ไซนัสอักเสบ ( Sinusitis ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย ทำให้ปวดบริเวณหน้า มีหนองที่โพรงจมูก มี 2 ชนิด คือ ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน ไซนัสอักเสบเรื้อรังไซนัสอักเสบ โรคในโพรงจมูก โรคหูคอจมูก โรคระบบทางเดินหายใจ

ไซนัสอักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก Sinusitis เป็นโรคเกี่ยวกับหูคอจมูก ซึ่งเกิดจากความอักเสบของไซนัส เรามาทำความรู้จัก กับ ไซนัสกันก่อน  ไซนัส (Sinus) คือ โพรงอากาศในกระดูกใบหน้าที่อยู่บริเวณรอบๆของจมูก และมีท่อซึ่งจะเปิดในช่องจมูก ไซนัส(sinus)จะมีเยื่อบุ ซึ่งเป็นเยื่อบุชนิดเดียวกันกับเยื่อบุช่องจมูก ซึ่งภายในไซนัสที่จะมีเมือก ซึ่งทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นและรักษาความชื้นกับอากาศที่จะผ่านเข้ามา ไซนัสมี 4 คู่ คือ ไซนัสบริเวณโหนกแก้ม 2 ข้าง เรียกวา่ Maxillary sinus ไซนัสระหว่างลูกตาบริเวณ หัวตาสองข้าง เรียก ethmoid sinus ไซนัสบริเวณหน้าผากใกล้กับหัวคิ้วสองข้าง เรียก frontal sinus ไซนัสที่อยู่ในกะโหลกศีรษะใกล้ฐานของสมอง เรียก sphenoid sinus

หน้าที่ของไซนัส

เนื่องจากไซนัสเป็นส่วนที่อยู่ตรงศีรษะ ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของศีรษะ เยื่อบุของไซนัสจะทำหน้าที่ผลิตน้ำมูกเมือกใสๆ เพื่อทำหน้าที่ดักจับฝุ่นละอองและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกายผ่านการหายใจ บนเยื่อบุเหล่านี้จะมีขนเล็ก เรียก cilia ซึ่งทำหน้าที่คอยพัด น้ำมูกเหล่านี้ลงด้านหลังของจมูกลงคอ และร่างกายจะกลืนลงไปและจะไปเจอกับ กรดในกระกระเพาะ ที่มีหน้าที่ฆ่าเชื้อโรค นอกจากนั้น ไซนัสจะทำหน้าที่ปรับอากาศ ที่จะเข้าสู่ร่างกาย เพื่อให้อุณหภูมิร่างกายปรกติเหมาะสมกับร่างกายของคนเรา

ไซนัสอักเสบ หมายถึง การอักเสบของไซนัส ซึ่งมีสาเหตุจากการติดเชื้อ เชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น ซึ่งไซนัสอักเสบนี้ มีอยู่ 2 ชนิด คือ ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน และไซนัสอักเสบเรื้อรัง โดยรายละเอียด ดังนี้

  1. ไซนัสอักเสบชนิดเฉียบพลัน เรียกว่า Acute sinusitis   ซึ่งเป็นอาการอักเสบของไซนัสอย่างเฉียบพลัน โดยปรกติแล้วจะหายเองภายใน 30 วัน
  2. ไซนัสอักเสบชนิดเรื้อรัง ลักษณะอาการคือ เกิดการอักเสบของไซนัสนานกว่า  30 วัน ซึ่งนานถึง 90 วัน และใน 1 ปี ผู้ป่วยจะเป็นมากกว่า 4 ครั้ง ซึ่งสาเหตุอาจจะเกิดจากการมีเนื้องอกที่จมูก โรคภูมแพ้ การติดเชื้อทางเดินหายใจ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดไซนัสอักเสบ

บริเวณไซนัสจะมีโพลง มีเมือกซึ่งจะไหลจากมูกลงสู่คอ หากการไหลเวียนของเมือกไม่ดี เกิดการอุดตัน ก็สามารถทำให้เกิดการอักเสบได้ แต่สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งก็มีเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อไวรัส ก็เกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด ซึ่งมีโอกาสลามไปสู่ไซนัสได้ ส่วนการติดเชื้อแบคทีเรีย อาจจะทำให้เกิดภาวะเรื้อรังได้ สาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดไซนัสอักเสบได้ เช่น โรคภูมิแพ้ การสูดดมมลพิษ การติดเชื้อรา ริดสีดวงจมูก เนื้องอก ความเครียด การติดเชื้อจากฟัน อุบัติเหตุที่กระทบบกระเทือนกับไซนัส และสิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบ

มีอาการปวด หรือรู้สึกหน่วงๆ ที่ไซนัส สังเกตุจาก รู้สึกบริเวณ หน้าผาก หัวตา โหนกแก้ม หรือรอบๆ กระบอกตา เป็นต้น ถ้าเอานิ้วกดจะปวด ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดหัว มีน้ำมูกเป็นหนอง สีเหลือง สีเขียว  และน้ำมูกจะไหลลงคอ เวลาสูดจมูกแรงๆ น้ำหนองจะไหลลงคอ ลมหายใจมีกลิ่นเหม็นคาว ปวดหู รู้สึกหูอื้อ เจ็บคอ มีไข้ ไอ มีกลิ่นปาก อ่อนเพลีย

ผู้ที่มีโอกาสเกิดโรคไซนัสอักเสบ พบว่า คนที่เป็นหวัด คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูก คนที่มีความผิดปกติของช่องจมูก คนที่สูบบุหรี่ คนที่อยู่ในเขตมลภาวะเป็นพิษ การว่ายน้ำสระน้ำ คนเหล่านี้มีโอกาสเป็นโรคไซนัสอักเสบ

การตรวจโรคไซนัสอักเสบ

สามารถทำได้โดย อ้าปาก ตรวจดู หนองหรือเมือกที่หลังของคอ กดบริเวณหน้าผาก โหนกแก้ม หัวตา หากเจ็บ แสดงว่ามีโอกาสเป็นโรคไซนัสอักเสบ นอกจากการตรวจภายนอกยังสามารถตรวจได้ โดย การเอ็กเรย์น้ำในไซนัส การส่องกล้อง การทำMRI เป็นต้น

การป้องกันการเกิดไซนัสอักเสบ

สามารถทำได้โดย การรักษาความสะอาด การฉีกวัคซีน หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนเป็นหวัด คนสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ งดสูบบุหรี่ เป็นต้น

การรักษาโรคไซนัสอักเสบ

สามารถทำหารรักษาได้โดย การรักษาทั่วไป รักษาการติดเชื้อ ระบายของโพรงอากาศดีขึ้น รักษาและป้องกันปัจจัยเสี่ยง ซึ่งรายละเอียด ดังนี้

  1. การรักษาทั่วๆไป สามารถทำได้โดย กินน้ำเพียงพอ อย่าให้จมูกแห้ง ทานยาแก้ปวด ยาลดน้ำมูก พักผ่อนให้พอ
    อยู่ในสถานที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  2. การรักษาการติดเชื้อ สามารถทำได้โดยการใช้ยาแก้อักเสบ
  3. การระบายโพรงอากาศให้ดีขึ้น สามารถทำได้โดยการให้ยาแก้คัดจมูก ให้ยาลดบวม ให้ยาละลายเสมหะ ล้างไซนัส เป็นต้น
  4. การรักษาภาวะเสี่ยง หากผู้ป่วยมีริดสีดวงจมูก ให้ทำการรักษาก่อนที่จะเกิดโรคไซนัสอักเสบ

สมุนไพรช่วยละลายเสมหะ

ช่วยทำให้ระบายช่องคอเพื่อไม่ให้โพรงไซนัสเกิดการอุดตัน ซึ่ง สมุนไพรช่วยละลายเสมหะ ช่วยขับเสมหะ มีดังนี้

ยางนา น้ำมันยางนา สมุนไพร สรรพคุณของยางนายางนา ตะลิงปลิง ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของตะลิงปลิงตะลิงปลิง
หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง ลูกสมอไทย สมอไทย ราชาสมุนไพร สมุนไพรไทยสมอไทย
สมอพิเภก สมุนไพรตรีผลา สมุนไพรไทย สรรพคุณของสมอพิเภกสมอพิเภก ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลาตรีผลา

โรคไซนัสอักเสบ ( Sinusitis ) คือ ภาวะการอักเสบของไซนัส สาเหตุจากการติดเชื้อโรค เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น ทำให้เกิดอาการ ปวดบริเวณหน้า มีหนองที่โพรงจมูก โรคไซนัสอักเสบ มี 2 ชนิด คือ ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน และ ไซนัสอักเสบเรื้อรัง โรคเกี่ยวกับหูคอจมูก การรักษาไซนัสอักเสบ สาเหตุของไซนัสอักเสบ ไซนัสคืออะไร หน้าที่ของไซนัส ไซนัสอักเสบมีกี่ชนิด

โรคประสาท ( Neurosis ) โรคทางจิตเวช ไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนเองได้ ย้ำคิดย้ำทำ ซึมเศร้า วิตกังวล หวาดกลัว วิปริด สาเหตุของโรคและแนวทางการรักษาโรค

โรคประสาท โรคสมอง โรคไม่ติดต่อ รักษาโรคประสาท

โรคประสาท ภาษาอังกฤษ เรีนก Neurosis โรค นี้เป็น โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งลักษณะ คือ ขาดความสามารถในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม โดยสาเหตุอาจจะเกิดจากความวิตกกังวล ไม่สบายใจ จิตใจแปรปรวน อ่อนไหวง่าย มีความขัดแย้งในจิตใจ มีความรู้สึกไม่สบายใจ วิตกกังวล

ซึ่งจะมีอาการแสดงออกตามมา แต่อาการไม่รุนแรงมากเท่า โรคจิต โรคประสาท นี้ ผู้ป่วยนั้นยังสามารถมีจิตนึกคิด ได้ตามเหตุการณ์ปรกติและรู้ตัวเองอยู่เสมอ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการประสาทหลอน การเห้นภาพลวงตา อาการหูแว่ว ผู้ป่วยโรคประสาท นี้สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป สามารถเกิดขึ้นได้กับคนในทุกเพศทุกวัย

หากจะทำความรู้จักกับโรคประสาทอย่างละเอียด มี 5 ประเภท ประกอบด้วย โรคประสาทประเภทวิตกกังวล (Anxiety Neurosis) โรคประสาทประเภทซึมเศร้า (Depressive Neurosis) โรคประสาทประเภทหวาดกลัว (Phobic Neurosis) โรคประสาทประเภทย้ำคิดย้ำทำ (Obscessive Compulsive Neurosis) และ โรคประสาทประเภทบุคลิกวิปลาส (Depersonalization) รายละเอียดของดรคประสาทประเภทต่างๆ มีดังนี้

  1. โรคประสาทประเภทวิตกกังวล ภาษาอังกฤษ เรียก Anxiety Neurosis ผู้ป่วยจะมีอาการวิตกกังวลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งมากเกินกว่าปรกติ ในความวิตกกังวลเหล่านี้เกิดจากเรื่องที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สบายใจมาก่อน เช่น เรื่องความสูญเสีย และเมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยก้ยังคงฝังใจไม่ลืม ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เกิดภาวะเครียด ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ไม่ยากรับประทานอาหาร หงุดหงิดง่าย ถึงขี้นเก็บไปฝันและเพ้อ
  2. โรคประสาทประเภทหวาดกลัว ภาษาอังกฤษ เรียก Phobic Neurosis ผู้ป่วยจะเกิดหวาดกลัว ซึ่งเกิดจากการเจอเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้กลัวสุดขีด เช่น การจมน้ำ การโดนผีหลอก การโดนทำร้าย การโดนกระทำชำเรา เป็นต้น ซึ่งหากเมื่อผู้ป่วยพบกับเหตุการณ์ใกล้เคียง จะมีอาการกลัวมากกว่าปรกติ ลักษณะ คือ หัวใจจะเต้นเร็ว หายใจเร็วรัว เหงื่อออกมาก หวาดระแวง คลื่นไส้ สามารถหายไปเองได้ เมื่อเหตุการณ์ผ่านไป
  3. โรคประสาทประเภทย้ำคิดย้ำทำ ภาษาอังกฤษ เรียก Obscessive Compulsive Neurosis ผู้ป่วยจะลักษณะของภาวะวิตกกังวล ทำอะไรซ้ำไปซ้ำมา จนกลายเป็นพฤติกรรมที่ปลูกฝังอยู่ในจิตใจ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการย้ำคิดย้ำทำ โดยผู้ป่วยเองไม่รู้ตัว
  4. โรคประเภทซึมเศร้า ภาษาอังกฤษ เรียก Depressive Neurosis ผู้ป่วยประเภทนี้จะเกิดความซึมเศร้า ที่ทำให้สภาวะจิตใจของผู้ป่วยแปรปรวน มีความขัดแย้งภายในใจ ซึ่งรวมไปถึงความเสียใจ ความสูญเสีย ผู้ป่วยจะมีความคิดถึงเรื่องที่ทำให้เสียใจอยู่เป็นประจำ อาการของผู้ป่วยจะมีอาการเหม่อลอย ซึมเศร้า ชอบเก็บตัว ตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้า  ไม่ยากรับประทานอาหาร นอนไม่หลับ ท้องผูก เป็นต้น
  5. โรคประสาทประเภทบุคลิกวิปลาส ภาษาอังกฤษ เรียก Depersonalization มักจะเกิดจากอาการวิตกจริต ผู้ป่วยจะแสดงออกเหมือนไม่ใช่ตัวเอง ซึ่งเป็นโรคประสาทที่เกิดกับการครุ่นคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเอง

สาเหตุของการเกิดโรคประสาท

สามารถแยกออกได้ 5 สาเหตุหลักๆ ประกอบด้วย พันธุกรรมและร่างกาย การใช้ชีวิตทางสังคม ความผิดปรกติทางเคมีในร่างกายบางอย่าง การเสพยาเสพติด และการเสื่อมของระบบร่างกายจากอายุ ซึ่งรายละเอียดของสาเหตุประเภทต่างๆ มีดังนี้

  1. สาเหตุของโรคระสาทจากพันธุกรรมและร่างกาย ผู้ป่วยจะมีลักษณะท้อแท้ รู้สึกเป็นปมด้อย เนื่องจากการพิการ การสูญเสียอวัยวะ
  2. สาเหตุของโรคประสาทจากการใช้ชีวิตทางสังคม ซึ่งเป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยปรับตัวไม่ทัน เช่น ความยากจน การหย่าร้าง การตกงาน เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยจะแสดงออกทางความเครียด ความวิตกกังวล ทำให้เกิดภาวะทางประสาทตามมา
  3. สาเหตุของโรคประสาทจากชีวะเคมี ซึ่งเกิดจากการหลั่งสารเคมีบางอย่าง ที่ทำให้ระบบประสาทของร่างกายทำงานผิดปรกติ ส่งผลให้การทำงานของระบบประสาท สมอง แสดงออกมาทางพฤติกรรมที่ผิดปรกติ
  4. สาเหตุของโรคประสาทจากการเสพยาเสพติด ยาเสพติดทำลายระบบประสาท หากมีการเสพยาเสพติดมาก เกิดไปและเป็นเวลานาน ระบบประสาทจะถูกทำลาย จนแสดงออกมาทางพฤติกรรมต่างๆ ของโรคประสาท
  5. สาเหตุของโรคประสาทจากอายุ เมื่ออายุสูงขึ้น ก็เกิดภาวะอ่อนแอ รู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้ง

อาการของผู้ป่วยโรคประสาท

ซึ่งลักษณะเด่นของผู้ป่วยจะวิตกกังวลเป็นพิเศษ และมีอาการอื่น ดังนี้

  1. ผู้ป่วยวิตกกังวล และเครียด มากกว่าปรกติ
  2. หัวใจเต้นเร็ว แรง และใจสั่น ซึ่งอาการแน่นหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย และปัสสาวะบ่อยจะตามมา
  3. เกิดการควบคุมกล้ามเนื้อได้ไม่ดี เช่น เกร็ง มือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก เป็นต้น
  4. จะมีความกลัวในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น มีอาการย้ำคิด ย้ำทำ คิดวนไปวนมา และมักคิดในแง่ร้าย
  5. จะซึมเศร้า มีอาการเหม่อลอย
  6. ตกใจง่าย หากมีเสียงดังมากระทบ จะตกใจมากกว่าปรกติ

การรักษาโรคประสาท 

ในการรักษาผู้ป่วยอาการโรคประสาท นั้น การรักษาจะเน้นที่การปรับกระบวนการคิด ซึ่งส่งผลให้พฤติกรรมเปลี่ยนเป็นหลัก และการรักษาทางการแพทย์ มีรายละเอียด ดังนี้

  1. การใช้ยา ซึ่งลักษณะยาที่ให้ จะเป็นยา ประเภทยาคลายเครียด ยานอนหลับ ยาบำรุงประสาท เป็นต้น
  2. การรักษาโดยจิตบำบัด ซึ่งเป็นการทำกิจกรรม การพูดคุยกับผู้ป่วย เพื่อปรับกระบวนการคิด ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเอง สังคม และยอมรับความเป็นจริง ที่เกิดขึ้น
  3. การทำพฤติกรรมบำบัด เป็นวิธีที่ทำควบคู่กับการทำจิตบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยรู้จักกับการจัดการกับความเครียดของตัวเอง เพื่อลดความเครียด และอาการที่ทำให้เกิดการวิตกกังวล
  4. การเปลี่ยนแปลงบรรยากาศ เช่น การท่องเที่ยว การนั้งฟังธรรมะ และการนั่งสมาธิ เป้นต้น จะช่วยให้เกิดการผ่อนคลาย

การป้องกันโรคประสาท

สามารถป้องกันได้หลายวิธี โดยรายละเอียด มีดังนี้

  1. การป้องกันสำหรับคนช่วงเด็ก ปัจจัยที่สำคัญคือ การเลี้ยงดู การอบรบ สั่งสอน ให้เด็กเต็บโตขึ้นมา ให้แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ ได้รับความรัก ความอบอุ่นอย่างเหมาะสม
  2. การป้องกับสำหรับคนวัยผู้ใหญ่ จำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องคนรอบข้าง ซึ่งต้องทำความรุ้จักและทำความเข้าใจคนรอบข้าง เพื่อจะได้เข็มแข็งเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้กระทบกระเทือนจิตใจ จะได้ยอมรับและผ่านไปได้อย่างเข้มแข็ง
  3. รู้จักการให้อภัย การรู้จักให้อภัยในสิ่งที่ผิดพลาด จะทำให้เกิดความสบายใจและไม่จดจำสิ่งที่ทำให้กระทบกระเทือนต่อจิตใจ
  4. การออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม

สมุนไพรที่ช่วยผ่อนคลายและช่วยให้นอนหลับสบาย สามารถช่วยบรรเทาอาการความเครียดของผู้ป่วยโรคประสาท การนอนหลับ จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจได้ผ่อนคลายได้ สมุนไพรช่วยคลายเครียด และช่วยนอนหลับ มีดังนี้

คาเคา โกโก้ สรรพคุณของโกโก้ สมุนไพรคาเคา โกฐเชียง สรรพคุณของตังกุย ตังกุย สมุนไพรตังกุย
ลูกสมอไทย สมอไทย ราชาสมุนไพร สมุนไพรไทยสมอไทย เก๋ากี้ สมุนไพร โกจิเบอร์รี่ สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่เก๋ากี้ โกจิเบอร์รี่
มะขามป้อม มะขามอินเดีย สมุนไพร ผลไม้วิตามินซีสูงมะขามป้อม ผักชี ผักสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของผักชีผักชี

โรคประสาท ( Neurosis ) คือ โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคทางจิตประเภทหนึ่ง ทำให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมได้ ย้ำคิดย้ำทำ ซึมเศร้า วิตกังวล หวาดกลัว วิปริด เกิดจากความวิตกกังวล ไม่สบายใจ จิตใจแปรปรวน อ่อนไหวง่าย มีความขัดแย้งในจิตใจ มีความรู้สึกไม่สบายใจ วิตกกังวล เป็นเวลานาน สาเหตุเกิดจากอะไร โรคจิตประเภทหนึ่ง ลักษณะอาการโรคประสาท