สมุนไพรรักษา โรคผิวหนัง - 300 สมุนไพรและโรคต่างๆ https://beezab.com เว็บสุขภาพ Tue, 12 Mar 2024 03:43:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.4.4 กระชาย โสมไทย สุดยอดสมุนไพร สรรพคุณหลากหลาย https://beezab.com/%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%a2/ Wed, 18 May 2022 05:35:04 +0000 https://beezab.com/?p=17760 กระชาย หรือ ขิงจีน Finger root สมุนไพร ฉายา โสมไทย สรรพคุณช่วยขับลม บำรุงหัวใจ ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหาร ทำความรู้จักกระชาย กระชาย ภาษาอังกฤษ เรียก Fingerroot ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ  Boesecnergia pandurata ( Roxb. ) Schltr. ส่วนชื่อเรียกอื่นๆของกระชาย เช่น ว่านพระอาทิตย์ กระแอน ระแอน ขิงทราย จี๊ปู ซีฟู เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ เป็นต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระชาย พบว่ามีสารอาหารสำคัญต่างๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และวิตามินหลายชนิด มีสรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ดี กระชาย เป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพรหลายตำรับ วงการแพทย์แผนไทยให้ฉายาว่าเป็น โสมไทย ลักษณะเด่นของกระชาย คือ เป็นพืชที่สะสมอาหารที่เหง้าอยู่ใต้ดิน กระชายมีลักษณะคล้ายกับรูปร่างมนุษย์เหมือนกับโสมเกาหลี ชนิดของกระชาย กระชายที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้ กระชายดำ ลักษณะเด่น คือ เนื้อกระชายมีสีดำ รสชาติเผ็ดร้อน กระชายแดง ลักษณะเด่นเนื้อกระชายสีเหลืองแกมส้ม คล้ายกับกระชายเหลือง กระชายเหลือง ลักษณะเด่นเนื้อกระชายเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาประกอบอาหาร ลักษณะของต้นกระชาย ต้นกระชาย เป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 1 เมตร ใบมีกลิ่นหอม สามารถขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ ชอบดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำได้ดี หรือ ดินเหนียว ลักษณะของต้นกระชาย มีดังนี้ เหง้ากระชาย ลักษณะมีเหง้าสั้นๆ เป็นหน่อรูปทรงกระบอกค่อนข้างยาว ผิวมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบกระชาย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบเป็นรูปรี โคนใบมนหรือแหลม ปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ  ก้านใบยาว ใบเป็นสีเขียว ดอกกระชาย ลักษณะดอกเป็นช่อ มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพู กลีบดอกเป็นรูปใบหอก ผลกระชาย ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่ สรรพคุณของกระชาย สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระชายด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก เหง้า และ ใบ ของกระชย โดยสรรพคุณของกระชาย มีดังนี้ เหง้าของกระชาย สรรพคุณแก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้บิด แก้โรคกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง

The post กระชาย โสมไทย สุดยอดสมุนไพร สรรพคุณหลากหลาย first appeared on 300 สมุนไพร และ โรค เรื่องสุขภาพน่ารู้มีอะไรบ้าง.

]]>
กระชาย หรือ ขิงจีน Finger root สมุนไพร ฉายา โสมไทย สรรพคุณช่วยขับลม บำรุงหัวใจ ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหาร ทำความรู้จักกระชาย

กระชาย ขิงจีน โสมไทย สมุนไพร

กระชาย ภาษาอังกฤษ เรียก Fingerroot ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ  Boesecnergia pandurata ( Roxb. ) Schltr. ส่วนชื่อเรียกอื่นๆของกระชาย เช่น ว่านพระอาทิตย์ กระแอน ระแอน ขิงทราย จี๊ปู ซีฟู เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ เป็นต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระชาย พบว่ามีสารอาหารสำคัญต่างๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และวิตามินหลายชนิด มีสรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ดี

กระชาย เป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพรหลายตำรับ วงการแพทย์แผนไทยให้ฉายาว่าเป็น โสมไทย ลักษณะเด่นของกระชาย คือ เป็นพืชที่สะสมอาหารที่เหง้าอยู่ใต้ดิน กระชายมีลักษณะคล้ายกับรูปร่างมนุษย์เหมือนกับโสมเกาหลี

ชนิดของกระชาย

กระชายที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายดำ ลักษณะเด่น คือ เนื้อกระชายมีสีดำ รสชาติเผ็ดร้อน
  • กระชายแดง ลักษณะเด่นเนื้อกระชายสีเหลืองแกมส้ม คล้ายกับกระชายเหลือง
  • กระชายเหลือง ลักษณะเด่นเนื้อกระชายเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาประกอบอาหาร

ลักษณะของต้นกระชาย

ต้นกระชาย เป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 1 เมตร ใบมีกลิ่นหอม สามารถขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ ชอบดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำได้ดี หรือ ดินเหนียว ลักษณะของต้นกระชาย มีดังนี้

  • เหง้ากระชาย ลักษณะมีเหง้าสั้นๆ เป็นหน่อรูปทรงกระบอกค่อนข้างยาว ผิวมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
  • ใบกระชาย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบเป็นรูปรี โคนใบมนหรือแหลม ปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ  ก้านใบยาว ใบเป็นสีเขียว
  • ดอกกระชาย ลักษณะดอกเป็นช่อ มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพู กลีบดอกเป็นรูปใบหอก
  • ผลกระชาย ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

สรรพคุณของกระชาย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระชายด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก เหง้า และ ใบ ของกระชย โดยสรรพคุณของกระชาย มีดังนี้

  • เหง้าของกระชาย สรรพคุณแก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้บิด แก้โรคกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก
  • ใบของกระชาย สรรพคุณบำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆได้

โทษของกระชาย

การใช้ประโยชน์จากกระชายมีข้อควรระวัง เพื่อความปลอดภัย จำเป็นต้องใช้อย่างถูกวิธีและใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โทษของกระชายมีรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายมีฤทธิ์ร้อน ไม่ควรกินกระชายจำนวนมาก อาจทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากได้
  • ผู้ป่วยเกี่ยวกับตับ ไม่ควรกินกระชายในประมาณมาก กระชายมีผลต่อการทำงานของตับ

กระชาย หรือ ขิงจีน ( Fingerroot ) ฉายา โสมไทย สรรพคุณหลากหลาย เช่น ช่วยขับลม บำรุงหัวใจ เพิ่มสมรถภาพทางเพศ ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยให้เจริญอาหาร

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

The post กระชาย โสมไทย สุดยอดสมุนไพร สรรพคุณหลากหลาย first appeared on 300 สมุนไพร และ โรค เรื่องสุขภาพน่ารู้มีอะไรบ้าง.

]]>
ฟักข้าว ผลไม้สารพัดประโยชน์ ช่วยชะลอวัย เบต่าแคโรทีนสูง https://beezab.com/%e0%b8%9f%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7/ Wed, 02 Mar 2022 03:48:03 +0000 https://beezab.com/?p=14405 ฟักข้าว Baby Jackfruit มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมภูมิต้านทานโรค ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็ง ฟักข้าวสามารถแปรรูปได้หลากหลาย เช่น สบู่ฟักข้าว น้ำฟักข้าว ฟักข้าว ภาษาอังกฤษ เรียก Baby Jackfruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของฟักข้าว คือ Momordica cochinchinensis (Lour) Spreng. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของฟักข้าว เช่น มะข้าว ขี้กาเครือ พุกู้ต๊ะ ผักข้าว เป็นต้น ต้นฟักข้าว มีถิ่นกำเนิดในประเทศพม่า ไทย จีน ลาว เขมร บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย พบได้ทั่วไปในประเทศไทย สามารถรับประทานเป็นอาหารและผักสดได้ ประโยชน์ของฟักข้าว มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยในการชะลอวัย ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด ฟักข้าวมีเบตาแคโรทีนสูงกว่าแครอท 10 เท่า และมีไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า ประโยชน์ของฟักข้าวช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา โรคต้อกระจก ประสาทตาเสื่อม ตาบอดตอนกลางคืน ยอดฟักข้าวอ่อนใช้ทำเป็นอาหารก็อร่อย คล้ายกับยอดมะระ เมนูฟักข้าว เช่น แกงเลียง แกงส้ม ผัดไฟแดง คั่วแค ใช้ลวกหรือต้มกินกับน้ำพริก เป็นต้น ฟักข้าวสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น น้ำฟักข้าว ฟักข้าวแคปซูล สบู่ฟักข้าว เป็นต้น ฟักข้าวในประเทศไทย ประเทศไทยนิยมรับประทานลอ่อนฟักข้าวเป็นอาหาร เนื้อผลอ่อนฟักข้าวคล้ายมะละกอ นำมาลวก ต้ม จิ้มกับน้ำพริก หรือ ใส่แกง ยอดอ่อนฟักข้าว หรือ รับประทานเป็นผักสดได้ นอกจากนี้มีการศึกษาฟักข้าวในการวิจัยหลากหลาย พบว่า เยื่อหุ้มเมล็ดของผลสุกฟักข้าว มีประโยชน์ทางโภชนาการสูง เนื่องจากเป็นส่วนที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมภูมิต้านทานโรค ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และ โรคมะเร็ง ต่างๆได้ เช่น โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น ลักษณะของต้นฟักข้าว ต้นฟักข้าว เป็นพืชล้มลุก เป็นพืชชนิดเถาไม้เลื้อย ลักษณะคล้ายกับต้นตำลึง ชอบแสงแดด เลื้อยได้ทั้งบนพื้น บนต้นไม้ บนรั้ว สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธึ เช่น เพาะเมล็ด ปักชำ เป็นต้น ลำต้นของฟักข้าว เป็นลักษณะเถา ไม้เลื้อย เป็นพืชล้มลุกอายุยืนยาว คล้ายต้นตำลึง เถาฟักข้าวจะเลื้อยได้ทั้งบนพื้นและตามพื้นที่ต่างๆ เนื้อลำต้นอ่อน ชุ่มน้ำ ใบฟักข้าว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่ ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก มีสีเขียว ดอกฟักข้าว ออกดอกเป็นช่อ ออกดอกตรงบริเวณข้อต่อระหว่างใบหรือตามซอกใบ คล้ายดอกตำลึง กลีบดอกสีขาวอมเหลือง

The post ฟักข้าว ผลไม้สารพัดประโยชน์ ช่วยชะลอวัย เบต่าแคโรทีนสูง first appeared on 300 สมุนไพร และ โรค เรื่องสุขภาพน่ารู้มีอะไรบ้าง.

]]>
ฟักข้าว Baby Jackfruit มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมภูมิต้านทานโรค ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็ง ฟักข้าวสามารถแปรรูปได้หลากหลาย เช่น สบู่ฟักข้าว น้ำฟักข้าว

ฟักข้าว สรรพคุณของฟักข้าว สมุนไพร

ฟักข้าว ภาษาอังกฤษ เรียก Baby Jackfruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของฟักข้าว คือ Momordica cochinchinensis (Lour) Spreng. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของฟักข้าว เช่น มะข้าว ขี้กาเครือ พุกู้ต๊ะ ผักข้าว เป็นต้น ต้นฟักข้าว มีถิ่นกำเนิดในประเทศพม่า ไทย จีน ลาว เขมร บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย พบได้ทั่วไปในประเทศไทย สามารถรับประทานเป็นอาหารและผักสดได้

ประโยชน์ของฟักข้าว มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยในการชะลอวัย ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด ฟักข้าวมีเบตาแคโรทีนสูงกว่าแครอท 10 เท่า และมีไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า ประโยชน์ของฟักข้าวช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา โรคต้อกระจก ประสาทตาเสื่อม ตาบอดตอนกลางคืน ยอดฟักข้าวอ่อนใช้ทำเป็นอาหารก็อร่อย คล้ายกับยอดมะระ เมนูฟักข้าว เช่น แกงเลียง แกงส้ม ผัดไฟแดง คั่วแค ใช้ลวกหรือต้มกินกับน้ำพริก เป็นต้น ฟักข้าวสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น น้ำฟักข้าว ฟักข้าวแคปซูล สบู่ฟักข้าว เป็นต้น

ฟักข้าวในประเทศไทย

ประเทศไทยนิยมรับประทานลอ่อนฟักข้าวเป็นอาหาร เนื้อผลอ่อนฟักข้าวคล้ายมะละกอ นำมาลวก ต้ม จิ้มกับน้ำพริก หรือ ใส่แกง ยอดอ่อนฟักข้าว หรือ รับประทานเป็นผักสดได้ นอกจากนี้มีการศึกษาฟักข้าวในการวิจัยหลากหลาย พบว่า เยื่อหุ้มเมล็ดของผลสุกฟักข้าว มีประโยชน์ทางโภชนาการสูง เนื่องจากเป็นส่วนที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมภูมิต้านทานโรค ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และ โรคมะเร็ง ต่างๆได้ เช่น โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น

ลักษณะของต้นฟักข้าว

ต้นฟักข้าว เป็นพืชล้มลุก เป็นพืชชนิดเถาไม้เลื้อย ลักษณะคล้ายกับต้นตำลึง ชอบแสงแดด เลื้อยได้ทั้งบนพื้น บนต้นไม้ บนรั้ว สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธึ เช่น เพาะเมล็ด ปักชำ เป็นต้น

  • ลำต้นของฟักข้าว เป็นลักษณะเถา ไม้เลื้อย เป็นพืชล้มลุกอายุยืนยาว คล้ายต้นตำลึง เถาฟักข้าวจะเลื้อยได้ทั้งบนพื้นและตามพื้นที่ต่างๆ เนื้อลำต้นอ่อน ชุ่มน้ำ
  • ใบฟักข้าว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่ ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก มีสีเขียว
  • ดอกฟักข้าว ออกดอกเป็นช่อ ออกดอกตรงบริเวณข้อต่อระหว่างใบหรือตามซอกใบ คล้ายดอกตำลึง กลีบดอกสีขาวอมเหลือง
  • ผลฟักข้าว ลักษณะกลมรี เปลือกมีหนามอ่อนๆเล็กๆ ผลอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง ผลสุกสีแดงหรือสีส้มอมแดง เนื้อผลสุกจะเป็นสีเหลือง
  • เมล็ดฟักข้าว อยู่ภายในผลฟักข้าว เมล็ดสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดแตง

คุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าว

สำหรับการบริโภคฟักข้าวเป็นอาหารนิยมรับประทานผลฟักข้าวเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าวพบว่าฟักข้าวขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบดด้วย กากใยอาหาร 1 กรัม น้ำตาล 1.8 กรัม โปรตีน 0.98 กรัม มีวิตามินซี 0.04 มิลลิกรัม บีต้าแคโรทีน 91 มิลลิกรัม แคลเซียม 0.34 มิลลิกรัม ในฟักข้าวจะมีบีตาแคโรทีนมากกว่าแครอตถึง 10 เท่าตัว มีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศถึง 12 เท่าตัว

สรรพคุณของฟักข้าว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฟักข้าว ด้านกรบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราสามารถนำฟักข้าวมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ ใบ ราก ผล เมล็ด รายละเอียด ดังนี้

  • ใบของฟักข้าว เรานำมาใช้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานได้ ช่วยแก้ไข้ตัวร้อนได้ ใช้รักษาริดสีดวง แก้อาการปวดหลังได้ แก้กระดูกเดาะ ช่วยถอนพิษอักเสบ รักษาฝี รักษาหูด
  • รากของฟักข้าว เรานำมาใช้ ดื่มช่วยถอนพิษ ช่วยขับเสมหะ ช่วยลดไข้ แก้ปวดตามข้อ
  • ผลอ่อนของฟักข้าว ใช้ลดน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาโรคเบาหวาน
  • เมล็ดของฟักข้าว ใช้ในการ รักษาฝีในปอด รักษาท่อน้ำดีอุดตัน ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการอักเสบ รักษาอาการบวม รักษากลากเกลื้อน รักษาโรคผิวหนัง

โทษของฟักข้าว

เมล็ดดิบของฟักข้าวมีความเป็นพิษ รสขม หากรับประทานเข้าไป ทำให้อาเจียน และ เวียนหัว หากรับประทานมากเกินไป เป็นอันตรายถึงชีวิต

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

The post ฟักข้าว ผลไม้สารพัดประโยชน์ ช่วยชะลอวัย เบต่าแคโรทีนสูง first appeared on 300 สมุนไพร และ โรค เรื่องสุขภาพน่ารู้มีอะไรบ้าง.

]]>
ผักกระเฉด ผักน้ำ สมุนไพร เป็นยาเย็น บำรุงสายตา https://beezab.com/%e0%b8%9c%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%89%e0%b8%94/ Wed, 23 Feb 2022 10:47:49 +0000 https://beezab.com/?p=14403 ผักกระเฉด Water mimosa ผักพื้นบ้าน นิยมกินเป็นอาหาร สรรพคุณของผักกระเฉด บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา ทำความรู้จักกับผักกระเฉดด้านสมุนไพรและการรักษาโรค ผักกระเฉด ภาษาอังกฤษ เรียก Water mimosa ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเฉด คือ Neptumia oleracea Lour. FL. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักกระเฉด เช่น ผักหละหนอง ผักหนอง ผักรู้นอน ผัดฉีด ผักกระเสด เป็นต้น ต้นกระเฉด เป็นน้ำพืชผัก เจริญเติมโตได้ในน้ำ มีรากแตกเป็นกระจุกตามข้อ ปล้องแก่มีนวมเหมือนฟองน้ำ เรียกว่า “ นมกระเฉด ” หุ้มอยู่ตามปล้องกระเฉด ซึ่งนมกระเฉดมีคุณสมบัติทำให้ต้นลอยน้ำ นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน กระเฉด เป็นพืชคลุมดินตระกูลเดียวกันกับผักบุ้ง พืชพื้นเมืองของไทย ผักกระเฉดในประเทศไทย ผักกระเฉด จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถหาซื้อได้ตามตลาดทั่วในในประเทศไทย อาหารไทยมีการนำเอาผักกระเฉดมาปรุงอาหารหลายชนิด เช่น ยำผักกระเฉด แกงส้ม ผัดผักกระเฉด ซึ่งพื้นที่สำหรับปลูกผักกระเฉดมากที่สุดของประเทศไทย คือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีเนื้อที่ประมาณ 1,500 ไร่  และ เนื้อที่ปลูกผักกระเฉดทั้งจังหวัดสมุทรปราการมี 2,500 ไร่ ลักษณะของต้นกระเฉด กระเฉด เป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกับผักบุ้ง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในน้ำ สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นกระเฉด มีดังนี้ รากผักกระเฉดเป็นรากฝอย แทงออกตามข้อจำนวนมาก โคนรากมีปมของเชื้อแบคทีเรียไรโซเบียมเหมือนรากของพืชตระกูลถั่วบนบก ลำต้นผักกระเฉด ลักษณะกลม และเรียวยาว เป็นปล้อง ภายในตัน ไม่เป็นรูกลวง แต่ละปล้องมีนวมหุ้มสีขาว ที่เรียกว่า “นม” โดยหุ้มปล้องเว้นช่วงที่เป็นข้อของปล้อง นมสีขาวนี้ทำหน้าที่ช่วยพยุงลำต้นผักกระเฉดให้ลอยน้ำได้ ใบผักกระเฉด เป็นใบประกอบ แทงออกบริเวณข้อของลำต้น มีก้านใบหลัก ใบเป็นรูปไข่ ขนาดเล็ก ใบอ่อนมีสีเขียวอมม่วง หลังจากนั้นค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเขียวสด ดอกผักกระเฉด ออกเป็นช่อ สีเหลือง คล้ายดอกกระถิน ผลของผักกระเฉด ผลเป็นฝักขนาดเล็ก ลักษณะแบนยาว ฝักยาวประมาณ 2.5 ซม. ภายในฝักมีเมล็ด 4-10 เมล็ด คุณค่าทางโภชนาการของผักกระเฉด สำหรับการรับประทานผักกระเฉดเป็นอาหาร นิยมรับประทานลำต้นและใบ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักกระเฉด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 29 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 6.4 กรัม ไขมัน 0.4 กรัม แคลเซียม 387 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7.0 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 5.3 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน

The post ผักกระเฉด ผักน้ำ สมุนไพร เป็นยาเย็น บำรุงสายตา first appeared on 300 สมุนไพร และ โรค เรื่องสุขภาพน่ารู้มีอะไรบ้าง.

]]>
ผักกระเฉด Water mimosa ผักพื้นบ้าน นิยมกินเป็นอาหาร สรรพคุณของผักกระเฉด บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา ทำความรู้จักกับผักกระเฉดด้านสมุนไพรและการรักษาโรค

ผักกระเฉด ผัก สมุนไพร สรรพคุณของกระเฉด

ผักกระเฉด ภาษาอังกฤษ เรียก Water mimosa ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเฉด คือ Neptumia oleracea Lour. FL. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักกระเฉด เช่น ผักหละหนอง ผักหนอง ผักรู้นอน ผัดฉีด ผักกระเสด เป็นต้น ต้นกระเฉด เป็นน้ำพืชผัก เจริญเติมโตได้ในน้ำ มีรากแตกเป็นกระจุกตามข้อ ปล้องแก่มีนวมเหมือนฟองน้ำ เรียกว่า “ นมกระเฉด ” หุ้มอยู่ตามปล้องกระเฉด ซึ่งนมกระเฉดมีคุณสมบัติทำให้ต้นลอยน้ำ นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน กระเฉด เป็นพืชคลุมดินตระกูลเดียวกันกับผักบุ้ง พืชพื้นเมืองของไทย

ผักกระเฉดในประเทศไทย

ผักกระเฉด จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถหาซื้อได้ตามตลาดทั่วในในประเทศไทย อาหารไทยมีการนำเอาผักกระเฉดมาปรุงอาหารหลายชนิด เช่น ยำผักกระเฉด แกงส้ม ผัดผักกระเฉด ซึ่งพื้นที่สำหรับปลูกผักกระเฉดมากที่สุดของประเทศไทย คือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีเนื้อที่ประมาณ 1,500 ไร่  และ เนื้อที่ปลูกผักกระเฉดทั้งจังหวัดสมุทรปราการมี 2,500 ไร่

ลักษณะของต้นกระเฉด

กระเฉด เป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกับผักบุ้ง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในน้ำ สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นกระเฉด มีดังนี้

  • รากผักกระเฉดเป็นรากฝอย แทงออกตามข้อจำนวนมาก โคนรากมีปมของเชื้อแบคทีเรียไรโซเบียมเหมือนรากของพืชตระกูลถั่วบนบก
  • ลำต้นผักกระเฉด ลักษณะกลม และเรียวยาว เป็นปล้อง ภายในตัน ไม่เป็นรูกลวง แต่ละปล้องมีนวมหุ้มสีขาว ที่เรียกว่า “นม” โดยหุ้มปล้องเว้นช่วงที่เป็นข้อของปล้อง นมสีขาวนี้ทำหน้าที่ช่วยพยุงลำต้นผักกระเฉดให้ลอยน้ำได้
  • ใบผักกระเฉด เป็นใบประกอบ แทงออกบริเวณข้อของลำต้น มีก้านใบหลัก ใบเป็นรูปไข่ ขนาดเล็ก ใบอ่อนมีสีเขียวอมม่วง หลังจากนั้นค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเขียวสด
  • ดอกผักกระเฉด ออกเป็นช่อ สีเหลือง คล้ายดอกกระถิน
  • ผลของผักกระเฉด ผลเป็นฝักขนาดเล็ก ลักษณะแบนยาว ฝักยาวประมาณ 2.5 ซม. ภายในฝักมีเมล็ด 4-10 เมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของผักกระเฉด

สำหรับการรับประทานผักกระเฉดเป็นอาหาร นิยมรับประทานลำต้นและใบ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักกระเฉด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 29 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 6.4 กรัม ไขมัน 0.4 กรัม แคลเซียม 387 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7.0 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 5.3 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 3,710 ไมโครกรัม ไทอะมีน 0.12 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.14 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.12 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม ไนอะซีน 3.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 22 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 1.8 กรัม

ผักกระเฉดมี มีวิตามินซีสูงมาก มีแคลเซียม และธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มร่างกายกันทำงานปรกติ ช่วยบำรุงระบบสืบพันธ์ บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันภาวะกระดูกพรุน ทำให้กล้ามเนื้อทำงานปรกติ บำรุงเลือด

สรรพคุณของผักกระเฉด

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักกระเฉดด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากทั้งต้นของผักกระเฉด สรรพคุณของผักกระเฉด มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างเป็นปกติ
  • ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงและช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
  • ช่วยเสริมสร้างกระบวนการเผาผลาญสารอาหารให้สร้างเป็นพลังงานให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก
  • ช่วยบำรุงร่างกายและดับพิษ
  • ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
  • เป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน
  • ช่วยลดไข้ ช่วยแก้พิษไข้
  • บรรเทาอาการปวดฟัน
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยขับลมในกระเพาะ
  • ช่วยรักษาโรคกามโรค
  • ช่วยแก้อาการปวดแสบปวดร้อน
  • ช่วยถอนพิษยาเบื่อยาเมา

โทษของผักกระเฉด

สำหรับการรับประทานผักกระเฉด มีคำแนะนำในการรับประทานผักกระเฉด ดังนี้

  • การนำผักกระเฉดมาทำอาหาร ควรทำให้สุกก่อน เพื่อ ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิ
  • ผักกระเฉดก่อนนำมาทำอาหาร ให้ล้างให้สะอาด เพื่อป้องกันพยาธิ และ ยาฆ่าแมลง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

The post ผักกระเฉด ผักน้ำ สมุนไพร เป็นยาเย็น บำรุงสายตา first appeared on 300 สมุนไพร และ โรค เรื่องสุขภาพน่ารู้มีอะไรบ้าง.

]]>
ฝรั่ง ผลไม้วิตามินซีสูง ทำความรู้จักประโยชน์ของฝรั่ง https://beezab.com/%e0%b8%9d%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%87/ Tue, 22 Feb 2022 10:32:28 +0000 https://beezab.com/?p=14400 ฝรั่ง Guava ผลไม้แสนอร่อย สรรพคุณของฝรั่ง กลิ่นปาก บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ รักษาแผลลักษณะของต้นฝรั่งเป็นอย่างไร ทำความรู้จักกับฝรั่ง ต้นฝรั่ง ภาษาอังกฤษ เรียก Guava ชื่อวิทยาศาสตร์ของฝรั่ง คือ psidium guajawa L สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของฝรั่ง เช่น จุ่มโป มะแกว มะกา มะมั่น มะปุ่น มะก้วย สีดา ชมพู่ เป็นต้น ฝรั่งมีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกากลาง คาดว่าเข้าสู่ประเทศไทยโดย พ่อค้าชาวโปรตุเกตและสเปน นำเข้ามา ซึ่งปัจจุบันฝรั่งได้รับความนิยมในการบริโภคสูงในประเทศ จัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศ ฝรั่งในปะเทศไทย ฝรั่งในประเทศไทย ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ผลฝรั่งได้รับความนิยมในการบริโภคผลสดสูง มีการปลูกต้นฝรั่งเพื่อใช้จำหน่ายเชิงพาณิชย์ ผลฝรั่งรสชาติดี ราคาไม่แพง วิตามินซีสูง นอกจากนั้นผลฝรั่งสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ เช่น น้ำฝรั่ง เยลลี่ฝรั่ง แยมฝรั่ง เป็นต้น ซึ่งแหล่งปลูกฝรั่งที่สำคัญของประเทศไทยอยู่ในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และ จังหวัดใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานคร ผลผลิตฝรั่งมีทั้งปี ลักษณะของต้นฝรั่ง ต้นฝรั่ง ไม้ยืนต้น สามารถปลูกได้ในทุกสภาพดิน ขยายพันธ์ได้ด้วยการตอนกิ่ง เพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นฝรั่ง มีดังนี้ ลำต้นฝรั่ง ลำต้นเป็นทรงพุ่ม ความสูงประมาณ 3 – 8 เมตร เปลือกต้นเรียบ มีเปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ใบของฝรั่ง เป็นใบเดี่ยว ยอดอ่อนมีขนสั้นๆ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-14 ซม. ดอกของฝรั่ง เป็นดอกเดี่ยวหรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลของฝรั่งจะมีสีเขียว ผลเป็นผลสด ผลดิบสีเขียว กินได้ เมื่อสุกเป็นสีเหลือง สายพันธ์ฝรั่ง พันธุ์ของฝรั่งที่นิยมกินสดๆ เป็นพันธุ์ฝรั่งที่นิยมปลูกเพื่อการค้า นั้น มี 5 พันธ์ ประกอบด้วย ฝรั่งเวียดนาม ฝรั่งกิมจู ฝรั่งกลมสาลี่ ฝรั่งแป้นสีทอง และ ฝรั่งไร้เมล็ด โดยรายละเอียด มีดังนี้ ฝรั่งเวียดนาม ลูกใหญ่กว่าฝรั่งพื้นบ้าน ถึง 2 – 3 เท่า ถูกนำเข้าจากเวียดนามมาปลูกที่อำเภอสามพรานเมื่อ พ.ศ. 2521–

The post ฝรั่ง ผลไม้วิตามินซีสูง ทำความรู้จักประโยชน์ของฝรั่ง first appeared on 300 สมุนไพร และ โรค เรื่องสุขภาพน่ารู้มีอะไรบ้าง.

]]>
ฝรั่ง Guava ผลไม้แสนอร่อย สรรพคุณของฝรั่ง กลิ่นปาก บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ รักษาแผลลักษณะของต้นฝรั่งเป็นอย่างไร ทำความรู้จักกับฝรั่ง

ฝรั่ง สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณฝรั่ง

ต้นฝรั่ง ภาษาอังกฤษ เรียก Guava ชื่อวิทยาศาสตร์ของฝรั่ง คือ psidium guajawa L สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของฝรั่ง เช่น จุ่มโป มะแกว มะกา มะมั่น มะปุ่น มะก้วย สีดา ชมพู่ เป็นต้น ฝรั่งมีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกากลาง คาดว่าเข้าสู่ประเทศไทยโดย พ่อค้าชาวโปรตุเกตและสเปน นำเข้ามา ซึ่งปัจจุบันฝรั่งได้รับความนิยมในการบริโภคสูงในประเทศ จัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศ

ฝรั่งในปะเทศไทย

ฝรั่งในประเทศไทย ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ผลฝรั่งได้รับความนิยมในการบริโภคผลสดสูง มีการปลูกต้นฝรั่งเพื่อใช้จำหน่ายเชิงพาณิชย์ ผลฝรั่งรสชาติดี ราคาไม่แพง วิตามินซีสูง นอกจากนั้นผลฝรั่งสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ เช่น น้ำฝรั่ง เยลลี่ฝรั่ง แยมฝรั่ง เป็นต้น ซึ่งแหล่งปลูกฝรั่งที่สำคัญของประเทศไทยอยู่ในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และ จังหวัดใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานคร ผลผลิตฝรั่งมีทั้งปี

ลักษณะของต้นฝรั่ง

ต้นฝรั่ง ไม้ยืนต้น สามารถปลูกได้ในทุกสภาพดิน ขยายพันธ์ได้ด้วยการตอนกิ่ง เพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นฝรั่ง มีดังนี้

  • ลำต้นฝรั่ง ลำต้นเป็นทรงพุ่ม ความสูงประมาณ 3 – 8 เมตร เปลือกต้นเรียบ มีเปลือกของลำต้นสีน้ำตาล
  • ใบของฝรั่ง เป็นใบเดี่ยว ยอดอ่อนมีขนสั้นๆ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-14 ซม.
  • ดอกของฝรั่ง เป็นดอกเดี่ยวหรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก
  • ผลของฝรั่งจะมีสีเขียว ผลเป็นผลสด ผลดิบสีเขียว กินได้ เมื่อสุกเป็นสีเหลือง

สายพันธ์ฝรั่ง

พันธุ์ของฝรั่งที่นิยมกินสดๆ เป็นพันธุ์ฝรั่งที่นิยมปลูกเพื่อการค้า นั้น มี 5 พันธ์ ประกอบด้วย ฝรั่งเวียดนาม ฝรั่งกิมจู ฝรั่งกลมสาลี่ ฝรั่งแป้นสีทอง และ ฝรั่งไร้เมล็ด โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ฝรั่งเวียดนาม ลูกใหญ่กว่าฝรั่งพื้นบ้าน ถึง 2 – 3 เท่า ถูกนำเข้าจากเวียดนามมาปลูกที่อำเภอสามพรานเมื่อ พ.ศ. 2521– 2523
  • ฝรั่งกิมจู เป็นฝรั่งไร้เมล็ด สีนวลสวย รสหวานกลมกล่อม กรอบ
  • ฝรั่งกลมสาลี่ เป็นพันธ์แรกๆที่นิยมปลูกกันมาก ต่อมามีพันธ์แป้นสีทองเข้ามา จึงปลูกน้อยลงเรื่อยๆ
  • ฝรั่งแป้นสีทอง ปลูกมากที่สุดในประเทศไทย ผลเมื่อโตเต็มที่จะขาว ฟู กรอบ เริ่มแรกปลูกที่อำเภอสามพราน ภายหลังได้แพร่กระจายไปทั่ว
  • ฝรั่งไร้เมล็ด ลักษณะลูกยาวๆ ไม่มีเมล็ด รสชาติด้อยกว่าฝรั่งแป้นสีทอง และกิมจู

คุณค่าทางโภชนาการของฝรั่ง

สำหรับการบริโภคฝรั่งนิยมรับประทานผลฝรั่งสด ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลฝรั่งขนาด 100 กรัม พบให้พลังงานมากถึง 51 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย วิตามิน B1 0.06 มิลลิกรัม วิตามิน B2 0.13 มิลลิกรัม วิตามิน C 160 มิลลิกรัม วิตามิน A 89 มิลลิกรัม แคลเซี่ยม 13 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 11 กรัม โปรตีน 0.90 กรัม เส้นใยอาหาร 6 กรัม ไขมัน 0.11 กรัม ความชื้น 80.70% และมีสารเพคตินเป็นจำนวนมาก

เพคติน ( pectin ) เป็น พอลิแซ็กคาไรด์ ( polysaccharide ) ประเภท heteropolysaccharide ซึ่งมีหน่วยย่อย คือ กรด กาแล็กทูโรนิก เมทิลการแล็กทูโรเนต และน้ำตาล ทำหน้าที่ยึดเกาะผนังเซลล์ของร่างกายให้แน่น

สรรพคุณของฝรั่ง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฝรั่งด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำฝรั่งมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ ใบ ผลและราก ซึ่งรายละเอียด สรรพคุณของฝรั่ง มีดังนี้

  • รากของฝรั่ง สามารถใช้ รักษาฝี รักษาแผลพุพอง แก้เลือดกำเดาไหล
  • ใบของฝรั่ง ใช้ในการ แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ท้องเดิน ใช้ห้ามเลือดในแผลสด ระงับกลิ่นปาก รักษาฝี เป็นยาล้างแผล ดูดหนอง และถอนพิษบาดแผล บรเทาอาการเหงือกบวม แก้พิษเรื้อรัง แก้ปวด
  • ผลอ่อนของฝรั่ง ใช้ในการแก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ท้องเดิน ระงับกลิ่นปาก รักษาอาการบิด รักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ
  • ผลสุก สามารถใช้เป็นยาระบายได้ดี

วิธีทำน้ำฝรั่ง

  1. เริ่มจากการคัดเเลือกผลฝรั่ง ที่สดๆ ก่อน การสังเกตุผลฝรั่งที่สด ดูจากผลฝรั่งแข็ง ไม่นุ่ม นำผลฝรั่งมาหั่นเป็นชิ้น เอาเมล็ดออก จากนั้นให้เตรียมน้ำเชื่อมโดย
  2. การเตรียมน้ำเชื่อม ให้นำน้ำสะอาดต้มสุก ใส่น้ำตาล และ เกลือลงไปต้ม ให้ได้รสชาติหวานแบบกลมกล่อม
  3. เมื่อเราได้น้ำเชื่อมและเนื้อฝรั่งแล้ว ก็เริ่ม โดยการ นำเนื้อฝรั่งมาใส่น้ำพอท่วมเนื้อฝรั่ง และ ปั่นให้ละเอียด เราจะได้น้ำฝรั่ง จากนั้น ให้ทำการกรองน้ำฝรั่ง เราจะได้น้ำสีเขียวของฝรั่ง
  4. นำน้ำฝรั่งมาปรุงรสกับน้ำเชื่อม ซึ่งขั้นตอนนี้ ความหวานของน้ำเชื่อมให้ใส่ได้ตามใจคนดื่มได้เลย
  5. จากนั้นให้นำน้ำฝรั่ง ที่เราปรุงรสเอาไว้แล้ว แช่เย็น เมื่อน้ำฝรั่งเย็นได้ที่ก็พร้อมสำหรับนำมาดื่มให้ความสดชื่นต่อร่างกาย

โทษของฝรั่ง

สำหรับการกินฝรั่ง หากบริโภคอย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ โดยข้อควรระวังในการบริโภคฝรั่ง มีรายละเอียด ดังนี้

  • การรับประทานเมล็ดของฝรั่ง อาจทำให้เมล็ดตกค้างในไส้ติ่ง ทำให้เกิดภาวะไส้ติ่งอักเสบได้
  • สตรีมีครรภ์หากรับประทานผลฝรั่งในปริมาณที่มาก อาจทำให้เกิดภาวะท้องอืดได้ง่าย ทำให้เป็นอันตรายต่อครรภ์
  • ผลฝรั่งอาจมีสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การนำฝรั่งมารับประทาน ควรทำความสะอาดอย่าให้มีสารตกค้างที่ผิวของผลฝรั่ง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

The post ฝรั่ง ผลไม้วิตามินซีสูง ทำความรู้จักประโยชน์ของฝรั่ง first appeared on 300 สมุนไพร และ โรค เรื่องสุขภาพน่ารู้มีอะไรบ้าง.

]]>
สะเดา พืชพื้นบ้าน สมุนไพร ใช้ทำยาไล่แมลงได้ https://beezab.com/%e0%b8%aa%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b2/ Mon, 21 Feb 2022 06:03:40 +0000 https://beezab.com/?p=14399 สะเดา Siamese neem tree พืชพื้นบ้าน สมุนไพร สรรพคุณช่วยดูแลช่องปาก ถ่ายพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง ลดความดันโลหิต ลดไข้ ไล่แมลง ช่วยเจริญอาหาร โทษของสะเดาเป็นอย่างไร ต้นสะเดา ภาษาอังกฤษ เรียก Siamese neem tree. ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะเดา คือ Azadirachta indica A. Juss. Var. siamensis Veleton. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของสะเดา เช่น สะเลียม กะเดา จะตัง สะเดาบ้าน เดา กระเดา จะดัง จะตัง ผักสะเลม ลำต๋าว สะเรียม ตะหม่าเหมาะ ควินิน สะเดาอินเดีย ไม้เดา เป็นต้น สะเดาเป็นพืชท้องถิ่นในแถบประเทศพม่าและอินเดีย พบมากในป่าแล้งแถบประเทศปากีสถาน ศรีลังกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ต้นสะเดาในประเทศไทย คนไทยเชื่อว่าต้นสะเดาเป็นไม้มงคล เชื่อกันว่าหากปลูกสะเดาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้านจะช่วยป้องกันโรคร้ายต่างๆ กิ่งและใบของสะเดาช่วยป้องกันภูตผีปีศาจได้ ต้นสะเดาเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดอุทัยธานี สารสกัดสะเดาจากเมล็ดและใบ สามารถใช้ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น ด้วงเต๋า ตั๊กแตน เพลี้ยกระโดดสีเขียว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว มอดข้าวโพดผีเสื้อกิน มอดแป้ง แมลงหวี่ขาวยาสูบ แมลงวันผลไม้ ใบส้ม หนอนกอ หนอนกอสีครีม หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนใยกะหล่ำ หนอนใยผัก เป็นต้น สารสกัดจากสะเดาชื่อ อาซาดิเรซติน ( Azadirachtin ) ใช้เป็นส่วนผสมทำยาฆ่าแมลง ฉีดในสวนผักผลไม้ได้โดยไม่มีสารพิษตกค้าง ไม่เป็นอันตราย และไม่ทำลายศัตรูธรรมชาติ ชนิดของสะเดา สะเดาในประเทศไทยมี 3 ชนิดหลักๆ คือ สะเดาไทย(สะเดาบ้าน) สะเดาอินเดีย และ สะเดาช้าง ซึ่งรายละเอียด ดังนี้ สะเดาไทย หรือ สะเดาบ้าน มี 2 ชนิด คือ ชนิดขม และ ชนิดมัน ลักษณะของใบสะเดาชนิดนี้จะหยักเป็นฟันเลื่อย ปลายของฟันเลื่อยทู่ โคนใบเบี้ยวแต่กว้างกว่า ปลายใบแหลม สะเดาอินเดีย ลักษณะของสะเดาชนิดนี้ ขอบใบเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย ปลายของฟันเลื่อยแหลม ปลายใบมีลักษณะแหลมเรียวแคบมาก ส่วนโคนใบเบี้ยว สะเดาช้าง หรือ สะเดาเทียม สะเดาชนิดนี้ลักษณะขอบใบจะเรียบ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขนาดของใบใหญ่ และผลใหญ่ ลักษณะของต้นสะเดา ต้นสะเดา เป็นไม้ยืนต้น

The post สะเดา พืชพื้นบ้าน สมุนไพร ใช้ทำยาไล่แมลงได้ first appeared on 300 สมุนไพร และ โรค เรื่องสุขภาพน่ารู้มีอะไรบ้าง.

]]>
สะเดา Siamese neem tree พืชพื้นบ้าน สมุนไพร สรรพคุณช่วยดูแลช่องปาก ถ่ายพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง ลดความดันโลหิต ลดไข้ ไล่แมลง ช่วยเจริญอาหาร โทษของสะเดาเป็นอย่างไร

สะเดา พืชพื้นบ้าน สรรพคุณสะเดา

ต้นสะเดา ภาษาอังกฤษ เรียก Siamese neem tree. ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะเดา คือ Azadirachta indica A. Juss. Var. siamensis Veleton. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของสะเดา เช่น สะเลียม กะเดา จะตัง สะเดาบ้าน เดา กระเดา จะดัง จะตัง ผักสะเลม ลำต๋าว สะเรียม ตะหม่าเหมาะ ควินิน สะเดาอินเดีย ไม้เดา เป็นต้น สะเดาเป็นพืชท้องถิ่นในแถบประเทศพม่าและอินเดีย พบมากในป่าแล้งแถบประเทศปากีสถาน ศรีลังกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย

ต้นสะเดาในประเทศไทย

คนไทยเชื่อว่าต้นสะเดาเป็นไม้มงคล เชื่อกันว่าหากปลูกสะเดาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้านจะช่วยป้องกันโรคร้ายต่างๆ กิ่งและใบของสะเดาช่วยป้องกันภูตผีปีศาจได้ ต้นสะเดาเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดอุทัยธานี

สารสกัดสะเดาจากเมล็ดและใบ สามารถใช้ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น ด้วงเต๋า ตั๊กแตน เพลี้ยกระโดดสีเขียว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว มอดข้าวโพดผีเสื้อกิน มอดแป้ง แมลงหวี่ขาวยาสูบ แมลงวันผลไม้ ใบส้ม หนอนกอ หนอนกอสีครีม หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนใยกะหล่ำ หนอนใยผัก เป็นต้น สารสกัดจากสะเดาชื่อ อาซาดิเรซติน ( Azadirachtin ) ใช้เป็นส่วนผสมทำยาฆ่าแมลง ฉีดในสวนผักผลไม้ได้โดยไม่มีสารพิษตกค้าง ไม่เป็นอันตราย และไม่ทำลายศัตรูธรรมชาติ

ชนิดของสะเดา

สะเดาในประเทศไทยมี 3 ชนิดหลักๆ คือ สะเดาไทย(สะเดาบ้าน) สะเดาอินเดีย และ สะเดาช้าง ซึ่งรายละเอียด ดังนี้

  • สะเดาไทย หรือ สะเดาบ้าน มี 2 ชนิด คือ ชนิดขม และ ชนิดมัน ลักษณะของใบสะเดาชนิดนี้จะหยักเป็นฟันเลื่อย ปลายของฟันเลื่อยทู่ โคนใบเบี้ยวแต่กว้างกว่า ปลายใบแหลม
  • สะเดาอินเดีย ลักษณะของสะเดาชนิดนี้ ขอบใบเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย ปลายของฟันเลื่อยแหลม ปลายใบมีลักษณะแหลมเรียวแคบมาก ส่วนโคนใบเบี้ยว
  • สะเดาช้าง หรือ สะเดาเทียม สะเดาชนิดนี้ลักษณะขอบใบจะเรียบ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขนาดของใบใหญ่ และผลใหญ่

ลักษณะของต้นสะเดา

ต้นสะเดา เป็นไม้ยืนต้น ความสูงประมาณ 7 เมตร เนื้อไม้ มีสีแดงเข้มปนน้ำตาล เสี้ยนค่อนข้างสับสนเป็นริ้วๆ แคบ เนื้อหยาบเป็นมัน เลื่อม แข็งทนทาน แกนมีสีน้ำตาลแดง ลักษณะของต้นสะเดา มีดังนี้

  • ลำต้นสะเดา เป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบตลอดปี เปลือกไม้ค่อนข้างหนาแตกเป็นร่องตื้นๆ หรือเป็นสะเก็ดยาวๆ เยื้องสลับกัน สีน้ำตาลเทา เปลือกของกิ่งค่อนข้างเรียบ
  • ใบสะเดา ลักษณะใบ ขอบใบจะหยักเล็กน้อย สีเขียวเข้ม
  • ดอกสะเดา ลักษณะดอก ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว กลิ่นหอมอ่อนๆ
  • ผลและเมล็ดสะเดา ลักษณะคล้ายผลองุ่น ผลสุกสีเหลืองอมเขียว ลักษณะกลมรี รสหวานเล็กน้อย เมล็ดมีผิวค่อนข้างเรียบ ลักษณะกลมรี

การปลูกสะเดา สามารถปลูกได้ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และก่อนปลูกควรไถพรวนแปลงอีกรอบ และตากดินนาน 3-5 วัน วิธีการปลูก เตรียมต้นกล้าสำหรับปลูกที่มีอายุ 3-5 เดือน และมีความสูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร จากนั้นนำลงแปลงปลูก ขุดหลุมในระยะระหว่างหลุมประมาณ 3 เมตร ควรให้ขนานกับแนวของดวงอาทิตย์ในทิศตะวันออก-ตะวันตก เพื่อให้ต้นสะเดาสามารถรับแสงได้อย่างทั่วถึง

คุณค่าทางโภชนาการของสะเดา

สำหรับการรับประทานสะเดาเป็นอาหาร นิยมรับประทานยอดสะเดาเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของยอดสะเดา ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 76 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย น้ำ 77.9 กรัม แคลเซี่ยม 354 มิลลิกรัม โปรตีน 5.4 กรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 12.5 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 194 มิลลิกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 3611 ไมโครกรัม วิตามินบีสอง 0.07 มิลลิกรัม

นอกจากนี้ในสะเดาพบว่ามีสารสำคัญที่มีประโยชน์ เช่น ใบสะเดามี quercetin และสารพวก limonoid ได้แก่ nimbolide และ nimbic acid ในเมล็ดสะเดามี Azadirachtin ประมาณ 0.4-1% ในเปลือกต้นสะเดามีสาร nimbin และ desacetylnimbin

สรรพคุณทางสมุนไพรของสะเดา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสะเดา ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ เช่น ยอดอ่อน ขนอ่อน เปลือกต้น ก้ายใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล เมล็ด ซึ่งรายละเอียดสรรพคุณของสะเดา มีดังนี้

  • ดอกสะเดาและยอดอ่อนสะเดา สามารถใช้ แก้พิษโลหิต หยุดเลือดกำเดา รักษาริดสีดวงในลำคอ บำรุงธาตุ ช่วยขับลม
  • ขนอ่อนสะเดา สามารถใช้ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
  • เปลือกต้นสะเดา ใช้ลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องเดิน
  • ก้านใบสะเดา สามารถใช้ลดไข้ นำมาทำเป็นยารักษาโรคมาลาเรีย
  • กระพี้ สามารถใช้รักษาถุงน้ำดีอักเสบ
  • ยางของต้นสะเดา ใช้ในการดับพิษร้อน
  • แก่นสะเดา รักษาอาการแก้อาเจียน ช่วยขับเสมหะ
  • รากสะเดา สามารถนำมาใช้รักษาโรคผิวหนัง ขับเสมหะ
  • ใบสะเดา และผลสะเดา สามารถใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลง และบำรุงธาตุ
  • ผลของสะเดา จะมีรสขม นิยมนำมาใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เป็นยาระบาย รักษาโรคหัวใจเดินผิดปกติ
  • เปลือกของรากสะเดา จะมีรสฝาด ใช้ลดไข้ ทำให้อาเจียน และใช่รักษาโรคผิวหนัง
  • เมล็ดสะเดา สามารถนำมาสกัดน้ำมัน และสามารถใช้รักษาโรคผิวหนัง และทำเป็นยาฆ่าแมลง

โทษของสะเดา

สำหรับการใช้ประโยชน์ขากสะเดา มีข้อควรระวัง ดังนี้

  1. ห้ามบริโภคสะเดาในคนที่มีความดันต่ำ เนื่องจากสะเดามีฤทธ์ให้ความดันโลหิตต่ำลง
  2. สะเดา เป็น ยาเย็น มีรสขมอาจทำให้ท้องอืด เกิดลมในกระเพาะได้
  3. สำหรับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร การรับประทานสะเดาอาจทำให้เกิดการแท้งบุตรและทำให้ไม่มีน้ำนมได้
  4. สะเดาอาจเป็นอันตรายต่ออสุจิ รวมถึงลดโอกาสในการมีบุตรในทางอื่น ๆ ผู้ที่ต้องการมีบุตรจึงควรหลีกเลี่ยง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

The post สะเดา พืชพื้นบ้าน สมุนไพร ใช้ทำยาไล่แมลงได้ first appeared on 300 สมุนไพร และ โรค เรื่องสุขภาพน่ารู้มีอะไรบ้าง.

]]>