ปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม เกิดจากปอดติดเชื้อ อาการอาจรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ อาการไอ มีเสมหะ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้ อ่อนเพลีย รักษาและป้องกันอย่างไร
ปอดบวม ปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ

โรคปอดอักเสบ ( pneumonitis ) ภาวะการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจในส่วนของปอด โรคนี้พบบ่อย ในเด็ก คนแก่ และ คนที่มีภูมิต้านทานต่ำ สำหรับกลุ่มเสี่ยง สามารถป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้

สาเหตุของโรคปอดอักเสบ

โรคปอดอักเสบ สามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 สาเหตุ คือ ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ และ ปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อ แต่โรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อพบได้มากกว่าโรคปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อโรค โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ เกิดจากการรับเชื้อโรคต่างๆเข้าสู่ปอด จนเกิดการอักเสบของถุงลมปอดและเนื้อเยื่อปอด ซึ่งอาการของโรคแตกต่างกันตามสภาพร่างกายของผู้ติดเชื้อ
  • ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ โดยลักษณะของการเกิดกระแทกที่ปอดอย่างรุนแรง หรือ การระคายเคืองที่ระบบทางเดินหายใจนานๆ นอกจากนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะ อาจทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคปอดอักเสบ

สำหรับกลุ่มคนที่มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคปอดอักเสบ มีรายละเอียด ดังนี้

  • คนอายุน้อยที่อายุต่ำกว่า 2 ปี
  • กลุ่มคนอายุมากกว่า 65 ปี
  • กลุ่มผู้ป่วยหนักที่เข้ารับการรักษาในห้องไอซียู
  • กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์  คนที่ปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • กลุ่มคนสูบบุหรี่

ปอดอักเสบในผู้สูงอายุ

สำหรับการติดเชื้อที่ปอดของผู้สูงอายุ เกิดจากการเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือ เชื้อรา โดยการรับเชื้อโรคเกิดจากการหายใจเข้าสู้ระบบทางเดินหายใจ เป็นอาการต่อเนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่

ปอดอักเสบในเด็ก

ภาวะปอดอักเสบในเด็ก เกิดจากสาเหตุทั้ง การติดเชื้อโรคและการไม่ติดเชื้อโรค เนื่องจากเด็กภูมิต้านทานโรคต่ำ ทำให้โอกาสการติดเชื้อโรคง่ายขึ้น

อาการของโรคปอดอักเสบ

สำหรับอาการของโรคปอดอักเสบ ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุการติดเชื้อโรคและไม่ติดเชื้อโรคนั้น มีการแสดงอาการที่ระบบทางเดินหายใจ แต่โรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อพบได้มากกว่าโรคปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อโรค สำหรับอาการของโรคปอดอักเสบ แสดงอาการ ดังต่อไปนี้

  • มีอาการไอและมีเสมหะ
  • เจ็บหน้าอกเวลาไอ
  • เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
  • หายใจลำบาก หายใจเร็ว และหายใจหอบ
  • มีไข้สูง มีเหงื่อออก และมีอาการหนาวสั่น
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการท้องเสีย
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • มีอาการซึม

การรักษาโรคปอดอักเสบ

สำหรับการรักษาโรคปอดอักเสบ มีแนวทางการรักษาโรคโดยการใช้ยารักษาโรค การรักษาด้วยการประคับประคองโรค และ การรักษาภาวะแทรกซ้อน ของโรค โดยรายละเอียดของการรักษาโรคปอดอักเสบ มีดังนี้

  • การให้ยาปฏิชีวนะ ใช้สำหรับผู้ป่วยในกรณีติดเชื้อแบคทีเรีย การรักษาในปัจจุบันมีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างแพร่หลาย ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดการดื้นยา
  • การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการของโรค ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ สามารถใช้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น การให้ยาลดไข้ การใช้ยาขยายหลอดลม การให้ยาละลายเสมหะ เป็นต้น
  • การรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัว เช่น การติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด อาการฝีในปอด ภาวะน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด ผู้ป่วยบางรายมีความรุนแรงของโรคมาก ส่งผลต่อการเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การป้องกันโรคปอดอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคปอดอักเสบ มีแนวทางการปฏิบัติตน ต่อไปนี้

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรค การฉีดวัคซีนที่ให้อัตราการเกิดโรคปอดอักเสบลดลง วัคซีนที่ป้องกันโรคปอดอักเสบ เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารทที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • รักษาสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม ให้สะอาด
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค

โรคปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม คือ การอักเสบของเนื้อเยื่อปอด เกิดจากการติดเชื้อโรค บางครั้งอาจรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ อาการของปอดบวม ไอ มีเสมหะ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้ อ่อนเพลีย การรักษาโรค และ การป้องกันโรค

กลาก หรือ ขี้กลาก ( Ringworm ) ภาวะติดเชื้อราที่ผิวหนัง ผม และ เล็บ อักเสบผิวหนัง เป็นวงสีแดง มีขุยสีขาว ติดต่อจากการสัมผัส การรักษาป้องกันโรคทำอย่างไรโรคกลาก ติดเชื้อราที่ผิวหนัง โรคผิวหนัง โรคติดต่อ

โรคกลาก ภาษาทางการแพทย์ เรียก Ringworm คือ โรคติดต่อ จากการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ซึ่งกลากสามารถเกิดได้ตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น หนังหัว ใบหน้า มือ เท้า เล็บ และ ขาหนีบ สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยพบในเด็กมากที่สุด โรคกลาก หากเกิดกับเด็กจะพบว่ามีกลากขึ้นที่ศีรษะมากที่สุด แต่หากเป็นผู้ใหญ่พบว่ากลากขึ้นมากที่เท้า ส่วนในผู้ชายวัยรุ่นมักพบกลากขึ้นที่ขาหนีบ

สาเหตุของการเกิดโรคกลาก

กลาก เกิดจากเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโทไฟท์ ( Dermatophytes ) ที่ผิวหนัง ซึ่งเชื้อราอาศัยอยู่บนผิวหนัง ส่วนเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว  เชื้อราเหล่านี้ไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ เชื้อราชนิดนี้มีลักษณะเป็นสปอร์ขนาดเล็กๆ อาศัยอยู่ตามผิวหนังของมนุษย์ หรือ พื้นดิน สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพอากาศร้อนชื้น เชื้อราสามารถติดต่อสู่คนโดยการสัมผัส

กลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดกลาก

โดยคนที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดกลาก คือ กลุ่มคนที่เหงื่อออกง่าย ทำความสะอาดร่างกายไม่สะอาด และ อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตร้อนและมีความชื้นสูง โดยกลุ่มคนเหล่านี้ ประกอบด้วย

  • เด็กอ่อน
  • ผู้สูงอายุ
  • คนอ้วน หรือ คนที่มีน้ำหนักมากกว่ามาตราฐาน
  • กลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอชไอวี คนที่ผ่านการทำเคมีบำบัด เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่มีประวัติเคยติดเชื้อราที่ผิวหนังมาก่อน
  • กลุ่มผู้ป่วยบางโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดแดงแข็ง เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคกลาก

สำหรับอาการของโรคกลาก คือ เกิดผื่นแดงหรือผื่นสีขาวเป็นขุย ลักษณะเป็นวงกลม มีอาการคัน สามารถลามไปสู่ผิวหนังส่วนต่างๆได้ และ ติดต่อสู่คนอื่นได้ โดยจุดที่มักเกิดกลาก คือ หนังศรีษะ ผิวหนัง เล็บ ขาหนีบ และ เท้า โดยลักษณะของอาการกลากในตำแหน่งต่างๆ ดังนี้

  • กลากที่หนังศีรษะ จะพบว่าที่หนังศีรษะจะเป็นจุดๆสีขาวตกสะเก็ด คันที่หนังศีรษะ ผมจะร่วงเป็นหย่อมๆ อาจมราตุ่มหนองเล็กๆที่หนังศรีษะ ซึ่งสามารถเป็นแผลขนาดใหญ่ได้
  • กลากที่ผิวหนัง ผู้ป่วยจะคันรอบๆแผลที่อักเสบ ลักษณะของแผลจะเป็นขอบชัดเจน และ สีแดง บางรายแผลเป็นวงขนาดใหญ่ มีตุ่มหนองขึ้นได้
  • กลากที่เล็บ ผู้ป่วยจะมีลักษณะเล็บมีสีขาวขุ่น เล็บหนาขึ้น และ เล็บเปราะหักง่าย รู้สึกเจ็บและระคายเคืองที่นิ้วบริเวณผิวหนังรอบเล็บ
  • กลากที่ขาหนีบ เกิดผื่นแดง และ คัน ที่ผิวหนังที่ขาหนีบ ทำให้ผู้ป่วยเกาจนเกิดแผล เรียกว่า โรคสังคัง ซึ่งผิวหนังที่ขาหนับอาจตกสะเก็ด มีตุ่มหนอง ตุ่มพอง
  • กลากที่เท้า มีอาการคันที่เท้าบริเวณง่ามนิ้ว อาจมีตุ่มหนอง และ ตุ่มพอง จนทำให้รู้สึกเจ็บ เรียกอาการนี้ว่า ฮ่องกงฟุต หรือ น้ำกัดเท้า

การรักษาโรคกลาก

สำหรับการรักษาโรคกลาก คือ แพทย์จะรักษาอาการติดเชื้อรา เป็นการให้ยาทา เพื่อรักษาอาการคัน และ ฆ่าเชื้อรา โดยต้องใช้ประมาณ 15-30 วัน จนกว่าจะฆ่าเชื้อราได้หมด แต่การรักษาโรคกลาก นั้น นอกจากจะใช้ยาทาในการรักษา ตัวผู้ป่วยเอง ต้องปรับสุขอนามัยพื้นฐานของตนเอง ไม่ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดเชื้อรา เช่าน หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าอับชื้นที่มีเชื้อรา ทำความสะอาดเครื่องนอน ทำความสะอาดผิวหนังให้แห้ง

สำหรับการติดเชื้อราที่หนังศีรษะ ต้องใช้ยารับประทานต้านเชื้อรา ได้แก่ กริซีโอฟูลวิน ( Griseofulvin ) โดยต้องรับประทานประมาณ 3 เดือน ส่วนการรักษาเชื้อราที่เล็บ ต้องรักษาสุขอนามัย ของมือและเท้า

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกลาก

สำหรับภาวะแทรกซ้อนของโรคกลาก คือ หากเชื้อราแพร่ไปสู่ผิวหนังชั้นใน อาจทำให้เกิดความรุนแรง และ รักษาให้หายยากขึ้น การลุกลามของกลาก จากจุดหนึ่งไปส่วนต่างๆของร่างกาย ส่งผลต่อบุคคลิกภาพที่เสีย ทำให้สังคมรังเกรียจ ไม่อยากเข้าใกล้

การป้องกันโรคกลาก

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคกลาก นั้นต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยโรคกลาก และ รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ให้สะอาด เพื่อลดการเกิดเชื้อรา โดยแนวทางการปฏิบัตเพื่อป้องกันโรคกลาก มีดังนี้

  • ล้างมือเป็นประจำ
  • ทำความสะอาดร่างกายทุกวัน และ เช็ดตัวให้แห้ง หากสระผมต้องทำให้ผมและหนังศรีษะแห้ง
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่อับชื้น
  • ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น รวมถึงผู้ป่วยโรคกลากด้วย
  • ทำความสะอาดพื้นที่ส่วนรวม ให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ให้อับชื้นเป็นที่อยู่ของเชื้อรา
  • ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยโรคกลาก
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยงที่เป็นกลาก
  • หมั่นตัดเล็บมือเล็บเท้า และ ทำความสะอาดเล็บอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่สวมร้องเท้าที่มีความอับชื้น
  • เช็ดร่างกายให้แห้งหลังจากอาบน้ำโดยเฉพาะส่วนขาหนีบ และ ที่สำคัญสวมกางเกงชั้นในที่สะอาด แห้ง ไม่นำกางเกงชั้นในเก่าที่ยังไม่ซักมาใช้งานซ้ำ

โรคกลาก หรือ ขี้กลาก ( Ringworm ) คือ ภาวะติดเชื้อราที่ผิวหนัง ผม และ เล็บ โดยเกิดการอักเสบที่ผิวหนัง เป็นวงสีแดงหรือ มีขุยสีขาว โรคนี้เป็นโรคติดต่อจากการสัมผัสได้ สาเหตุของโรค อาการของโรค การรักษาโรค และ การป้องกันโรค ทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove