานพาหนะ เป็นต้น

อาการเวียนหัวสาเหตุหนึ่งเกิดจากการที่เลือดไหวเวียนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ซึ่งอาการเลือดเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ อาจเกิดจากการตีบตันในเส้นเลือด ซึ่งไขมันที่เกาะตัวในเส้นเลือดเป็นสาเหตุของการทำให้เส้นเลือดตีบตัน ดังนั้น สมุนไพรที่ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเวียนหัวได้ จึงขอแนะนำสมุนไพรช่วยลดไขมันในเส้นเลือด มีดังนี้

คาเคา โกโก้ สรรพคุณของโกโก้ สมุนไพรคาเคา คะน้าเม็กซิกัน ผักไชยา สมุนไพร ต้นผงชูรสผักไชยา
เก๋ากี้ สมุนไพร โกจิเบอร์รี่ สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่เก๋ากี้ โกจิเบอร์รี่ ลูกสมอไทย สมอไทย ราชาสมุนไพร สมุนไพรไทยสมอไทย
ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง

โรคเวียนศรีษะ ( Dizziness ) คือ ภาวะความผิดปรกติของหูชั้นใน และ ความผิดปรกติของระบบเลือด อาการเวียนหัวสาเหตุหนึ่งเกิดจากการที่เลือดไหวเวียนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการ โลกหมุน หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท หูคอจมูก การรักษาโรค และ การป้องกันการเกิดโรค