การเลี้ยงลูกสำหรับพ่อแม่ยุคใหม่ ต้องทำให้ลูกมีความสุขทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ พ่อแม่สามารถนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงลูกได้ ด้วย 8 วิธีง่าย ๆการเลี้ยงลูก เทคนิคการเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การสอนลูก

ปัจจุบันการเลี้ยงลูกให้มีความสุขและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพนั้น จะต้องประกอบไปด้วยปัจจัยด้านร่างกาย และจิตใจ เทคนิคสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ควรศึกษาและทำความเข้าใจ คือการให้ความสำคัญด้าน IQ ซึ่งเป็นตัวแทนค่าของความฉลาด การมีสติปัญญาที่ดี ในขณะที่ EQ จะเป็นคุณค่าทางด้านอารมณ์ การรู้ และเข้าใจอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น การมีทักษะสื่อสารที่ดี และความเห็นใจผู้อื่น ดังนั้น เมื่อความสุข ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เรามีเทคนิค วิธีเลี้ยงลูกให้มีความสุขที่พ่อแม่สามารถนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงลูกได้ ด้วย 8 วิธีง่าย ๆ ดังนี้

  1. ทำตัวเราเองให้มีความสุขก่อน และสร้างครอบครัวที่มีสุข โดยปกติแล้วพ่อแม่สามารถสร้างความสุขจากตนเองได้ เพราะความสุขถือเป็นตัวแปรสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เมื่อครอบครัวที่มีความสุข พ่อและแม่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ลูกจะสามารถรับรู้และสัมผัสความสุขจากคนในครอบครัวได้นั่นเอง ในทางตรงข้ามหากลองนึกภาพถ้าพ่อแม่ทะเลาะกัน ขัดแย้งกันเกือบทุกเรื่อง ย่อมส่งผลต่อการความรู้สึกของลูกอย่างแน่นอน
  2. สอนให้รู้จักมองโลกในแง่บวก การมองโลกในแง่ดีนั้นใกล้เคียงกับการก่อให้เกิดความสุขมาก เพราะเด็กที่มองโลกในแง่ดีมักจะประสบความสำเร็จมากกว่า มีสุขภาพดีกว่า และจัดการกับความกังวลใจได้มากกว่า อีกทั้งการสอนให้ลูกมองโลกในแง่ดีเป็นการช่วยให้เด็กปรับตัวได้ เพราะหลายสิ่งหลายอย่างไม่สามารถปรับได้ที่คนอื่น แต่ต้องปรับจากมุมมองของตัวเราเอง ไม่ใช่มองแต่ด้านไม่ดีหรือมองโลกในทางลบ เมื่อเด็กคิดบวกได้ย่อมมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่สามารถต่อยอดไปสู่ความสำเร็จได้ในอนาคต ก็จะทำให้เขามีความสุขได้เช่นกัน
  3. เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเห็น การสอนที่ดีที่สุด คือการที่ตัวผู้สอน หรือคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเห็นอยู่เสมอ เพราะเด็กจะซึมซับจากพฤติกรรมที่ผู้ใหญ่ และแสดงออกมาโดยอัตโนมัติมากกว่าการสอนด้วยคำพูดใด ๆ ซึ่งรวมไปถึงการแสดงอารมณ์ของคุณพ่อคุณแม่เช่นกัน หากคุณพ่อคุณแม่เครียดหรือหงุดหงิด ก็อาจทำให้ลูกเครียดและทำกิริยาก้าวร้าวออกมาได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงต้องดูแลตัวเองและควบคุมอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ
  4. เสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้ลูก ความภาคภูมิใจในแง่จิตวิทยาเด็กแล้วคำชมและการให้รางวัลอย่างเหมาะสมมีความสำคัญอย่างย่อง เพราะนอกจากจะทำให้ลูกมีพฤติกรรมดีต่อเนื่องแล้วยังช่วยเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้ลูก รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และมั่นใจในตัวเองมากขึ้น
  5. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ๆ และคนรอบข้าง การเข้าสังคมเป็นพื้นฐานการสร้างบุคลิกภาพที่เหมาะสมของเด็ก ซึ่งจะช่วยให้ลูกมีโอกาสได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม ทั้งเพื่อน ๆ และคนรอบข้าง รวมถึงได้พัฒนาทักษะด้านอารมณ์ที่ดี เพราะจะช่วยให้ลูกอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รู้จักระเบียบวินัย รู้จักการแบ่งปัน ควบคุมอารมณ์ได้ดี และมีทัศนคติที่ดีในการใช้ชีวิต ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ดีในการดำเนินชีวิตในอนาคต
  6. ให้อิสระตามวัย และ ให้โอกาสในการตัดสินใจ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรบังคับให้ลูกคิดและเชื่อตามตัวเอง ควรให้เพียงข้อมูลและเปิดโอกาสให้ลูกคิดตัดสินใจเอง อย่างไรก็ตามปัญหาสังคมในยุคนี้คุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้อิสระลูก อาจต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกด้วยนะครับ ทางสายกลางคงดีที่สุด
  7. ส่งเสริมให้ลูกรู้จักคิดอย่างมีหลักการและเหตุผล การกระตุ้นให้ลูกรู้จักคิดหาเหตุผล ถือว่าเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการใช้เหตุผลสามารถช่วยให้ลูกมีวิธีคิดที่เป็นระบบ จะทำให้ลูกได้มีโอกาสทบทวนถึงผลของการกระทำอย่างรอบคอบ สิ่งเหล่านี้หากส่งเสริม และฝึกให้คุ้นเคยจะทำให้ลูกเป็นเด็กที่มีเหตุผลในการดำเนินชีวิต
  8. ส่งเสริมให้ลูกมีจินตนาการ และ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นอีกประเด็นสำคัญที่พ่อแม่ควรส่งเสริมลูกให้มีความสุข จากการสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจากลูกต้องการตอบสนองต่อสถานการณ์หรือสิ่งเร้าที่แปลกใหม่ต่อการเรียนรู้ การสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลายจึงจำเป็นต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของลูกในโลกปัจจุบัน เพื่อสร้างความสุขผ่านจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ลูกได้อีกทางหนึ่ง

การเลี้ยงลูก สำหรับพ่อแม่ยุคใหม่ ต้องทำให้ลูกมีความสุข ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการของลูกทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เรามีเทคนิค วิธีเลี้ยงลูกให้มีความสุขที่พ่อแม่สามารถนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงลูกได้ ด้วย 8 วิธีง่าย ๆ ดังนี้

การเลี้ยงลูก ตั้งแต่เริ่มต้นตั้งแต่ปัญหาจนถึงการเลี้ยงลูกให้มีพัฒนาการที่ดี แข็งแรง สมบรูณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การเลี้ยงลูกนั้น มีรายละเอียดที่แตกต่างกันตามช่วงอายุของลูก การจะสร้างลูกให้เจริญเติบโตขึ้มมาพร้อมกับพัฒนาการที่ดี เป็นคนเก่ง มีพัฒนาการด้านร่างกาย สมองและอารมณ์ ที่ดี จำเป็นต้องเข้าใจเด็ก อย่างถูกต้อง

การเลี้ยงลูกยุคใหม่ พ่อแม่ควรมีหลักคิดการเลี้ยงลูกในเชิงบวก เพื่อพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตด้านต่างๆให้สอดสอดคล้องกับยุคสมัย การเลี้ยงลูกในยุคนี้ เปลี่ยนแปลงเร็วมากการเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก แม่และเด็ก พ่อแม่ยุคใหม่

สำหรับแนวคิดที่เหมาะสำหรับโลกสมันใหม่ เช่น หลักแนวคิดในการส่งเสริมด้านการเรียนของลูก หลักแนวคิดในการเรียนรู้ของลูกผ่านการเล่น หลักแนวคิดในการเข้าสังคม ฯลฯ เป็นต้น ดังนั้นหลักแนวคิดเพื่อการเลี้ยงลูกให้ทันยุคสมัย จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพ่อแม่ยุคใหม่ เรามี 7 หลักแนวคิดเพื่อการเลี้ยงลูก มาแนะนำให้พ่อแม่ สามารถนำไปใช้ได้ ดังนี้

  1. หลักแนวคิดด้านการเรียน การศึกษาของเด็ก ยุคใหม่ไม่ได้อยู่เพียงแค่ในตำรา แบบเรียน หนังสือเสริมทักษะ หรือนั่งฟังคุณครูพูดสอนอยู่หน้าชั้นอย่างเดียว พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักค้นคว้าข้อมูลในโลกออนไลน์ เพื่อแสวงหาแหล่งความรู้ที่หลากหลายแต่ก็ควรอธิบายให้ลูกรู้ถึงพิษภัยที่แอบแฝงจากโลกออนไลน์ด้วย
  2. หลักแนวคิดด้านการเล่น ของเล่น ถือเป็นสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับลูก พ่อแม่ควรเลือกของเล่นที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว และเป็นกิจกรรมการเล่นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกด้วย เช่น การต่อบล็อกไม้ การพับกระดาษ ลิงชิงบอล การอ่านนิทาน การเล่นบทบาทสมมุติ เป็นต้น
  3. หลักแนวคิดด้านโภชนาการ อาหารและโภชนาการเป็นปัจจัยหลักที่ ช่วยให้ร่างกายและสมองของลูกมีการเจริญเติบโต มีน้ำหนักส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ โดยเฉพาะนมแม่และคุณค่าสารอาหารครบ 5 หมู่ หลักในการเลือกโภชนาการของลูกควรคำนึกถึงประโยชน์เป็นหลักโดยให้ในสัดส่วนที่เหมาะสม และ ควรหลีกเลี่ยงอาหาร ตามกระแสสื่อโฆษณา เช่น ขนมคบเคี้ยว น้ำอัดลม ฯลฯ เป็นต้น
  4. หลักแนวคิดด้านการใช้ภาษา การส่งเสริมด้านภาษา ให้ลูกรู้จักภาษามากกว่าหนึ่งภาษานั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากภาษาเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยทักษะในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง พ่อแม่ สามารถช่วยกระตุ้นและสนับสนุนการใช้ทักษะภาษาของลูกผ่านการพูดคุยและตอบโต้กับลูกในชีวิตประจำวัน
  5. หลักแนวคิดด้านการเข้าสังคม หลักแนวคิดใน การเข้าสังคม มีงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศกล่าวว่า เด็กที่มีเพื่อนก่อนหรือตั้งแต่เตรียมอนุบาล จะสามารถปรับตัวได้ดีกว่าเด็กคนอื่นเมื่อเริ่มเข้าโรงเรียน การมีเพื่อนจะช่วยให้ลูกเรียนรู้ทักษะสังคมที่เป็นประโยชน์ เช่น การทำงานเป็นกลุ่ม การเข้าหาผู้อื่น  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การจัดการปัญหาร่วมกัน ดังนั้นพ่อแม่ควรสร้างหลักคิดด้านการเข้าสังคมให้ลูกคุ้นเคยที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เช่น การแนะนำให้ลูกรู้จักคนอื่น รู้จักการทักทาย การยกมือสวัสดี เป็นต้น
  6. หลักแนวคิดด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี การเป็นแบบอย่างที่ดีสามารถสร้าง หลักคิด ให้ลูกได้อย่างมาก เนื่องจากแบบอย่างที่ดีของพ่อแม่จะเป็นภาพการจดจำในการแสดงออกทาง พฤติกรรมของลูก ได้ โดยทำเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกได้ซึมซับรับเป็นแบบอย่างในทุกเรื่องทั้งพฤติกรรมการกระทำ ทัศนคติ ความคิด บุคลิก ลักษณะนิสัย ดังนั้น พ่อแม่ ควรสร้างแบบอย่างที่ดีจากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันให้แก่ลูกได้ เช่น การสร้างวินัยให้ลูกรู้จักการรับผิดชอบในหน้าที่ตนเอง รู้จักจัดเก็บสิ่งของหรือของเล่นต่างๆ ให้เป็นระเบียบ เป็นต้น
  7. หลักแนวคิดด้านการบริหารและสร้างวินัยการออมเงิน การรู้จักอดออม ถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่พ่อแม่สามารถสร้างหลักคิดนี้ให้ลูกเห็นคุณค่า และ มีวินัยในการใช้จ่าย อย่างเหมาะสม พ่อแม่สามารถนำ กิจกรรมในชีวิตประจำวัน มาประยุกต์ใช้กับลูกได้  การออม ไม่ใช่เพียงการเก็บหอมรอมริบ แต่ การออม ยังหมายรวมถึงการใช้จ่ายโดยรู้จักประมาณตน ใช้เงินอย่างมีเหตุมีผล และออมเพื่อให้ตนเองมีพื้นฐานที่จะต่อยอดสู่ การพัฒนาชีวิต ในด้านอื่นๆต่อไป

การเลี้ยงลูกในยุคใหม่ พ่อแม่ ควรมีหลักแนวคิดในการเลี้ยงดูลูกเชิงบวก เพื่อเสริมสร้างพัฒนาทักษะการดำรงชีวิต ในด้านต่างๆ ให้สอดสอดคล้อง และ เหมาะสมกับยุคสมัย สำหรับยุคที่เทคโนโลยีและข่าวสารไวจนตามไม่ทัน การเลี้ยงลูกยุคนี้ เปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และ เทคโนโลยี

การเลี้ยงลูก ตั้งแต่เริ่มต้นตั้งแต่ปัญหาจนถึงการเลี้ยงลูกให้มีพัฒนาการที่ดี แข็งแรง สมบรูณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การเลี้ยงลูกนั้น มีรายละเอียดที่แตกต่างกันตามช่วงอายุของลูก การจะสร้างลูกให้เจริญเติบโตขึ้มมาพร้อมกับพัฒนาการที่ดี เป็นคนเก่ง มีพัฒนาการด้านร่างกาย สมองและอารมณ์ ที่ดี จำเป็นต้องเข้าใจเด็ก อย่างถูกต้อง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove