พลูคาว Plu Kaow สมุนไพร คอลาเจนสูง ต้นพลูคาวเป็นอย่างไร ประโยชน์ของพลูคาว สรรพคุณของพลูคาว ต้านมะเร็ง รักษากามโรค ช่วยเลือดไหลเวียนดี โทษของพลูคาวมีอะไรบ้างต้นพลูคาว พลูคาว สรรพคุณของพลูคาว ประโยชน์ของพลูคาว

ต้นพลูคาว ชื่อสามัญ คือ Plu Kaow ชื่อวิทยาศาสตร์ของพลูคาว คือ Houttuynia cordata Thunb. ชื่อเรียกอื่นๆของพลูคาว เช่น ผักคาวตอง คาวทอง ผักก้านตอง ผักคาวปลา ผักเข้าตอง เป็นต้น เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน สรรพคุณมากมาย พลูคาว มีสาร เควอซิทิน ( Quercetin ) ที่มีฤทธิ์ในการป้องกันอาการอักเสบ ป้องกันเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส ช่วยเลือดไหลเวียนโลหิตได้ดีขึ้น

พลูคาว คือ พืชล้มลุก ที่สามารถพบได้ทั่วไป ตามแถบเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงไทย เวียดนาม มีการนำพลูคาวมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคหลากหลาย รวมถึงมีการแปรรูป ให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ การวิจัยและพัฒนา พบวา พลูคาว คือ สุดยอดสมุนไพรต้านมะเร็ง

ลักษณะของต้นพลูคาว

ต้นพลูคาว เป็นพืชล้มลุก ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปตามภาคเหนือ มีถิ่นกำเนิดตามแถบเทือกเขาหิมาลัย ลักษณะของต้นพลูคาว มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของพลูคาว มีกลิ่นคล้ายกลิ่นคาวปลา ลักษณะกลม อวบน้ำ เปลือกเรียบ สีเขียว ลำต้นเลื้อยตามพื้นดิน มีรากออกตามข้อ
  • ใบของพลูคาว เป็นใบเดี่ยว ออกใบตามข้อของลำต้น ใบขึ้นสลับกันตามข้อของลำต้น ใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีสีเขียว ท้องใบสีม่วง
  • ดอกของพลูคาว ดอกพลูคาวออกเป็นช่อ ออกดอกที่ปลายยอด ลักษณะดอกเป็นทรงกระบอก สีขาว
  • ผลของพลูคาว มีขนาดเล็ก ด้านในมีเมล็ดรูปทรงรี จำนวนมาก

สรรพคุณของพลูคาว

สำหรับประโยชน์ของพลูคาวด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ จาก ราก ทั้งต้น  และ ใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากของพลูคาว มีรสจืดคาว สรรพคุณขับปัสสาวะ
  • ทั้งต้นของพลูคาว มีรสเผ็ดคาว สรรพคุณรักษากามโรค รักษาโรคผิวหนัง รักษาฝี รักษาแผล ฆ่าเชื้อโรคระบบทางเดินปัสสาวะ ขับปัสสาวะ แก้โรคบิด บำรุงกระดูก รักษาหูชั้นกลางอักเสบ แก้ปวดหู รักษาโรคมาลาเรีย รักษาคางทูม รักษาต่อมทอนซิลอักเสบ รักษาปอดอักเสบ บรรเทาอาการไอ รักษาหลอดลมอักเสบ ลดอาการบวม ลดอักเสบ รักษาริดสีดวงทวาร รักษานิ่ว ขับระดูขาว สำหรับสตรีหลังคลอด รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย  บำรุงผิว
  • ใบของพลูคาว มีรสเผ็ดคาว สรรพคุณรักษาริดสีดวงทวาร รักษากามโรค รักษาโรคหัด มีฤทธิ์ในการช่วยต่อต้านมะเร็ง รักษาโรคความดันโลหิตสูง เป็นยาระบาย ขับพยาธิ รักษาหนองใน บำรุงไต  รักษาโรคข้อ
  • ดอกพลูคาว สรรพคุณใช้ขับทารกตายในท้อง

โทษของพลูคาว

สำหรับต้นพลูคาวมีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ มีดังนี้

  • พลูคาวมีฤทธิ์ทำให้หายใจสั้นและถี่ขึ้น อาจทำให้อาเจียน ต้องกินในปริมาณที่เหมาะสม
  • สำหรับคนที่มีอาการหนาวง่าย ปวดท้อง ท้องเสียบ่อยๆ และแขนขาเย็น ไม่ควรกินพลูคาว
  • พลูคาวสามารถใช้รักษาโรคผิวหนังได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม หากใช้มากจนเกินไป อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้

พลูคาว ( Plu Kaow ) สมุนไพร พืชล้มลุก ต้นพลูคาวเป็นอย่างไร ประโยชน์ของพลูคาว สรรพคุณของพลูคาว เช่น ต้านมะเร็ง รักษากามโรค ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี โทษของพลูคาว มีอะไรบ้าง

มะยม ( Star gooseberry ) สมุนไพร ผลไม้รสเปรี้ยว ประโยชน์ของมะยม สรรพคุณของมะยม โทษของมะยม คุณค่าทางโภชนาการของมะยม เรื่องต่างๆเกี่ยวกับสมุนไพรชนิดนี้มีอะไรบ้างต้นมะยม มะยม สรรพคุณของมะยม สมุนไพร

ต้นมะยม คือ พืชที่พบได้ทั่วไปตามประเทศเขตร้อน พบในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มะยม มีชื่อสามัญ ว่า Star gooseberry ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะยม คือ Phyllanthus acidus (L.) Skeels พืชตระกูลมะขามป้อม ชื่อเรียกอื่นๆของมะยม เช่น หมากยม หมักยม ยม เป็นต้น

สำหรับต้นมะยมนั้นตามความเชื่อของคนไทย เชื่อว่า ต้นมะยม เป็นพืชมงคล ช่วยป้องกันสิ่งไม่ดีได้ จะทำให่ผู้อยู่อาศัยมีเมตตามหานิยม ทุกบ้านของคนไทย จึงนิยมปลูกมะยม

ลักษณะของต้นมะยม

ต้นมะยม เป็นไม้ยืน ต้นขนาดกลาง มะยมมีทั้งมะยมตัวผู้และมะยมตัวเมีย ต้นมะยมตัวผู้จะออกดอกเต็มต้นแต่ไม่ติดลูก ส่วนต้นมะยมตัวเมียนั้นจะมีดอกน้อยกว่า สรรพคุณทางยาของมะยมตัวผู้ค่อนข้างสูงกว่ามะยมตัวเมีย สามารถพบได้ทั่วไปในทุกจังหวัดของประเทศไทย ซึ่งเป็นพืชที่เติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน ทั้งดินเค็ม และเปรี้ยว ลักษณะของต้นมะยม มีดังนี้

  • ลำต้นมะยม มีสูงประมาณ 3 ถึง 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด เปลือกของต้นมะยมขรุขระ มีสีเทาปนน้ำตาล
  • ใบมะยม ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันตามกิ่งของมะยม ใบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม ฐานใบกลม ขอบใบเรียบ มีสีเขียว
  • ดอกมะยม ดอกออกเป็นช่อ ออกอดกตามกิ่ง ดอกย่อยมีสีเหลืองอมน้ำตาล
  • ผลมะยม ลักษณะเหมือนดวงดาว ปลายกลม มีรสเปรี้ยว ผลมะยมอ่อน มีสีเขียว ส่วนผลมะยมแก่ มีสีเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด ลักษณะแข็ง สีน้ำตาลอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของมะยม

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผลมะยมสด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 33 แคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.40  g  ไขมัน 0.40 กรัม โปรตีน 0.90 กรัม แคลเซียม 32 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.50 มิลลิกรัม  ฟอสฟอรัส 31 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 200 มิลลิกรัม โซเดียม  2 มิลลิกรัม วิตามินB1  0.10 มิลลิกรัม วิตามินB2 0.03 มิลลิกรัม วิตามินB6 0.02 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 28 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของมะยม

สำหรับมะยม สามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็น อาหาร และ เป็นนำมาใช้รักษาโรค บำรุงร่างกาย ผลมะยมสามารถนำมาทำอาหารแปรรูปได้หลากหลาย เช่น มะยมแช่อิ่ม มะยมดอง มะยมเชื่อม น้ำมะยม มะยมแยม มะยมกวน หรือนำมาใช้ทำเป็นน้ำส้มสายชู

สรรพคุณของมะยม

สำหรับการใช้ประโยชน์ของมะยมด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก เปลือก ใบ ดอก และ ผล โดยรายละเอียดของสรรพคุณของมะยม มีดังนี้

  • รากของมะยม มีรสจืด สรรพคุณรักษาผดผื่น รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับน้ำเหลือง ดับพิษเสมหะ แก้อาการคัน แก้หืดหอบ แก้อาการปวดหัว ลดไข้
  • เปลือกของต้นมะยม มีรสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู แก้ผดผื่นคัน
  • ใบของมะยม มีรสจืดและมัน สรรพคุณเป็นยาแก้ไอ บำรุงประสาท ขับเสมหะ รักษาอีสุกอีใส ลดไข้ ขับเหงื่อ รักษาเบาหวาน ช่วยกระตุ้นการทำงานของตับอ่อน ช่วยลดความดันโลหิต
  • ดอกของมะยม มีรสเปรี้ยวและฝาด สรรพคุณแก้โรคในตา
  • ผลของมะยม มีรสเปรี้ยว สรรพคุณขับเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ปวดกล้ามเนื้อ แก้ปวดหลัง ขับเหงื่อ แก้หลอดลมอักเสบ และ ขับปัสสาวะ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย ชะลอความเสื่อมของร่างกาย
  • กาฝากมะยม สรรพคุณช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ เป็นยาลดบุหรี่ ใช้เลิกบุหรี่

โทษของมะยม

  • มะยมมีรสเปรี้ยว มีความเป็นกรดสูง สำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหาร โรคกระเพาะอาหาร ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
  • น้ำยางจากเปลือกของรากมะยม มีคุณสมบัติเป็นพิษ มีสาร Phyllanthusols A และ สาร Phyllanthusols B หากรับประทานเข้าไป จะทำให้ปวดท้อง ปวดหัว และ มีอาการง่วงซึม

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove