ฟักเขียว สมุนไพร นิยมรับประทานผลฟักเขียว ประโยชน์และสรรพคุณลดความอ้วน ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงผิวพรรณ คุณค่าทางโภชนาการของฟักเขียว

ฟักเขียว สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักเขียว

ฟักเขียว พืชสมุนไพรริมรั่ว สรรพคุณสุดน่าทึ่ง ฟักเขียวสามารถช่วยลดความอ้วน ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันเมร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงปอด และบำรุงเลือด แต่ประโยชน์ของฟักเขียวยังมีมากกว่านี้มาก สำหรับฟักเขียว เป็นอย่างไร การนำเอาฟักเขียวมาใช้ประโยชน์ทางยา การรักษาโรค ทำอย่างไร วันนี้ เรามาทำความรู้จักกับฟักเขียวอย่างละเอียด

ต้นฟักเขียว หรือ ต้นฟักแฟง ซึ่งคนไทยเรียกสั้นๆว่า “ฟัก” ภาษาอังกฤษเรียกว่า Winter Melon มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Benincasa hispida (Thunb.) Cogn. ฟักเขียวถูกจัดให้เป็นพืชอยู่ในตระกูลแตง สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของฟักเขียว มีมากมาย เรียกต่างกันตามท้องถิ่น อาทิ เช่น ฟักขี้หมู ฟักจิง มะฟักขม มะฟักหม่น มะฟักหม่นขม บักฟัง ฟักขาว ฟักจีน แฟง ขี้พร้า มะฟักหอม เป็นต้น

ลักษณะทางพันธุศาสตร์ของฟักเขียว

ฟักเขียว เป็นพืชล้มลุก ลักษณะเดียวกับ บวบ มะระ และแตงกวา เป็นพืชที่มีการปลูกมากในประเทศเขตร้อน ตามทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกา ลักษณะของฟักเขียว เป็นพืชอายุสั้น

  • ลำต้นของฟักเขียว ลำต้นยาว เป็นลักษณะเถา มีสีเขียวมีขนปกคลุมตลอดทั้งลำต้น
  • ใบของฟักเขียว ใบเป็นหยัก ปลายใบแหลม โคนของใบจะเว้าเป็นรูปหัวใจ ผิวของใบจะหยาบมีขน สีเขียวเข้ม ส่วนก้านใบนั้นจะยาวประมาณ 10เซนติเมตร
  • ดอกของฟักเขียว จะออกดอกตามง่ามของใบ ลักษณะเป้นดอกเดี่ยว สีเหลือง ดอกมีเกสรตัวผุ้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน
  • ผลของฟักเขียว รูปกลมยาวเหมือนไข่ ผลมีความกว้างประมาณ 10 ถึง 20 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20 ถึง 40 เซนติเมตร เปลือกของฟักเขียว จะแข็งและมีสีเขียว  เนื้อของผลฟัก เป็นสีเขียวอ่อน ฉ่ำน้ำ เนื้อแน่น มีเมล็ดสีขาวอยู่ภายในจำนวนมาก
  • เมล็ดของฟักเขียว เป็นรูปไข่ ลักษณะแบน ผิวเรียบมีสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดของฟักเขียวสามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

สำหรับในบ้านเรานั้นผลฟักเขียวจะนิยมนำมาใช้ประกอบอาหารเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทคาวและหวาน เช่น ต้ม ผัด แกง หรือทำเป็นขนมหวานในช่วงเทศกาล ใช้บริโภคทั้งแบบดิบและแบบสุก และสามารถบริโภคได้ทั้งผลอ่อนและผลแก่ โดยผลอ่อนจะมีรสชาติที่เข้มกว่าผลแก่ และมีน้ำมากกว่า

การปลูกต้นฟักเขียว

สำหรับ การปลูกต้นฟักเขียว นั้น ใช้การขยายพันธ์ด้วยเมล็ด ซึ่งเมล็ดของฟักเขียวจะอยู่ที่ผลสุกของฟักเขียว นำเมล็ดมาปลูก ง่าย ฟักเขียวชอบดินร่วนปนทราย ไม่ชอบน้ำมาก แต่ต้องการให้ดินชื้นเสมอ การปลูกต้นฟักเขียว ให้เตรียมหลุมปลูกลึกสัก 5 เซ็นติเมตร นำเมล็ดฟักเขียวลงและฝังกลบ ต้นอ่อนจะงอกออกมาภายใน 3-5 วัน และจะเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ สำหรับผลฟักเขียวสามารถเก้บเกี่ยวผล ภายใน 60 วัน

คุณค่าทางอาหารของฟักเขียว

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของฟักเขียว พบว่า ผลสดของฟักเขียว ขนาด 100 กรัม พบว่า มีสารอาหารต่างๆที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ ประกอบด้วย โปรตีน 0.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม กากใยอาหาร 0.4 กรัม แคลเซียม 19  มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 19 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัม โซเดียม 6 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 111 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 4 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.4 มิลลิกรัม และวิตามินซี 13 มิลลิกรัม

ฟัก เป็นพืชที่ นิยมนำมาทำอาหาร สำหรับอาหารไทย ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น อาหาร เมนูต้ม เมนูแกง เนื่องจากเนื้อฟักเมื่อต้มจนแล้วจะนุ่มและเปื่อย สำหรับ เมนูฟักเขียว ที่เป็นที่รู้จัก คือ แกงเขียวหวานไก่ แกงเลียงกุ้งสด เป็นต้น แต่นอกจากอาหารคาวเมนูต่างๆ ฟักเขียว ก็สามารถนำมาทำขนมไทย เมนูของหวานได้เช่นกัน อาทิเช่น ขนมฟักเชื่อม ฟักกวน เป็นต้น แต่ก็มี ข้อควรระวังในการรับประทานฟักเขียว ให้ระวังในการรับประทาน สำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่าย และแน่นหน้าอก

สรรพคุณของฟักเขียว

สำหรับ การนำเอาฟักเขียวมาใช้ประโยชน์ ด้านยา และการรักษาโรคนั้น เราจะแยก สรรพคุณของฟักเขียว ตามส่วนต่างๆของต้นฟัก ซึ่งนิยมนำฟักมาใช้ประโยชน์ในส่วน ผล เมล็ด ใบ เถา รากและเปลือก

  • รากของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยลดไข้ ช่วยแก้กระหายน้ำ รักษาโรคหนองใน
  • เปลือกของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาบาดแผล
  • ใบของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้ท้องเสีย ช่วยแก้โรคบิด ช่วยแก้อาการฟกช้ำ ช่วยรักษาบาดแผล ช่วยแก้พิษจากการถูกผึ้งต่อย
  • เมล็ดของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ บำรุงกำลัง บำรุงผิว ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด ช่วยลดการแบ่งตัวของเซลล์ ช่วยรักษาวัณโรค ช่วยบำรุงปอด ช่วยลดไข้ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยรักษาลำไว้อักเสบ เป็นยา ระบาย ช่วยขับพยาธิ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน ช่วยลดอาการอักเสบ
  • เถาของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยลดไข้ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
  • ผลของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยเพิ่มพลังทางเพศ รักษาเบาหวาน บำรุงกำลัง  บำรุงระบบประสาท ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ  ช่วยบำรุงปอด ช่วยรักษาโรคหอบหืด ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้ท้องเสีย ช่วยแก้โรคบิด แก้ท้องอืด เป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน

การเลือกซื้อฟักเขียว

สำหรับ การรับประทานฟักเขียว หากไม่ได้ปลูกเอง แล้ว เทคนิคการเลือกฟักเขียว ที่ดี มีดังต่อไปนี้ ควรเลือกฟักเขียวที่มีเนื้อแข็ง เนื่องจากเนื้อที่แข็งเวลานำมาทำอาหารจะกรอบและมีรสหวาน น่ารับประทาน ลักษณะเนื้อฟักเขียวที่ดี จะมีสีเขียวบริเวณขอบและค่อยๆขาวขึ้นเมื่อเข้าไปในแกน สำหรับ การเก็บรักษาฟักเขียว สามารถเป็นไว้ได้นานเป็นเดือน

ฟักเขียว ( Winter Melon ) สมุนไพร นิยมรับประทานผลฟักเขียว ประโยชน์ของฟักเขียว สรรพคุณของฟักเขียว ลดความอ้วน ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ ทำความรู้จักกับฟักเขียว คุณค่าทางโภชนาการของฟักเขียว

ฝีคัณฑสูตร ฝีทวารหนัก  ( Fistula in ano ) อักเสบที่ทวารหนักจนเกิดรูจากการติดเชื้อ ปวดและบวมที่รอบๆรูทวารหนัก มีหนองเลือดปน คันรอบๆฝี การรักษาต้องผ่าตัดดูดหนองฝีคัณฑสูตร ฝีทวารหนัก โรคระบบขับถ่าย โรคติดเชื้อ

ฝีคัณฑสูตร หรือ ฝีที่ทวารหนัก ภาษาอังกฤษ เรียก Fistula in ano โรคนี้ถือเป็นโรคที่เกิดจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคหนึ่ง ซึ่งโรคฝีที่ทวารหนักเกิดจากการติดเชื้อของต่อมชนิดหนึ่งบริเวณทวารหนัก ต่อมนี้ทำหน้าที่สร้างเมือกหล่อลื่นเพื่อช่วยการขับถ่าย เมื่อต่อมชนิดนี้อับเสบและติดเชื้อ จะเกิดฝีที่ทวารหนักได้  ฝีที่ทวารหนักมักจะเริ่มเกิดที่บริเวณระหว่าง หูรูด และการติดเชื้อนั้นจะขยายไปรอบ ๆของทวารหนัก

โรคฝีคัณฑสูตร คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบที่ทวารหนักจนเกิดรู สาเหตุหลักของการเกิดฝีที่ทวารหนัก พบได้ในคนทุกเชื้อชาติ ทุกเพศ และทุกวัย แต่พบว่าผู้ชายมีโอกาสเกิดมากกว่าผู้หญิง 2 เท่าตัว และเกิดมากในคนอายุ 35 ปีขึ้นไป

สาเหตุของโรคฝีทวารหนัก

สำหรับ โรคฝีคัณฑสูตรมีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อที่ต่อมภายในทวารหนัก เช่น เชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นของเสียที่อุจาระ และ ของเสีย สาเหตุของการติดเชื้อนั้น สามารถแบ่งเป็นสาเหตุได้ ดังนี้

  • เกิดจากเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังชนิด Crohn disease ulcerative colitis
  • เกิดจากการมีแผลที่ขอบทวารหนัก
  • เกิดจากโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไอวี
  • เกิดจากโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อซิฟิลิส
  • เกิดจากโรคแทรหซ้อนจากการติดเชื้อวัณโรค
  • เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น Actinomycosis Chlamydia
  • เกิดจากเนื้อร้าย มะเร็งทวารหนัก หรือโรคมะเร็งผิวหนัง
  • เกิดจากการมีประวัติเคยเข้ารับการรักษา โดยการฉายรังสีรักษาบริเวณท้องน้อยและทวารหนัก
  • เกิดจากการมีประวัติเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณทวารหนักหรือเคนเข้ารับการผ่าตัดที่ทวารหนัก
  • เกิดจากโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อหนองใน

อาการของผู้ป่วยโรคฝีคัณฑสูตร

ลักษณะอาการของผู้ป่วยที่เป็นฝีที่ทวารหนักนั้น จะมีอาการปวดและบวมที่แก้มก้น รวมถึงรอบๆรูทวารหนัก มีน้ำเหลืองซึมออกมาจากรูที่ผิวหนัง มีเลือดปน มีหนอง คันรอบๆรูฝี ในกรณีเกิดการติดเชื้อและเกิดการอุดตัน ทำให้เกิดเป็นฝีหนอง ผู้ป่วยจะปวดมากขึ้น รวมถึงมีไข้ ฝีจะค่อยๆใหญ่ขึ้นจนเห็นผิวหนังบวมอย่างชัดเจนมากขึ้น ตามการอักเสบ

รักษาผู้ป่วยโรคฝีคัณฑสูตร

สำหรับ การรักษาฝีที่ทวารหนัก นั้น หรือ การรักษาโรคฝีคัณฑสูตร ใช้การผ่าฝี เพื่อระบายหนองออกจากแผล และให้ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด ยาลดไข้ เพื่อบรรเทาอาการปวดและอักเสบ รวมถึงดูแลทำความสะอาดบริเวณทวารหนัก เพื่อป้องกันการติดเชื้อมากขึ้น สำหรับการรักษาโดยการผ่าตัด มีหลายเทคนิคและวิธีในการรักษา ประกอบด้วย

  • Fistulotomy ใช้ยาชาฉีดเข้าไขสันหลัง หรือการดมยาสลบ ทำโดยการใส่ตัวนำทาง Probe เข้าไปที่รูเปิดที่ผิวหนังจนกระทั่งไปโผล่ออกที่รูเปิดภายในทวารหนัก แล้วใช้มีดกรีดเปิดเส้นทางเชื่อมต่อออกสู่ภายนอก แล้วจี้ทำลายตลอดความยาวของ tract เปิดแผลไว้ โดยปกติแล้วจะหายเองภายใน 5 สัปดาห์ วิธีนี้ใช้กับฝีคัณฑสูตรชนิด intersphincteric fistula แต่อาจมีปัญหาด้านกลั้นผายลมได้ไม่ดี
  • Seton ligation วิธีนี้ทำเหมือนวิธี Fistulotomy แต่เนื่องจากมีการ involve external sphincter ด้วยจึงต้องใช้วิธีรัดส่วนของ external sphincter แล้วค่อยๆตัดให้ขาด วิธีนี้ฝีที่ทวารหนักจะหายในเวลาประมาณ 8 สัปดาห์ วิธีนี้เหมาะสำหรับฝีชนิด Complex fistulas
  • Fistulectomy วิธีนี้การรักษาใช้วิธีการรักษาคล้ายกับ Fistulotomy แต่จะตัดส่วนของเส้นทางเชื่อมต่อ Fistula tract ออกไปด้วย แล้วใช้เนื้อเยื่อบางส่วนของลำไส้มาปิดแผลและเย็บซ่อมกล้ามเนื้อหูรูด

ในการณีที่เกิดฝีหนองกำเริบ ให้รักษาฝีหนองให้หายก่อน ด้วยการกรีบหนองออกและใช้ยาปฏิชีวนะช่วย เมื่อหายอักเสบแล้วจึงค่อยผ่าตัดเอาฝีออก

การป้องกันโรคฝีทวารหนักหรือโรคฝีคัณฑสูตร

สำหรับ การป้องกันโรคฝีคัณฑสูตร นั้นสามารถป้องกันการเกิดฝีได้ดังต่อไปนี้

  • ป้องกันการเกิดแผลที่ทวารหนัก
  • รับประทานอาหารจำพวก ผัก และผลไม้ ที่มีกากใยอาหารมาก ป้องกันการเกิดท้องผูก
  • ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ป้องกันอาการท้องผูก
  • ทำความสะอาดก้นหลังจากการถ่ายอุจจาระให้สะอาดทุกครั้ง ป้องกันสิ่งสกปรก ทำให้เกิดการติดเชื้อ
  • หากมีแผลที่ปากทวารหนัก ให้รักษาความสะอาดเป็นพิเศษ ป้องกันการติดเชื้อ

โรคฝีคัณฑสูตร ฝีทวารหนัก  ( Fistula in ano ) การอักเสบที่ทวารหนักจนเกิดรู จากการติดเชื้อ อาการปวดและบวมที่แก้มก้น รวมถึงรอบๆรูทวารหนัก มีน้ำเหลืองซึมออกมาจากรู มีเลือดปน มีหนอง คันรอบๆรูฝี การรักษาต้องผ่าตัด ดูดหนอง