คอพอก ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์จากการขาดสารไอโอดีน ทำให้คอโต อ่อนแรง เหนื่อยง่าย ไม่กระฉับกระเฉง ผิวหนังแห้ง ท้องผูก อันตรายกับสตรีมีครรถ์ ลูกเป็นปัญญาอ่อนได้โรคคอพอก โรคขาดสารไอโอดีน โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

โรคคอพอก ภาษาอังกฤษ เรียก Simple goiter คือโรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ คือ ต่อมไทรอยด์  หมายถึง โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ จากการขาดสารไอโอดีน ซึ่งโรคคอพอกจะมีลักษณะ คือ คอโต ซึ่งโรคคอพอกสามารถแบ่งได้ 4 ชนิด รายละเอียด ดังนี้

  • คอพอก ชนิดต่อมไทรอยด์โตเรียบทั่วทั้งต่อม และ สามารถสร้างฮอร์โมนได้ปกติ เรียกว่า Diffuse nontoxic goitre คือ  ลักษณะนี้ต่อมไทรอยด์ ยังสามารถทำงานได้ตามปรกติ เกิดจากการขาดสารไอโอดีน ลักษณะคอจะโตเรียบ
  • คอพอก ชนิดต่อมไทรอยด์เป็นตะปุ่มตะป่ำและสามารถสร้างฮอร์โมนได้ตามปรติ เรียกว่า Nontoxic multinodular goitre โรคคอพอกชนิดนี้พบว่าเป็นสาเหตุของการเกิดคอพอก ถึง 10 % เกิดจากสถาพแวดล้อมขาดสารไอโอดีน จะมีปุ่มเกิดขึ้นบริเวณคอ เหมือนก้อนเนื้อ
  • คอพอก ชนิดต่อมไทรอยด์เป็นตะปุ่มตะป่ำ แต่เกิดการสร้างฮอร์ดมนมากกว่าปรกติ เรียกว่า Toxic multinodular goitre ลักษณะคอพอกชนิดนี้ พบไม่มาก ลักษณะเกิดปุ่มเหมือนก้อนเนื้อที่คอ เกิดการสร้างฮอร์โมนมากกว่าปรกติ ทำให้เกิดอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษร่วมด้วยได้ สาเหตุเกิดจากความผิดปรกติของพันธุกรรม และการขาดสารไอโอดีน
  • คอพอก ชนิดมีปุ่มเนื้อปุ่มเดียว และ เกิดการสร้างฮอร์โมนมากกว่าปกติ เรียกว่า Hyperfunctioning solitary nodule เป็นการเกิดที่ต่อมไทรอยด์เพียงกลีบเดียว สามารถคลำได้ เป็นก้อน ลักษณะของไทรอยด์ชนิดนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการต่อมไทรอยด์เป็นพิษร่วมด้วยได้

โดยทั่วไปคอพอกสามารถแบ่ง ระดับของคอพอก ได้ 5 ระดับ ประกอบด้วย ระดับ 0 1A 1B 2 และ 3 รายละเอียดของ คอพอกระดับต่างๆ มีดังนี้

  • ระดับ 0 ไม่พบอาการคอบวม
  • ระดับ 1A ระดับนี้จะมีก้อนที่คอ ขนาดเท่าหัวแมมือ สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้
  • ระดับ 1B ระดับนี้ขนาดของคอพอกจะโดตขึ้น 2 ถึง 3 เท่า
  • ระดับ 2 สามารถมองเห็นอาการคอพอกได้อย่างชัดเจน มีอาการบวมอย่างเห้นได้ชัด
  • ระดับ 3 ขนาดของคอพอกโตมาก สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคคอพอก

เป็นที่ทราบกันว่า โรคคอพอกเกิดจากการขาดสารไอโอดีน ซึ่งหากจะแยก ปัจจัยของการขาดสารไอโอดีน มีดังนี้

  1. ปัจจัยด้านภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศที่ห่างไกลทะเล สารไอโอดีน เป็นสารอาหารที่พบมากในอาหารทะเล ซึ่งในพื้นที่ที่ไม่ติดทะเล จะไม่สามารถหาอาหารทีมีสารไอโอดีนจากสัตว์ทะเลทานได้ จึงเป็นปัจจัยของการขาดสารไอดอดีน
  2. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากอาหารทะเลที่มีสารไอโอดีน มีราคาสูงเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารชนิดอื่นๆ ในคนที่มีสภาวะทางเศรษฐกิจไม่ดีมาก ก็ไม่สามารถหาอาหารทะเลทานได้
  3. ปัจจัยด้านการคมนาคม การเดินทางที่ไม่สะดวก ทำให้อาหารที่มีสารไอโอดีนอย่างอาหารทะเลเข้าไม่ถึง
  4. ปัจจัยด้านพฤติกรรมกิน ในกลุ่มคนที่ไม่ชอบทานอาหารทะเล ก็ทำให้ขาดสารไอโอดีนได้
  5. ปัจจัยด้านร่างกาย ในบางคนมีความผิดปรกติของร่างกาย ร่างกายดุดซึมสารไอโอดีนได้ไม่ดี

อาการของโรคคอพอก

สามารถแบ่งอาการของโรคนี้ตามวัยของผู้ป่วย ประกอบด้วย ทารกในครรถ์ ทารกแรกเกิด เด็กและวัยรุ่น สุดท้าย คือ ผู้ใหญ่ อาการของคอพอก ในวัยต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้

  • อาการโรคคอพอกในทารกในครรถ์และมารดา เป็นลักษณะมารดาที่ตั้งครรถ์มีอาการคอพอก เป็นภาวะขาดสารไอโอดีน ซึ่ง เป็นอันตราย ซึ่งจะส่งผลทำให้แท้งบุตรได้ ในรายที่อาการหนักมาก มารดาสามารถเสียชีวิตได้
  • อาการคอพอกที่เกิดกับทารกแรกเกิด ไม่เกิน 2 ปี ในมารดาที่มีอาการคอพอกในช่วงตั้งครรถ์ หากคลอดลูกออกมา ลูกจะเกิดความผิดปรกติ จากภาวะฮอร์โมนไทร๊อกซินต่ำ ทำให้เด็กเกิดความผิดปกติของระบบประสาท สมอง และร่างกาย ส่งผลให้เป็นปัญญาอ่อน หูหนวก แขนขากระตุก ตาเหล่ เป็นต้น
  • อาการของคอพอกที่เกิดกับเด็กและวัยรุ่น การขาดสารไอโอดีนในช่วงที่ร่างกายต้องการสารอาการเพื่อการเจริญเติบโตนั้น ทำให้พัฒนาของร่างกายช้า ระดับฮอร์โมนไทร๊อกซินต่ ทำให้ร่างกายแคระแกร็น ผอม สติปัญญาต่ำ
  • อาการของโรคคอพอกในผู้ใหญ่ ระดับฮอร์โมนไทร๊อกซินต่ำ ทำให้ อ่อนแรง เหนื่อยง่าย ไม่กระฉับกระเฉง ผิวหนังแห้ง ท้องผูก และเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆได้ง่าย

การรักษาโรคคอพอก

สามารถทำได้หลายวิธี โดยการรับประทาอาหารที่มีไอโอดีน รับสารไอดอดีนเข้าร่างกายและการผ่าตัด ซึ่งรายละเอียดการรักษา มีดังนี้

  1. การให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนให้มากขึ้น เนื่องจาก สาเหตุของคอพอกเกิดจากการขาดสารไอโอดีน
  2. การให้สารไอโอดีนเข้าสู่ร่างกาย โดยสามารถให้สารไอโอดีนโดยวิธีการฉีดสารเข้าสู่ร่างกายและการให้สารไอโอดีนเพื่อรับประทาน
  3. การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งวิธีนี้จะใช้กับผู้ป่วยที่เป็นมาก คอบวมและโตจนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปรกติ

การป้องกันโรคคอพอก

สามารถทำได้โดยการป้องกันที่สาเหตุของโรค คือ การขาดสารไอโอดีน ดังนั้น ต้องรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนบ้าง ซึ่งอาหารที่มีไอโอดีนสูง เป็น อาหารจำพวก อาหารทะเล และในปัจจุบันมีอาหารต่างๆที่ใส่สารไอโอดีนเป็นส่วนประกอบทำให้ได้รับสารไอโอดีนโดยไม่ต้องรับประทานอาหารทะเลได้

โรคคอพอก เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ จากการขาดสารไอโอดีน ส่งผลให้คอโต ทำให้ อ่อนแรง เหนื่อยง่าย ไม่กระฉับกระเฉง ผิวหนังแห้ง ท้องผูก และเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆได้ง่าย หากเกิดกับสตรีมีครรถ์ จะทำให้ลูกที่เกิดมา ความผิดปกติของระบบประสาท สมอง และ ร่างกาย เป็นปัญญาอ่อน หูหนวก แขนขากระตุก ตาเหล่ เป็นต้น

โรคคอพอก คืออะไร สาเหตุ อาการ การป้องกัน เป็นโรคคอพอก ควรรับประทานอะไรดี อาการของโรคคอพอก มีอาการคอบวมเป็นคอพอกหรือเปล่า วิธีตรวจโลกคอพอกทำอย่างไร วันนี้เราจะมาเรียนรู้ เรื่องเกี่ยวกับโรคคอพอก กัน ไทรอยด์ กับ คอพอก ต่างกันอย่างไร

อ้วน ( Obesity ) ภาวะน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ปรกติ ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เกิดจากไขมันสะสมในร่างกายมากกว่าปรกติ อ้วน 3 ชนิด อ้วนทั้งตัว อ้วนลูกแอบเปิล อ้วนลูกแพร์

โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักตัวเกิน โรคไม่ติดต่อ ภาวะอ้วน

โรคอ้วน หรือ ภาวะน้ำหนักตัวเกิน ภาษาอังกฤษ เรียก Obesity เป็นโรคชนิดหนึ่ง ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพนธุกรรมได้ เกิดจากไขมันสะสมในร่างกายมาก โดยปรกติแล้วในเพศชาย จะมีไขมันสะสมที่ไม่เกิน 23 % และในเพศหญิงจะมีไขมันสะสมไม่เกิน 30 % ซึ่งการคำนวนว่าเรามีภาวะน้ำหนักเกิน หรือไม่สามารถทำได้โดย นำน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูง และ คูณ 2 จะได้ค่าดัชนีมวลกาย ซึ่ง ค่าปรกติจะอยู่ที่ 18.5 – 23 หากค่าเกินแสดงว่ามีภาวะน้ำหนักเกิน ถ้าต่ำกว่าค่าปรกติ แสดงว่าน้ำหนักน้อยกว่าปรกติ

ประเภทของโรคอ้วน

สามารถแบ่งลักษณะของการอ้วนได้ 3 ลักษณะ อ้วนแบบลูกแอปเปิ้ล อ้วนแบบลูกแพร์ และอ้วนทั้งตัว รายละเอียดของการอ้วนในลักษณะต่างๆ ดังนี้

  1. อ้วนแบบลูกแอปเปิ้ล ภาษาอังกฤษ เรียก apple-shape obesity เป็นลักษณะอ้วนลงพุง ซึ่งขนาดของรอบเอวจะมีขนาดใหญ่กว่าขนาดของสะโพก เกิดจากการสะสมของไขมันที่ช่องท้องจำนวนมาก
  2. อ้วนแบบลูกแพร์ ภาษาอังกฤษ เรียก pear-shape obesity ลักษณะการอ้วนแบบนี้พบมากในเพศหญิง เป็นลักษณะอ้วนชนิดสะโพกใหญ่ เกิดจากการสะสมของไขมันที่สะโพกและน่องมาก
  3. อ้วนทั้งตัว ภาษาอังกฤษ เรียก generalized obesity เป็นลักษณะของการที่ไขมันสะสมในทุกส่วนของร่างกาย

ในปัจจับัน โรคอ้วนเป็นปัญหาหลักของปัญหาทางสาธารณสุขของทั่วโลก การที่น้ำหนักตัวเกินทำให้เกิดการสะสมของโรคต่างๆ มีความเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย เหมือนกับโรคเบาหวาน ที่อันตรายของโรคคือ โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากความอ้วน โอกาสที่จะเกิดโรคดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคนิ่วในถุงน้ำดี มีปัญหาในการหายใจ มีความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรดอ้วน

ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ พฤติกรรมการกิน ซึ่งมีการบริโภค อาหารประเภทแป้ง ไขมัน และอาหารที่มีใยอาหารน้อย รวมถึงการขาดการออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายไม่เผาผลาญไขมันส่วนเกินออกจากร่างกาย นอกจากปัญหาเรื่องการกิน ยังมีสาเหตุอื่นๆ เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคเกี่ยวกับฮอร์โมน การกินยาบางชนิด ซึ่งเราจะแยกสาเหตุของการเกิดโรคอ้วนเป็นข้อๆ ได้ 5 ข้อดังนี้

  1. โรคอ้วนจากสาเหตุภายนอก คือ พฤติกรรมการรับระทานอาหาร ที่มีไขมันมากเกินไปทำให้เกิดการสะสมของไขมันในร่างกายมาก เกิดเป็นโรคอ้วน
  2. โรคอ้วนจากสาเหตุภายใน คือ ความผิดปรกติของร่างกายเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ ต่างๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมใต้สมอง สังเกตุจากจะมีไขมันตามบริเวณต้นแขน ต้นขาและหน้าท้อง มากกว่าปรกติ
  3. โรคอ้วนจากสาเหตุของกรรมพันธุ์ ในพ่อแม่ที่มีภาวะอ้วน พบว่า 80% มีลูกอ้วน
  4. โรคอ้วนจากการกินยาบางชนิด การกินยาประเภทฮอร์โมนสเตียรอยด์เป็นเวลานาน หรือการกินยาคุมกำหนิด มีโอกาสเกิดโรคอ้วนได้
  5. โรคอ้วนจากปัจจัยทางเพศ เราพบว่าเพศหญิงมีโอกาสอ้วนมากกว่าเพศชาย
  6. โรคอ้วนจากปัจจัยอายุ เมื่ออายุมากขึ้นการเผาผลาญของร่างกายลดลง พบว่าเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป จะอ้วนง่าย

การรักษาโรคอ้วน

สามารถทำได้ โดยหลักการคือ การควบคุมอาหาร และหากภาวะอ้วนไม่ได้เกิดจากการกินที่ไม่เหมาะสม ก็ให้รักษาตามสาเหตุของโรคอ้วน ซึ่งการรักษาสามารถทำได้โดย การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิต ยาช่วยดูดซึมไขมัน และการผ่าตัด เป็นต้น

โรคอ้วนเกิดจากภาวะการกินเป็นหลัก การรักษาโรคอ้วนด้วยสมุนไพร ก็มีมาช้านาน การใช้ สมุนไพรที่ช่วยลดน้ำหนักมีอะไรบ้าง เราขอเสนอ สมุนไพรช่วยลดน้ำหนัก มีดังนี้

มะตูม ต้นมะตูม สรรพคุณของมะตูม ประโยชน์ของมะตูมมะตูม ย่านาง ใบย่านาง สมุนไพร สรรพคุณใบย่านางย่านาง
แก้วมังกร สมุนไพร สรรพคุณของแก้วมังกร โทษของแก้วมังกรแก้วมังกร หม่อน มัลเบอรรี่ สมุนไพร ใบหม่อนหม่อน
กระถิน สรรพคุณของกระถิน ประโยชน์ของกระถิน สมุนไพรกระถิน
พริก สมุนไพร สรรพคุณของพริก ประโยชน์ของพริกพริก
เห็ดหอม สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของเห็ดหอมเห็ดหอม
ผักคะน้า สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักคะน้าผักคะน้า

โรคอ้วน ( Obesity) คือ ภาวะการมีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์มาตราฐาน จัดเป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เกิดจากมีไขมันสะสมในร่างกาย โรคอ้วน แบ่งได้ 3 ชนิด คือ อ้วนทั้งตัว อ้วนลูกแอบเปิล อ้วนลูกแพร์ สาเหตุของการเกิดโรคอ้วนเป็นอย่างไร โรคอ้วนมีกี่ชนิด ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอ้วน โรคแทรกซ้อนของคนอ้วน การรักษาโรคอ้วน สมุนไพรช่วยลดน้ำหนัก