มะเร็งตับ ( Liver Cancer ) เนื้อร้ายที่ตับเกิดจากการติดเชื้อมีก้อนที่ตับ อาการปวดท้องข้างขวาส่วนบนปวดร้าวหลัง ท้องบวม น้ำหนักลด อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุมะเร็งตับ โรคตับ โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ

มะเร็งตับ เป็น โรคที่มีอัตราการเสียชีวิตที่สูง โรคหนึ่งของโลก เป็น โรคที่พบบ่อย ผู้ป่วย โรคมะเร็งตับในระยะแรก ยังไม่มีอาการแสดง ส่วนมากจะได้รับการวินิจฉัยโรคเมื่ออาการกำเริบ ทำให้เราต้องให้ความสำคัญกับการ สังเกตุโรคมะเร็ง ชนิดนี้ว่ามีลักษณะอาการอย่างไร สาเหตุของโรคนี้เป็นอย่างไร การรักษามะเร็งตับ และ การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ

โรคมะเร็งตับ ภาษาอังกฤษ เรียก liver cancer เป็น โรคที่พบมากในคนวัยทำงาน มีการศึกษาสถิติในปี พ.ศ. 2543 พบว่ามีผู้ป่วยโรคนี้ สูงถึง 564,000 คน แบ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 34 และเพศชาย ร้อยละ 66  สำหรับประเทศไทย มีการสำรวจในช่วง พ.ศ. 2554 ถึง 2546  พบว่า มีผู้ป่วยสูงถึง 47,439 8 คน เป็น โรคมะเร็ง ที่มีผู้ป่วยมาก เป็นอันดับ 3 รองจาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร

ชนิดของมะเร็งตับ

สำหรับ ชนิดของมะเร็งตับ ที่พบ มี 2 ชนิด คือ  มะเร็งของเซลล์ตับ ภาษาอังกฤษ เรียก hepatocellular carcinoma และ มะเร็งของท่อน้ำดีในตับ ภาษาอังกฤษ เรียก cholangiocarcinoma

สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับ

สำหรับ สาเหตุของโรคมะเร็งตับ เรายังไม่สามารถสรุปสาเหตุได้อย่างชัดเจนนัก แต่สามารถสรุปเป็น ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อตับ และ โรคมะเร็งตับ มีดังนี้

  • ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี
  • ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี
  • โรคตับแข็ง
  • การกินอาหารปนเปื้อน เชื้อรา ชนิดอะฟลาทอกซิน (aflatoxin) เชื้อราชนิดนี้ พบได้ในธัญพืช ที่มีความชื้น
  • ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ
  • ท่อน้ำดีในตับอักเสบเรื้อรัง

โรคมะเร็งตับ เป็นลักษณะของการถูกกระทบกระเทือนต่อตับ ทำให้ตับถูกทำร้าย เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ

สำหรับ ผู้ป่วยมะเร็งตับ ในระยะแรก จะยังไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัดนั้น อาการทั่วไป คือ ปวดท้องข้างขวาส่วนบน อาการปวดร้าวหลัง อาการปวดร้าวที่ไหล่ ท้องบวมขึ้น น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ มีก้อนบริเวณตับ ตัวเหลือง ตาเหลือง หายใจเหนื่อยหอบจากน้ำในท้องดัน คันตามตัวมาก เป็นต้น

ระยะของโรคมะเร็งตับ

มีการแบ่ง ระยะของโรคมะเร็งตับ ได้เป็น 4 ระยะ รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งตับ ระยะที่ 1 จะพบก้อนเนื้อขนาดเล็กที่ตับ มีเพียงก้อนเนื้อก้อนเดียว
  • มะเร็งตับ ระยะที่ 2 ก้อนเนื้อมีการลุกลามเข้าสู่หลอดเลือดที่ตับ ก้อนเนื้อมีจำนวนมากขึ้น แต่ยังมีขนาดเล็กอยู่
  • มะเร็งตับ ระยะที่ 3 ก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดโตขึ้น และลามไปยังอวัยวะข้างเคียง ลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งตับ ระยะที่ 4 มะเร็งเข้าสู่กระแสเลือด และกระจายเข้าสู่อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เช่น สมอง กระดูก ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ

การตรวจวินิจฉัยโรค มะเร็งตับ นั้น เริ่มจากการ การซักประวัติ อาการที่พบในผู้ป่วย จากนั้นตรวจร่างกายอย่างละเอียด การตรวจเลือด เพื่อ ดูการทำงานของตับ และ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ตรวจรังสีที่ตับและช่องท้อง ทำการตรวจอัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และการตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษามะเร็งตับ

สำหรับ การรักษาโรคมะเร็งตับ นั้นจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ขนาดของเซลล์มะเร็ง และการแพร่กระจายของมะเร็ง ซึ่ง การรักษา จะต้องอยู่ในวินิจฉัยของแพทย์อย่างใกล้ชิด ซึ่ง การรักษา ประกอบด้วย การผ่าตัด การฉายรังสีรักษา การทำเคมีบำบัด และการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ แต่สำหรับการปลูกถ่ายตับนั้นเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 70 ปี

แต่สำหรับ การรักษาโรคมะเร็งตับ ที่ดีที่สุด คือ การลดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับ และ หมั่นตรวจคัดกรองหามะเร็งตับ เนื่องจากร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ มาจาก การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี การตรวจการทำงานของตับและ ตรวจคัดกรองมะเร็งตับ ด้วยการเจาะเลือด จะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ดีที่สุด

ข้อควรปฏิบัตสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ

ผู้ป่วยมะเร็งตับ ต้องดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ เราแยกการดูแลตัวเอง 3 ส่วน คือ การดูแลตัวเองในด้านทั่วไป ด้านอาหาร และการออกกำลังกาย รายละเอียดดังนี้

  • ด้านการดูแลตนเองทั่วไป
    • ให้รักษาภาพสุขอนามัยพื้นฐาน ของผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด ตลอดชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยโรคมะเร็ง มีกจะติดเชื้อได้ง่ายกว่าปรกติ เนื่องจากภูมิต้านทานโรคค่อนข้างต่ำกว่าคนปรกติ
    • ควบคุมการเกิดโรค เช่น โรคความดัน โรคเบาหวาน เนื่องจากโรคเหล่านี้จะมีผลต่อสุขภาพโดยรวม
    • หากเกิดกับหญิงสาวหรือผู้หญิงวัยเจริพันธ์ แนะนำให้ คุมกำเนิด เพื่อสุขภาพมารดา แต่หากจำเป็นต้องมีการตั้งครรภ์ ให้ปรึกษาแพทย์ อย่างใกล้ชิด
    • ไปพบแพทย์ตามนัดห้ามขาด
    • หลังจากรักษาโรคมะเร็งแล้ว ช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังการรักษา ถือว่าเป็นช่วงพักฟื้น ค่อยๆปรับตัวให้เข้าสู่ภาวะปกติ ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์
  • ด้านการรับประทานอาหาร
    • เลิกการบุหรี่และดื่มสุรา และสารเสพติดทุกชนิด เนื่องจาก สารเหล่านั้นมีพิษเป็นสารก่อมะเร็ง รวมถึงการจำกัดการดื่มกาเฟ ด้วย
    • การรับประทานอาหาร ให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทาน ผักและผลไม้ให้มากๆ  ลดอาหารที่มี ไขมัน แป้ง น้ำตาลและอาหารรสเค็มจัด
  • ด้านการออกกำลังกาย
    • ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอตลอดชีวิต ค่อยๆปรับจนเข้าภาวะปกติ โดยควรออกกำลังกายให้เหมาะสมตามสุขภาพของตนเอง และเลือกประเภทการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับโรค เช่น เลือกการว่ายน้ำเมื่อมีโรคของข้อต่างๆ เป็นต้น และพยายามเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตทั่วร่างกาย

โรคมะเร็งตับ ( Liver Cancer ) คือ การเกิดเนื้อร้าย เกิดจากาการติดเชื้อที่ตับแบบเรื้อรัง จนเกิดพังผืดและมะเร็งที่ตับ โรคนี้มีอัตราการตายสูง มะเร็งตับ ระยะแรกไม่แสดงอาการ อาการที่พบ คือ ปวดท้องข้างขวาส่วนบนปวดร้าวหลัง ไหล่ ท้องบวม น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ มีก้อนที่ตับ ตัวเหลือง ตาเหลือง หายใจเหนื่อยหอบ คันตามตัว เป็นต้น สาเหตุของมะเร็งตับ การรักษามะเร็งตับ การดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับ

มะเร็งลำไส้เล็ก เนื้อร้ายที่ลำไส้เล็ก อาการปวดท้องหลังกินอาหาร ปวดท้องถึงหลัง เบื่ออาหาร มีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร สีอุจจาระผิดปรกติ มีก้อนบริเวณท้องส่วนบนขวามะเร็งลำไส้เล็ก โรคระบบทางเดินอาหาร โรคมะเร็ง เนื้อร้าย

มะเร็งลำไส้เล็ก เกิดจากอะไร สาเหตุ ปัจจัยที่ทำให้เกิด โรคมะเร็งลำไส้เล็ก คืออะไร รักษาโรคมะเร็งลำไส้เล็ก อย่างไร สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็กต้องดูแลอย่างไร โรคในระบบทางเดินอาหาร ความผิดปรกติของเซลล์ในร่างกาย โรคมะเร็งที่พบได้ไมบ่อย ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้เล็ก มีอะไรบ้าง

ลำไส้เล็ก

ทำความรู้จักกับ ลำไส้เล็ก หน้าที่ของลำไส้เล็ก นั้นคือ การย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารที่ถูกย่อยเข้ากระแสเลือด เพื่อนำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ประโยชนื ซึ่ง ลำไส้เล็ก นั้นมีความสำคัญต่อร่างกาย ซึ่งใน ลำไส้เล็ก นั้นบทบาทมากที่สุด ในลำไส้เล็กจะมี ติ่งที่ยื่นออกมา เราเรียกติ่งนี้ว่า วิลไล ภาษาอังกฤษ เรียก Villi ส่วนนี้ เป็นส่วนสำคัญที่ใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูดซึมสารอาหารของ ลำไส้เล็ก

โครงสร้างลำไส้เล็ก

ลำไส้เล็ก นั้นมีลักษณะเป็นท่อ เป็นกล้ามเนื้อ มีความยาวประมาณ 10 เมตร เป็นจุดที่เชื่อมต่อจากส่วนปลายของกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก นั้นจะสร้างน้ำย่อยออกมา เพื่อประโยชน์ในการย่อยอาหาร และการดูดซึมอาหารให้ได้มากที่สุด ลำไส้เล็ก(Small intestine) สามารถแบ่งได้ 3 ส่วน ประกอบด้วย ลำไส้เล็กตอนต้น เรียก Duodenum ลำไส้เล็กส่วนกลาง เรียก Jejurium  และ ลำไส้เล็กส่วนปลาย เรียก lleum โดยรายละเอียดของลำไส้เล็กส่วนต่างๆ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำไส้เล็กส่วนต้น ( Duodenum ) คือส่วนที่ต่อจากกระเพาะอาหาร ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่สั่นที่สุด เมื่อเทียบกับลำไส้เล็กส่วนอื่นๆ
  • ลำไส้เล็กส่วนกลาง ( Jejunum ) ส่วนนี้จะมีความยาวประมาณ 9 ฟุต อยู่ต่อจากลำไส้เล็กส่วนต้น
  • ลำไส้เล็กส่วนปลาย ( Ileum ) เป็นส่วนของลำไส้เล็กที่อยู่ปลาย อยู่ติดกับลำไส้ใหญ่ เป็นส่วนที่มีความยาวมากที่สุด เป็นส่วนที่มีความสามารถในการดูดซึมสารอาหารมากที่สุด ของลำไส้เล็ก

โรคมะเร็งลำไส้เล็ก

สำหรับอัตราการเกิด โรคมะเร็งลำไส้เล็ก นั้นเราไม่พบว่ามีการป่วย โรคมะเร็งลำไส้เล็ก ในอัตราที่สูง โดย อัตราการเกิดมะเร็งลำไส้เล็ก ไม่ถึงร้อยละ 1 ของการเกิดมะเร็งในอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย แต่โรคมะเร็งชนิดนี้ เราจะพบว่าผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มีอัตราการเกิดที่สูงกว่าช่วงอายุที่ต่ำกว่า 50 ปี และอัตราการเกิดโรคเพศชายจะมีอัตราส่วนที่สูงกว่าเพศหญิง

มะเร็งลำไส้เล็ก คือ การเกิดความผิดปรกติของเซลล์ร่างกายบริเวณลำไส้เล็ก ลักษณะเป็นเนื้องอก ก้อนเนื้อร้าย ที่ลามมาจากอวัยวะใกล้เคียง หรือสามารถแพร่่ไปสู่อวัยวะใกล้เคียงได้ เช่น กระเพาะอาหาร ท่อน้ำดี ตับอ่อน เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้เล็ก

การเกิด โรคมะเร็งลำไส้เล็ก นั้น ในปัจจุบันเรายัง ไม่สามารถทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเกิด มะเร็งลำไส้เล็ก ได้แน่ชัดนัก แต่มีการพบสารบางตัว ที่ออกมาจากน้ำย่อยจากตับอ่อนและน้ำดี เช่น กรดลิโธโคลิก(Lithocholic) เป็นต้น ปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็ง มาจาก พันธุกรรม โรคเนื้องอกชนิดดีบริเวณเยื่อบุผิว เนื้องอกชนิดต่อมขนอ่อน แผลที่ลำไส้เล็ก เป็นต้น

ประเภทของมะเร็งลำไส้เล็ก

การเกิดมะเร็งลำไส้เล็ก เราพบว่ามีหลายลักษณะ ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของมะเร็งลำไส้เล็กได้ 4 ประเภท มีรายละเอียด ดังนี้

  1. มะเร็งลำไส้เล็ก ชนิดต่อม เกิดต่อมที่เยื่อเมือกลำไส้เล็กส่วนต้น และต่อมนี้เกิดการพัฒนาเป็นเนื้องอก
  2. มะเร็งลำไส้เล็ก ชนิดคาซินอย ( Carcinoid ) เป็นการเกิดเนื้อร้ายจากเซลล์enterochromaffin โดยทั่วไปแล้วเนื้องอกที่เกิดขึ้น จะมีขนาดเล็กและส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นที่ลำไส้เล็กเพียงจุดเดียว แต่เมื่อเนื้องอกนี้พัฒนาตัวจนมีขนาดใหญ่ขึ้น จะสามารถลามจนเกิดเนื้อร้ายได้
  3. มะเร็งลำไส้เล็ก ชนิดกล้ามเนื้อเรียบ เป็นการเกิดชั้นของกล้ามเนื้อ ลักษณะเรียบ ที่ลำไส้เล็ก
  4. มะเร็งลำไส้เล็ก ชนิดเนื้อร้ายของต่อมน้ำเหลือง เป็นเนื้องอกชนิดร้าย เกิดจากต่อมน้ำเหลืองที่ผนังลำไส้เล็ก แต่มะเร็งชนิดนี้ มีความแตกต่างจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่รุกล้ำถึงลำไส้เล็ก

อาการของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็ก

อาการของมะเร็งลำไส้เล็ก นั้น ก็จะเกิด การผิดปรกติของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเราสามารถสรุป อาการของโรคมะเร็งลำไส้เล็ก ได้ดังนี้

  1. มีอาการปวดท้องส่วนบน ปวดท้องตื้อๆ หลังรับประทานอาหาร อาการปวดสามารถลามไปปวดบริเวณหลัง
  2. มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  3. มีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร แบบเรื้อรัง สังเกตุอาการจาก สีอุจจาระผิดปรกติ มีเลือดปนที่อุจจาระ อุจจาระมีสีดำ
  4. น้ำหนักตัวลดลง ร่างกายอ่อนแอ โลหิตจางฃ
  5. มีก้อนบริเวณท้องส่วนบนขวา เกิดจากเนื้องอก เนื้อร้าย มีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้น

วิธีการรักษามะเร็งลำไส้เล็ก

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้เล็ก นั้น หากพบว่ามีมะเร็ง ต้องทำการรักษาด้วยการตัดเนื้อร้ายออกและการฉายรังสี การทำเคมีบำบัด เพื่อป้องกันการเติบโตของเนื้อร้าย เราสามารถสรุป วิธีการรักษามะเร็งลำไส้ ได้ดังนี้

  • การรักษามะเร็งลำไส้เล็กด้วยการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดแพทยืจะทำการผ่าตัดลำไส้เล็ก หัวตับอ่อน การผ่าตัดท่อลำไส้เล็กแบบเป็นช่วงๆ และการผ่าตัดส่วนของกระเพาะอาหาร เป็นการตัดเนื้อร้ายออกจากร่างกาย แต่การผ่าตัดยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากเนื้อร้ายสามารถเจริญเติบโตได้ ดังนัั้น ต้องมีการรักษาด้วยเคมีบำบัดควบคู่ไปด้วย
  • การรักษามะเร็งลำไส้เล็กด้วยการฉายรังสีและการทำเคมีบำบัด เป็นการทำให้เนื้อร้าย และเซลล์มะเร็งผ่อ ไม่สามารถเจริญเติบโตได้อีก

วิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็ก

สำหรับ การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้เล็ก นั้น การลดการทำงานของระบบทางเดินอาหาร การใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญ วิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็ก มีดังนี้

  • ผู้ป่วยต้องเลิกการบุหรี่
  • ผู้ป่วยต้องไม่ดื่มสุรา
  • ผู้ป่วยต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชาและกาแฟ
  • อาหารสำหรับผู้ป่วยต้องเป็นอาหารเบาๆ ไม่รสจัด หรือเผ็ด
  • การใช้ยาที่มีผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารต้องปรึกษาแพทย์
  • รับประทานอาหารที่มีกากใยอาหาร เช่น ผลไม้และผักสด
  • ควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ครบห้าหมู่
  • รักษาความสะอาดของภาชนะที่มีส่วนในการรับประทานอาหาร และความสะอาดของสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย

โรคมะเร็งลำไส้เล็ก เกิดเนื้องอกที่ลำไส้เล็ก ปวดท้องหลังรับประทานอาหาร ลามไปถึงหลัง ก้อนเนื้อร้าย สามารถแพร่่ไปสู่อวัยวะใกล้เคียงได้ โรคนี้เกิดจากอะไร แนวทางการรักษาทำอย่างไร สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็กต้องดูแลอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove