อาการโคม่า หลับ ไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น อาการเจ้าชายนิทรา ภาวะผัก สมองสูญเสียการรับรู้ หลับ รู้สึกตัวแต่ไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าโคม่า เจ้าชายนิทรา โรคสมอง โรคต่างๆ

เราทำความรู้จักกับ โรคเกี่ยวกับระบบสมอง และ ระบบประสาทมาพอสมควรแล้ว อาการหนึ่งที่ควรทความรู้จักกัน คือ อาการโคม่า อาการโคม่าเป็นอย่างไร สาเหตุของอาการโคม่า การรักษาผู้ป่วยโคม่าทำอย่างไร การดูแลผู้ป่วยอาการโคม่า นอกจากเรื่องของโคม่าแล้ว บทความนี้ จะพูดถึง อาการเจ้าชายนิทรา หรือ อาการเจ้าหญิงนิทรา อาการนี้คืออะไร เกิดจากสาเหตุอะไร  อาการโคม่า กับอาการเจ้าชานนิทรา มีความเหมือนกัน และมีความแตกต่างกันอย่างไร ในบทความนี้ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โคม่า และ เจ้าชายนิทรากัน

อาการโคม่า คือ ภาวะของผู้ป่วยที่ถูกกระทบกระเทือนที่สมอง ทำให้เกิดการหลับ ไม่รู้สึกตัว ปลุกไม่ตื่น ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นทั้งหลายทั้งปวง ผู้ป่วยอาการโคม่าถือว่ามีชีวิตอยู่

สาเหตุของอาการโคม่า
สาเหตุของอาการโคม่า เกิดจากการถูกกระทบกระเทือนที่สมอง ทั้งจากภายใน และภายนอก รายละเอียด ดังนี้

  • เกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรงกระทบกระเทือนศรีษะ ส่งผลต่อการทำงานของสมอง
  • เกิดจากการได้รับสารพิษบางชนิดอย่างรุนแรง เช่น การกินยาเกินขนาด การใช้ยาเสพติดเกินขนาด ซึ่งทำให้ร่างกายเกิดภาวะช็อค
  • เกิดจากการเสียเลือดเลือดอย่างรุนแรงทำให้สมองขาดเลือด
  • เกิดจากการติดเชื้ออย่างรุนแรง กระบทกระเทือนต่อหัวใจ การหายใจ หลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง

อาการของผู้ป่วยโคม่า
อาการโคม่าผู้ป่วยจะหลับ โดยไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัว ใช้เวลานาน อาจฟื้นตัวขึ้นมาได้ แต่หลังจากฟื้น อาจมีความผิดปรกของร่างกายตามมา มีส่วนน้อยที่สามารถพื้นขึ้นมาได้และใช้ชีวิตร่างกายแข็งแรงตามปรกติ แต่โดยทั่วไปโอกาสเสียชีวิตค่อนข้างสูง

การดูแลผู้ป่วยอาการโคม่า
เนื่องจากผู้ป่วยโคม่าเกิดจากการกระทบบกระเทือนที่สมอง ผู้ป่วยหลับ โดยไม่ตอบสนองแต่สิ่งต่างๆ ซึ่งถือว่าผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่ การดูแลผู้ป่วย ต้องดูแลเหมือนผู้ป่วยปรกติ และอาการโคม่าต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดที่โรงพยาบาล

อาการเจ้าชายนิทรา หรือ ภาวะผัก

อาการเจ้าชายนิทรา ภาษาอังกฤษ เรียก Vegetative state อาการเจ้าชายนิทรา ภาวะผัก คือ อาการที่เกิดจากการที่สมองสูญเสียความสามารถในการรับรู้ ทำความเข้าใจและตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัว เป็นอาการหลับ มีความรู้สึกตัว แต่ไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้า

อาการเจ้าชายนิทรา สามารถแบ่งระยะของโรคได้ 3 ระยะ คือ

  • ระยะแรก หรือ สภาวะผัก (Vegetative state) เป็นช่วงเวลาระยะสั้น เป็นช่วงเวลานาน 4 สัปดาห์
  • ระยะเรื้อรัง หรือ สภาวะผักเรื้อรัง (Persistent vegetative state) เป็นอาการเจ้าชายนิทราที่ระยะเวลานานไม่เกิน 1 ปี
  • ระยะถาวร หรือ สภาวะผักถาวร (Permanent vegetative state) เป็นอาการเจ้าชายนิทราที่มีระยะเวลานานกว่า 1 ปี

สาเหตุของอาการเจ้าหญิงหรือเจ้าชายนิทรา สาเหตุของภาวะผัก

สาเหตุของสภาวะผัก สามารถแยกสาเหตุของอาการเจ้าชายนิทราได้ 3 สาเหตุ คือ การเกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรงกระทบกระเทือนต่อสมอง ความพิการแต่กำเนิดของสมอง และ ภาวะการติดเชื้อที่สมอง

การดูแลผู้ป่วยอาการเจ้าชายนิทรา

การดูแลผู้ป่วยอาการเจ้าชายนิทรา เป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถช่วยตนเองได้ ต้องป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากอาการผู้ป่วยจะนอนหลับตลอดเวลา การดูแลต้องคอยพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง ป้องกันเกิดอาการแผลกดทับ การให้อาหารต้องให้อาหารทางสายยาง ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดป้องกันการสำลัก ต้องคอยดูดเสมหะ ทำกายภาพบำบัดฟื้นฟู คอยยืดข้อต่างๆ

มาถึงจุดนี้ อาการโคม่า และอาการเจ้าชายนิทรา เป็นอย่างไร เราได้รู้แล้ว เรามาแยกประเด็นความแตกต่างของอาการทั้งสอง ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ความเหมือนของอาการโคม่าและอาการเจ้าชายนิทรา คือ เป็นอาการที่เกิดจากอาการกระทบกระเทือนทางสมอง ทำให้เกิดอาการหลับ

ความแตกต่างของอาการโคม่าและอาการเจ้าชายนิทรา คือ โคม่าเป็นการหลับโดยไม่รู้สึกตัว แต่เจ้าชายนิทราเป็นอาการหลับแต่รู้สึกตัว สามารถเปิดตาได้ การดูแลผู้ป่วยโคม่าต้องดูแลอย่างใกล้ชิดกับแพทย์ที่โรงพยาบาล แต่เจ้าชายนิทราสามารถพาผุ้ป่วยกลับไปดูแลที่บ้านได้

โคม่า คือ ภาวะของผู้ป่วยที่ถูกกระทบกระเทือนที่สมอง ทำให้เกิดการหลับ ไม่รู้สึกตัว ปลุกไม่ตื่น ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นทั้งหลายทั้งปวง เจ้าชายนิทรา ภาวะผัก คือ ภาวะสมองสูญเสียความสามารถในการรับรู้ มีอาการหลับ มีความรู้สึกตัว แต่ไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้า ผู้ป่วยอาการโคม่าถือว่ามีชีวิต ความแตกต่างระหว่าง โคม่า กับ เจ้าชายนิทรา อยู่โรคเกี่ยวกับระบบสมอง อาการโคม่าเป็นอย่างไร สาเหตุของอาการโคม่า การรักษาผู้ป่วยโคม่า การดูแลผู้ป่วยโคม่า อาการเจ้าชายนิทรา เกิดจากอะไร โค่ม่า และ เจ้าชายนิทรา

ถุงน้ำในไตเกิดถุงน้ำในไต ทำให้ไตทำงานได้ลดลง เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ติดเชื้อที่ไต ไตวายเรื้อรัง ไตหยุดทำงาน ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แนวทางการรักษาและป้องกันโรคถุงน้ำในไต โรคไต โรคไม่ติดต่อ โรคที่ช่องท้อง

โรคถุงน้ำในไต โรคเกี่ยวกับระบบไต ภาษาอักฤษ เรียก Polycystic Kidney Disease เรียกย่อๆว่า PKD โรคถุงน้ำที่ไต คือ โรคเกี่ยวกับระบบการทำงานของไตผิดปรกติ เป็นภาวะมีถุงน้ำเกิดขึ้นในไต ทำให้ขนาดของไตใหญ่กว่าปกติ และประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลงจากถุงน้ำในไต

ปัญหาการมีถุงน้ำในไต ทำให้ เกิดภาวะความดันโลหิตสูง การติดเชื้อที่ไต เกิดโรคไตวายเรื้อรัง และอันตรายอาจทำให้ไตหยุดทำงาน นอกจากถุงน้ำในไตจะทำให้ระบบความดันโลหิตผิดปรกติ และไตติดเชื้อโรค อวัยวะส่วนอื่นๆที่ทำงานร่วมกับได้ก็มีปัญหาเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ตับ ตับอ่อน รังไข่ อัณฑะ และหลอดเลือดสมอง โรคถุงน้ำในไตเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

ลักษณะของถุงน้ำในไต

ถุงน้ำในไตมีหลากหลายลักษณะ สามารถแบ่งได้ เป็น 4 ลักษณะ คือ ถุงน้ำที่ไตแบบธรรมดา ถุงน้ำในไตที่อาจเป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง  ถุงน้ำในไตจากการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ และถุงน้ำในไตที่เกิดในผู้ป่วยไตวาย โดยลักษณะของถุงน้ำต่างๆมีรายละเอียด ดังนี้

  • โรคถุงน้ำในไต แบบธรรมดา ลักษณะเป็นถุงน้ำ มีน้ำใส ๆ ในถุงน้ำ ผิวของถุงน้ำเรียบ ถุงน้ำลักษณะนี้ไม่มีอันตราย ถุงน้ำลักษณะนี้ จะไม่เป็นมะเร็ง แต่หากถุงน้ำมีขนาดใหญ่ขึ้น อาจส่งผลต่อร่างกาย เช่น จุกแน่น หรือปวด หากพบถุงน้ำลักษณะนี้ สามารถทำการเจาะและดูดน้ำออก และฉีดสารบางอย่างเข้าไปเพื่อทำให้ถุงน้ำฝ่อ
  • โรคถุงน้ำในไต ที่เป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง เป็นลักษณะที่เนื้องอกหรือมะเร็ง อยู่ในถุงน้ำ ถุงน้ำประเภทนี้ จะหนา และน้ำที่อยู่ในถุงน้ำมีเลือดปน การรักษาจะต้องผ่าตัดเอาถุงน้ำออก และเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด
  • โรคถุงน้ำในไต แบบที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ลักษณะของถุงน้ำจะมีจำนวนมาก ทำให้การทำงานของไตลดลง ทำให้เกิดภาวะไตวาย และส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ตับอ่อน ม้าม เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีภาวะความดันโลหิตสูง มีความเป็นอันตราย เนื่องจากอาจเกิดภาวะไตวาย ต้องฟอกเลือด และผ่าตัดเปลี่ยนไต
  • โรคถุงน้ำในไต ที่เกิดกับผู้ป่วยภาวะไตวาย เป็นถุงน้ำที่เกิดในไต ภายหลังจากมีการป่วยโรคไตวาย อาจมีอาการอักเสบในถุงน้ำหรือมีเลือดออกได้

อาการของผู้ป่วยโรคถุงน้ำในไต

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่มีถุงน้ำในไต ในระยะแรก พบว่า ผู้ป่วยจะ ปวดหลังบริเวณเอว มีไข้ ปวดท้อง ปัสสาวะมีเลือดปน มีนิ่วในไต อาการของโรคถุงน้ำในไต จะแสดงออกกับอวัยวะอื่นๆ เช่น เกิดเส้นเลือดในสมองโป่งพอง โดยอาการของผู้ป่วยจะพบว่าปวดหัวอย่างรุนแรง เวียนหัว คลื่นไส้อาเจียน เกิดเลือดที่สมองและอาจทำให้เสียชีวิตได้ นอกจากเส้นเลือดในสมองโปงพองแล้ว เกิดอาการผนังหน้าท้องอ่อนแอ ทำให้เกิดไส้เลื่อน

การตรวจวินิจฉัยโรคถุงน้ำในไต

การตรวจหาโรคถุงน้ำในไต สามารถทำได้โดยการตวรจเลือด เพื่อดูสารที่ก่อให้เกิดโรคถุงน้ำในไต และสามารถตรวจด้วยการทำอัลตราซาวน์

การรักษาโรคถุงน้ำในไต

สำหรับการรักษาโรคถุงน้ำในไต แพทย์จะทำการรักษาโรคนี้โดยประคับประครอง และรักษาโรคตามอาการของโรค เช่น รักษาภาวะความดันโหลิตสูง รักษาการติดเชื้อที่ไต รักษาอาการปวด และรักษาภาวะเส้นเลือดสมองโป่งพอง หรือรักษาไส้เลื่อน เป็นต้น ยาที่ให้สำหรับในการรักษา ก็เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด

สำหรับในผู้ป่วยโรคถุงน้ำในไต เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง ทำให้เกิดภาวะไตวาย หากเกิดภาวะไตวาย แพทย์จะทำการรักษาโดยการฟอกเลือด และหากยังไม่ดีขึ้นจำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนไต

โรคเกี่ยวกับระบบไตผิดปรกติ

โรคฉี่หนู โรคติดต่อ โรคระบบประสาท โรคติดเชื้อโรคฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรซิส
โรคท้องร่วง โรคติดเชื้อ อุจจาระร่วง ขี้แตก
ไตวาย จากเชื้ออีโคไล(E. coli)
ไตอักเสบ กรวยไตอักเสบ โรคไต โรคไม่ติดต่อโรคไตอักเสบ
โรคไตรั่ว โรคไต ไตอักเสบเนโฟรติก โรคไม่ติดต่อโรคไตรั่ว หรือ ไตอักเสบเนโฟรติก
ไตวายฉับพลัน โรคไต ไตวาย โรคไม่ติดต่อไตวายเฉียบพลัน
ไตวายเรื้อรัง โรคไต โรคไม่ติดต่อ ไตอักเสบไตวายเรื้อรัง

โรคถุงน้ำที่ไต ภาวะถุงน้ำในไต คือ ภาวะมีถุงน้ำเกิดขึ้นในไต โรคเกี่ยวกับไต ทำให้ไตมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ทำให้ไตทำงานได้ลดลง ทำให้เกิด ความดันโลหิตสูง ติดเชื้อที่ไต โรคไตวายเรื้อรัง ทำให้ไตหยุดทำงาน สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ สาเหตุของการเกิดถุงน้ำในไต การรักษาถุงน้ำในไต


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove