หนองใน โกโนเรีย ( Gonorrhea ) ติดเชื้อแบคทีเรียจากน้ำอสุจิและสารคัดหลังในช่องคลอด ทำให้เกิดหนองที่มดลูก ท่อปัสสาวะ ช่องปาก คอ ตา ทวารหนัก การรักษาและป้องกัน

หนองใน โกโนเรีย โรคติดต่อ

โรคหนองใน หรือ โรคโกโนเรีย ภาษาอังกฤษ เรียก Gonorrhea เกิดจากการติดเชื้อโรค ที่มี สาเหตุของการติดเชื้อส่วนใหญ่จากการมีเพศสัมพันธ์ และ เชื้อโรคที่ทำใหเกิดหนองใน คือ เชื้อแบคทีเรีย โดยขาดการป้องกัน โรคนี้ถือเป็นโรคติดต่อ อาการติดเชื้อทำให้เกิดหนองภายในร่างกาย โดยมาก จะเกิดหนองที่ ปากมดลูก มดลูก ปีกมดลูก ท่อปัสสาวะ รวมถึงอวัยวะต่างๆที่เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี ไม่ว่าจะเป็น ช่องปาก คอ ตา ทวารหนัก เป็นต้น

โรคหนองใน สามารถเกิดทั้งใน เพศชายและเพศหญิง โรคนี้ในประเทศไทย มีการสำรวจในปี 2551 พบว่ามีผู้ป่วยโรคนี้ 6,168 ราย มีการมีอัตราการติดเชื้อที่ 9.76 คน ต่อ 100,000 คน หากเปรียบเทียบกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้วพบว่า โรคหนองใน เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์คิดเป็นร้อยละ 15.43 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งหมด

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหนองใน

สำหรับ ปัจจัยของการเกิดโรคหนองใน นั้น เกิดได้จากการสัมผัสเยื่อบุช่องคลอด ช่องปาก ทวารหนัก หรือ องคชาต ของ ผู้ที่มีเชื้อโรคหนองใน ซึ่ง หนองในสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้ ผู้ที่รู้ตัวว่าเป็น โรคหนองใน จึง ควรระวังในการแพร่เชื้อหนองใน ให้ผู้อื่น นอกจากการสัมผัสผู้ที่มี เชื้อโรคหนองใน แล้ว มีปัจจัยที่มีความเสี่ยงของการติดต่อโรคหนองใน ดังต่อไปนี้

  • กลุ่มวัยรุ่น เป็นวัยที่คึกคะนอง มีความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันสูง
  • กลุ่มคนที่มีอาชีพหรือกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมการมีคู่นอนมากกว่า 1 คน
  • กลุ่มคนที่เคยมีประวัติการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน เช่น โรคซิฟิลิส (Syphilis)
  • กลุ่มคนที่มีพศสัมพันธ์โดยขาดการป้องกันด้วยถุงยางอนามัย
  • กลุ่มผู้เสพติดยาเสพติด

สาเหตุของการติดเชื้อหนองใน

การติดเชื้อโรคหนองใน นั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า ไนซีเรีย โกโนเรียอี ภาษาอังกฤษ เรียก Neisseria gonorrhoeae  เชื้อแบคทีเรีย ชนิดนี้ พบได้ในน้ำอสุจิของเพศชายและสารคัดหลังในช่องคลอดของเพศหญิง เชื้อแบคทีเรีย ชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ทีี่มีความอบอุ่น โดยเฉพาะอวัยวะเพศและภายในช่องคลอด รวมถึง ทวารหนัก เยื่อบุตา ช่องปากและคอ เป็นต้น

ดังนั้น หากใครมีเชื้อโรคชนิดนี้อยู่ในร่างกาย และมีกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องสัมผัสในส่วนที่มีเชื้อโรคอยู่ ซึ่งโดย กิจกรรมการมีเพศสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมที่สัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรงที่สุด ทำให้เกิดการแพร่เชื้อโรค สำหรับอาการของโรคนี้ มีระยะการฟักตัว หลังจากได้รับเชื้อ ภายใน 10 วัน แต่จะสามารถแสดงอาการของโรคให้เห็นภายใน 5 วัน

เพื่อความเข้าใจใน โรคหนองใน ให้ชัดเจน การสัมผัสผู้ติดเชื้อ เช่น การจับมือ การจูบ การใช้แก้ว จาน ร่วมกัน หรือ การลงสระว่ายน้ำ หรือใช้ส่วมร่วมกับผู้มีเชื้อโรคหนองในไม่ได้ทำให้เกิดการติดเชื้อแต่อย่างใด

อาการของผู้ป่วยโรคหนองใน

สำหรับ อาการของผู้ป่วยโรคหนองใน นั้น เราจะแยก เป็น 3 ลักษณะ คือ การติดเชื้อในเพศชาย การติดเชื้อในเพศหญิง และ อาการที่แสดงออกทั้งเพศชายและเพศหญิง รายละเอียดดัง ต่อไปนี้

  • อาการที่พบสำหรับเพศชาย คือ จะรู้สึกแสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะขัด และมีหนองไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ ซึ่งในระยะแรกจะเป็นลักษณะมูกใส ๆ หลังจากนั้นจะเป็นหนองสีเหลืองข้น และมีอาการปวดและบวมที่อัณฑะ มีอาการอัณฑะอักเสบ
  • อาการที่พบสำหรับเพศหญิง คือ มีอาการตกขาวผิดปกติ มีลักษณะตกขาวมาก มีหนองสีเหลือง มีกลิ่นเหม็น มีอาการขัดเบา และแสบเวลาปัสสาวะ ปวดท้องน้อย ปัสสาวะขุ่น มีเลือกะปริบกะปรอยในระหว่างรอบเดือน หากเกิดการติดเชื้อที่มดลูก จะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดที่ท้องน้อย
  • สำหรับอาการที่เกิดขึ้นได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง คือ มีไข้สูง เจ็บคอ เป็นลักษณะติดเชื้อที่คอ หากปวดเวลาอุจจาระ จะมีอาการปวดหน่วงๆ มีหนองปนในอุจจาระ หากติดเชื้อที่เยื่อบุตา จะรู้สึกระคายเคืองที่ตา มีหนองไหลออกมาจากเยื่อบุตา เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคหนองใน

ความอันตรายของโรคหนองใน อยู่ที่ภาวะโรคแทรกซ้อนของการติดเชื้อโรค ซึ่ง หากไม่ทำการรักษาให้ทันท่วงที่อาจเกิดการติดเชื้อลามไปยังอวัยวะอื่นๆ จนยากที่จะรักษาได้ ลักษณะของ โรคแทรกซ้อนของโรคหนองใน มีดังนี้

  • อาการท่อปัสสาวะอุดตัด จากภาวะท่อปัสสาวะอักเสบ
  • อาการต่อมลูกหมากอักเสบ หรือเป็นฝีที่ผนังของท่อปัสสาวะ
  • อาการลูกอัณฑะอักเสบ ซึ่งอาจทำให้เป็นหมันได้
  • อาการฝีอักเสบที่อวัยวะเพศ
  • อาการอุ้งเชิงกรานอักเสบ ทำให้มีปวดท้อง มีไข้ เกิดถุงหนองภายในช่องท้องน้อยแบบเรื้อรัง
  • อาการติดเชื้อในกระแสเลือด
  • อาการติดเชื้อตามข้อกระดูก
  • อาการติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • เยื่อบุหัวใจอักเสบ
  • หัวใจวาย

การติดเชื้อหนองในระหว่างการตั้งครรภ์

โรคหนองใน สามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้ หากเกิดการติดเชื้อระหว่างตั้งครรถ์ ซึ่งป็นอันตรายกับลูกในท้อง เช่น หากทารกติดเชื้อที่ตา ก็ส่งผลให้ทารกตาบอด เชื้อโรคหนองในเป็นอันตรายกับทารกมาก หากทราบว่า ติดเชื้อโรคหนองในระหว่างตั้งครรถ์ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

การวินิจฉัยโรคหนอง

การตรวจวินิจฉัยว่าติดเชื้อโรคหนองในนั้ สามารถทำได้โดยการตรวจสอบประวัติ และอาการเบื้องต้นของผู้ป่วย และการตรวจเชื้อโรคจากแผล จากปากมดลูก ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก หรือ ช่องคอ เพื่อตรวจดูเชื้อโรค

การรักษาโรคหนองใน

สำหรับการรักษาการติดเชื้อโรคหนองในนั้น สามารถใช้การรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ในการรักษา รวมถึงใช้การรักษาอื่นๆควบคู่เพื่อบรรเทาอาการและรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรค รายละเอียดังนี้

  • ใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น  เซฟิไซม์ เซฟไตรอะโซน สเปกติโนมัยซิน การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะจะค่อนข้างได้ผลดี หากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเร็ว สามารถหายได้เร็ว แต่อาการความเสียหายของเนื้อเยื่อต้องใช้เวลาให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเอง
  • สำหรับผู้ติดเชื้อหนองใน แพทย์จะให้ตรวจเลือด เพื่อดูว่าติดเชื้อโรคอื่นๆหรือไม่ เช่น เชื้อเอชไอวี เชื้อซิฟิลิส
  • สำหรับผู้ป่วยเพศหญิง ที่มีอาการหนองไหลออกจากท่อปัสสาวะ รวมถึง มีไข้สูง ปวดท้องน้อย ขัดเบา ตกขาว แสดงว่าเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่มดลูก ต้องพบแพทย์โดยด้วน ภายใน 24 ชั่วโมง
  • สำหรับสตรีมีครรภ์ ที่ติดเชื้อหนองใน เป็นอันตรายต่อชีวิตของลูกในครรภ์ อาจต้องกระตุ้นให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้

วิธีป้องกันการติดเชื้อโรคหนองใน

  • ให้หลีกเลี้ยงการเปลี่ยนคู่นอน หากมีความจำเป็นควรตรวจโรคให้ดีก่อน
  • หลีกเลี่ยงงานหรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดการนอนกับคนที่ไม่รู้จัก หรือกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนคู่นอน
  • ให้ใช้ถุงยางอนามัยป้องกันในการมีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้มีเชื้อโรคหนองใน
  • กินยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคภายหลังการร่วมเพศ
  • การกินยาล้างลำกล้อง ซึ่งเป็นยาระงับเชื้อ ไม่ใช่ยาทำลายเชื้อ

โรคหนองใน โรคโกโนเรีย ( Gonorrhea ) การติดเชื้อแบคทีเรียในน้ำอสุจิและสารคัดหลังในช่องคลอด ทำให้เกิดหนองที่มดลูก ท่อปัสสาวะ ช่องปาก คอ ตา ทวารหนัก เป็นต้น รักษาอย่างไร แนวทางการป้องกันทำอย่างไร

ถั่วแดง ( Kidney bean ) สมุนไพร โปรตีนสูง ปลูกมากในเขตภาคเหนือ ประโยชน์และถั่วแดง ช่วยขับพิษ บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันท้องผูก

ถั่วแดง ถั่วแดงหลวง ประโยชน์ของถั่วแดง สมุนไพร

ต้นถั่วแดง พืชตระกูลถั่ว นิยมนำมาทำอาหาร ซึ่งถั่วแดง เป็นพืชที่มีโปรตีนและมีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถนำไปใช้เป็นอาหารแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ดี  สำหรับประเทศไทยปลูกถั่วแดง มากในเขตภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน และแม่ฮ่องสอน เป็นต้น

ถั่วแดงในประเทศไทย

ปัจจุบัน ถั่วแดง เป็น พืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญ โดย ประโยชน์ของถั่วแดง นั้นส่วนใหญ่คนนิยมนำถั่วแดง มาทำอาหาร ประเภทขนม เป็น เมนูถั่วแดง เช่น ถั่วแดงกวน ขนมปังไส้ถั่วแดง น้ำถั่วแดง เค้กชาเขียวถั่วแดง วุ้นถั่วแดงกวน โดรายากิ ซุปถั่วแดง ถั่วแดงอัดเม็ด เป็นต้น แต่ ประโยชน์ของถั่วแดง มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะ ระบบการย่อยอาหาร และใช้บำรุงร่างกาย  วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ ต้นถั่วแดง และ สรรพคุณของถั่วแดง การปลูกถั่วแดง ว่าเป็นอย่างไร ในบทความนี้ เราจะได้รู้จักกับถั่วแดงไปพร้อมกัน

ถั่วแดง หรือ ถั่วแดงหลวง ภาษาอังกฤษ เรียก Kidney bean ถั่วแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Phasecolus vulgaris L. เป็นพืชตระกลูถั่ว สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วแดง อาทิ เช่น ถั่วแดงหลวง ถั่วท้องนา ถั่วบ้านนา ถั่วนาเต็มกำ เป็นต้น

ลักษณะของต้นถั่วแดง

ต้นถั่วแดง เป็น พืชล้มลุก จัดเป็น พืชคลุมดิน มีความสูงประมาณ 75 เซ็นติเมตร ลักษณะใบเป็นใบเดียว เรียงสลับกันตามลำต้น ใบลักษณะรูปรี มีสีเขียว ดอกเป็นช่อ สีขาว และผลมีลักษณะยาว เหมือนถั่วฝักยาว ภายในมีเมล็ด เป็นสีแดงอมม่วง การขยายพันธ์ของต้นถั่วแดงใช้การขยายพันธ์โดยใช้เมล็ด จัดว่าเป็นพืชอายุสั้น

คุณค่าทางอาหารของถั่วแดง

จากศึกษา ประโยชน์ด้านอาหารของถั่วแดง พบว่าในเมล็ดถั่วแดง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 337 กิโลแคลอรี่ โดยมีสารอาหารต่างๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 61.29 กรัม น้ำ 11.75 กรัม น้ำตาล 2.1 กรัม การใยอาหาร 15.2 กรัม ไขมัน 1.06 กรัม โปรตีน 22.53 กรัม วิตามินบี1 0.608 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.215 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.11 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.397 มิลลิกรัม วิตามินบี9 394 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.21 มิลลิกรัม วิตามินเค 5.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 83 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.69 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 138 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 406 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,359 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 12 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 2.79 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วแดง

สำหรับ การใช้ประโยชน์ของถั่วแดง ด้านการรักษาโรคนั้น จะใช้การรับประทานเมล็ดถั่วแดง ซึ่ง สรรพคุณของถั่วแดง ช่วยขับพิษในร่างกาย ช่วยล้างสารพิษในลำไส้ ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันท้องผูก ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยลดอาการบวมน้ำ ช่วยกำจัดหนอง ช่วยลดคันตามผิวหนัง ป้องกันอาการเหน็บชา บรรเทาอาการปวดข้อ ช่วยบำรุงช่องคลอด รักษามดลูก ให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยสร้างภูมิกันร่างกาย ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยปรับสภาพเลือดในร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันภาวะกระดูกเสื่อม ป้องกันโรคกระดูกพรุน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมอุณหภมูิในร่างกาย ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยลดน้ำหนักตัว ช่วยดูดซับน้ำในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงการคลอดบุตรก่อนกำหนด

ประวัติของถั่วแดงหลวง

สำหรับ ประวัติการปลูกถั่วแดงในประเทศไทย เริ่มเมื่อ ปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น จึงได้แนะนำให้ชาวเขาปลูกถั่วแดง ซึ่งเป็นพันธ์ถั่วแดงจากประเทศสหรัฐอเมริกา ถั่วแดงจึงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ ของภาดเหนือของไทย ถัวแดง จึงถูกเรียกชื่ออีกชื่อหนึ่ง ว่า “ถั่วแดงหลวง” เพราะเป็นพืชพระราชทานให้ปลูก

การปลูกถั่วแดง
สำหรับ การปลูกถั่วแดง ให้ได้ผลผลิตที่ดี มีวิธีการดังต่อไปนี้

  • พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกถั่วแดง คือ พื้นที่ราบ ระดับความสูงประมาณ 800 ถึง 1,200 เมตร ถั่วแดงชอบดินร่วนเหนียว เป็นดินที่สามารถเก็บความชื้นดี อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับลม
  • สำหรับฤดูการปลูกถั่วแดง ที่เหมาะสมนั้น สามารถแบ่งได้ 3 ช่วง คือ ช่วงต้นฤดูฝน ก.ค.-ส.ค. ช่วงปลายฤดูฝน พ.ย.-ธ.ค. และ ช่วงฤดูหนาว พ.ย.-ก.พ.
  • การเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกถั่วแดง ให้ขุดดินให้ร่วนซุย ทำร่องน้ำภายในแปลงปลูกและรอบ ๆ แปลงปลูก เพื่อให้เป็นทางน้ำไหลผ่าน กำจัดวัชพืชให้หมด
  • การปลูกถั่วแดง ให้หยอดเมล็ดลงหลุมปลูก ระยะห่างระหว่างหลุม 20 เซ็นติเมตร ในหนึ่งหลุมหยอด ประมาณ 2 ถึง 3 เมล็ด ต่อหลุม หมั่นรดน้ำ พรวนดิน ให้ปุ๋ย และกำจัดวัชพืช สำหรับการให้น้ำ ให้ประมาณ 7 ถึง 10 วัน ต่อครั้ง
  • การเก็บเกี่ยวถั่วแดง สามารเก็บเกี่ยวถั่วแดงได้หลังจาก 60 วันไปแล้ว ฝักของถั่วแดงที่แก่และแห้งสามารถนำไปสีเอาเมล็ดไปใช้ประโยชน์ได้

ถั่วแดงกับการลดความอ้วน

เหตุผลใด ถั่วแดง จึงมีประโยชน์ต่อ การลดน้ำหนัก ถั่วแดงจะมีโปรตีน ซึ่งโปรตีนจากถั่วแดง เป็นโปรตีน ที่มีลักษณะเด่น คือ ช่วยเพิ่มระบบเผาผลาญของร่างกาย และทำให้อิ่มท้อง ไม่ยากรับประทานอาหาร และไม่รู้สกเหนื่อย นอกจากนั้นถั่วแดงช่วยดูดซับน้ำในร่างกาย และช่วยลดไขมันและน้ำตาลในเลือด ประโยชน์เช่นนี้ ช่วยให้ระบบร่างกายลดน้ำหนักได้แบบธรรมชาติ

ถั่วแดง ( Kidney bean ) พืชตระกลูถั่ว สมุนไพร พืชที่มีโปรตีนสูง การปลูกถั่วแดง ปลูกมากในเขตภาคเหนือ ประโยชน์ของถั่วแดง สรรพคุณของถั่วแดง ช่วยขับพิษในร่างกาย ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันท้องผูก ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง