ตาบอดสี Color blindness อาการมองเห็นสีผิดปกติ ไม่ใช่การมองไม่เห็น ยังไม่มีวิธีการรักษา ตาบอดสีมีปัญหาต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากพอสมควร ไม่ควรขับรถอันตราย

โรคตาบอดสี ตาบอดสี โรคตา โรคไม่ติดต่อ

ตาบอดสี  ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Color blindness คือ ภาวะการมองสีบางสีที่ผิดปกติ ไม่ใช่การมองไม่เห็น โรคตาบอดสีนี้เป็นโรคที่รักษาไม่ได้ และยังไม่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ใดที่สามารถรักษาโรคตาบอดสีให้หายขาดได้ แต่อาจใช้แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ที่สามารถกรองแสงบางสีออกได้ ช่วยทำให้สามารถแยกสีบางอย่างออกได้ เช่น คนที่แยกสีแดงออกจากสีเขียวไม่ได้ หากใช่แว่นสีแดง จะเห็นสีแดงชัดขึ้น แต่สีเขียวไม่ผ่านแว่นสีแดง จะดูมืดกว่าสีแดง ทำให้สามารถแยกสีแดงออกจากเขียวได้  ภาวะตาบอดสีพบได้ในทุกเพศทุกวัย ซึ่งพบในผู้ชายร้อยละ 8 และผู้หญิงร้อยละ 0.4

หากเราเกิดภาวะตาบอดสีจำเป็นต้องปรับตัวในการเรียนรู็การใช้สีต่างๆในชีวิต การเลือกวิชาอาชีพที่เหมาะสมกับสภาวะตาบอดสี หมั่นตรวจสุขภาพดวงตาให้เป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง เราควรแจ้งให้คนรอบข้างทราบถึงสภาวะตาบอดสีของเราให้เขาทราบเพื่อจะได้ให้คนรอบข้างปรับตัวเข้ากับเรา

การมองเห็นสีของมนุษย์

สำหรับการมองเห็นสีของคนเรา มี 2 ส่วน คือ คลื่นแสงสีต่างๆ และ เซลล์รับรู้การเห็นสีที่จอตา โดยจอตาของคนเรานั้นมีเซลล์รับรู้การเห็นสีอยู่ 2 ชนิด คือ Rod และ Cone เรามาทำความรู้จักกับเซลล์ทั้ง 2 ชนิด

  • เซลล์รูปแท่ง เราเรียกว่า รอด ( Rod ) ในดวงตาแต่ละข้างจะมีประมาณ 125 ล้านเซลล์ เซลล์จะกระจายขอบของจอตา ทำหน้าที่มองเห็นในที่สลัวๆ สำหรับคนที่จอตาเสื่อม ในจุดขอบจอตา จะทำให้เกิดโรคตาฟาง ซึ่งเซลล์รูปแท่ง ไม่ใช่ส่วนที่ทำให้มองเห็นสี
  • เซลล์รูปกรวย  เราเรียกว่า โคน ( Cone ) ในดวงตาแต่ละข้างจะมีประมาณ 7 ล้านเซลล์ อยู่บริเวณจอตาส่วนกลาง ทำหน้าที่สำหรับการมองเห็นในที่สว่าง หากจอตาส่วนกลางเสื่อม จะทำให้ตามัว และเห็นสีผิดปรกติ เรียกว่า ตาฟางกลางวัน เซลล์รูปกรวย มีอยู่ 3 ชนิด คือ เซลล์รูปกรวยสีแดง (Red cone) เซลล์รูปกรวยสีเขียว (Green cone) และ เซลล์รูปกรวยสีน้ำเงิน (Blue cone)

ชนิดของตาบอดสี

เราสามารถแบ่งชนิดของภาวะตาบอดสี ได้ 2 ชนิด คือ ตาบอดสีเกิดขึ้นตั้งแต่เกิด และ ตาบอดสีเกิดขึ้นเมื่อภายหลังกำเนิด  โรคตาบอดสีสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ตาบอดโดยแต่กำเนิด เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากพ่อแม่สู่ลูก เป็นการถ่ายทอดมากับ โครโมโซม เอ็กซ์ (X chromosome) แม่เป็นพาหะของการเกิดโรคตาบอดสี ตาบอดสีโดยกำเนิด นั้น เราสมารถแยกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเห็นสีเดียว กลุ่มที่มีเซลล์รูปกรวย 2 ชนิด และ กลุ่มเซลล์รูปกรวย 3 ชนิด
    • กลุ่มเห็นสีเดียว เรียก Monochromatism เกิดจากการไม่มีเซลล์รูปกรวย หรือ มีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงินชนิดเดียว กลุ่มนี้ผู้ป่วยจะมองเห็นเพียงสีขาวดำ สายตามัวมากจนมองไม่เห็นสี สู้แสงไม่ได้
    • กลุ่มที่มีเซลล์รูปกรวย 2 ชนิด เรียก Dichromatism หากไม่มีเซล์รูปกรวยสีแดง เรียก ตาบอดสีแดง ( Protanopia ) หากไม่มีเซลล์รูปกรวยสีเขียว เรียก ตาบอดสีเขียว ( Deuterano pia ) และหากไม่มีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงิน เรียก ตาบอดสีน้ำเงิน ( Tritanopia )
    • กลุ่มที่มีเซลล์รูปกรวยทั้ง 3 ชนิด เรียก Trichromatism เป็นกลุ่มของคนตาบอดสีที่พบได้มากที่สุด เกิดจากการพร่องของเซลล์รูปกรวยในบางสี หรือ ทั้งสามสี
  • ตาบอดสีเกิดขึ้นภายหลัง เป็นความผิดปกติของการมองเห็นสี เกิดโรคที่จอตา หรือ ประสาทตา รวมถึงสมองส่วนที่รับรู้การมองเห็น ซึ่งเกิดจากมีการสูญเสียเซลล์รูปกรวยชนิดต่างๆ จากการศึกษาพบว่า หากตาบอดสีจาก โรคจอตา มักจะสูญเสียการมองเห็น สีน้ำเงิน และ สีเหลือง และ หากเกิดตาบอดสีจาก โรคประสาทตา มักจะสูญเสียการมองเห็น สีแดง และ สีเขียว
    การมองเห็นสีผิดปกติ นอกจากเห็นสีผิดไปแล้วมักจะมี สายตา หรือ ลานสายตา ผิดปกติด้วย ความผิดปกติของการเห็นสีของตา 2 ข้างไม่เท่ากัน

สาเหตุของโรคตาบอดสี

สาเหตุของความสามารถในการมองเห็นสีผิดปรกติ เกิดจากการถูกกระตุ้นเซลล์รับรู้การเห็นสี ทั้งแบบแท่งและแบบกรวย รวมถึงเกิดจากการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ สามารถพบได้ร้อยละ 8 ของผู้ป่วย และพบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง สามารถสรุปสาเหตุได้ ดังนี้

  • ภาวะที่มองเห็นสีได้อย่างปกติ เซลล์ทั้งสามส่วนจะถูกกระตุ้นส่งสัญญาณและแปลสัญญาณสีออกมาได้อย่างถูกต้อง เรียกว่า Trichromatism
  • บางรายอาจจะมีเซลล์ดังกล่าวไม่ครบทั้ง 3 ชุด หรือชุดใดชุดหนึ่งทำงานผิดปกติ ทำให้เห็นสีเพี้ยนไปจากคนอื่น ๆ ภาวะนี้เรียกว่า Dichromatism ผู้ที่มีภาวะแบบนี้มักจะไม่รู้ตัวว่ามองเห็นเพี้ยนจากคนอื่น เพราะจะเกิดการรับรู้สีในแบบของตัวเอง
  • สำหรับผู้ที่มีอาการตาบอดสีอย่างรุนแรง จะมีเซลล์รับสีเพียงชุดเดียว เรียกว่า Monochromatism ซึ่งผู้มีอาการเช่นนี้จะมองเห็นภาพเป็นขาวดำ

อาการโรคตาบอดสี

สำหรับอาการของภาวะตาบอดสี จะมีความผิดปรกติในการมองเห็นสี แต่ในแต่ละบุคคลจะมีลักษณะการมองเห็นสีผิดปรกติที่แตกต่างกัน โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ความสามารถในการจดจำสีและแยกแยะสีไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความสับสนในการบอกสี
  • มองเห็นเฉพาะบางโทนสีเท่านั้น แต่อาจสามารถมองเห็นสีได้มากกว่าร้อยสี
  • บางคนสามารถมองเห็นได้เฉพาะสีดำ ขาว และ เทา

อาการตาบอดสีส่วนมากพบอาการตั้งแต่กำเนิด ทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหาด้านการมองสี จนกว่าจะเกิดการสื่อสารกับผู้อื่นจึงเข้าใจว่าตนเองมีปัญหาเรื่องการมองสี ซึ่งผู้ปกครองสามารถสังเกตบุตรหลานของท่านตั้งแต่เด็กอายุเกิน 4 ขวบ

การรักษาโรคตาบอดสี

แนวทางการรักษาโรคตาบอดสีนั้น ปัจจุบันไม่มียาหรือเทคโนลีทางการแพทย์ที่ช่วยให้ตาบอดสีหายขาดได้ แต่แนวทางการบรรเทาอาการตาบอดสี ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถแยกแยะสีได้ สามารถทำได้ด้วยการใช้แว่นหรือคอนเทคเลนส์ช่วยกรองสีบางสีช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าใจสีมากขึ้น และ ฝึกการจำสัญลักษณ์แทนการจำสี

การป้องกันโรคตาบอดสี

เนื่องจากโรคตาบอดสีไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ เนื่องจากเป็นความผิดปรกติของร่างกายและภาวะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม แนวทางการปฏิบัติเมื่อเป็นตาบอดสี ควรพบจักษุแพทย์ เพื่อหาเครื่องมือช่วยในการดำเนินชีวิต และ แนวทางการใช้ชีวิตอย่างถูกวิธี

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ความผิดปกติของเนื้อเยื่อข้อกระดูก อักเสบที่ข้อเล็ก ทำให้มีอาการปวดข้อ หากไม่รักษาอาจทำให้พิการได้และลุกลามไปทำลายอวัยวะส่วนอื่นๆได้รูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคข้อและกระดูก โรคไม่ติดต่อ

โรครูมาตอยด์ เป็น โรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเด่นคือ มีการเจริญงอกงามของเยื่อบุข้ออย่างมาก เยื่อบุข้อนี้จะลุกลามและทำลายกระดูก และข้อในที่สุด โรคนี้มิได้เป็นแต่เฉพาะข้อเท่านั้น ยังอาจมีอาการทางระบบอื่น ๆ อีก เช่น ตา ประสาท กล้ามเนื้อ เป็นต้น โรครูมาตอยด์ วิธีรักษาโรครูมาตอยด์ สาเหตุของโรครูมาตอย์ อาหารที่ควรกิน อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อาการปวดอย่างรุนแรงตามข้อกระดูก มือ นิ้วมือ ข้อมือ กระดูกผิดรูป ไขข้ออักเสบเรื้อรัง

สาเหตุของการเกิดโรครูมาตอยด์

สำหรับสาเหตุของโรคการเกิดโรครูมาตอยด์ นั้นทางการแพทย์ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า ร้อยละ 10 ของผู้ป่วยโรคนี้ เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่สามารถพบได้ทั่วโลก จึงมีข้อสันนิษฐานอีกอย่างว่าเกิดจากการติดเชื้อบางชนิด มีความเป็นไปได้ว่า เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ซึ่งส่งผลให้เกิดข้ออักเสบเรื้อรัง

นอกจากสาเหตุของกรรมพันธ์ และ เชื้อโรคบางชนิดแล้ว สาเหตุจากฮอร์โมนในร่างกาย ก็เกี่ยวข้อง เนื่องจาก โรครูมาตอยด์พบมากในเพศหญิงม และอาการของโรคจะดีขึ้นเมื่อตั้งท้อง ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายถูกกระตุ้นให้ทำงานมากเกินผิดปกติ โดยเฉพาะที่ข้อกระดูก เซลล์เม็ดเลือดขาว และ เซลล์เนื้อเยื่อ ถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น และเกิดดารหลั่งสารเคมี ทำให้เกิดการอักเสบ และเนื้อเยื่อปกติถูกทำลาย

อาการของโรครูมาตอยด์

สำหรับอาการโรครูมาตอยด์ พบว่าเริ่มต้นจะมีอาการ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร และจึงเกิดอาการข้ออักเสบตามมา อาการลักษณะนี้พบว่า ร้อยละ 60 เกิดอาการตามลำดับนี้ มีส่วนน้อยที่มีอาการข้ออักเสบเลยโดยไม่มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผู้ป่วยส่วนใหญ่ จะมีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต และ ม้ามโต

อาการของข้ออักเสบ ที่เกิดจากโรครูมาตอย ผู้ป่วยจปวดบวมตามข้อเล็กๆ เช่น ข้อนิ้วมือ ฝ่ามือ ข้อนิ้วเท้า และ ฝ่าเท้า แต่จะไม่พบว่ามีอาการอักเสบที่ข้อปลายนิ้วมือ และ ข้อกระดูกสันหลังส่วนเอว เมื่อพักการใช้งานข้อนานๆ จะพบว่า หลังตื่นนอนจะมีอาการข้อยึดและขยับไม่ได้ มีอาการข้อบวม และปวด ที่เกิดจากข้อกระดูกมีน้ำมาก เยื่อบุข้อหนาตัว เมื่ออาการอักเสบลักษณะนี้ เกินนานๆจะส่งผลต่อกระดูกอ่อนของข้อถูกทำลาย กระดูกรอบข้อจะบางลง และเกิดพังผืดขึ้นมาแทน ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อทำงานไม่ปกติ

ลักษณะการผิดรูปร่างของข้อที่พบ มีหลายลักษณะแตกต่างกันตามจุดที่เกิด มีรายละเอียดดังนี้

  • หากเกิดที่ข้อนิ้วมือและข้อมือ จะมีการผิดรูป 3 แบบ คือ แบบรูปร่างคล้ายตัวหนังสือ Z เรียก Z deformity แบบคอห่าน เรียก Swan neck deformity และ แบบข้อนิ้วมือส่วนต้นงอเข้าหาฝ่ามือ เรียก Boutonniere deformity
  • การเกิดที่ข้อมือ จะทำให้ข้อมือขยับไม่ได้ และพังผืดจะเกิดรอบๆข้อ และไปกดทับเส้นประสาทส่วนปลาย ทำให้ปวดและชาที่มือและกล้ามเนื้อมือ
  • การเกิดที่ข้อเท้า และ ข้อนิ้วเท้า ทำให้พิการถึงขั้นเดินไม่ได้
  • การเกิดที่ข้อศอก จะทำให้ข้อศอกหด และ งอ ทำให้ยืดข้อศอกไม่ได้
  • การเกิดที่ข้อเข่า จะทำให้เข่าหดงอ ส่งผลกระทบต่อการเดิน
  • การเกิดทั้ข้อกระดูกสันหลังส่วนคอ อาจส่งผลให้กระดูกเลื่อนหลุด และไปกดเส้นประสาทส่วนปลาย ทำให้เกิดอาการปวดและชา แขนอ่อนแรง เป็นอัมพาตได้

การรักษาโรครูมาตอยด์

แนวทางการรักษาใช้การทำกายภาพบำบัด การให้ยา และ ผ่าตัด ขึ้นอยู่กับลักษณะของอาการ รายละเอียด ดังนี้

  • ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งมีทั้งชนิดกินและฉีดเข้าไปในกล้ามเนื้อ ข้อกระดูก แต่วิธีนี้จะใช้เมื่ออักเสบอย่างรุนแรงเท่านั้น และต้องใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะจะมีผลข้างเคียง เช่น เร่งกระดูกพรุน ไตวาย และติดเชื้อง่าย และถ้าหยุดใช้ยาอาการก้จะกลับมา
  • ทำกายภาพบำบัด โดยวิธีการ ประคบร้อน แช่น้ำอุ่น ในบางกรณีแนะนำให้ ใส่เฝือกชั่วคราว เพื่อป้องกันข้อกระดูกติด ผิดรูป การทำกายภาพบำบัดสำหรับโรครูมาตอยด์ แนะนำให้ผู้ป่วยขยับตัวให้มาก เพื่อป้องกันข้อแข็งและผิดรูป การออกกำลังกายในส่วน มือ นิ้ว และแขน ก็ช่วยได้
  • ใช้ยาแก้อักเสบ วิธีนี้ใช้สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยยังมีอาการไม่รุ่นแรง ยาแก้อักเสบจะช่วยลดอาการปวดและบวมได้ดี
  • ใช้ยายับยั้งข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่ออกฤทธิ์ช้า วิธีนี้ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะ ยาชนิดนี้ ค่อนค้างอันตราย
  • ฝ่าตัด จะทำการเลาะเยื่อบุข้อที่การอักเสบออกและผ่าตัดซ่อมแซม เชื่อมข้อติดกัน ผ่าตัดกระดูกปรับแนวข้อกระดูกให้ตรง หรือใส่ข้อเทียม แต่การผ่าตัดนั้นเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ เพื่อบรรเทาอาการของโรครูมาตอยด์ เท่านั้น

การป้องกันการเกิดโรครูมาดอยด์

ปัจจุบันยังไม่สามารถของการเกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ สิ่งที่ทำได้ คือ การเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเมื่อรู้สึกปวด เพื่อหยุดยั้งการอักเสบ และ การถูกทำลายของข้อให้เร็วที่สุด ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาเร็วมีโอกาสหยุดยั้งโรคได้ง่ายกว่า และ โอกาสข้อพิการจะน้อยกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์

ผู้ป่วนโรครูมาตอยด์ต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์เฉพาะทาง และพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรซื้อยากินเอง และ ควรปฏิบัตตนตามนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อได้ดี ช่วยลดความปวด และอาการอ่อนเพลีย
  • ไม่ควรนั่งหรือยืน ในท่าทางที่ไม่เกิดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานานๆ เนื่องจากจะทำให้ข้อแข็ง ขาดความยืดหยุ่น แต่ไม่ควรฝืนเมื่อข้ออาการบวมและปวดอยู่
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดการกระแทกที่ข้อกระดูก เช่น การยกของหนัก การกระโดดสูงๆ การทำงานที่ใช้ข้อกระดูกมากๆ
  • ควรลดน้ำหนักตัว เพิ่อแบ่งเบาภาระการทำงานของข้อกระดูก
  • รับประทานอาหาที่มีประโยชน์ต่อข้อและกระดูก เช่อ อาหารที่มีแคลเซียม วิตามินดี และ วิตามินซี เพื่อการบำรุงเนื้อเยื่อและกระดูก เป็นต้น

อาหารที่ควรรับประทานสำหรับผู้ป่วยรูมาตอย

สำหรับอาหารของผู้ป่วยเป็นรูมาตอยด์ คือ ข้าวกล้อง ผลไม้ที่ผ่านความร้อน หรือทำแห้ง ผักสีเขียว เหลือง และส้ม ที่ผ่านความร้อน น้ำ เกลือปริมาณปานกลาง น้ำเชื่อมเมเปิ้ล และสารสกัดวานิลา

อาหารที่ควรหลีกเลี้ยงสำหรับผู้ป่วนรูมาตอย

อาหารควรหลีกเลี่ยง สำหรับผู้เป็นโรครูมาตอยด์ คือ ผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิด ข้าวสาลี เนื้อสัตว์ทุกชนิด ข้าวโอ๊ต ข้าวราย ผลไม้ตระกูลส้ม ไข่ มันฝรั่ง ถั่ว มะเขือเทศ กาแฟ

สมุนไพรบำรุงกระดูก ช่วยป้อกันและบำรุงสภาพกระดูกให้เสื่อมช้าลงได้ เราได้รวมสมุนไพรที่บำรุงกระดูก ประกอบด้วย

ชะคราม ใบชะคราม สรรพคุณของชะคราม ประโยชน์ของชะครามชะคราม แก้วมังกร สมุนไพร สรรพคุณของแก้วมังกร โทษของแก้วมังกรแก้วมังกร
ผักสมุนไพร ขึ้นฉ่าย คื่นฉ่าย สมุนไพรคื่นฉ่าย หม่อน มัลเบอรรี่ สมุนไพร ใบหม่อนหม่อน
ถั่วเหลือง สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว ประโยชน์ของถั่วเหลืองถั่วเหลือง
ผักชีฝรั่ง สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของผักชีฝรั่งผักชีฝรั่ง

โรครูมาตอยด์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ คือ ความผิดปกติของเนื้อเยื่อข้อกระดูก เกิดการอักเสบของข้อเล็ก ทำให้มีอาการปวดข้อ หากไม่รักษาทำให้พิการได้ อาจลุกลามไปทำลายอวัยวะส่วนอื่นๆ เช่น เม็ดเลือด ปอด หัวใจ และส่งผลให้ ต่อมน้ำตาฝ่อ ตาแห้งฝืด และอีกมากมาย


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove