ถุงน้ำดีอักเสบ อาการปวดท้อง ปวดตามชายโครงด้านขวาร้าวไปถึงสะบักข้างขวา หายใจลึกๆปวดมาก ปวดลามไปถึงกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไข้สูง อาเจียน ปัสสาวะเหลือง ตัวเหลืองถุงน้ำดีอักเสบ โรคตับ โรคไม่ติดต่อ โรคจากนิ่ว

ถุงน้ำดี ( Gallbladder ) เป็นอวัยวะที่ช่องท้องที่มีลักษณะเป็นถุงขนาดเล็กที่มีความจุประมาณ 35-50 มิลลิลิตร ซึ่งมีหน้าที่หลักในการเก็บสำรองน้ำดีที่สร้างจากตับและทำให้น้ำดีเข้มข้นขึ้น เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร (โดยเฉพาะอาหารไขมัน) โดยจะมีโครงสร้างที่ติดต่อกับตับซึ่งเป็นอวัยวะที่ผลิตน้ำดี และลำไส้เล็กตอนต้น ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการปล่อยน้ำดีออกสู่ทางเดินอาหาร

น้ำดี ของมนุษย์เกิดจากตับเป็นตัวสร้างน้ำดี และเก็บน้ำดีไว้ที่ถุงน้ำดี น้ำดีจะนำไปย่อยไขมันและย่อยอาหาร เมื่อน้ำดีในร่งกายลดลงจะก็ทำให้ เกิดนิ่ว ซึ่งพบว่ามีนิ่วอยู่ 2 ชนิด คือ นิ่วที่เกิดจาก cholesterol และ นิ่วที่เกิดจากเกลือ นิ่วในถุงน้ำดีสามารถหลุดและเข้าไปอุดทางเดินของน้ำดีได้ เป็นต้นเหตุทำให้ตัวเหลือง ตาเหลือง ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดถุงน้ำดีอักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดของโรคถุงน้ำดีอักเสบ จะเกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีและถุงน้ำดีอักเสบ โดยปัจจัยของการเกิดถุงน้ำดีอักเสบ ประกอบด้วย

  • เพศหญิง
  • การคุมกำเนิด
  • พันธุกรรม
  • เชื้อชาติ
  • ผู้สูงอายุ
  • อาหาร
  • ภาวะอ้วน
  • การลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว
  • การกินยาลดไขมันในเลือดบางชนิด
  • คอเลสเตอรอลในน้ำดีสูงขึ้น
  • การอักเสบเรื้อรังของถุงน้ำดี
  • โรคเบาหวาน
  • ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเรื้อรัง

สาเหตุของถุงน้ำดีอักเสบ

ถุงน้ำดีอักเสบ ( Cholecystitis ) เกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี นิ่วไปอุดตันทางเดินของน้ำดี และผนังของถุงน้ำดีหนาตัว โรคถุงน้ำดีอักเสบเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ สาเหตุจากนิ่วในถุงน้ำดี และสาเหตุที่ไม่ใช่มาจากนิ่วในถุงน้ำดี

  • สาเหตุจากนิ่วในถุงน้ำดี เป็นกรณีที่พบได้สูงประมาณ 90-95% อาจเกิดเนื่องจากก้อนนิ่วที่ไปอุดตันท่อน้ำดีจนส่งผลให้น้ำดีไหลออกจากถุงน้ำดีเข้าสู่ลำไส้ไม่ได้ ทำให้ถุงน้ำดีมีแรงดันเพิ่มขึ้นและมีการยืดขยายตัวมากขึ้นจนไปกดเบียดหลอดเลือดต่าง ๆ ที่หล่อเลี้ยงถุงน้ำดี ทำให้เยื่อบุผนังของถุงน้ำดีขาดเลือด เป็นผลให้เกิดการบาดเจ็บและเกิดการอักเสบขึ้นตามมา หรืออาจเกิดจากการระคายเคืองของสารเคมีบางชนิดอันเป็นผลมาจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในถุงน้ำดี หรือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้ออีโคไล ( E.coli ) เชื้อเคล็บซิลลา ( Klebsiella ) เชื้อสแตฟีโลค็อกคัส (Staphylococcus), เชื้อสเตรปโตค็อกคัส  ( Streptococcus ) เป็นต้น ทั้งนี้ ถ้าขาดเลือดมากขึ้นจะส่งผลทำให้เนื้อเยื่อถุงน้ำดีเน่าตายหรือเกิดการแตกทะลุของถุงน้ำดี ก่อให้การเกิดติดเชื้อรุนแรงในช่องท้องได้ด้วย
  • สาเหตุที่ไม่ใช่มาจากนิ่วในถุงน้ำดี เป็นกรณีที่พบได้เพียงส่วนน้อยประมาณ 5-10% โดยอาจเกิดจากถุงน้ำดีติดเชื้อแบคทีเรีย เกิดจากเนื้องอกของถุงน้ำดีหรือของท่อน้ำดี เกิดจากท่อน้ำดีตีบตันจากสาเหตุต่าง ๆ ที่ไม่ใช่จากนิ่ว เช่น โรคไทฟอยด์ ถุงน้ำดีได้รับอุบัติเหตุและเกิดการฉีกขาด นอกจากนี้ ยังอาจพบได้ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด มีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีการทำลายของเนื้อเยื่อจำนวนมาก ภาวะโลหิตเป็นพิษ หรือเจ็บป่วยหนัก เป็นต้น

อาการถุงน้ำดีอักเสบ

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง ปวดตามชายโครงด้านขวาและปวดร้าวไปถึงสะบักข้างขวา เวลาหายใจเข้าลึกๆ จะปวดมากขึ้น หลังจากนั้นอาการปวดท้องจะลามไปที่กล้ามเนื้อหน้าท้อง เมื่อกดจะเจ็บ มีไข้สูง คลื่นไส้ และอาเจียน ปัสสาวะเหลือง ตัวเหลือง

การรักษาอาการถุงน้ำดีอักเสบ

แพทย์จะให้น้ำเกลือ และยาแก้ปวด งดอาหารเพื่อให้ถุงน้ำดีได้พักการทำงาน และผ่าตัดถุงน้ำดี ผู้ป่วยเป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบ ต้องระวังโรคแทรกซ้อน จากถุงน้ำดีอักเสบ โรคแทรกซ้อนที่พบ เช่น  ภาวะโลหิตเป็นพิษ ถุงน้ำดีเป็นหนอง ถุงน้ำดีเน่า ตับอ่อนอักเสบ ช่องท้องอักเสบ

ป้องกันโรคถุงน้ำดีอักเสบ

สำหรับการป้องกันถุงน้ำดีอักเสบนั้น ไม่สามารถป้องกันได้อย่างเด็ดขาด แต่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงได้ โดยลดปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ของการเกิดโรคนิ่วในถุงน้ำดี ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ ปัจจัยเสี่ยง ซึ่งที่สำคัญ คือ

  • จำกัดการกินอาหารไขมัน
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
  • ป้องกัน รักษา ควบคุม โรคเบาหวาน
  • ป้องกัน รักษา ควบคุม โรคไขมันในเลือดสูง
  • เมื่อจะลดน้ำหนัก ควรต้องค่อยๆลดช้าๆ

โรคถุงน้ำดีอักเสบ สาเหตุเกิดจากนิ่ว ทำให้ปวดท้อง ปวดตามชายโครงด้านขวาและปวดร้าวไปถึงสะบักข้างขวา เวลาหายใจเข้าลึกๆจะปวดมากขึ้น ปวดท้องจะลามไปที่กล้ามเนื้อหน้าท้อง มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะเหลือง ตัวเหลือง ที่ถุงน้ำดี การให้ยาปฏิชีวนะเป็นวิธีรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบ หากอาการหนักจำเป็นต้องตัดถุงน้ำดีทิ้งเพื่อรักษาชีวิต

โลหิตเป็นพิษ ( Sepsis ) ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด เลือดมีความเป็นพิษ ทำให้อักเสบทั่วร่างกาย มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดตัว คลื่นไส้ อ่อนแรง โรคร้ายแรงต้องรีบรักษาโลหิตเป็นพิษ ติดเชื้อในกระแสเลือด โรคเลือด

ภาวะโลหิตเป็นพิษ หมายถึง การที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายติดเชื้อ หรือ สารพิษ ทำให้เกิดการอักเสบตามร่างกาย ซึ่งทำให้อวัยวะต่างๆของร่างกายเสียหาย ทำให้ความสามารถในการไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของเลือดลดลง  ส่งผลทำให้อาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อลดลง รุนแรงความดันโลหิตจะต่ำ ซึ่งอันตรายมาก

โลหิตที่เป็นพิษ ทำให้เกิดการอักเสบตามร่างกาย ทำให้อวัยวะต่างๆของร่างกายเสียหาย ส่งผลทำให้อาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อลดลง รุนแรงความดันโลหิตจะต่ำ ซึ่งอันตรายต่อชีวิต

สาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือด

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือด เราสามารถแบ่งสาเหตุตามอวัยวะที่ติดเชื้อ ได้ดังนี้

  • การติดเชื้อที่ช่องท้อง ได้แก่ ไส้ติงอักเสบ ไส้ติ่งแตก ลำไส้ทะลุ ถุงน้ำดีอักเสบ ช่องท้องอักเสบหรือเป็นหนอง  ลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น
  • การติดเชื้อที่ระบบประสาท ได้แก่ ไขสันหลังอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • การติดเชื้อที่ระบบหายใจได้แก่ ไซนัสอักเสบ ปอดบวม
  • การติดเชื้อที่ผิวหนัง ได้แก่ แผลติดเชื้อ หนองที่ผิวหนัง แผลเบาหวาน ฝี ผื่นแพ้ที่มี
  • การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ กรวยไตอักเสบ

ปัจจัยที่สุงผลให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด มีหลายสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อสุ่กระแสเลือด ซึ่งจำแนกได้ ดังนี้

  • ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันภายในร่างกายอ่อนแอ เช่น ผู้ที่ป่วยโรคเอดส์ ผู้เป็นมะเร็ง
  • การรับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ผู้ที่รับประทานยา steroid เรื้อรัง เป็นต้น
  • ทารก ซึ่งเด็กยังไม่มีภูมคุ้มกันในร่างกายมากนัก
  • ผู้สูงอายุ ซึ่งร่ายกายเริ่มเสื่อมลงตามอายุไข
  • ผู้ป่วยที่ต้องใส่สายต่างๆเข้าร่ายกาย เช่น สายสวนปัสสาวะ สายสำหรับป้อนอาหาร ท่อช่วยหายใจ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • คนที่มีแผลตามผิวหนัง เช่น แพ้ยา หรือน้ำร้อนลวก

อาการของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสโลหิต จะมีอาการปวดตามอวัยวะที่ติดเชื้อ มีไข้สูง หนาวสั่น หายใจหอบ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ซึม ปัสสาวะได้น้อย ที่ผิวจะอุ่นและมีสีแดง ตัวซีด ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว

การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด

สำหรับแนวทางการรักษาภาวะติดเชือในกระแสเลือด แบ่งออกเป็น 3 แนวทางรักษาหลักๆ ได้แก่ การรักษาโดยการให้ยา การรักษาโดยการจัดการที่ต้นเหตุ และ การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการ เริ่มจากการตรวจเลือด เพื่อหาเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ จากนั้นใช้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งแนวทางการรักษา มีดังนี้

  • การให้ยาปฏิชีว สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าเป็นเชื้อโรคชนิดใด
  • กำจัดต้นเหตุของการติดเชื้อ เช่น หากผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะอยู่ แล้วมีการติดเชื้อที่กรวยไต ก็ต้องนำสายสวนปัสสาวะออก เปลี่ยนเส้นใหม่ เป็นต้น
  • ให้ออกซิเจนและการเพิ่มความดันโลหิต โดยประเมินจากระดับ lactate ในเลือดให้ต่ำกว่า 4
  • ให้น้ำอย่างเพียงพอ เพื่อให้ความดันเลือดอยู่ภาวะปรกติ
  • เติมเลือดเข้าไปในร่างกาย
  • ใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ให้ยาลดกรด

การรักษาอาการโลหิตเป็นพิษ

  • การให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยจะต้องให้ให้เร็วที่สุดก่อนที่ผลเพาะเชื้อจะออก แพทย์จะเริ่มให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดโดยครอบคลุมเชื้อที่น่าจะเป็นสาเหตุ โดยพิจารณาจากอายุ โรคประจำตัวของผู้ป่วย แหล่งต้นเหตุของการติดเชื้อ รวมทั้งพิจารณาว่าเป็นการได้รับเชื้อจากภายในโรงพยาบาล หรือจากภายนอกโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อผลการเพาะเชื้อสามารถระบุชนิดเชื้อ และความไวของเชื้อต่อชนิดยาปฏิชีวนะได้แล้ว แพทย์ก็จะเปลี่ยนชนิดยาให้เหมาะสมต่อไป
  • การกำจัดต้นเหตุที่มีการติดเชื้อ และทำให้เกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เช่น หากผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะอยู่ แล้วมีการติดเชื้อที่กรวยไต ก็ต้องนำสายสวนปัสสาวะออก ถ้าจำเป็นต้องใส่ ก็ต้องเปลี่ยนเส้นใหม่ หรือหากมีการติดเชื้ออักเสบเป็นหนองในบริเวณไหน ก็ต้องเจาะระบายเอาหนองออก เป็นต้น
  • การให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอโดยการให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ การเพิ่มความดันโลหิตโดยประเมินจากระดับ lactate ในเลือดให้ต่ำกว่า 4
  • การให้สารน้ำอย่างเพียงพอ เมื่อได้สารน้ำอย่างเพียงพอแล้วหากความดันโลหิตไม่เพิ่มจะต้องได้รับยาเพิ่มความดันโลหิต
  • การเติมเลือดในกรณีที่ความเข็มของเลือดต่ำกว่า 30
  • การควบคุมเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงปรกติ
  • การใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • การรักษาประคับประคอง ได้แก่ การให้ยาลดไข้ ให้ยาลดกรดป้องกันภาวะเลือดออกจากความเครียด

การป้องกันติดเชื้อในกระแสเลือด

สำหรับโรคนี้แนวทางการป้องกันโรค คือ การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อในทุกช่องทาง แนวทางการป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือด มีดังนี้

  • พยายามดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

โลหิตเป็นพิษ ( Sepsis ) ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด เลือดมีเชื้อโรคมีความเป็นพิษต่ออวัยวะต่างๆ ทำให้ร่างกายอักเสบทั่วร่างกาย อาการมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดทั่วร่างกาย ต้องหาสาเหตุของเชื้อโรค เพื่อรักษา โรคร้ายแรง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove