จันทร์กระพ้อ จันกระพ้อ ต้นไม้ขนาดเล็ก ดอกมีกลิ่นหอมมาก เนื้อไม้ใช้ประโยชน์ได้มากมาย สรรพคุณแก้ไข้ ช่วยขับเสมหะ ขับลม บำรุงหัวใจ ต้นจันทรกระพ้อเป็นอย่างไรจันทร์กระพ้อ จันกระพ้อ สรรพคุณของจันกระพ้อ สมุนไพร

ต้นจันทน์กะพ้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Vatica diospyroides Symington เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับ ต้นตะเคียนทอง และ พะยอม ชื่อเรียกอื่นๆของต้นจันกระพ้อ เช่น เขี้ยวงูเขา จันทน์พอ จันทน์พ้อ เป็นต้น ต้นจันกระพ้อเป็นต้นไม้พื้นเมืองของไทยดอกหอมมาก นิยมปลูกตามบ้านเรือนทั่วไป

ลักษณะของต้นจันกระพ้อ

  • ต้นจันทน์กะพ้อ เป็นพืชที่มีขนาดเล็ก ความสูงของต้นจันกระพ้อประมาณ 15 เมตร เป็นพืชไม่ผลัดใบ ลักษณะของต้นจันกระพ้อ เป็นพุุ่มทรงไข่ แผ่ออกกว้าง ลำต้นตรง ใบอ่อนและกิ่งอ่อน จะมีขนสีน้ำตาลออกแดง ดอกจันทร์กระพ้อมีกลิ่นหอมมาก ไม่ชอบแสงแดดจัดๆและสภาพภูมิประเทศที่แห้งแล้งเกินไป ลักษณะของเปลือกจันกระพ้อจะเรียบหรือแตกเป็นร่อง
  • ใบจันทน์กะพ้อ เป็นลักษณะใบเดี่ยว เรียงสลับกับ รูปเรียวเหมือนหอก ขนาดใบกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีของใบมีสีเขียวเข้ม ก้านใบคดงอ ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร
  • ดอกจันทน์กะพ้อ จะมีขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม สีเหลืองอ่อน ดอกจันกระพ้อจะออกเป็นช่อ ตามซอกใบบริเวณกิ่งและปลายกิ่ง มีขนสีน้ำตาลปกคลุม
  • ผลจันทน์กะพ้อ ผลจะมีขนสีน้ำตาลอ่อนๆ ทรงกลมที่ปลายจะเรียวแหลม ลักษณะผลจะคล้ายรูปสามเหลี่ยม เปลือกผลแข็ง   ในผลจะมีเมล็ด 1 เมล็ดต่อ 1 ผล

สรรพคุณของจันทน์กะพ้อ

การใช้ประโยชน์ของต้นจันกระพ้อ เราจะใช้ ดอกและเนื้อไม้ มาใช้ประโยชน์ โดยรายละเอียดของสรรพคุณทางยาของจันทร์กระพ้อ มีดังนี้

  • ดอกจันทร์กระพ้อ ใช้เป็นส่วนผสมของยาสมุนไพร ใช้สูดดม แก้อาการเป็นลม บำรุงหัวใจ
  • เนื้อไม้ของจันทรกระพ้อ สามรถใช้ ช่วยแก้โรคสันนิบาต แก้อาการวิงเวียนศรีษะ ช่วยขับลม ช่วยขับเสมหะ

ประโยชน์ต้นจันทน์กะพ้อ

การใช้ประโยชน์ของต้นจันทรกระพ้อ พบว่าคนในสมัยก่อนใช้ดอกจันทร์กระพ้อ มาสกัดเอาน้ำมันมาใส่ผมให้มีกลิ่นหอม รวมถึง นำดอกจันทรืกระพ้อมาใส่เสื้อผ้าให้มีกลิ่นหอมติดเสื้อด้วย ส่วนไม้จันทน์กะพ้อ นำมาทำด้ามจับสำหรับเครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องใช้ ต่างๆ เนื่องจากดอกของต้นจันทน์กะพ้อ มีกลิ่นหอม จึงนิยมใช้ปลูกต้นจันทร์กระพ้อเป็นไม้ประดับในบ้าน จะพบเห็นตามสนามหญ้าหน้าบ้าน แต่ควรปลูกทางด้านทิศตะวันออกที่มีไม้ใหญ่

จันทร์กระพ้อ หรือ จันกระพ้อ ต้นไม้ขนาดเล็ด ดอกจันกระพ้อมีกลิ่นหอมมาก เนื้อไม้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย สรรพคุณ แก้ไข้ ช่วยขับเสมหะ ขับลม แก้วิงเวียนศรีษะ บำรุงหัวใจ ลักษณะของต้นจันทรกระพ้อเป็นอย่างไร

มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma ) เนื้อร้ายที่ท่อทางเดินน้ำดี เกิดกับตับและอวัยวะภายในช่องท้อง พบมากในเพศชายอายุ 40 ปีขึ้นไป เกิดจากการรับประทานปลาน้ำจืดดิบมะเร็งท่อน้ำดี โรคมะเร็ง ตัวเหลืองตาเหลือง กินปลาดิบ

โรคมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทย

โรคนี้เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของสาเหตุการตายของคนไทยจากโรคมะเร็ง โรคนี้พบมากในภาคอีสาน เนื่องจากการนิยมการกินปลาดิบ จนเกิดจากการติดพยาธิใบไม้ตับชนิด Opisthorchis viverrini ซึ่งเป็นปรสิตที่พบในปลาน้ำจืด ที่มีเกล็ด เช่น ปลาตะเพียน ปลาขาว ปลาสร้อย ปลากะสูบ ปลาแม่สะแด้ง ปลาซิว ปลาแก้มช้ำ ปลาขาวนา เป็นต้น

เมื่อคนกินปลาน้ำจืดแบบสุกๆ ดิบๆ ตัวอ่อนของพยาธิจะเข้าไปเจริญเติบโตอยู่ในท่อน้ำดี และอยู่ได้นานถึง 20 ปี ดังนั้น โรคมะเร็งท่อน้ำดี เกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ กลุ่มเสี่ยงต่อโรคมะเร็งท่อน้ำดี คือ คนอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีประวัติกินปลาน้ำจืดแบบสุกๆดิบๆ การรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี หากพบในระยะเริ่มต้น สามารถรักษาให้หายขาดได้ถึงร้อยละ 90

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับสาเหตุของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีนั้น ยังไม่มีการศึกษาได้สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคอย่างชัดเจนนัก แต่พบว่าการเกิดการอักเสบแบบเรื้อรังที่ท่อน้ำดี มีผลทำให้เซลล์ของเยื่อบุผิวท่อน้ำดีเป็นเซลล์มะเร็งได้ โดยพบว่ามีโรค ดังต่อไปนี้ที่มีความเสี่ยงการเกิดอักเสบของท่อน้ำดี คือ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง โรคพยาธิใบไม้ในตับ และ ความผิดปรกติของท่อน้ำดีจากกรรมพันธ์

ชนิดของมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับมะเร็งท่อน้ำดี นั้นสามารถแบ่งชนิดของโรคได้ 2 ชนิด ประกอบด้วย มะเร็งท่อน้ำดีในตับ และ มะเร็งท่อน้ำดีนอกตับ รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งท่อน้ำดีในตับ ลักษณะของโรคคล้ายมะเร็งตับ การวินิจฉัยโรคมักถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับ เกิดจากเซลล์ของเยื่อบุท่อน้ำดีในตับและขยายออกสู่เนื้อตับข้างๆ
  • มะเร็งท่อน้ำดีนอกตับ มะเร็งชนิดนี้จะทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดี จากการที่มีท่อน้ำดีขนาดใหญ่ตั้งแต่ขั้วตับจนถึงท่อน้ำดีส่วนปลาย ซึ่งผู้ป่วยมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีนั้น มีปัจจัยเสี่ยงการการกินอาหารที่มีให้เกิดผลกระทบต่อตับ สำหรับปัจจัยเสี่ยงการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี มีดังนี้

  • การเกิดโรคภาวะท่อน้ำดีอักเสบแบบเรื้อรัง
  • การเกิดโรคที่ระบบทางเดินของท่อน้ำดี
  • การเกิดนิ่วที่ตับ
  • กรรมพันธุผิดปกติตั้งแต่กำเนิด คือ ถุงน้ำดีผิดปกติในระบบทางเดินน้ำดี

ระยะของโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับระยะการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี นั้น มี 4 ระยะ คือ ระยะลุกลามเฉพาะท่อน้ำดี ระยะลุกลามออกนอกท่อน้ำดี ระยะลุกลามเข้าสู่หลอดเลือดขนาดเล็ก และ ระยะลุกลามเข้าสู่หลอดเลือกขอนาดใหญ่และกระแสเลือด

อาการของมะเร็งท่อน้ำดี

ลักษณะของอาการของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี อาการคล้ายกับผู้ป่วยโรคตับ ซึ่งในระยะแรกของโรคจะไม่แสดงอาการให้เห็น และ จะแสดงอาการเมื่อโรคเริ่มมีการลุกลามแล้ว โดยสามารถสังเกตุอาการของโรคได้ ดังนี้

  • มีอาการตัวเหลืองและตาเหลือง
  • มีอาการไม่สบายท้อง อึดอัดและแน่นท้อง
  • ปวดท้องส่วนบนบริเวณใต้ชายโครงขวา
  • มีอาการปวดหลังและปวดไหล่
  • มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • คันตามตัวทั่วร่างกาย
  • อุจจาระมีสีซีด
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม
  • เหนื่อยง่าย
  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักตัวลดลง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีก้อนโตที่หน้าท้อง

การรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี นั้นการพิจารณารักษามีปัจจัยต่างๆ คือ ขนาดของมะเร็ง ตำแหน่งของมะเร็ง และ ลักษณะของมะเร็ง ระยะของมะเร็ง และ การแพร่กระจายของมะเร็ง รวมถึงสุขภาพและกำลังใจผู้ป่วยด้วย โดยการรักษาใช้การผ่าดัด และเคมีบำบัด ควบคู่กันได

  • การผ่าตัด เป็นการรักษาหลักของโรคมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งจะผ่าตัดเนื้องอก และผ่าตัดระบายท่อน้ำดี ผู้ป่วยที่สามารถผ่าตัดเนื้องอกได้แต่ในขณะที่ผ่าตัดพบว่าระยะโรคไม่สามารถผ่าตัดออกได้ ควรได้รับการผ่าตัดระบายท่อน้ำดีเพื่อรักษาอาการคันและตัวเหลืองตาเหลือง
  • เคมีบำบัดและรังสีรักษา ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดเอามะเร็งออกได้หมด หรือใช้ในการรักษาหลังผ่าตัดเพื่อเพิ่มโอกาสการหายขาด

การป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับการป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดี ต้องลดโอกาสเกิดโรคที่ตับ เป็นหลัก โดยรายละเอียดดังนี้

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ
  • เลิกกินปลาน้ำจืด ที่ปรุงแบบสุกๆดิบๆ
  • คนที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่มีการระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับ ต้องระวังการติดเชื้อโรคและการติดพยาธิ
  • ควรพบแพทย์ขอรับการตรวจอุจจาระเพื่อตรวจหาไข่ของพยาธิใบไม้ตับ เป็นประจำทุกปี

มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma ) คือ ภาวะการเกิดก้อนเนื้อร้ายที่ท่อทางเดินน้ำดี เป็นโรคที่เกิดกับตับ และ ระบบอวัยวะภายในช่องท้อง โรคนี้พบมากในเพศชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุเกิดจากการรับประทานปลาน้ำจืดดิบๆ