โรคลมชัก ( Epilepsy ) เรียก โรคลมบ้าหมู ภาวะทางสมองผิดปรกติ ไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน อาการชักเกร็งไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ แนวทางการรักษาโรคอย่างไร โรคลมชัก โรคลมบ้าหมู โรคระบบประสาทและสมอง โรคไม่ติดต่อ

โรคลมชักแตกต่างจากการชักอย่างไร

ความแตกต่างของโรคลมชักกับการชัก คือ สาเหตุของการชัก การชักจากโรคลมชัก จะมีอาการ ชัก เกร็ง กระตุก น้ำลายฟูมปาก และ กัดลิ้น ส่วนลักษณะสำคัญของอาการชัก คือ เกิดการผิดปกติของระบบประสาท อย่างใดอย่างหนึ่งในระยะเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 3 นาที แต่อาการชักจะเกิดแบบซ้ำๆ

ชนิดของอาการชัก

สำหรับชนิดของอาการชัก สามารถแบ่งได้ 5 ลักษณะของโรค คือ

  • อาการชัก ชนิดเกร็งกระตุกทั้งตัวและหมดสติ เรียกว่า ลมบ้าหมู
  • อาการชัก ชนิดนั่งนิ่งและเหม่อลอย
  • อาการชัก ชนิดทำอะไรโดยไม่รู้สึกตัว
  • อาการชัก ชนิดกระตุกเฉพาะส่วนของร่างกาย แต่รู้สึกตัว
  • อาการชัก ชนิดล้มลงทันที

สาเหตุของโรคลมชักเกิด

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคลมชัก ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่มักเกิดจากการถูกกระทบกระเทือนที่สมอง ทั้งการกระทบจากภายในสมองและการกระทบจากภายนอกสมอง โรคลมชัก สามารถแบ่งกลุ่มของสาเหตุได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่สามารถบอกสาเหตุได้ชัดเจน และ กลุ่มที่สามารถบอกสาเหตุได้ชัดเจน รายละเอียด ดังนี้

  • โรคลมชักที่ไม่ทราบสาเหตุ ( Idiopathic หรือ Primary Epilepsy ) สันนิษฐานว่าเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม หรือ ความผิดปรกติของร่างกาย
  • โรคลมชักที่ทราบสาเหตุที่ชัดได้ ( Symptomatic หรือ Secondary Epilepsy ) โดยอาจเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือ เนื้องอกในสมอง อุบัติเหตุกระทบกระเทือนต่อสมอง การเสพยาเสพติด การติดสุรา เป็นต้น สาเหตุเหล่านี้ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

จากสาเหตุของโรคที่กล่าวมาข้างต้น เราสามารถสรุปปัจจััยและสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้ ดังนี้

  • การเกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนที่สมอง
  • โรคหลอดเลือดสมอง เช่น โรคอัมพาต เป็นต้น
  • การติดเชื้อที่สมอง เช่น โรคสมองอักเสบ โรคพยาธิตัวตืด เป็นต้น
  • ความผิดปรกติของสมอง เช่น โรคเนื้องอกสมอง โรคกลีบสมองบริเวณขมับฝ่อ เป็นต้น
  • การกินเหล้าจำนวนมาก การติดเหล้า โรคพิษสุราเรื้อรัง
  • พันธุกรรม
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติชักในวัยเด็ก
  • ได้รับการผ่าตัดที่สมอง

การวินิจฉัยโรคลมชัก

เนื่องจากโรคลมชักไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน การวินิจฉัยโรค ต้องทำการตรวจสอบประวัติอย่างและเอียด เช่น ประวัติการรักษาโรค ประวัติส่วนตัวต่างๆ เช่น ประวัติการใช้ยา การเสพยาเสพติด การดื่มสุรา พร้อมทั้งตรวจร่างกายอย่างละเอียด เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การเอกซเรย์เอ็มอาร์ไอ เป็นต้น

การรักษาโรคลมชัก

สำหรับการรักษาโรคลมชัก การรักษาโรคลมบ้าหมู นั้น ต้องทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน หากพบว่าสาเหตุของโรคเกิดจากโรคทางสมอง เช่น โรคเนื้องอกในสมอง การติดเชื้อที่สมอง ก็ทำการรักษาโรคนั้นๆตามวิธีการรักษาของโรค หากสาเหตุของโรคไม่แน่ชัดนัก อาจเกิดจากปัญหาอื่นๆ โดยการรักษาแพทย์จะให้ยากันชัก ควบคู่กับการปรับพฤติกรรมการดำรงชีวิติที่เป็นประโยชน์ต่อสมอง เช่น

  • การพักผ่อนให้เพียงพอ
  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • การงดการดื่มสุรา
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • ลดการใช้สายตา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
  • หากมีไข้สูง ต้องปฐมพยาบาลเพื่อลดไข้
  • ไม่ขับรถ และ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัตติเหตุ ทั้งหมด

สำหรับการผ่าตัดสมอง เพื่อรักษาโรคลมชัก นั้น วิธีการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคลมชัก มี 2 วัตถุประสงค์ ดังนี้

  • เพื่อกระตุ้นเส้นประสาทสมอง ( Vagus Nerve Stimulation: VNS ) โดยการผ่าตัดเพื่อฝังอุปกรณ์ไว้ใต้ผิวหนัง บริเวณกระดูกไหปลาร้า เพื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าไปยังเส้นประสาท
  • เพื่อกระตุ้นสมองส่วนลึก ( Deep Brain Stimulation: DBS ) โดยการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าไว้บริเวณสมอง เพื่อลดความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมอง โดยจะฝังอุปกรณ์ที่ใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอก อุปกรณ์นี้จะสามารถลดความถี่ของอาการชักได้

การป้องกันโรคลมชัก

เนื่องจากโรคลมชักไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัดเจน การป้องกันไม่ให้เกิดอาการชัก จึงจำเป็น โดยมีวิธีการป้องกันอาการชัก มี ดังนี้

  • รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์ อย่างอย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง
  • นอนหลับให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • สวมป้ายข้อมือระบุว่าเป็นโรคลมชัก เพื่อให้คนรอบข้างทราบและช่วยเหลือได้ทันท่วงที
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดการกระเทกที่ศรีษะ
  • ลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทุกชนิด เช่น ขับขี่อย่างปลอดภัย หรือ ไม่ขับขี่ยานพาหนะ
  • ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
  • รักษาสุขอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อทุกชนิด

โรคลมชัก ( Epilepsy ) คือ โรคระบบประสาทและสมอง ที่พบบ่อยโรคหนึ่ง เรียกอีกโรคหนึ่งว่า โรคลมบ้าหมู สาเหตุของการเกิดโรคลมชักมีอะไรบ้าง อะไรคือปัจจัยของการเกิดโรค การรักษาโรคลมชักทำอย่างไร การป้องกันการเกิดโรคทำได้อย่างไร

โรคท้องมาน ภาวะมีน้ำขังอยู่ในช่องท้องปริมาณมาก เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไรโรคท้องมาน โรคท้องโต โรคท้องบวม โรคตับ

ความหมายของโรคท้องมาน จากพจนานุกรมราชบัณฑิตย์สถาน พ.ศ. 2542 ท้องมาน ท้องบวม หมายถึง ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง มีอาการให้ท้องโตเหมือนสตรีมีครรภ์ ภาวะที่เกิดมีน้ำคั่งในช่องท้องมากผิดปกติ จนเป็นสาเหตุให้ท้องขยายใหญ่โตขึ้น

ชนิดของโรคท้องมาน

โรคท้องมาน นั้นโดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของโรคได้ 2 ชนิด คือ Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) และ ascites neutrophil โดยแบ่งจากปริมาณน้ำในท้องและสาเหตุของการท้องโต รายละเอียด ดังนี้

  • Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) คำนวณจากอัตราส่วนของโปรตีนแอลบูมินในน้ำที่ขังนช่องท้อง เปรียบเทียบกับระดับของโปรตีนแอลบูมินในเลือด
  • ascites neutrophil มากกว่า 250 cells/ml หรือมากกว่า 50% บ่งว่าผู้ป่วยน่าจะมีการติดเชื้อของน้ำในช่องท้อง และหากสงสัยว่ามีมะเร็งหรือ pancreatic ascites ก็ควรส่งตรวจ cytology หรือ amylase ร่วมด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่มำให้เกิดโรคท้องมาน

การเกิดภาวะน้ำขังในช่องท้องนั้น สามารถสรุปปัจจัยการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ทั้งชนิด B และ C
  • การดื่มสุราบ่อย จนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โระมะเร็ง และ โรคไต
  • การติดเชื้อที่ช่องท้อง เช่น ติดเชื้อวัณโรค เยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคท้องมาน

จากปัจจัยของการเกิดโรค เราจึงสามามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคท้องมาน ได้ดังนี้

  • โรคตับ ร้อยละ75 ของผู้ป่วยที่มีอาการท้องมาน จะมีภาวะป่วยโรคตับแข็ง น้ำในช่องท้องมีผลมาจากความดันเลือดในตับสูงขึ้น ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคตับแข็ง มีภาวะโรคท้องมาน 10 ปี มีอาการท้องบวม เท้าบวม มีน้ำในช่องอก มีอัตราการเสียชีวิตสูง
  • โรคมะเร็งในช่องท้อง เช่น มะเร็งรังไข่ หรือ เชื้อมะเร็งที่กระจายเข้าสู่ช่องท้อง เป็นต้น ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคท้องมาน เป็นโรคมะเร็ง
  • มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลว
  • เป็นผุ้ป่วยโรคไต
  • ขาดสารอาหาร มีภาวะขาดแอลบูมิน เป็น โปรตีนจากไข่ขาว
  • เกิดภาวะการอักเสบที่ช่องท้อง เช่น ติดเชื้อวัณโรค โรคภูมิแพ้
  • เกิดภาวะโรคตับอ่อนอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มสุรา หรือ การเกิดอุบัติเหตุกระทยที่ตับอ่อน
  • การอุดตันของหลอดเลือดใหญ่ที่ตับ

อาการโรคท้องมาน

สำหรับความรุนแรงของโรคท้องมาน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ เรียกว่า Grading of ascites โดยรายละเอียดดังนี้

  • ระดับที่ 1 ( Grade 1) มีอาการของโรคท้องมานเพียงเล็กน้อย สามารถตรวจพบได้โดยการอัลตร้าซาวน์
  • ระดับที่ 2 ( Grade 2) มีอาการของโรคปานกลาง การตรวจร่างกายประจำปี สามารถพบได้
  • ระดับที่ 3 ( Grade 3) มีอาการหนัก มีภาวะท้องตึงแน่น

ผู้ป่วยโรคท้องมาน สามารถสังเกตุอาการของโรคได้ โดยมีลักษณะของโรค ดังนี้

  • ท้องโต แน่นท้อง อาจทำให้หนังท้องปริและมีน้ำซึมออกมาได้ ในบางรายพบว่ามีสารน้ำในเยื่อหุ้มปอดร่วมด้วย
  • มีอาการเหนื่อยหอบและหายใจติดขัด
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • อาการของป่วยจากตับ เช่น ดีซ่าน นมโต ฝ่ามือแดง เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคท้องมาน

การตรวจวินิจฉัยดรคแพทยืจะทำการ ตรวจร่างกาย และ สอบถามประวัติการเกิดโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ และ โรคมะเร็ง แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับ ดูดน้ำในช่องท้องออกมาตรวจ อัลตราซาวน์ช่วยในการเจาะดูดสารน้ำในช่องท้อง

การรักษาโรคท้องมาน

การรักษาโรคท้องมาน ต้องทราบสาเหตุของการเกิดโรค ก่อนและรักษาที่สาเหตุของโรค โดยแนวทางการรักษาโรคท้องมาน การรักษาเพื่อลดระดับน้ำในท้องทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้น ช่วยรักษาสมดุลของเกลือ และช่วยในการปรับละดับน้ำในร่างกายและหลอดเลือดมีรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาอาการท้องมานขึ้นกับโรคที่เป็นสาเหตุ
  • ถ้าเกิดจากโรคมะเร็งแพร่กระจาย แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัดและเคมีบำบัด
  • ปรับเรื่องการกินอาหาร ลดอาหารที่มีโซเดียม และ อาหารที่มีรสเค็ม
  • รักษาโรคตับ ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากโรคตับแข็ง ให้จำกัดปริมาณโซเดียมในร่างกาย
  • ให้ยาขับปัสสาวะ โดยขนาดของยาขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและการตอบสนอง แลเต้องให้ยาโดยหลีกเลี้ยงการปัสสาวะในเวลากลางคืน
  • เจาะช่องท้องเพื่อระบายน้ำ สามารถระบายน้ำได้ถึง 5 ลิตรต่อครั้ง
  • ผ่าตัดเพื่อทำทางระบายน้ำในช่องท้อง
  • ผ่าตัดเปลี่ยนตับ สำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะรุนแรง หรือมีภาวะตับวาย

โรคท้องมาน ความผิดปรกติของร่างกายจากภาวะมีน้ำขังอยู่ในช่องท้องปริมาณมาก โดยเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไร ท้องบวม โรคท้องโตผิดปรกติ