กระทือ พืชท้องถิ่น สมุนไพรไม้ประดับ นำมารับประทานได้ สรรพคุณของกระทือ ช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเสมหะ บำรุงน้ำนม ขับน้ำคาวปลา โทษของกระทือเป็นอย่างไร

กระทือ สมุนไพร พืชท้องถิ่น สรรพคุณของกระทือ

ต้นกระทือ( Shampoo Ginger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระทือ คือ ingiber zerumbet Smith. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระทือ เช่น หัวทือ กระทือป่า แฮวดำ กะแวน เฮียงแดง เป็นต้น กระทือ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ต่อมาภายหลังได้แพร่กระจายมายังทวีปเอเชียรวมถึงประเทศไทย จัดเป็นสมุนไพรท้องถิ่น พืชตระกูลขิงและข่า สามารถนำมาทำเป็นไม้ประดับได้ สามารถนำมารับประทานเหง้าของกระทือได้ สรรพคุณของกระทือ เช่น แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร ขับประจำเดือน ขับเสมหะ บำรุงน้ำนม

ประโยชน์ของกระทือ

ส่วนใหญ่แล้วนิยมปลูกกระทือเป็นไม้ประดับ  แต่สามารถรับประทานกระทือเป็นอาหารได้ โดยหน่ออ่อน ใช้รับประทานสดหรือลวกจิ้มกับน้ำพริก ส่วนใบกระทือนำมาใช้ห่อข้าว ห่อของ ห่อปิ้งอาหาร ลำต้นนำมาทำเป็นเชือกรัดของได้ และที่สำคัญน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระทือ มีประโยชน์ใช้ฆ่าตัวอ่อนของแมลงและลูกน้ำ สามารถลดการวางไข่ของด้วงถั่วเขียวได้

ลักษณะของต้นกระทือ

ต้นกระทือ เป็นพืชล้มลุก อายุข้ามปี ลักษณะคล้ายต้นขิง ต้นข่า มีหัว หรือ เหง้าอยู่ใต้ดิน สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ในที่ที่มีความชื้นพอสมควร และ มีแสงแดดส่องตลอดวัน พบขึ้นมากทางภาคใต้ ตามป่าดงดิบ ริมลำธารหรือชายป่า ลักษณะของต้นกระทือ มีดังนี้

  • ลำต้นกระทือ ลำต้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ลำต้นเหนือดิน และ ลำต้นใต้ดิน โดยลำต้นเหนือดิน เป็นไม้เนื้ออ่อน มีแกนเป็นเส้นใยในแนวตั้งตรง มีลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะกลม ส่วนลำต้นใต้ดิน เรียกว่า เหง้า หรือ หัว ลักษณะกลมมีรากแขนงแทงลึกลงดิน เหง้าอ่อนมีกาบหุ้มหน่อสีม่วง เนื้อเหง้ามีสีขาว
  • ใบกระทือ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบและแผ่นใบเรียบ ด้านล่างของใบมักมีขนนุ่ม ใบกว้างประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ที่ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น
  • ดอกกระทือ ออกดอกเป็นช่อแทงออกมาจากเหง้าขึ้นมา (รูปแรกด้านบนสุด) ลักษณะของช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีกลีบดอกสีขาวนวลออกเหลือง (รูปที่ 1 ด้านล่าง) มีใบประดับขนาดใหญ่สีเขียวแกมแดงเรียงซ้อนกันหนาแน่นและเป็นระเบียบ (รูปที่ 2 ด้านล่าง) โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกจะบานไม่พร้อมกัน
  • ผลกระทือ ผลมีลักษณะเป็นเมล็ดสีดำ ผลค่อนข้างกลม ผลแห้งแตก ติดอยู่ในประดับ และมีเนื้อสีขาวบางหุ้มเมล็ดอยู่

การปลูกกระทือ

ต้นกระทือ ปลูกง่าย สามารถขึ้นได้ตามธรรมชาติ การขยายพันธุ์ใช้การแตกหน่อ การปลูกกระทือนั้นนิยมขุดเหง้าจากเหง้าแม่ แล้วนำปลูกลงแปลง ซึ่งดินที่เหมาะสำหรับการปลูกกระทือ ควรเป็น ดินเหนียวปนทราย หรือ ดินร่วนปนทราย ควรปลูกใกล้กับบริเวณที่มีความชื้นตลอด เช่น ข้างบริเวณล้างจาน หรือ หลังห้องน้ำ เป็นต้น

สรรพคุณของกระทือ

การนำเอากระทือ มาใช้ประโยชน์ทางการรักษาโรคนั้น สามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพร ได้ทั้ง ลำต้น ดอก ใบ และเหง้า โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • เหง้ากระทือ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย บำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน บำรุงน้ำนม ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำนม แก้โรคบิด ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ รักษาแผลฝี
  • รากกระทือ สรรพคุณช่วยลดไข้ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยขับปัสสาวะ และ แก้อาการเคล็ดขัดยอก
  • ลำต้นกระทือ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดไข้ และ บรรเทาอาการไอ
  • ใบกระทือ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยประจำเดือน ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ดอกกระทือ สรรพคุณช่วยลดไช้ ช่วยขับลม และ บำรุงร่างกาย

โทษของกระทือ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระทือ เนื้อจากกระทือมีรสเผ็ดร้อน จึงไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไป เนื่องจากอาจทำให้คลื่นไส้และอาเจียนได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ยอ สมุนไพรไทย ต้นยอเป็นอย่างไร สรรพคุณของลูกยอ เช่น แก้อาเจียน ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร คุณค่าทางโภชนาการของลูกยอ ลูกยอเป็นอันตรายกับคนท้อง ทำให้แท้งลูกได้

ลูกยอ สรรพคุณของลูกยอ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นยอ ภาษาอังกฤษ เรียก Great morinda , Tahitian noni , Indian mulberry , Beach mulberry ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นยอ คือ Morinda citrifolia L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของต้นยอ เช่น แย่ใหญ่ ตาเสือ มะตาเสือ ยอบ้าน เป็นต้น ต้นยอ เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศแถบโพลีนีเซียตอนใต้ ( Polynesia ) ซึ่งพบได้ทั่วไป ผลยอมีรสชาติเผ็ดร้อนและมีกลิ่นแรง

ลูกยอ มีสารอาหารต่างๆหลากหลาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ผลลูกยอมีสารอาหารประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี3 ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม กรดไขมัน ลิกนิน พอลิแซ็กคาไรด์ ฟลาโอนอยด์ อีริดอยด์ สโครโปเลติน แอลคาลอยด์ เป็นต้น ซึ่งในทางการแพทย์แผนไทย นิยมใช้ในการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับลม และ ช่วยย่อยอาหาร แต่เป็นอันตรายสำหรับสตรีมีครรภ์ อาจทำให้แท้งลูกได้

สายพันธุ์ต้นยอ

สำหรับต้นยอ สามารถแบ่งได้ เป็น 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย citrifolia  , bracteata และ cultivar potteri  รายละเอียด ดังนี้

  • citrifolia พบได้บริเวณหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ฮาวาย ตาฮิติ เป็นต้นสายพันธุ์นี้ลักษณะของผลมีหลายขนาด
  • bracteata พบมากในทวีปเอเชียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งลักษณะของลูกยอสายพันธุ์นี้มีผลขนาดเล็ก
  • cultivar potteri พบทั่วไปตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งสายพันธุ์นี้มีใบเป็นสีเขียวและสีขาว

ลักษณะของต้นยอ

ต้นยอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลักษณะของผลยอ มีเอกลักษณ์และลักษณะที่ไม่เหมือนใคร ลักษณะของต้นยอ มีดังนี้

  • ลำต้นยอ ความสูงของต้นยอประมาณ 5 เมตร เปลือกของลำต้นบางติดกับเนื้อไม้ เปลือกของลำต้นสีเหลืองนวล หยาบและสากเล็กน้อย
  • ใบยอ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ซึ่งใบจะแทงออกตรงข้ามกันตามกิ่ง ใบเป็นทรงรี ใบอ่อนมีสีเขียวสด ใบแก่สีเขียวเข้ม ปลายใบแหลม ผิวใบเป็นมัน ลักษณะเป็นคลื่น
  • ดอกยอ ลักษณะดอกเป็นช่อเดี่ยว กลีบดอกสีขาว ลักษณะเป็นหลอด ดอกยอจะแทงออกตามง่ามใบ ผิวดอกด้านนอกเรียบ ส่วนผิวดอกด้านในมีขน
  • ผลยอ ลักษณะกลมรี มีตุ่มทั่วผล ผลอ่อนมีสีเขียวสด ผลแก่เป็นสีเหลืองอมเขียว ภายในลูกยอมีเมล็ดมีจำนวนมาก ซึ่งลักษณะของเมล็ดยอ ลักษณะแบน สีน้ำตาลเข้ม

คุณค่าทางโภชนาการของยอ

สำหรับสารอาหารต่างๆที่มีประโยชน์ของยอ ใช้ประโยชน์จากลูกยอและใบยอ ลูกยอสุก สามารถรับประทานได้ กินกับเกลือ หรือ กะปิ สามารนำมาคั้นน้ำลูกยอ ใช้ดื่มเป็นยาลดความดันโลหิต ส่วนใบอ่อนยอ สามารถรับประทานเป็นผักสด โดยใบอ่อนยอนำมาลวกกินกับน้ำพริก ต้มแกงจืด ทำแกงอ่อม เป็นต้น ลูกยอ มีสารเคมีหลายชนิด เช่น ลิกนัน โพลีแซคคาไรด์ ฟลาโอนอยด์ อีริดอยด์ กรดไขมัน สโคโปเลติน และ อัลคาลอยด์ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของใบยออ่อน ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 11.1 กรัม โปรตีน 3.8 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม กากใยอาหาร 1.9 กรัม แคลเซียม 350 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.9 มิลลิกรัม วิตามินเอ 9,164 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14มิลลิกรัม และ วิตามินซี 78 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผลยอดิบ ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 7.5 กรัม โปรตีน 0.5 กรัม กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 39 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.04มิลลิกรัม และ วิตามินซี 208 มิลลิกรัม

สรรพคุณของยอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากยอ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบยอ ผลยอ รากยอ และ น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ สรรพคุณของยอ มีดังนี้

  • ผลยอ สรรพคุณช่วยชะลอวัย ช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ ช่วยลดความดัน ช่วยขยายหลอดเลือด รักษาวัณโรค ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ข่วยผ่อนคลาย บำรุงธาตุไฟ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี บำรุงสมอง รักษาสิวแก้เวียนหัว รักษาแผลในปาก แก้เจ็บคอ แก้ปวดฟัน แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับประจำเดือน รักษาแผล
  • น้ำลูกยอ สรรพคุณช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยลดความดัน
  • ใบยอ สรรพคุณช่วยรักษาเบาหวาน ช่วยลดความดัน รักษาวัณโรค แก้กระษัย แก้เบื่ออาหาร บำรุงสายตา รักษาโรคมาลาเรีย แก้ปวดหัว รักษาแผล แก้ปวดตามข้อกระดูก กำจัดเหา
  • ลำต้นยอ สรรพคุณช่วยลดความดัน รักษาโรคดีซ่าน
  • รากยอ สรรพคุณแก้กระษัย รักษาแผลอักเสบ
  • น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ สรรพคุณลดอาการอักเสบ ช่วยป้องกันแมลง รักษาสิว กำจัดเหา

โทษของยอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากยอ ต้องใช้อย่างถูกวิธีและใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งเมล็ดยอ มีความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ ลูกยอ สรรพคุณช่วยขับประจำเดือน สำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน อาจทำให้เสียเลือด และ แท้งลูกได้

ยอ สมุนไพรไทย ลักษณะของต้นยอเป็นอย่างไร สรรพคุณของลูกยอ เช่น แก้อาเจียน ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร คุณค่าทางโภชนาการของลูกยอ โทษของลูกยอ เป็นอันตรายกับคนท้อง ทำให้แท้งลูกได้


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove