ต้นหม่อน มัลเบอรรี่ พืชท้องถิ่น สมุนไพร สรรพคุณของหม่อน เช่น ลดไข้ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ต้นหม่อนเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของหม่อน โทษของหม่อนมีอะไรบ้างหม่อน มัลเบอรรี่ สมุนไพร ใบหม่อน

หม่อน หรือ มัลเบอร์รี่ ภาษาอังกฤษ เรียก Mulberry  ชื่อวิทยาศาสตร์ของหม่อน คือ  Morus alba Linn เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับขนุน สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของหม่อน คือ มอน ซึงเฮียะ ซึงเอียะ ซางเย่ เป็นต้น ต้นหม่อนในประเทศไทยนิยมนำมาใช้เลี้ยงตัวไหม สำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตเส้นไหม

ชนิดของหม่อน

ต้นหม่อน นั้นมี 2 ชนิด คือ ต้นหม่อนสำหรับใช้รับประทานผล เรียก Black Mulberry และ ต้นหมอนสำหรับนำมาเลี้ยงไหม เรียก White Mulberry

  • black mulberry ผลจะโตเป็นช่อ ,uสีดำ มีรสเปรี้ยวอมหวาน นิยมนำมารับประทานและทำอาหารแปรรูป เช่น แยม เป็นต้น
  • White Mulberry มีใบขนาดใหญ่ ใช้เป็นอาหารของตัวไหมได้ดี ส่วนผลสุกมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้ครับ แต่ไม่เป็นที่นิยม

หม่อน หรือ มัลเบอร์รี เป็นพืชที่มีอายุนานถึง 100 ปี หากไม่ถูกทำลายจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง หรือ ศัตรุพืช สามารถเจริญได้ดีตั้งแต่เขตอบอุ่นจนถึงเขตร้อน

ลักษณะของต้นหม่อน

ต้นหม่อน จัดเป็น พืชพื้นเมืองของประเทศจีน ทางตอนใต้ในแถบเทือกเขาหิมาลัย จากนั้นได้มีการนำเอามาเลี้ยงและกระจายพันธ์สู่ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้พุ่ม มีขนาดกลาง พบได้ทั่วไปในป่าดิบในประเทศไทยปลูกกันมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • ลำต้นหม่อน ลำต้นจะตั้งตรง ความสูงประมาณ 250 เซ็นติเมตร บางสายพันธุ์สามารถสูงถึง 700 เซ็นติเมตร เปลือกของลำต้นมีลักษณะ เรียบ มีสีน้ำตาลแดง หรือ สีขาวปนสีน้ำตาล หรือ สีเทาปนขาว
  • รากหม่อน มีเปลือกรากสีน้ำตาลแดง หรือ สีเหลือแดง มีเส้นร้อยแตกที่เปลือกผิว
  • ใบหม่อน มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ใบรูปทรงไข่ ปลายแหลมยาว โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบหยักเว้า
  • ดอกหม่อน จะดอกเป็นช่อ ตามซอกใบและปลายยอด ดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีขนาดเล็ก วงกลีบเป็นสีขาวหม่น ช่อดอกเป็นหางกระรอก ยาวได้ประมาณ 2 เซนติเมตร ขอบมีขน
  • ผลหม่อน เกิดจากช่อดอก ผลออกเป็นกระจุกเดียวกัน ออกตามซอกใบ ลักษณะของผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีสีเขียว ส่วนผลสุกเป็นสีม่วงแดง เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ และมีรสหวานอมเปรี้ยว

คุณค่าทางโภชนาการของหม่อน

ในใบหม่อนมีคุณค่าทางอาหารสูง ประกอบด้วย โปรตีน 22.60 % คาร์โบไฮเดรต 42.25 % และ ไขมัน 4.57 %  ยังมีกรดอะมิโน 18 ชนิด อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะแคลเซียมที่สูงเป็นพิเศษ มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น โพลีพีนอลรวม เควอซิติน เคม-เฟอรอล และรูติน

สรรพคุณของหม่อน

สำหรับหม่อนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ ลำต้น ใบ ผล และราก โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ใบหม่อน มีสรรพคุณ เป็นยาระงับประสาท ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยลดไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยขับลมร้อน ช่วยขับเหงื่อ แก้ไอ บำรุงสายตา แก้ริดสีดวงจมูก ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเลือด ใช้ทาแก้แมลงกัด ใช้รักษาแผลกดทับ
  • รากของหม่อน มีสรรพคุณมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยขับน้ำในปอด ช่วยขับพยาธิ ยาขับปัสสาวะ ช่วยลดอาการบวมน้ำที่ขา ช่วยแก้แขนขาหมดแรง
  • ผลของหม่อน มีสรรพคุณช่ยวบำรุงหัวใจ เป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ ช่วยดับร้อน ทำให้ชุ่มคอ ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้อาการท้องผูก ยาระบายอ่อน ๆ ช่วยบำรุงตับ ช่วยบำรุงไต แก้โรคปวดข้อ ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำ
  • กิ่งของหม่อน มีสรรพคุณ ช่วยทำให้เลือดลมไหลเวียนสะดวก ช่วยทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี ช่วยลดความร้อนในปอด ช่วยรักษาอาการปัสสาวะสีเหลือง
  • เมล็ดหม่อน มีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ ช่วยเพิ่มกากใยอาหาร

ประโยชน์ของใบหม่อน

  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ชื่อ Anthyocyanin ซึ่งเป็นสารสีม่วงแดง ช่วยป้องกัน โรคหัวใจ และป้องกันโรคมะเร็ง
  • มีวิตามินบี 6 ช่วยบำรุงเลือด บำรุงตับ บำรุงไต ลดการเกิดสิว ลดอาการปวดประจำเดือน
  • ป้องกันและยับยั้งการเกิดลิ่มเลือด ป้องกันเส้นเลือดแตก
  • มีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันโรคหวัด โรคภูมิแพ้ โรคปอด
  • มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันการเกิดต้อกระจก บำรุงเหงือกและฟัน สร้างภูมิให้ระบบหายใจ บำรุงผิว ลดการอักเสบของสิว
  • มีกรดโฟลิค หรือวิตามินเอ็ม ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันทารกพิการ ช่วยการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ หญิงแรกตั้งครรภ์เดือนแรกต้องการกรดโฟลิค
  • ช่วยแก้อาการเมาค้าง ผ่อนคลายความเครียด
  • ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำป้องกันผมหงอกก่อนวัย
  • ใช้แก้อาการเวียนศีรษะ หูอื้อ ใจสั่น นอนไม่หลับ เบาหวาน ท้องผูก

โทษของหม่อน

สำหรับข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากหม่อนและโทษของหม่อน มีดังนี้

  • ใบหม่อนสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยที่กำลังผ่าตัด ควรงดการกินใบหม่อน เพราะ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ มีผลเสียต่อการห้ามเลือด
  • ใบหม่อน สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต สำหรับผู้ป่วยภาวะความดันต่ำ ไม่ควรบริโภคหรือใช้ประโยชน์จากใบหม่อน

ต้นหม่อน มัลเบอรรี่ คือ พืชท้องถิ่น สมุนไพร สรรพคุณของหม่อน เช่น ลดไข้ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ลักษณะของต้นหม่อน เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของหม่อน โทษของหม่อน มีอะไรบ้าง

คื่นช่าย คื่นฉ่าย ขึ้นฉ่าย ( Celery ) สมุนไพรกลิ่นหอม ต้นคื่นฉ่ายเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยชะลอวัย บำรุงสมอง บำรุงกระดูก มีวิตามินหลายชนิด โทษของคื่นฉายผักสมุนไพร ขึ้นฉ่าย คื่นฉ่าย สมุนไพร

ต้นขึ้นฉ่าย เป็นผักที่ใบคล้ายกับผักชี แต่ใบใหญ่กว่าและมีกลิ่นฉุน ขึ้นฉ่าย ภาษาอังกฤษ Celery หลายคนเขียนว่า คื่นช่าย คื่นฉ่าย หรือ คึ่นไช่ ผักขึ้นฉ่ายมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Apium graveolens L. เป็นพืชตระกุลเดียวกับผักชี ชื่อเรียกอื่นๆของคื่นฉ่าย เช่น ผักข้าวปีน  ผักปืน ผักปิ๋ม เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของขึ้นฉ่าย

จากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของคื่นฉ่าย ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 67 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม น้ำตาล 1.4 กรัม การใยอาหาร 1.6 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม น้ำ 95 กรัม วิตามินเอ 22 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.021 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.057 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.323 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 36 ไมโครกรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม วิตามินเค 29.3 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 40 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.2 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 260 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 80 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของขึ้นฉ่าย

ต้นขึ้นฉ่าย ที่นิยมปลูกมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง และ ขึ้นฉ่ายจีน ซึ่งขึ้นฉ่ายฝรั่งลำต้นจะอวบใหญ่มากคื่นฉ่ายจีน ต้นขึ้นฉ่าย  เป็น พืชล้มลุก ลักษณะของต้นขึ้นฉ่ายมี ดังนี้

  • ลำต้นขึ้นฉ่าย ความสูงของต้นประมาณ 1 ฟุต ลำต้นมีลักษณะกลวง มีกลิ่นหอม อายุของขึ้นฉ่ายไม่เกิน 2 ปี
  • ใบของขึ้นฉ่าย ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก สีเขียวอมเหลือง ใบลักษณะเป็นรูปลิ่มหยัก ขอบใบหยักเป็นแฉก รูปสามเหลี่ยม หรือ รูปห้าเหลี่ยม มีก้านใบยาวแผ่ออกจากกาบใบ
  • ดอกของขึ้นฉ่าย ดอกมีขนาดเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อ
  • ผลของขึ้นฉ่าย มีลักษณะกลมรี สีน้ำตาล ขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม

สรรพคุณของขึ้นฉ่าย

การใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรของขึ้นฉ่าย นิยมรับประทานสดๆ หรือนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร ซึ่งสามารถสรุปประโยชน์ของการรับประทานคื่นฉ่าย มีดังนี้

  • ช่วยเจริญอาหาร และกระตุ้นความอยากกินอาหาร
  • ช่วยบำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยขยายตัวของหลอดเลือด และ ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
  • ช่วยปรับสมดุลของกรดและด่างในเลือด
  • ช่วยลดอาการอักเสบ
  • ช่วยให้นอนหลับสบาย กลิ่นหอมของคื่นฉ่ายช่วยให้ผ่อนคลาย
  • ช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์
  • ช่วยลดอาการของโรคหอบหืด
  • ช่วยล้างพิษในร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคซิลิโคซิส ( Silicosis ) โรคระบบทางเดินหายใจ ที่มีสาเหตุมาจากการสูดฝุ่นเข้าสู่ร่างกาย
  • ช่วยลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ระดับน้ำตาล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันในเส้นเลือด
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยขับลมในกระเพาะ
  • ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • ช่วยแก้ปัญหาสำหรับสตรีที่ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ แก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี
  • ช่วยบำรุงตับและไต
  • ช่วยรักษาโรคปวดข้อต่าง ๆ รวมถึงอาการปวดปลายประสาท ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • รักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้ลมพิษ ผดผื่นคันต่าง ๆ
  • ช่วยในการคุมกำเนิดเนื่องจากื่นแ่ายมีฤทธิ์ในการลดปริมาณการสร้างอสุจิในเพศชาย สามารถช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์ได้

ข้อควรระวังในการรับประทานผักขึ้นฉ่าย

  • เนื่องจากคื่นฉ่ายมี สรรพคุณในการลดปริมาณการสร้างอสุจิ สำหรับคนที่ต้องการมีบุตร ไม่ควรรับประทานมากเกินไป
  • คื่นฉ่ายเป็นผักที่มีกลิ่นแรง หากทานมากเกินไปอาจทำให้มีอาหารแพ้จนถึงขั้นรุนแรงได้
  • สารสกัดจากต้นคื่นฉ่าย มีสรรพคุณช่วยเร่งให้สีผิวเปลี่ยน เป็นสีน้ำตาลมากขึ้น
  • ผักคื่นฉ่าย หากนำมาปรุงให้สุกเกินไป ผักจะเละและสูญเสียสารอาหารสำคัญ

คื่นช่าย คื่นฉ่าย หรือ ขึ้นฉ่าย ( Celery ) ผักสมุนไพรกลิ่นหอม ประโยชน์ของขึ้นฉ่ายมีอะไรบ้าง พืชสวนครัว สรรพคุณของขึ้นฉ่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย บำรุงสมอง บำรุงกระดูก ผักขึ้นฉ่าย ประกอบด้วย วิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี และเบตาแคโรทีน เป็นต้น ช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร ดับกลิ่นคาวอาหาร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove