ฟักข้าว Baby Jackfruit มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมภูมิต้านทานโรค ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็ง ฟักข้าวสามารถแปรรูปได้หลากหลาย เช่น สบู่ฟักข้าว น้ำฟักข้าว

ฟักข้าว สรรพคุณของฟักข้าว สมุนไพร

ฟักข้าว ภาษาอังกฤษ เรียก Baby Jackfruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของฟักข้าว คือ Momordica cochinchinensis (Lour) Spreng. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของฟักข้าว เช่น มะข้าว ขี้กาเครือ พุกู้ต๊ะ ผักข้าว เป็นต้น ต้นฟักข้าว มีถิ่นกำเนิดในประเทศพม่า ไทย จีน ลาว เขมร บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย พบได้ทั่วไปในประเทศไทย สามารถรับประทานเป็นอาหารและผักสดได้

ประโยชน์ของฟักข้าว มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยในการชะลอวัย ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด ฟักข้าวมีเบตาแคโรทีนสูงกว่าแครอท 10 เท่า และมีไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า ประโยชน์ของฟักข้าวช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา โรคต้อกระจก ประสาทตาเสื่อม ตาบอดตอนกลางคืน ยอดฟักข้าวอ่อนใช้ทำเป็นอาหารก็อร่อย คล้ายกับยอดมะระ เมนูฟักข้าว เช่น แกงเลียง แกงส้ม ผัดไฟแดง คั่วแค ใช้ลวกหรือต้มกินกับน้ำพริก เป็นต้น ฟักข้าวสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น น้ำฟักข้าว ฟักข้าวแคปซูล สบู่ฟักข้าว เป็นต้น

ฟักข้าวในประเทศไทย

ประเทศไทยนิยมรับประทานลอ่อนฟักข้าวเป็นอาหาร เนื้อผลอ่อนฟักข้าวคล้ายมะละกอ นำมาลวก ต้ม จิ้มกับน้ำพริก หรือ ใส่แกง ยอดอ่อนฟักข้าว หรือ รับประทานเป็นผักสดได้ นอกจากนี้มีการศึกษาฟักข้าวในการวิจัยหลากหลาย พบว่า เยื่อหุ้มเมล็ดของผลสุกฟักข้าว มีประโยชน์ทางโภชนาการสูง เนื่องจากเป็นส่วนที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมภูมิต้านทานโรค ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และ โรคมะเร็ง ต่างๆได้ เช่น โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น

ลักษณะของต้นฟักข้าว

ต้นฟักข้าว เป็นพืชล้มลุก เป็นพืชชนิดเถาไม้เลื้อย ลักษณะคล้ายกับต้นตำลึง ชอบแสงแดด เลื้อยได้ทั้งบนพื้น บนต้นไม้ บนรั้ว สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธึ เช่น เพาะเมล็ด ปักชำ เป็นต้น

  • ลำต้นของฟักข้าว เป็นลักษณะเถา ไม้เลื้อย เป็นพืชล้มลุกอายุยืนยาว คล้ายต้นตำลึง เถาฟักข้าวจะเลื้อยได้ทั้งบนพื้นและตามพื้นที่ต่างๆ เนื้อลำต้นอ่อน ชุ่มน้ำ
  • ใบฟักข้าว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่ ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก มีสีเขียว
  • ดอกฟักข้าว ออกดอกเป็นช่อ ออกดอกตรงบริเวณข้อต่อระหว่างใบหรือตามซอกใบ คล้ายดอกตำลึง กลีบดอกสีขาวอมเหลือง
  • ผลฟักข้าว ลักษณะกลมรี เปลือกมีหนามอ่อนๆเล็กๆ ผลอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง ผลสุกสีแดงหรือสีส้มอมแดง เนื้อผลสุกจะเป็นสีเหลือง
  • เมล็ดฟักข้าว อยู่ภายในผลฟักข้าว เมล็ดสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดแตง

คุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าว

สำหรับการบริโภคฟักข้าวเป็นอาหารนิยมรับประทานผลฟักข้าวเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าวพบว่าฟักข้าวขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบดด้วย กากใยอาหาร 1 กรัม น้ำตาล 1.8 กรัม โปรตีน 0.98 กรัม มีวิตามินซี 0.04 มิลลิกรัม บีต้าแคโรทีน 91 มิลลิกรัม แคลเซียม 0.34 มิลลิกรัม ในฟักข้าวจะมีบีตาแคโรทีนมากกว่าแครอตถึง 10 เท่าตัว มีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศถึง 12 เท่าตัว

สรรพคุณของฟักข้าว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฟักข้าว ด้านกรบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราสามารถนำฟักข้าวมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ ใบ ราก ผล เมล็ด รายละเอียด ดังนี้

  • ใบของฟักข้าว เรานำมาใช้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานได้ ช่วยแก้ไข้ตัวร้อนได้ ใช้รักษาริดสีดวง แก้อาการปวดหลังได้ แก้กระดูกเดาะ ช่วยถอนพิษอักเสบ รักษาฝี รักษาหูด
  • รากของฟักข้าว เรานำมาใช้ ดื่มช่วยถอนพิษ ช่วยขับเสมหะ ช่วยลดไข้ แก้ปวดตามข้อ
  • ผลอ่อนของฟักข้าว ใช้ลดน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาโรคเบาหวาน
  • เมล็ดของฟักข้าว ใช้ในการ รักษาฝีในปอด รักษาท่อน้ำดีอุดตัน ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการอักเสบ รักษาอาการบวม รักษากลากเกลื้อน รักษาโรคผิวหนัง

โทษของฟักข้าว

เมล็ดดิบของฟักข้าวมีความเป็นพิษ รสขม หากรับประทานเข้าไป ทำให้อาเจียน และ เวียนหัว หากรับประทานมากเกินไป เป็นอันตรายถึงชีวิต

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

สะเดา Siamese neem tree พืชพื้นบ้าน สมุนไพร สรรพคุณช่วยดูแลช่องปาก ถ่ายพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง ลดความดันโลหิต ลดไข้ ไล่แมลง ช่วยเจริญอาหาร โทษของสะเดาเป็นอย่างไร

สะเดา พืชพื้นบ้าน สรรพคุณสะเดา

ต้นสะเดา ภาษาอังกฤษ เรียก Siamese neem tree. ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะเดา คือ Azadirachta indica A. Juss. Var. siamensis Veleton. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของสะเดา เช่น สะเลียม กะเดา จะตัง สะเดาบ้าน เดา กระเดา จะดัง จะตัง ผักสะเลม ลำต๋าว สะเรียม ตะหม่าเหมาะ ควินิน สะเดาอินเดีย ไม้เดา เป็นต้น สะเดาเป็นพืชท้องถิ่นในแถบประเทศพม่าและอินเดีย พบมากในป่าแล้งแถบประเทศปากีสถาน ศรีลังกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย

ต้นสะเดาในประเทศไทย

คนไทยเชื่อว่าต้นสะเดาเป็นไม้มงคล เชื่อกันว่าหากปลูกสะเดาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้านจะช่วยป้องกันโรคร้ายต่างๆ กิ่งและใบของสะเดาช่วยป้องกันภูตผีปีศาจได้ ต้นสะเดาเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดอุทัยธานี

สารสกัดสะเดาจากเมล็ดและใบ สามารถใช้ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น ด้วงเต๋า ตั๊กแตน เพลี้ยกระโดดสีเขียว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว มอดข้าวโพดผีเสื้อกิน มอดแป้ง แมลงหวี่ขาวยาสูบ แมลงวันผลไม้ ใบส้ม หนอนกอ หนอนกอสีครีม หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนใยกะหล่ำ หนอนใยผัก เป็นต้น สารสกัดจากสะเดาชื่อ อาซาดิเรซติน ( Azadirachtin ) ใช้เป็นส่วนผสมทำยาฆ่าแมลง ฉีดในสวนผักผลไม้ได้โดยไม่มีสารพิษตกค้าง ไม่เป็นอันตราย และไม่ทำลายศัตรูธรรมชาติ

ชนิดของสะเดา

สะเดาในประเทศไทยมี 3 ชนิดหลักๆ คือ สะเดาไทย(สะเดาบ้าน) สะเดาอินเดีย และ สะเดาช้าง ซึ่งรายละเอียด ดังนี้

  • สะเดาไทย หรือ สะเดาบ้าน มี 2 ชนิด คือ ชนิดขม และ ชนิดมัน ลักษณะของใบสะเดาชนิดนี้จะหยักเป็นฟันเลื่อย ปลายของฟันเลื่อยทู่ โคนใบเบี้ยวแต่กว้างกว่า ปลายใบแหลม
  • สะเดาอินเดีย ลักษณะของสะเดาชนิดนี้ ขอบใบเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย ปลายของฟันเลื่อยแหลม ปลายใบมีลักษณะแหลมเรียวแคบมาก ส่วนโคนใบเบี้ยว
  • สะเดาช้าง หรือ สะเดาเทียม สะเดาชนิดนี้ลักษณะขอบใบจะเรียบ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขนาดของใบใหญ่ และผลใหญ่

ลักษณะของต้นสะเดา

ต้นสะเดา เป็นไม้ยืนต้น ความสูงประมาณ 7 เมตร เนื้อไม้ มีสีแดงเข้มปนน้ำตาล เสี้ยนค่อนข้างสับสนเป็นริ้วๆ แคบ เนื้อหยาบเป็นมัน เลื่อม แข็งทนทาน แกนมีสีน้ำตาลแดง ลักษณะของต้นสะเดา มีดังนี้

  • ลำต้นสะเดา เป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบตลอดปี เปลือกไม้ค่อนข้างหนาแตกเป็นร่องตื้นๆ หรือเป็นสะเก็ดยาวๆ เยื้องสลับกัน สีน้ำตาลเทา เปลือกของกิ่งค่อนข้างเรียบ
  • ใบสะเดา ลักษณะใบ ขอบใบจะหยักเล็กน้อย สีเขียวเข้ม
  • ดอกสะเดา ลักษณะดอก ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว กลิ่นหอมอ่อนๆ
  • ผลและเมล็ดสะเดา ลักษณะคล้ายผลองุ่น ผลสุกสีเหลืองอมเขียว ลักษณะกลมรี รสหวานเล็กน้อย เมล็ดมีผิวค่อนข้างเรียบ ลักษณะกลมรี

การปลูกสะเดา สามารถปลูกได้ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และก่อนปลูกควรไถพรวนแปลงอีกรอบ และตากดินนาน 3-5 วัน วิธีการปลูก เตรียมต้นกล้าสำหรับปลูกที่มีอายุ 3-5 เดือน และมีความสูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร จากนั้นนำลงแปลงปลูก ขุดหลุมในระยะระหว่างหลุมประมาณ 3 เมตร ควรให้ขนานกับแนวของดวงอาทิตย์ในทิศตะวันออก-ตะวันตก เพื่อให้ต้นสะเดาสามารถรับแสงได้อย่างทั่วถึง

คุณค่าทางโภชนาการของสะเดา

สำหรับการรับประทานสะเดาเป็นอาหาร นิยมรับประทานยอดสะเดาเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของยอดสะเดา ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 76 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย น้ำ 77.9 กรัม แคลเซี่ยม 354 มิลลิกรัม โปรตีน 5.4 กรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 12.5 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 194 มิลลิกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 3611 ไมโครกรัม วิตามินบีสอง 0.07 มิลลิกรัม

นอกจากนี้ในสะเดาพบว่ามีสารสำคัญที่มีประโยชน์ เช่น ใบสะเดามี quercetin และสารพวก limonoid ได้แก่ nimbolide และ nimbic acid ในเมล็ดสะเดามี Azadirachtin ประมาณ 0.4-1% ในเปลือกต้นสะเดามีสาร nimbin และ desacetylnimbin

สรรพคุณทางสมุนไพรของสะเดา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสะเดา ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ เช่น ยอดอ่อน ขนอ่อน เปลือกต้น ก้ายใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล เมล็ด ซึ่งรายละเอียดสรรพคุณของสะเดา มีดังนี้

  • ดอกสะเดาและยอดอ่อนสะเดา สามารถใช้ แก้พิษโลหิต หยุดเลือดกำเดา รักษาริดสีดวงในลำคอ บำรุงธาตุ ช่วยขับลม
  • ขนอ่อนสะเดา สามารถใช้ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
  • เปลือกต้นสะเดา ใช้ลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องเดิน
  • ก้านใบสะเดา สามารถใช้ลดไข้ นำมาทำเป็นยารักษาโรคมาลาเรีย
  • กระพี้ สามารถใช้รักษาถุงน้ำดีอักเสบ
  • ยางของต้นสะเดา ใช้ในการดับพิษร้อน
  • แก่นสะเดา รักษาอาการแก้อาเจียน ช่วยขับเสมหะ
  • รากสะเดา สามารถนำมาใช้รักษาโรคผิวหนัง ขับเสมหะ
  • ใบสะเดา และผลสะเดา สามารถใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลง และบำรุงธาตุ
  • ผลของสะเดา จะมีรสขม นิยมนำมาใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เป็นยาระบาย รักษาโรคหัวใจเดินผิดปกติ
  • เปลือกของรากสะเดา จะมีรสฝาด ใช้ลดไข้ ทำให้อาเจียน และใช่รักษาโรคผิวหนัง
  • เมล็ดสะเดา สามารถนำมาสกัดน้ำมัน และสามารถใช้รักษาโรคผิวหนัง และทำเป็นยาฆ่าแมลง

โทษของสะเดา

สำหรับการใช้ประโยชน์ขากสะเดา มีข้อควรระวัง ดังนี้

  1. ห้ามบริโภคสะเดาในคนที่มีความดันต่ำ เนื่องจากสะเดามีฤทธ์ให้ความดันโลหิตต่ำลง
  2. สะเดา เป็น ยาเย็น มีรสขมอาจทำให้ท้องอืด เกิดลมในกระเพาะได้
  3. สำหรับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร การรับประทานสะเดาอาจทำให้เกิดการแท้งบุตรและทำให้ไม่มีน้ำนมได้
  4. สะเดาอาจเป็นอันตรายต่ออสุจิ รวมถึงลดโอกาสในการมีบุตรในทางอื่น ๆ ผู้ที่ต้องการมีบุตรจึงควรหลีกเลี่ยง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove