เห็ดหอม ( Shitake Mushroom ) สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหาร อาหารชั้นเลิศ สรรพคุณทางยาสูง ประโชยน์และสรรพคุณบำรุงกำลัง คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม โทษของเห็ดหอม

เห็ดหอม สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของเห็ดหอม

ต้นเห็ดหอม เป็น สมุนไพร ในแถบประเทศที่มีอากาศเย็น อย่าง ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่ง เห็ดหอม ถือเป็น อาหารชั้นเลิศ ที่มี สรรพคุณทางยาสูง มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดีต่อสุขภาพ เห็ดหอม  นั้น นำมาทำอาหาร ก็แสนอร่อย คุณค่าทางอาหาร และ สรรพคุณ เป็นยาบำรุงกำลังชั้นยอด เป็น ยาอายุวัฒนะ ช่วยต้านมะเร็ง ชะลอวัย วันนี้เรามา ทำความรู้จักกับเห็ดหอม กันให้มากขึ้น

เห็ดหอม เป็น เชื้อราชนิดหนึ่ง เห็ดหอม ภาษาอังกฤษ เรียก Shitake Mushroom ชื่อวิทยาศาสตร์ของเห็ดหอม คือ Lentinus edodes ( Berk.) Sing ชื่อเรียกอื่นๆ ของ เห็ดหอม อาทิเช่น ไชอิตาเกะ , โบโกะ , เฮียโกะ , ชิชิ-ชามุ , เห็ดดำ เป็นต้น

มีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พบว่า ใน เห็ดหอม มี สารสำคัญ หลายตัว เช่น เลนติแนน ( Lentinan ) สารตัวนี้มีส่วนใน การกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันโรค ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง  กรดอิริทาดีนีน ( Eritadenine ) เป็น กรดอะมิโน ที่ ช่วยลดไขมัน และ ลดคอเลสตรอรอลในเส้นเลือด จะ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และ โรคเกี่ยวกับระบบเลือด ได้ดี สารเออร์โกสเตอรอล ( Ergosterol ) เป็นสารที่ ช่วยในการบำรุงกระดูก และ ทำให้กล้ามเนื้อให้แข็งแรง  ป้องกันโรคกระดูกผุ และ โรคโลหิตจาง ได้ดี

ลักษณะของเห็ดหอม

เห็ดหอม จะ มีลักษณะหมวกเห็ดกลม มีผิวสีน้ำตาลอ่อน จนถึง น้ำตาลเข้ม มีขน สีขาว ลักษณะหยาบๆ กระจายทั่วหมวกเห็ด ก้านดอกเห็ด และ โคนของเห็ดหอม มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อของเห็ดหอม จะนุ่ม สามารถรับประทานได้ มีกลิ่นหอม เป็น เอกลักษณ์ ที่เฉพาะตัว จึงถูกเรียกว่า เห็ดหอม

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม

นักโภชนาการได้ทำการศึกษา คุณค่าทางอาหารของเห็ดหอม สด และ เห็ดหอมแห้ง ซึ่ง พบว่า ใน เห็ดหอมสดขนาด 100 กรัม สามารถ ให้พลังงานร่างกาย 387 กิโลแคลอรี โดยมี สารอาหารที่มีประโยชน์ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 67.5 กรัม โปรตีน 17.5 กรัม ไขมัน 8 กรัม กากใยอาหาร 8 กรัม วิตามินบี1 1.8 มิลลิกรัม วิตามินบี2 4.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 4.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 98 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 476 มิลลิกรัม เหล็ก 8.5 มิลลิกรัม และมีการศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมแห้ง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้ พลังงาน แก่ร่างกาย 375 กิโลแคลอรี และมี สารอาหาร ที่ มีประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 82.3 กรัม โปรตีน 10.3 กรัม ไขมัน 1.9 กรัม กากใยอาหาร 6.5 กรัม วิตามินบี1 0.4 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 11.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 12 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 171 มิลลิกรัม เหล็ก 4.0 มิลลิกรัม

จะเห็นได้ว่าใน เห็ดหอม ไม่ว่าจะเป็น แห็ดหอมแห้ง หรือ เห็ดหอมสด ก็ให้ คุณค่าทางอาหาร ที่ใกล้เคียงกัน แต่ การรับประทานเห็ดหอม มี ข้อควรระวัง อยู่บ้าง ซึ่ง

ข้อควรระวังในการรับประทานเห็ด คือ การรับประทานเห็ดหอม ไม่ควรรับประทานในสตรีหลังคลอดบุตร และ ผู้ป่วยที่พึ่งฟื้นไข้ รวมถึง คนที่เป็นหัด เนื่องจาก เห็ดหอม มีพวกจุลินทรีย์  ทำให้เกิดแก๊สในท้อง สำหรับสตรีหลังคลอด ระบบภายในยังไม่ดี อาจเกิด อันตรายต่อคุณแม่หลังคลอด รวมถึงจะ ส่งผลต่อน้ำนม ที่ ทำให้ลูกท้องอืด หากรับประทานนมแม่ที่กินเห็ด

สรรพคุณทางสมุนไพรของเห็ดหอม

สำหรับ การรับประทานเห็ดหอม ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยป้องกันโรคหวัด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ช่วยบำรุงระบบหัวใจ ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับเลือด ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยบำรุงระบบสมอง ช่วยบำรุงระบบประสาท ช่วยชะลอวัย ช่วยให้นอนหลับสบาย

เห็ดหอม ( Shitake Mushroom ) สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหาร พบได้ในแถบประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เห็ดหอม อาหารชั้นเลิศ สรรพคุณทางยาสูง ประโชยน์ของเห็ดหอม สรรพถคุณของเห็ดหอม เป็นยาบำรุงกำลังชั้นยอด คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม โทษของเห็ดหอม

จำปา ( Champaca ) สมุนไพร ไม้ยืนต้น ดอกจำปามีกลิ่นหอม ประโยชน์ของจำปา สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด บำรุงประสาท บำรุงหัวใจ ขับเสมหะ แก้เวียนหัว ต้นจำปาเป็นอย่างไร

จำปา สมุนไพร สรรพคุณของจำปา ประโยชน์ของจำปา

จำปา ( Champaca ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นจำปา คือ Magnolia champaca (L.) Baill. ex Pierre สมุนไพร ไม้ยืนต้น ดอกจำปามีกลิ่นหอม ดอกสวย ประโยชน์ของจำปา สรรพคุณของจำปา ช่วยบำรุงเลือด บำรุงประสาท บำรุงหัวใจ ขับเสมหะ แก้เวียนหัว ต้นจำปาเป็นอย่างไร

ต้นจำปา สมุนไพร ไม้ยืนต้น เป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม ดอกสวย สรรพคุณ ช่วยบำรุงเลือด บำรุงระบบประสาท บำรุงหัวใจ ขับเสมหะ ขับปัสาวะ เป็นยาระบาย แก้เวียนหัว แก้อาเจียน  ต้นจำปา เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศจีน อินเดีย ไทย มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สามารถนำมาใช้ประโยชน์จากไม้ได้

ประโยชน์ของต้นจำปา

  • ดอกจำปา มีกลิ่นหอมนำมาแต่งกลิ่นของอาหาร
  • ดอกจำปามีสีสวยและมีกลิ่นหอม นิยมนำมาประดับตกแต่ง เพิ่มความสวยงามฅ
  • ต้นจำปาเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ สามารถใช่ให้ร่มเงาได้ดี
  • ดอกจำปามีกลิ่นหอม สามารถนำมาสกัดน้ำมันดอกจำปา เพื่อเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ต่างๆ
  • เนื้อไม้ต้นจำปา สามารถนำมาทำบ้าน เฟอร์นิเจอร์ หีบ ห่อ เรือ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าต้นจำปาเป็นประโยชน์ เรามาทำความรู้จักต้นจำปากันว่า เป็นอย่างไร ต้นจำปา ภาษาอังกฤษ เรียก Champaca ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นจำปา คือ Magnolia champaca (L.) Baill. ex Pierre ชื่อเรียกอื่นๆของต้นจำปา อาทิเช่น จำปาเขา, จำปาทอง, จำปาป่า, จุ๋มป๋า, จำปากอ, มณฑาดอย เป็นต้น

ลักษณะของต้นจำปา

ต้นจำปา เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำในระดับปานกลาง ไม่ชอบที่น้ำขัง ชอบดินร่วน โปร่ง ต้นจำปาสูงประมาณ 30 เมตร ลำต้นตั้งตรง มีแตกก้านมาก เปลือกของลำต้นมีสีเทา เปลือกมีกลิ่นฉุน ใบของต้นจำปา เป็นใบเดี่ยว ทรงรี ปลายใบแหลม ใบบาง มีขน สีเขียว ดอกของต้นจำปา เป็นดอกเดี่ยว สีเหลือง ดอกออกที่ซอกใบ ผลของต้นจำปา ลักษณะของผลกลม ขนาด 1 เซนติเมตร

การขยายพันธุ์ของจำปา

ต้นจำปาสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วย การเพาะเมล็ด การทาบกิ่ง และการตอนกิ่ง แต่การเพาะเมล็ดจะง่ายกว่า เนื่องจาก ลำต้นจะตั้งตรง ระบบรากจะแข็งแรง โตเร็ว ต้นจำปาชอบดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดด

สรรพคุณของต้นจำปา

ต้นจำปา สามารถนำมาใช้ประโยชนืทางสมุนไพร ทุกส่วน ตั้งแต่ ใบ ดอก เปลือก ราก ไม้ ซึ่งรายละเอียดของสรรพคุณของจำปา ด้านสมุนไพร และการรักษาโรค มีดังนี้

  • ใบของต้นจำปา แก้โรคเส้นประสาทพิการ แก้ป่วงของทารก แก้ไอ รักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ
  • ดอกของต้นจำปา ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยบำรุงประสาท แก้วิงเวียนศีรษะ ลดอาการอ่อนเพลีย รักษาอาการหน้ามืด บำรุงหัวใจ กระจายโลหิต ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ รักษาอาการคลื้นไส้ บรรเทาอาการอักเสบ ช่วยขับลม ช่วยขับปัสสาวะ  ช่วยแก้โรคไต ช่วยรักษาโรคเรื้อน ช่วยรักษาโรคปวดตามข้อ ช่วยระงับอาการเกร็ง
  • เปลือกต้นของต้นจำปา ช่วยแก้คอแห้ง ฝาดสมาน ลดไข้
  • รากของต้นจำปา เป็นยาถ่าย ทำให้ประจำเดือนมาปกติ รักษาโรคปวดตามข้อ ขับน้ำคาวปลา ช่วยขับเลือดเน่าเสีย
  • ผลของต้นจำปา ช่วยบำรุงธาตุ รักษาอาการคลื้นไส้ ขับปัสสาวะ ช่วยรักษาแผลที่เท้า
  • เมล็ดของต้นจำปา ช่วยบำรุงธาตุ รักษาอาการคลื้นไส้ ขับปัสสาวะ ช่วยรักษาแผลที่เท้า
  • เนื้อไม้ของต้นจำปา บำรุงโลหิต ช่วยรักษาโรคเรื้อน ช่วยบำรุงประจำเดือนของสตรี
  • เปลือกของรากต้นจำปา เป็นยาระบาย ช่วยขับพยาธิ

จำปา ( Champaca ) สมุนไพร ไม้ยืนต้น ดอกจำปามีกลิ่นหอม ดอกสวย ประโยชน์ของจำปา สรรพคุณของจำปา ช่วยบำรุงเลือด บำรุงประสาท บำรุงหัวใจ ขับเสมหะ แก้เวียนหัว ต้นจำปาเป็นอย่างไร