โรคหิด ( Scabies ) ผิวหนังอักเสบจากตัวหิด ( Scabies mite )กัด อาการตุ่มนูนแข็ง สีแดงขนาดใหญ่ ติดทางเพศสัมพันธ์ได้ โรคหิด มี 2 ประเภท โรคหิคต้นแบบ โรคหิดนอร์เวย์โรคหิด ตัวหิด โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ

โรคหิด ( Scabies ) คือ ภาวะผิวหนังอักเสบ โดยสาเหตุเกิดจาก ตัวหิด ภาษาอังกฤษ เรียก Scabies mite เป็นสิ่งมีชิวิตชนิด ปรสิต  ( Parasite ) ตัวหิตจะต้องอาศัยอยู่บนตัวคน ใช้ชีวิตอยู่ที่ผิวหนังของคน อาหารของตัวหิด คือ เซลล์ผิวหนังของคน อาการสำคัญของโรคหิด คือ คันและมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง โรคหิดสามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสกับคนที่มีตัวหิดอาศัยอยู่ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย โรคหิด มี 2 ประเภท คือ โรคหิดต้นแบบ และ โรคหิดนอร์เวย์ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • โรคหิดต้นแบบ เรียกว่า Classic scabies การเป็นโรคหิดชนิดนี้เกิดจากการสัมผัสผิวหนังคนที่มีภาวะโรคหิดเป็นระยะเวลานาน เช่น การอยู่ในบ้านเดียวกัน นอนหลับด้วยกัน เป็นต้น จะพบว่ามีการติดมากในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี
  • โรคหิดนอร์เวย์ เรียกว่า Norwegian scabies หรือ Crusted scabies เป็นภาวะภูมิต้านทานโรคบกพร่อง หรือ เกิดจากการได้รับยากดภูมิต้านทาน โรคนี้เกิดครั้งแรกในประเทศนอร์เวย์ จึงถูกเรียกว่า หิดนอร์เวย์ กลุ่มคนที่มีโอกาสติดหิด คือ คนสูงอายุ คนขาดสารอาหาร ผู้ป่วยโรคมะเร็ง คนป่วยอัมพาต คนพิการที่สมอง เป็นต้น

โรคหิด โรคผิวหนัง โรคติดต่อ อาการคันมีผื่น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหิด

สำหรับปัจจัยการเกิดโรคหิด สามารถแยกสาเหตุของการเกิดหิดทั้ง 2 ประเภท ได้โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โรคหิดชนิดต้นแบบ การอยู่ใกล้ชิดและสัมผัสผิวหนังกับคนที่เป็นหิด โดยกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง คือ คนที่อยู่ในบ้านที่สกปรก เด็ก คนยากจน คนที่ทำงานในสถานพยาบาล บ้านพักคนชรา เรือนจำ ค่ายกักกัน รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์กับคนเป็นหิด นอกจากนี้ การใช้ของร่วมกัน เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ก็เป็นปัจจัยของการติดหิดชนิดต้นแบบ
  • โรคหิดนอร์เวย์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหิดชนิดนี้ คือ ความผิดปรกติของร่างกาย โดยเกิดจากภาวะภูมิกันต้านทานโรคบกพร่อง โดยคนที่มีปัจจัยเสียง คือ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและสมอง เป็นต้นช่วย

สาเหตุของการเกิดโรคหิด

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหิด เกิดจาด ตัวหิด จัดเป็นปรสิต ที่ต้องอาศัยอยู่บนร่างกายของมนุษย์ และกินเซลล์ผิวหนังของมนุษย์เป็นอาหาร ซึ่งเป็นโรคที่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ จากการสัมผัสผิวหนังของคนที่มีตัวหิดอาศัยอยู่ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย และหากหิดติดที่อวัยวะเพศจะมีตุ่มและผื่นคันที่อวัยวะเพศ

อาการของผู้ป่วยโรคหิด

ตัวหิดเมื่อเข้าสู่ผิวหนังของคน จะมีระยะเวลาในการฟักตัว ภายใน 45 วัน ซึ่งในช่วงแรกจะไม่แสดงอาการ และเมื่อแสดงอาการ จะเกิดปฏิกิริยาที่ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานของร่างกาย ตัวหิดจะหลั่งสารเคมีต่างๆ สารเคมีเหล่าจะทำให้เกิดอาการ โดยอาการจะแยกตามชนิดของโรค รายละเอียด ดังนี้

  • โรคหิดชนิดต้นแบบ จะมีอาการตุ่มนูน ลักษณะแข็ง มีสีแดงขนาดใหญ่ ขึ้นตามผิวหนัง เกิดที่รักแร้และขาหนีบ มีอาการคัน และจะคันมากในช่วงกลางคืน ตำแหน่งที่หิดมักจะอยู่ คือ ตามง่ามนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก รอบสะดือ ท้อง เอว ก้น อวัยวะเพศชาย และหัวนม
  • โรคหิดนอร์เวย์ อาการของโรคหิดชนิดนี้ ผู้ป่วยจะสูญเสียความรู้สึกของผิวหนัง ไม่แสดงอาการคัน ไม่มีรอยข่วน ไม่มีตุ่มนูนแดง ไม่มีตุ่มน้ำใสๆ ทำให้ไม่มีใครสังเกตเห็นว่าผู้ป่วยเป็นหิด เมื่อตัวหิดเพิ่มจำนวนมากขึ้น ผิวหนังชั้นบนของผู้ป่วย จะหนา และมีสะเก็ด เห็นชัดเจนที่ ข้อศอก ข้อเข่า ฝ่ามือ และฝ่าเท้า เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหิด

การเกิดโรคหิด เป็นเวลานาน หากไม่ทำการรักษาอย่างถูกวิธี ต้องระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยสิ่งที่ต้องระวัง คือ เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยบนผิวหนัง ทำผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลาย จนกลายเป็นโรคผิวหนังอื่นๆ เช่น ผิวหนังอักเสบ เนื้อเยื่ออักเสบ ฝีหนอง เป็นต้น

สำหรับโรคแทรกซ้อนจากโรคหิด เช่น โรคปอดอักเสบ โรคกรวยไตอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น

การรักษาโรคหิด

สำหรับการรักษาโรคหิด เนื่องจากปัญหาของโรคหิด เกิดจากตัวหิด ที่ทำให้ เกิดการอักเสบที่ผิวหนัง และ นำไปสู่การติดเชื้อ ซึ่งการรักษาโรคหิด มี 3 ลักษณะ คือ การกำจัดตัวหิด การรักษาอาการคัน และ การป้องกันการติดเชื้อ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การฆ่าตัวหิด การทำลายตัวหิด สามารถใช้ยาทา โดยจะต้องทายาให้ทั่วตัว ต้องทาทิ้งไว้ประมาณ 8-12 ชั่วโมง และใช้ยาทา ทาซ้ำอีกครั้งภายใน 10 วัน เพื่อกำจัดหิดตัวอ่อน แต่สำหรับโรคหิดชนิดนอร์เวย์ ต้องรักษาด้วยการใช้ยากิน เช่น Ivermectin  และใช้ยาทาร่วม
  • การรักษาอาการคัน ต้องรักษาด้วยการใช้ยากินแก้คัน หากผู้ป่วยมีตุ่มนูนแดง ต้องรักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์
  • การรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน โดยการให้ยาปฏิชีวนะ อาจให้เป็นยาทา ยากิน หรือยาฉีด ขึ้นกับความรุนแรงของโรค

ป้องกันการเกิดโรคหิด

การป้องกันโรคหิด ต้องป้องกันการแพร่กระจายของตัวหิด เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ โดยรายละเอียดของการป้องกันการเกิดโรคหิด มีดังนี้

  • งดการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีโรคหิด หรือ คนที่ไม่ใช่คู่นอนที่เป็นคู่ชีวิตของตน
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิด หรือ การสัมผัสคนที่เป็นโรคหิด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้ป่วยโรคหิด
  • ปรับสภาพสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ถูกสุขอนามัย
  • หากต้องสัมผัสผู้ป่วยโรคหิด ต้องใส่เครื่องป้องกัน

โรคหิด ( Scabies ) ผิวหนังอักเสบเกิดจากตัวหิด ( Scabies mite ) มีอาการตุ่มนูน ลักษณะแข็ง สีแดงขนาดใหญ่ตามผิวหนัง อาหารของตัวหิด คือ เซลล์ผิวหนังของคน ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์มี 2 ประเภท โรคหิคต้นแบบ โรคหิดนอร์เวย์

อุ้งเชิงกรานอักเสบ ภาวะติดเชื้อที่ระบบสืบพันธุ์ของสตรี จากการมีเพศสัมพันธ์ อาการปวดท้องน้อย ตรงส่วน มดลูก ปีกมดลูก และ ท่อนำไข่ การรักษาโรคนี้ทำอย่างไรอุ้งเชิงกรานอักเสบ ปวดท้องน้อย มีเซ็กส์กับคนเป็นหนองใน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

อุ้งเชิงกรานอักเสบ ทางการเพทย์ เรียกว่า Pelvic Inflamatory Disease จัดว่าเป็น โรคจากการติดเชื้อ ที่ระบบการสืบพันธ์ โรคนี้เกิดในสตรี โดยสาเหตุส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย ส่วนใหญ่แล้ว จะเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ป่วยเป็นโรคหนองใน ซึ่งจะทำให้อวัยวะเพศอักเสบ โรคนี้มักเกิดกับสตรีวัยเจริญพันธุ์ ช่วยอายุไม่เกิน 25 ปี

สำหรับเชื้อโรคที่ทำให้อุ้งเชิงกรานอักเสบ คือ เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคหนองใน ชื่อ N.gonorrhea และ C.trachomatis แต่ เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยในช่องคลอด ก็อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่อุ้งเชิงกราน ได้เช่นกัน

สาเหตุของโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ

สำหรับสาเหตุของอาการอุ้งเชิงกรานอักเสบ นั้นสาเหตุ คือ เกิดจากการติดเชื้อาแบคทีเรีย ที่ระบบสืบพันธุ์ภายของสตรี ซึ่งเมื่อเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อโรคก็จะแพร่กระจายจากช่องคลอด ไปสู่อวัยวะภายในช่องคลอด อย่าง ช่องท้อง ท่อนำไข่ และ รังไข่ เป็นต้น โดยสาเหตุของการติดเชื้อที่พบมากที่สุด คือ การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีภาวะ เป็น โรคหนองใน และ โรคหนองในเทียม โดยขาดการป้องกันอย่างถูกต้อง สำหรับ สาเหตุของการเกิดโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ สามารถแยกได้ 2 กรณี คือ สาเหตุจากการมีเพศสัมพันธ์ และ สาเหตุที่ไม่ได้มาจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยรายละเอียดมีดังนี้

  • สาเหตุที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ พบว่า ร้อยละ 25 ชองผู้ป่วย เกิดจากการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ ทั้ง หนองใน และ หนองในเทียม โดยผู้ติดเชื้อ จะเริ่มติดเชื้อแบคทีเรีย ที่ปากมดลูก จากนั้นจึงค่อยกระจายสู่อวัยวะอ่ื่นๆ
  • สาเหตุอื่น ๆที่ไม่ได้มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เป็นสาเหตุที่ไม่ทราบแน่ชัด แต่เป็นการติดเชื้อจากช่องคลอด เช่น การตรวจภายในที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การทำแท้ง การใช้อุปกรณ์คุมกำเนิดชนิดสอดใส่ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุ้งเชิงกรานอักเสบ

สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่มีผลต่อการติดเชื้อ เป็นปัจจัยที่ไปกระทบที่ช่องคลอดและอวัยวะสืบพันธ์ของสตรีทั้งสิ้น โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • การมีคู่นอนหลายคน
  • การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่เคยติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
  • การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่อายุต่ำกว่า 25 ปี
  • การสวนล้างช่องคลอด
  • การใสห่วงอนามัยคุมกำเนิด
  • การขูดมดลูก
  • การขยายโพรงมดลูก

อาการของอุ้งเชิงกรานอักเสบ

สำหรับอาการโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ ซึ่ง อาการอุ้งเชิงการอักเสบในระยะแรก นั้นจะยังไม่แสดงอาการใด ๆ และอาการจะแสดงเมื่อมีอาารรุนแรง โดยจะมีอาการปวดบริเวณช่องท้อง ซึ่งสามารถสังเกตุอาการอุ้งเชิงกรานอักเสบ ได้ดังนี้

  • เจ็บท้องน้อย เจ็ยท้องส่วนเหนืออวัยวะเพศ
  • มีอาการตกขาวผิดปกติ สารคัดหลั่งมีกลิ่นผิดปรกติ และมีสีเปลี่ยนไปจากเดิม
  • มีเลือดออกที่ช่องคลอด เลือดที่ออกมีปริมาณมาก หรือ มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์
  • ผู้ป่วยจะมีไข้สูง มีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย
  • มีอาการคลื่นไส้
  • เวียนหัว
  • ร่างกายอ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว
  • เวลามีเพศสัมพันธ์จะปวดมาก
  • มีอาการปัสสาวะขัดและปวดแสบเวลาปัสสาวะ

หากท่านมีลักษณะของการดังกล่าว ให้พบเพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด เนื่องจากเชื้อโรคสามารถทำลายระบบสืบพันธุ์ได้

ภาวะแทรกซ้อนของการเกิดโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ

การติดเชื้อที่อุ้งเชิงกราน หากไม่ทำการรักษาอย่างทันท่วงที่ จะเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เป็นปัญหาได้ในอนาคต โดยโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นหากไม่ทำการรักษาการติดเชื้อ ประกอบด้วย

  • เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบแบบเรื้อรัง โรคนี้เมื่อรักษาแล้ว สามารถกลับมาติเชื้อใหม่ได้ หากผู้ป่วยไม่ทำการป้องกันปัจจัยของการเกิดโรค
  • เกิดฝีที่ท่อนำไข่และรังไข่ การติดเชื้อเป็นเวลานาน ที่อุ้งเชิงกราน ทำให้เกิดเชื้อโรคตกค้างในอวัยวะเพศภายใน ที่ให้เกิดฝีได้ หากพบว่าเป็นฝี จำเป็นต้องรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ หรือ การผ่าตัดเพื่อระบายหนอง
  • การปวดเชิงกรานเรื้อรัง โดยอาการปวดจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น นอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า เป็นต้น
  • เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก การติดเชื้อที่ท่อนำไข่ อานจทำให้ทำไข่เคลื่อนตัวผ่านท่อนำไข่ยาก และหากเกิดการปฏิสนธิ ในท่อนำไข่จะทำให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตผิดที่ เป็นอันตรายต่อชีวิตได้
  • เกิดภาวะการมีบุตรยาก การติดเชื้อที่อวัยวะเพซ ส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธ์โดยตรง จะทำให้ผู้ป่วยประสบปัญหาการมีบุตรยาก

รักษาการโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ

สำหรับการรักษาโรคนี้ เนื่องจากสาเหตุของโรคเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การรักษาจึงต้องใช้ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน ในการฆ่าเชื้อโรค แต่การรักษาต้องอยู่ในการพิจารณาของแพทย์อย่างเหมาะสม ส่วนใหญ่แล้วการรักษาจะใช้เวลา ประมาณ  14 วัน และต้องติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ในผู้ป่วยบางราย ที่มีอาการไม่ตอบสนองยาปฏิชีวนะ นั้น จะมีอาการรุนแรงมาก เช่น มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียนมาก มีถุงหนองเกิดขึ้นในอุ้งเชิงกราน ต้องใช้การรักษาด้วย ยาปฏิชีวนะแบบฉีด และหากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวเลย จำเป็นต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งจะเป็นทางเลือกสุดท้ายในการรักษาของแพทย์

การป้องกันโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ

การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การป้องกันการเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย เพื่อลดโอกาสของการติดเชื้อที่อวัยวะเพศ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ไม่มีคู่นอนหลายคน
  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ไม่สวนล้างช่องคลอด เนื่องจากอาจเกิดการติดเชื้อได้

โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ ภาวะติดเชื้อที่ระบบสืบพันธุ์ของสตรี เกิดจากการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ อาการของโรคนี้ คือ ปวดท้องน้อย ตรงส่วน มดลูก ปีกมดลูก และ ท่อนำไข่ การรักษาโรคนี้ทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove