ไตวายฉับพลัน ( Acute Kidney Injury ) ขาดเลือดไปเลี้ยงไต ส่งผลให้เกิดอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะลดลง เวียนหัว ความดันต่ำ หายใจไม่ออก การรักษาไตวายเฉียบพลันทำอย่างไรไตวายฉับพลัน โรคไต ไตวาย โรคไม่ติดต่อ

ไต เป็นอวัยวะที่ทำงานเกี่ยวกับช่วยกรองของเสียในร่างกาย ไตจะกรองของเสียออกจากเลือด การที่ไตทำงานหนักมากเกิน อาจส่งผลต่อการเกิดภาวะไตวายได้ การเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันมักเกิดจากการขาดเลือดที่ไต

ภาวะไตวายเฉียบพลัน คือ ภาวะการสูญเสียการทำงานของไตอย่างรวดเร็ว เป็นภาวะที่ไต แยกน้ำปัสสาวะจากเลือดลงมาสู่กระเพาะปัสสาวะได้น้อย ซึ่งเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงไต โดยสาเหตุมีหลายปัจจัย

สาเหตุของโรคไตวายเฉียบพลัน

สาเหตุของการเกิดโรคไตวายเฉียบพลัน เกิดจากภาวะการทำงานหนักของไต ภาวะเกี่ยวกับความดันเลือด ระดับเลือดที่ไปเลี้ยงไตลดลงไม่เพียงพอ ซึ่งสามารถแบ่งสาเหตุขอโรคได้ เป็น 4 สาเหตุ คือ การขาดน้ำ การเสียเลือด การได้รับบสารพิษ และการติดเชื้อ รายละเอียด ดังนี้

  1. การสูญเสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกายอย่างรุนแรง เช่น ท้องเสีย หากเป็นหนักมากทำงห้ร่างกายอ่อนเพลีย เกิดภาวะความดันลดต่ำลง ทำให้เกิดไตวายและช็อกได้
  2. การเสียเลือดจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการเกิดอุบัตติเหตุ การผ่าตัด หากไม่ได้รับเลือดทดแทนอย่างทันท่วงที จะส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ สามารถทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้
  3. การได้รับสารพิษบางชนิด สารพิษหลายชนิด มีผลกระทบต่อไต เช่น ยาแก้ปวดบางชนิด ยาฆ่าหญ้า เมื่อสารพิษเข้าสู่ร้างกายทำให้ไตต้องทำงานหนัก อาจทำให้เกิดไตวายเฉียบพลันได้
  4. การติดเชื้อรุนแรง การติดเชื้อส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงไตด้วย ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย หากเชื้อโรคเข้าถึงไต สามารถทำให้ระบบไตผิดปรกติได้ หากรักษาไม่ทันทำให้เกิดไตวายเฉียบพลัน

นอกจากสาเหตุ 4 ประการที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ภาวะไตวายเฉียบพลันสามารถแยกสาเหตุของโรคได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือ ภาวะความดันเลือดต่ำเป็นเวลานาน และภาวะความผิดปรกติของระบบทางเดินปัสสาวะ รายละเอียด ดังนี้

การเกิดโรคไตอักเสบจากภาวะความดันเลือดต่ำเป็นเวลานาน เช่น

  1. การติดเชื้อในกระแสเลือด
  2. การเกิดโรคไตชนิดรุนแรง
  3. การที่ร่างกายมีเฮโมโกลบินอิสระไหลเวียนอยู่ในเลือด
  4. การที่ร่างกายถูกทำลายเนื้อเยื่ออย่างรุนแรง
  5. การแพ้ยาหรือสารบางชนิดที่มีพิษต่อไต
  6. ภาวะการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ

การอักเสบของทางเดินปัสสาวะ  เช่น

  1. ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างอักเสบเฉียบพลัน
  2. ไตและกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน
  3. ไตและกรวยไตอักเสบเรื้อรัง

ระยะของโรคไตวายเฉียบพลัน
ระยะของโรคนี้สามารถแบ่งระยะของโรคได้เป็น 3 ระยะใหญ่ๆ คือ ระยะก่อนไตวาย ระยะไตวายและระยะหลังไตวาย รายละเอียดของระยะต่างๆ มีดังนี้

  1. ระยะก่อไตวาย ภาษาอังกฤษ เรียก Prerenal Failure ในระยะนี้ มีอาการภาวะร่างกายขาดน้ำ ผู้ป่วยมีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะได้ลดลง เวียนศีรษะ ระดับความดันเลือดต่ำ หายใจลำบาก และเหนื่อย แต่อาการเหล่านี้จะกลับมาปรกติ หลังจากที่ไตกลับมาทำงานได้ตามปรกติ
  2. ระยะไตวาย ภาษาอังกฤษ เรียก Intrinsic renal failureในระยะนี้ ผู้ป่วยจะมีไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยจะบวมน้ำ ระดับความดันเลือดสูง ปัสสาวะออกมาเป็นเลือด ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดฝอยที่ไตถูกทำลาย ในระยะนี้ ไตจะเกิดภาวะกล้ามเนื้อลายสลายและเม็ดเลือดแดงแตก
  3. ระยะหลังไตวาย ภาษาอังกฤษ เรียก Postrenal failure ผู้ป่วยจะมีอาการรอุดตันที่ทางเดินปัสสาวะ มีอาการต่อมลูกหมากโต มีความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต

โรคไตวายเฉียบพลันกับโรคไตวายเรื้อรังมีความแตกต่างกันอย่างไร

โรคไตวายเฉียบพลัน จะมีอาการเฉียบพลัน กระทันหัน แต่อาการไตวายเฉียบพลัน สามารถรักษาให้หายได้ แต่การเกิดโรคไตวายเรื้อรัง เกิดจากอาการสะสมของโรคไตเป็นเวลานาน การรักษามักไม่หายขาด ผู้ป่วยทั้ง 2 โรคต้องทำการรักษาและควบคุมการบริโภคยาและอาหาร และหากเกิดโรคในระยะสุดท้ายต้องทำการฟอกไตช่วย

การรักษาภาวะไตวายเฉียบพลัน
การรักษาโรคไตวายเฉียบพลัน สามารถรักษา โดย การรักษาสาเหตุของการเกิดโรค ใช้ยาแก้ไขภาวะไตวายเฉียบพลัน ประคับประคองและรักษาโรคแทรกซ้อน การให้สารอาหารกับผู้ป่วยภาวะไตวายเฉียบพลัน และการล้างไต การรักษาต้องใช้ 5 วิธีนี้ตามลำดับของโรค รายละเอียดดังนี้

  1. การรักษาสาเหตุของการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน ซึ่งสาเหตุของกการเกิดโรคคือ การขาดน้ำ สารอาหาร และการขาดเลือดที่ไต ต้องให้เกลือแร่ น้ำ และให้ระดับเลือดในไตเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  2. ใช้ยารักษาไตวายเฉียบพลัน ยาที่ใช้ในการรักษา เช่น ยาช่วยเพิ่มปริมาณของปัสสาวะ ยากระตุ้นหลอดเลือด
  3. การประคับประคองโรคและรักษาอาการแทรกซ้อนของโรค เป็นการรักษาในช่วงที่รอไตฟื้นตัว ได้แก่ การควบคุมปริมาณน้ำ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อไต แก้ภาวะความเป็นกรดในเลือด
  4. ให้สารอาหารต่อผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันให้เพียงพอต่อความต้องการ
  5. ล้างไต ภาษาอังกฤษ เรียก Dialysis การล้างไตเป็นการรักษาแบบมาตรฐานสำหรับผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน สำหรับผู้ป่วยที่รักษาแบบประคับประคองแล้วไม่ได้ผล

โรคไตวายฉับพลัน ( Acute Kidney Injury ) ภาวะที่ไตแยกน้ำปัสสาวะจากเลือดลงมาสู่กระเพาะปัสสาวะได้น้อย เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงไต ส่งผลให้เกิดอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะได้ลดลง เวียนหัว บความดันเลือดต่ำ หายใจลำบาก ตัวบวมน้ำ ทำให้ไตวาย โดยสาเหตุมีหลายปัจจัย ระยะของโรคไตวายมีกี่ระยะ การรักษาไตวายเฉียบพลันต้องทำอย่างไร

ไตวายเฉียบพลัน พยาธิสภาพ ไตวายเฉียบพลัน รักษาหายไหม อาการไตวายระยะสุดท้าย ไตวายเฉียบพลัน ภาษาอังกฤษ อาหาร และ โรค ไต วาย เฉียบพลัน ใหม่ โรค ไต วาย เฉียบพลัน มี กี่ ระยะ ไตวายเฉียบพลัน หายได้ไหม โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ ไตวายเฉียบพลัน ภาวะไตวายเฉียบพลัน โรคไตเฉียบพลัน ไตวายเฉียบพลัน สาเหตุ ไตวายเฉียบพลันเกิดจากอะไร สาเหตุไตวายเฉียบพลัน

ไตรั่ว ไตอักเสบเนโฟรติก ( nephrotic ) เนื้อไตหนาทำให้ไม่กรองโปรตีนไม่ได้ อาการปัสสาวะเป็นฟอง เท้าบวม ขอบตาบวม หน้าบวม ไขมันสูง ตัวบวม การรักษาโรคไตรั่วอย่างไรโรคไตรั่ว โรคไต ไตอักเสบเนโฟรติก โรคไม่ติดต่อ

โรคไตรั่ว หรือ โรคไตอักเสบเนโฟรติก ภาษาอังกฤษ เรียก nephrotic เกิดจาก การผิดปรกติของไต เนื่องจาก ไตขับโปรตีนออกทางปัสสาวะมากเกินไป ซึ่งเกิด หลอดเลือดที่ไตไม่สามารถกรองโปรตีน ได้

สาเหตุของโรคไตรั่ว

สาเหตุของโรคกลุ่มเนโฟตริก หรือไตรั่ว เกิดจาก 3 สาเหตุ หลักๆ คือ สาเหตุจากโรคไต สาเหตุ จาก โรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิด โรคไต และ การใช้ยา และ สารเคมีบางชนิด โดยรายละเอียดมี ดังนี้

  1. สาเหตุจาก โรคไต สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก คือ ไต จะไม่สามารถกรองโปรตีน ได้ เนื้อไตหนา ตัวหรือแข็ง ตัวเป็นแห่งๆ การติดเชื้อที่ไต
  2. สาเหตุจาก โรคอื่น  ที่มีผลต่อเป็น โรค กลุ่มโรคเนโฟตริก เช่น โรคหัวใจ ภาวะครรภ์เป็นพิษ โรคเบาหวาน โรคติดเชื้อ
  3. สาเหตุ จาก การใช้ยา หรือ สารเคมีบางชนิด เช่น เฮโรอิน ยารักษาโรคมะเร็ง ยาแก้ปวดข้อ ยาที่รักษาโรคกระดูกพรุน

อาการของโรคไตรั่ว

อาการของโรคไตรั่ว สามารถสังเกตุได้ ดังนี้ คือ ที่ขาหากกดจะยุบลงไป ปัสสาวะเป็นฟอง เท้าบวม ขอบตาบวม หน้าบวม ไขมันในเลือดสูง เนื่องจาก อาการของโรค เกิดจากการที่ ร่างกายขับโปรตีนทางปัสสาวะ ไต ที่ทำหน้าที่ กรองปัสสาวะ ทำให้มี ระดับโปรตีนในเลือดต่ำ จึงเกิด อาการตัวบวม ผู้ป่วยที่เป็น โรค นี้มักจะไม่รู้ตัว

อาการแทรกซ้อน ของผู้ป่วย โรคไตรั่ว คือ เกิดภาวะขาดสารอาหาร ขาดโปรตีน ผม และ เล็บเปราะ ผมร่วง ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ภาวะแคลเซียมต่ำ เป็นต้น ภูมิคุ้มกันโรคในร่างกายต่ำ ร่างกายติดเชื้อได้ง่าย

การรักษาโรคไตรั่ว

การรักษาโรคกลุ่มอาการเนโฟตริก ต้องทำ การตรวจเลือดและปัสสาวะ เพื่อ ตรวจสอบระดับสารไข่ขาวในเลือด ระดับโคเลสเตอรอล และ ระดัยไตรกลีเซอไรด์ในเลือด เป็นอย่างไร ซึ่งหลังจากทราบระดับสารในเลือดและปัสาวะแล้ว ก้จพทำให้รักษาได้ง่ายและตรงจุดขึ้น การรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคติดเชื้อ และให้ผู้ป่วยงดใช้ยาที่ผู้ป่วยมีอาการแพ้ ให้ยาสเตียรอยด์ เช่น เพร็ดนิโซโลน ถ้าพบว่าในเลือดสารไข่ขาวในสูง แสดงว่าอาการดีขึ้น แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นอาจให้ ยาขับปัสสาวะ เพิ่ม แต่ถ้าการให้ยาไม่ได้ผล จะต้องเจาะเนื้อไตไปตรวจ โรค นี้จะเป็น เรื้อรัง ผู้ป่วยต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ในผู้ป่วยที่มีอาการร้ายแรง อาจเกิด ภาวะไตวาย แทรกซ้อน อันตรายถึงแก่ชีวิต ได้

การดูแลผู้ป่วยโรคไตรั่วหรือโรคไตอักเสบเนโฟรติก

เนื่องจาก โรคไตรั่ว ผู้ป่วยจะมี การเปลี่ยนแปลงระดับไขมัน น้ำ และ เกลือแร่ในร่างกาย ดังนั้น ผู้ป่วยต้องปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ควบคุมอาหาร โดย ลดอาหารแต่ละมื้อลง หลีกเลี่ยงอาหารทีมีไขมัน เลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอล  ให้รับประทาน คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 60 ของ พลังงานที่รับประทานทั้งหมด รับประทานผักและผลไม้ ที่ไม่หวาน ลดการกินอาการรสเค็ม ให้ รับประทานผักและผลไม้ เป็นหลัก รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยม ให้มากขึ้น

สมุนไพรที่มีแคลเซี่ยม เป็น สมุนไพรบำรุงกระดูก เราได้รวบรวม สมุนไพรบำรุงกระดูก มาให้เพื่อนๆ มีดังนี้

มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้มะละกอ
ส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร สมุนไพรไทยส้มโอ
กระชาย สมุนไพร สมุนไพรไทย ต้นกระชายกระชาย
กระเฉด สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัวผักกระเฉด

ข้อแนะนำในการปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคไตรั่ว

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วย โรคไตรั่ว คือ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ งดอาหารเค็ม อาหารไขมัน อาหารหวาน เน้นการรับประทานผักและผลไม้ และ อาหารที่มีแคลเซียม

โรคไตรั่ว โรคไตอักเสบเนโฟรติก ( nephrotic ) คือ ภาวะของการอักเสบของไต จากการเกิดจากความผิดปรกติของไต ไม่สามารถกรองโปรตีนได้ จากเนื้อไตหนา ส่งผลให้เกิดอาการปัสสาวะเป็นฟอง เท้าบวม ขอบตาบวม หน้าบวม ไขมันในเลือดสูง ตัวบวม โรคไตอักเสบเนโฟรติก  ความผิดปรกติของไตแบบเรื้อรัง อาการของโรคไตรั่ว การรักษาโรคไตรั่ว โรคเรื้อรังของไต

 

โรคไตรั่ว หรือ โรคไตอักเสบเนโฟรติก ต้องทำอย่างไร แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น โรคไตรั่ว อาการของโรคไตรั่วเป็นอย่างไร สาเหตุของโรคไตอักเสบเนโฟรติกคืออะไร การรักษาโรคไตรั่ว โรคไตรั่ว หรือ โรคไตอักเสบเนโฟรติก เป็น ความผิดปรกติของไต โรคเรื้อรังของไต มาทำความรู้จักกับ โรค นี้กันว่าเป็นอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove