ภาวะตับล้มเหลว ตับวาย ( Liver failure ) ตับไม่ทำงาน ทำให้อวัยวะอื่นผิดปรกติ มีน้ำในท้องมาก นอนไม่หลับ หลงลืมง่าย สาเหตุมีหลายปัจจัย การรักษาและป้องกันทำอย่างไรตับวาย ตับหล้มเหลว โรคตับ กินยาพาราเกินขนาด

อวัยวะที่มีความสำคัญมากอวัยวะหนึ่งของร่างกาย คือ ตับ ภาษาอังกฤษ เรียก Liver คำนี้มาจากภาษากรีก คือ Hepar หน้าที่หลักของตับ คือ กำจัดของเสียออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดี ช่วยให้เลือกแข็งตัว ช่วยสร้างฮอร์โมนบางชนิด เป็นแหล่งสะสมน้ำตาลที่สำคัญของร่างกาย ช่วยควบคุมระดับความดันเลือดของช่องท้อง และสร้างภูมิต้านทานโรคของร่างกาย การเกิดตับวาย นั้นสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย โดยอัตราการเกิดโรคเท่าๆกันทั้งในชายและหญิง สำหรับ ภาวะตับวาย สามารถแบ่งได้ เป็น 2 ลักษณะ ประกอบด้วย ตับวายแบบเฉียบพลัน และ ตับวายแบบเรื้อรัง โดยรายละเอียดมี ดังนี้

  • ตับวายแบบเฉียบพลัน ภาษาอังกฤษ เรียก Acute liver failure หรือ Fulminant hepatic failure มีคำย่อว่า FHF เป็นภาวะตับวายที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ผู้ป่วยมักไม่เคยมีโรคตับมาก่อน และ ตับทำงานอย่างปกติก่อนเกิดภาวะตับวายเฉียบพลัน อาการที่แสดงให้เห็นชัดเจน คือ มีอาการทางสมอง เช่น คลื่นไส้อาเจียน โดย ลักษณะของตับวายเฉียบพลันสามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ตับวายเร็วร้าย และ ตับวายกึ่งเร็วร้าย
  • ตับวายเรื้อรัง ภาษาอังกฤษ เรียก Chronic liver failure คือ มีอาการผิดปรกติทางระบบประสาทและสมอง จากการทำงานผิดปรกติของตับ เช่น การดื่มสุราระยะเวลานาน ป่วยเป็นโรคตับอักเสบบี หรือ กินยาพาราเกินขนาด เป็นต้น ลักษณะอาการที่พบ จะ คลื่นไส้ นานเกิน 6 เดือน ซึ่งการรักษาอาการตับวายแบบเรื้อรัง นั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุ และ อาการ  ซึ่งระยะเวลาในการรักษาก็จะต่างกันออกไป

สาเหตุของการเกิดภาวะตับวาย

สำหรับโรคตับวาย สามารถสรุปสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคตับวายได้ ดังนี้

  • เกิดจากการประสบอุบัตติเหตุ ทำให้เกิดการกระแทกอย่างรุนแรงที่ตับ ทำให้ตับสูญเสียการทำงานหรือเซลล์ตับบาดเจ็บ
  • เกิดจากเป็นโรคตับแข็ง
  • ภาวะพิษสุราเรื้อรัง
  • การติดเชื้อโรคที่ตับ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ
  • ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย เช่น การกินเห็ดพิษ กินสมุนไพรบางชนิด
  • กินอาหารที่มีพิษต่อร่างกาย เช่น อาหารที่ปนเปื้อนโลหะหนุก เช่น ตะกั่ว ทองแดง
  • กินยาเกินขนาด เช่น ยาพาราเซตามอล
  • การเสพยาเสพติดเกินขนาด
  • เกิดจากป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ หรือ มะเร็งแพร่กระจายสู่ตับ

อาการของภาวะตับวาย

สำหรับโรคตับวาย นี้ จะมีอาการเกิดขึ้นจากความผิดปรกติของการทำงานของตับส่งผลต่อการทำงานของร่างกายส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะระบบสมอง อาการที่จะเกิดขึ้น คือ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดท้องด้านขวาบน ตัวเหลืองตาเหลือง หลังจากนั้นอาการจะรุนแรงมากขึ้น  โดยอาการจะมีลักษณะตามนี้

  • มีน้ำในท้อง เกิดจากความดันเลือกในช่องท้องสูง ทำให้มีน้ำซึมจากหลอดเลือดเข้าสู่ช่องท้อง
  • เลือดออกง่าย หรือ มีลอยจ้ำห้อเลือด มีจุดแดงเล็กๆคล้ายในไข้เลือดออก เนื่องจากการทำงานหลักของตับ อย่างการทำให้เลือดแข็งตัวไม่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีอาการทางสมอง เนื่องจากตับทำหน้าที่ขับสารพิษ แต่เมื่อการทำงานผิดปรกติ ทำให้พิษเข้าสู่สมองและพิษเข้าไปทำลายเซลล์สมองโดยตรง เกิดภาวะสมองบวมได้ โดยอาการเริ่มต้นจะ นอนไม่หลับ หลงลืมง่าย ตัด สินใจไม่ได้ กระสับกระส่าย สับสน ต่อจากนั้น จะซึมลง
  • มีอาการของ ไตวายเฉียบพลัน โดยไม่เคยมีโรคไตมาก่อนจากไตขาดเลือด สา เหตุจากความดันในระบบไหลเวียนโลหิตของช่องท้องสูงขึ้น เช่น บวมทั้งตัว โดย เฉพาะขาและเท้า ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีปัสสาวะ สับสน ซึม ชัก และโคม่า
    หมดสติ โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด

การวินิจฉัยภาวะตับวาย

การวินิจฉัยนั้น แพทย์จะทำการซักประวัติ อาการ ประวัติการใช้ยา และพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ที่อยู่อาศัย อาชีพ อาหาร น้ำดื่ม จากนั้นต้องทำการตรวจร่างกาย การตรวจเลือด เพื่อดูการทำงานของตับและไต ดูภูมิต้านทานโรค ทำการอัลตร้าซาวน์ ดูภาพของตับ และต้องตัดชิ้นเนื้อจากตับเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาภาวะตับวาย

สำหรับการรักษาภาวะตับวาย นั้นต้องรักษาต้นเกตุของปัญหา คือ ตับไม่สามารถกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้ โดยจะพยายามกำจัดสารพิษออกจากร่างกายให้เร็วที่สุด รวมถึงการลดปริมาณสารพิษที่จะเข้าสู่ร่างกาย เช่น ลดอาหารประเภทโปรตีนเพื่อลดสารไนโตรเจน ซึ่งเป็นพิษต่อตับ เป็นต้น

การรักษาภาวะตับวาย จะต้องควบคุมอาหาร การรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย รวมถึงต้องการป้องกันการเกิดเลือดออก
ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับวาย ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ในรายที่ตับสูญเสียมาก ต้องรับการปลูกถ่ายตับ จะทำให้มีโอกาสรอดชีวิตได้

ผลข้างเคียงที่เกิดจากการเกิดภาวะตับวาย

โรคตับวาย เป็นภาวะความผิดปรกติของร่างกานที่มีความรุนแรงสูง สามารถทำให้ตายได้ โดยผลข้างเคียงของการเกิดโรคตับวาย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ระบบการแข็งตัวของเลือด ไม่ทำงาน ทำให้มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆอย่างรุนแรง
  • ทำให้ตัวเหลืองตาเหลือง
  • ทำให้ร่างกายตืดเชื้อง่าย เนื่องจากภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ
  • ทำให้สมองบวม
  • ทำให้มีน้ำในช่องท้องมากและจะเกิดการติดเชื้อตามมา

การป้องกันโรคตับวาย

สำหรับการป้องกันการเกิดภาวะตับวาย หรือ ภาวะตับล้มเหลวนั้น คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดที่จะทำให้เกิดการเป็นพิษต่อตับ โดยรายละเอียดดังนี้

  • ไม่กินยาเกินขนาด
  • ระวังเรื่องการรับประทานอาหาร ไม่ทานอาหารที่มีสารพิษเจือปน
  • ระวังการสัมผัสสารคัดหลั่งของคนที่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบ
  • ระวังเรื่องการใช้สารเคมีทุกชนิด โดยเฉพาะ ยาฆ่าหญ้า
  • งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้สะอาด
  • ไม่เสพยาเสพติด
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี

ภาวะตับล้มเหลว หรือ ตับวาย ( Liver failure ) ภาวะตับไม่ทำงาน ทำให้อวัยวะต่างๆทำงานผิดปรกติ มีน้ำในท้องมาก นอนไม่หลับ หลงลืมง่าย สาเหตุของโรคมีหลายปัจจัย การรักษาโรค และ การป้องกันต้องทำอย่างไร

โรคหิด ( Scabies ) ผิวหนังอักเสบจากตัวหิด ( Scabies mite )กัด อาการตุ่มนูนแข็ง สีแดงขนาดใหญ่ ติดทางเพศสัมพันธ์ได้ โรคหิด มี 2 ประเภท โรคหิคต้นแบบ โรคหิดนอร์เวย์โรคหิด ตัวหิด โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ

โรคหิด ( Scabies ) คือ ภาวะผิวหนังอักเสบ โดยสาเหตุเกิดจาก ตัวหิด ภาษาอังกฤษ เรียก Scabies mite เป็นสิ่งมีชิวิตชนิด ปรสิต  ( Parasite ) ตัวหิตจะต้องอาศัยอยู่บนตัวคน ใช้ชีวิตอยู่ที่ผิวหนังของคน อาหารของตัวหิด คือ เซลล์ผิวหนังของคน อาการสำคัญของโรคหิด คือ คันและมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง โรคหิดสามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสกับคนที่มีตัวหิดอาศัยอยู่ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย โรคหิด มี 2 ประเภท คือ โรคหิดต้นแบบ และ โรคหิดนอร์เวย์ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • โรคหิดต้นแบบ เรียกว่า Classic scabies การเป็นโรคหิดชนิดนี้เกิดจากการสัมผัสผิวหนังคนที่มีภาวะโรคหิดเป็นระยะเวลานาน เช่น การอยู่ในบ้านเดียวกัน นอนหลับด้วยกัน เป็นต้น จะพบว่ามีการติดมากในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี
  • โรคหิดนอร์เวย์ เรียกว่า Norwegian scabies หรือ Crusted scabies เป็นภาวะภูมิต้านทานโรคบกพร่อง หรือ เกิดจากการได้รับยากดภูมิต้านทาน โรคนี้เกิดครั้งแรกในประเทศนอร์เวย์ จึงถูกเรียกว่า หิดนอร์เวย์ กลุ่มคนที่มีโอกาสติดหิด คือ คนสูงอายุ คนขาดสารอาหาร ผู้ป่วยโรคมะเร็ง คนป่วยอัมพาต คนพิการที่สมอง เป็นต้น

โรคหิด โรคผิวหนัง โรคติดต่อ อาการคันมีผื่น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหิด

สำหรับปัจจัยการเกิดโรคหิด สามารถแยกสาเหตุของการเกิดหิดทั้ง 2 ประเภท ได้โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โรคหิดชนิดต้นแบบ การอยู่ใกล้ชิดและสัมผัสผิวหนังกับคนที่เป็นหิด โดยกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง คือ คนที่อยู่ในบ้านที่สกปรก เด็ก คนยากจน คนที่ทำงานในสถานพยาบาล บ้านพักคนชรา เรือนจำ ค่ายกักกัน รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์กับคนเป็นหิด นอกจากนี้ การใช้ของร่วมกัน เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ก็เป็นปัจจัยของการติดหิดชนิดต้นแบบ
  • โรคหิดนอร์เวย์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหิดชนิดนี้ คือ ความผิดปรกติของร่างกาย โดยเกิดจากภาวะภูมิกันต้านทานโรคบกพร่อง โดยคนที่มีปัจจัยเสียง คือ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและสมอง เป็นต้นช่วย

สาเหตุของการเกิดโรคหิด

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหิด เกิดจาด ตัวหิด จัดเป็นปรสิต ที่ต้องอาศัยอยู่บนร่างกายของมนุษย์ และกินเซลล์ผิวหนังของมนุษย์เป็นอาหาร ซึ่งเป็นโรคที่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ จากการสัมผัสผิวหนังของคนที่มีตัวหิดอาศัยอยู่ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย และหากหิดติดที่อวัยวะเพศจะมีตุ่มและผื่นคันที่อวัยวะเพศ

อาการของผู้ป่วยโรคหิด

ตัวหิดเมื่อเข้าสู่ผิวหนังของคน จะมีระยะเวลาในการฟักตัว ภายใน 45 วัน ซึ่งในช่วงแรกจะไม่แสดงอาการ และเมื่อแสดงอาการ จะเกิดปฏิกิริยาที่ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานของร่างกาย ตัวหิดจะหลั่งสารเคมีต่างๆ สารเคมีเหล่าจะทำให้เกิดอาการ โดยอาการจะแยกตามชนิดของโรค รายละเอียด ดังนี้

  • โรคหิดชนิดต้นแบบ จะมีอาการตุ่มนูน ลักษณะแข็ง มีสีแดงขนาดใหญ่ ขึ้นตามผิวหนัง เกิดที่รักแร้และขาหนีบ มีอาการคัน และจะคันมากในช่วงกลางคืน ตำแหน่งที่หิดมักจะอยู่ คือ ตามง่ามนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก รอบสะดือ ท้อง เอว ก้น อวัยวะเพศชาย และหัวนม
  • โรคหิดนอร์เวย์ อาการของโรคหิดชนิดนี้ ผู้ป่วยจะสูญเสียความรู้สึกของผิวหนัง ไม่แสดงอาการคัน ไม่มีรอยข่วน ไม่มีตุ่มนูนแดง ไม่มีตุ่มน้ำใสๆ ทำให้ไม่มีใครสังเกตเห็นว่าผู้ป่วยเป็นหิด เมื่อตัวหิดเพิ่มจำนวนมากขึ้น ผิวหนังชั้นบนของผู้ป่วย จะหนา และมีสะเก็ด เห็นชัดเจนที่ ข้อศอก ข้อเข่า ฝ่ามือ และฝ่าเท้า เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหิด

การเกิดโรคหิด เป็นเวลานาน หากไม่ทำการรักษาอย่างถูกวิธี ต้องระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยสิ่งที่ต้องระวัง คือ เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยบนผิวหนัง ทำผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลาย จนกลายเป็นโรคผิวหนังอื่นๆ เช่น ผิวหนังอักเสบ เนื้อเยื่ออักเสบ ฝีหนอง เป็นต้น

สำหรับโรคแทรกซ้อนจากโรคหิด เช่น โรคปอดอักเสบ โรคกรวยไตอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น

การรักษาโรคหิด

สำหรับการรักษาโรคหิด เนื่องจากปัญหาของโรคหิด เกิดจากตัวหิด ที่ทำให้ เกิดการอักเสบที่ผิวหนัง และ นำไปสู่การติดเชื้อ ซึ่งการรักษาโรคหิด มี 3 ลักษณะ คือ การกำจัดตัวหิด การรักษาอาการคัน และ การป้องกันการติดเชื้อ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การฆ่าตัวหิด การทำลายตัวหิด สามารถใช้ยาทา โดยจะต้องทายาให้ทั่วตัว ต้องทาทิ้งไว้ประมาณ 8-12 ชั่วโมง และใช้ยาทา ทาซ้ำอีกครั้งภายใน 10 วัน เพื่อกำจัดหิดตัวอ่อน แต่สำหรับโรคหิดชนิดนอร์เวย์ ต้องรักษาด้วยการใช้ยากิน เช่น Ivermectin  และใช้ยาทาร่วม
  • การรักษาอาการคัน ต้องรักษาด้วยการใช้ยากินแก้คัน หากผู้ป่วยมีตุ่มนูนแดง ต้องรักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์
  • การรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน โดยการให้ยาปฏิชีวนะ อาจให้เป็นยาทา ยากิน หรือยาฉีด ขึ้นกับความรุนแรงของโรค

ป้องกันการเกิดโรคหิด

การป้องกันโรคหิด ต้องป้องกันการแพร่กระจายของตัวหิด เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ โดยรายละเอียดของการป้องกันการเกิดโรคหิด มีดังนี้

  • งดการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีโรคหิด หรือ คนที่ไม่ใช่คู่นอนที่เป็นคู่ชีวิตของตน
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิด หรือ การสัมผัสคนที่เป็นโรคหิด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้ป่วยโรคหิด
  • ปรับสภาพสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ถูกสุขอนามัย
  • หากต้องสัมผัสผู้ป่วยโรคหิด ต้องใส่เครื่องป้องกัน

โรคหิด ( Scabies ) ผิวหนังอักเสบเกิดจากตัวหิด ( Scabies mite ) มีอาการตุ่มนูน ลักษณะแข็ง สีแดงขนาดใหญ่ตามผิวหนัง อาหารของตัวหิด คือ เซลล์ผิวหนังของคน ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์มี 2 ประเภท โรคหิคต้นแบบ โรคหิดนอร์เวย์


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove