โรคไทรอยด์ ( Thyroid gland ) ภาวะต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไป ส่งผลให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เหงื่อออกง่าย หงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น

ไทรอยด์เป็นพิษ โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

ไทยรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ของร่างกายมนุษย์ ซึ่งต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่หลักคือ ผลิตฮอร์โมน ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ จึงหมายถึง ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนผิดปกติ และการขาดไอโอดีน หรือการมีไอโอดีนในร่างกายมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดโรคกับต่อมไทรอยด์ได้

ไทรอยด์เป็นพิษ ( Hyperthyroidism , Overactive Thyroid ) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย และหงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะส่งผลให้ระบบในร่างกายทั้งหมดผิดปรกติ ซึ่งระบบประสาทจะไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้

ความผิดปรกติของไทรอยด์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ

  1. ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน เป็น ภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมามากเกินความจำเป็น  ส่งผลให้หัวใจเต้นแรง ใจสั่น นอนไม่หลับ และน้ำหนักตัวลด ทำให้มีอารมณ์แปรปรวนบ่อย
  2. ฮอร์โมนไทรอยด์ขาด (Hypothyroidism) เป็นภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมาน้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง รู้สึกหนาว ระบบความจำเสื่อม ตัวบวม ท้องผูก ถ้าเกิดกับเด็กจะทำให้ตัวการเจริญเติบโตของเด็กไม่ดี ตัวจะแคระแกรน
  3. ฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ เป็นภาวะที่ฮอร์โมนของร่างกายหลั่งออกมาปกติ แต่มีความผิดปกติที่ตรงต่อมไทรอยด์

สาเหตุของการเกิดไทรอยด์เป็นพิษ

สาเหตุของโรคไทรอยด์เป็นพิษนั้นเกิดขึ้นจาก การทำงานมากกว่าปรกติของต่อมไทรอยด์ จนทำให้ร่างกายมีปริมาณของฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าความต้องการของร่างกาย สามารถแยกสาเหตุได้ 3 สาเหตุหลัก ๆ ประกอบด้วย

  • การรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนมากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์
  • การอักเสบของต่อมไทรอยด์ การอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุของต่อมไทรอยด์สามารถส่งผลต่อการทำงานของของต่อมไทรอยด์ได้ โดยการอักเสบของต่อมไทรอยด์จะทำให้ฮอรโมนไทรอยด์ถูกผลิตออกมามากขึ้น และทำให้ฮอร์โมนรั่วไหลออกไปที่กระแสเลือด ทั้งนี้การอักเสบของต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ ยกเว้นอาการไทรอยด์อักเสบแบบกึ่งเฉียบพลันที่เกิดขึ้นได้น้อย สามารถส่งผลให้เกิดอาการเจ็บได้
  • เนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ เป็นกรณีที่พบได้น้อย เนื้องอกที่เกิดบริเวณไทรอยด์ และเนื้องอกที่เกิดบริเวณต่อมใต้สมอง อาจส่งผลให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษได้
  • การได้รับการเสริมฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ยาที่มีส่วนประกอบของไอโอดีนบางชนิด เช่น ยาอะไมโอดาโรน (Amiodarone) ที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษ

อาการของโรคไทยรอยด์

สำหรับอาการของโรคไทรอยด์เป็นพิษ นั้น ผู้ป่วยจะมีความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปรกติ ทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย ใจสั่น ในผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ระบบการเผาผลาญ ของร่างกายถูกกระตุ้น ทำให้น้ำหนักตัวลดลง นอนไม่หลับ ท้องเสียง่าย เนื่องจากระบบทางเดินอาหารถูกกระตุ้นให้ทำงาน ตาโปนเยื่อหลังนัยน์ตาขยาย ในผู้หญิงอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน ซึ่งสามารถสรุปอาการของโรคเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้ ดังนี้

  • อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว
  • นอนหลับยาก
  • มีปัญหาสายตา เช่น ตาโปน เห็นภาพซ้อน เป็นต้น
  • สุขภาพผมเปลี่ยนไป ผมเปราะบางขาดง่าย และมีอาการผมร่วง
  • ผู้หญิงมีรอบเดือนผิดปกติ ประจำเดือนมีสีจางและมาไม่สม่ำเสมอ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะบริเวณต้นขาและต้นแขน
  • เล็บยาวเร็วผิดปกติ
  • หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้ง/นาที โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
  • มือสั่นตลอดเวลา
  • มีอาการคัน
  • เหงื่อออกมาก
  • ผิวหนังบาง
  • น้ำหนักลด แต่มีความอยากอาหารมากขึ้น
  • อาจพบเต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นในเพศชาย

มะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid carcinoma) มีทั้งชนิดรุนแรงและไม่รุนแรง จะพบมากในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แต่พบว่าผู้ชายจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าผู้หญิง

การรักษาโรคไทรอยด์

โรคของต่อมไทรอยด์สามารถรักษาได้อย่างไร เมื่อเราพบว่าร่างกายมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน สามารถทำการรักษาได้โดย กินยาลดการทำงานของต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือ การกินน้ำแร่รังสีไอโอดีน
เมื่อเราพบว่าร่างกายเป็นภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป สามารถรักษาได้โดย การกินยาไทรอยด์เพิ่มระดับฮอร์โมน และให้ยาขับน้ำ เพื่อลดการบวมของร่างกาย
หากพบว่าเป็นมะเร็งต่อมไทยรอยด์ จะต้องทำการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ และกินยาน้ำแร่รังสีไอโอดีน รวมถึงฉายรังสีรักษา

การดูแลตนเองเมื่อเป็นไทยรอยด์

เมื่อมีอาการผิดปกติดังกล่าวหรือสังเกตเห็นมีก้อนเนื้อผิดปกติในบริเวณต่อมไทรอยด์ และ/หรือลำคอ ควรรีบพบแพทย์เสมอภายใน 1 – 2 สัปดาห์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้การรักษาได้ผลดีกว่า ใช้เวลารักษาและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาน้อยกว่าการรักษาในระยะที่เป็นโรคเรื้อรังหรือเป็นโรคมะเร็งในระยะลุกลาม

ป้องกันไม่ให้เกิดโรคของต่อมไทรอยด์

การป้องกันโรคไทยรอยด์ในทางการแพทย์นั้น โรคต่อมไทรอยด์ ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคคอพอก ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการขาดสารไอโอดีน ดังนั้น การป้องกันโรคไทรอยด์ เราต้อง รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของ ไอโอดีนในปริมาณที่เหมาะสม โดยอาหารที่มีสารไอโอดีย เช่น อาหารทะเล เกลือทะเล นอกจากการรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน การออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ก็สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโนคนี้ได้

แอสเปอร์จิลโลซิส โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดจากการติดเชื้อรา ทำให้มีไข้ ไอมีเสมหะ น้ำมูกเหม็น ปอดอักเสบ การรักษาโรคแอสเปอร์จิลโลซิส และ การป้องกันการเกิดโรคแอสเปอร์จิโลสิส ติดเชื้อรา โรคจากนก โรคติดต่อ

แอสเปอร์จิลโลซิส ภาษาอังกฤษ เรียก Aspergillosis เป็นโรคระบาด คือ โรคติดต่อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา โรคนี้พบว่าเกิดกับคนครั้งแรกปี พ ศ. 2390 ปัจจุบันโรคนี้มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นเรื่อยๆ โรคนี้เป็นโรคเกิดกับสัตว์ต่อมาได้ติดต่อสู่คน เชื้อราที่พบ คือ แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส ( Aspergillus fumigatus ) ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆที่ระบบทางเดินหายใจ การรักษาโรคแอสเปอร์จิลโลซิส และ การป้องกันการเกิดโรค

โรคแอสเปอร์จิลโลซิส Aspergillosis โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

โรคแอสเปอร์จิลโลซิส พบว่ามี 3 แบบ คือ  โรคแพ้เชื้อรา (Allergic aspergillosis)  โรคเชื้อราชนิดอยู่เฉพาะที่ ( aspergilloma) และ โรคเชื้อราชนิดกระจายในเนื้อเยื่อปอด ( invasive aspergillosis )

  • โรคแพ้เชื้อรา ( Allergic aspergillosis ) คนไข้ จะมีอาการหอบ หืด พบว่ามีเม็ดเลือดขาว ชนิดอีโอซิโนฟิล ( eosinophils ) สูง เกิดจากการแพ้เชื้อรา ซึ่งเชื้อราเข้าไปในร่างกายและเจริญเติบโตบนเยื่อบุทางเดินลมหายใจ หลอดลม ผู้ป่วยมักมีอาการเช่นเดียวกับ โรค asthma แต่มีอาการเรื้อรังและรุนแรง  และอาจจะทำให้เกิดการอุดตันภายในหลอดลม
  • โรคเชื้อราชนิดอยู่เฉพาะที่ ( aspergilloma ) เกิดจากเชื้อราเข้าสู่ร่างกายและไปเจริญเติบดตในโพรงปอด จนทำให้ โพรงหลอดลมพอง และเกิดโรคภายในปอดตามมา ผู้ป่วยจะมีอาการ อาการไอ มีเสมหะ อาจไอเป็นเลือด
  • โรคเชื้อราชนิดกระจายในเนื้อเยื่อปอด ( invasive aspergillosis ) เชื้อราเข้าสู่ร่ายกายไปเจริญเติบโตที่ปอด ส่งผลให้เกิดโรคเกี่ยวกับปอด ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายต่ำลง ผู้ป่วยมักมีอาการปอดบวม และมีไข้สูงไอ หายใจลำบาก มีเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ เชื้อโรคอาจลามไปสู่หัวใจและสมองได้

สาเหตุของการติดเชื้อแอสเปอร์จิลโลซิส

โรคแอสเปอร์จิลโลซิส เกิดจากการติดเชื้อรา แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส ( Aspergillus fumigatus ) ที่พบในสัตว์ปีก คือ นก ซึ่งเกิดการระบาดทางการหายใจ ทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหา

อาการของโรคแอสเปอร์จิลโลซิส 

โรคแอสเปอร์จิลโลสิส จะแสดงอาการที่ระบบทางเดินหายใจ หายใจติดขัด ไอ และ มีเสมหะ ทำให้ปอดอักเสบ ซึงลักษณะของอาการโรคนี้มี 3 ลักษณะ ประกอบด้วย การแพ้เชื้อรา แบบก้อนเชื้อรา แบบทำลายปอดเรื้อรัง และ แบบลุกลาม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • อาการแบบแพ้เชื้อรา ( ABPA ) เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อการยึดครองพื้นที่ในทางเดินหายใจของเชื้อ Aspergillus fumigatus มักเกิดในผู้ป่วยที่เป็นโรคทางเดินหายใจอยู่ก่อน เช่น โรคซิสติคไฟโบรสิส (cystic fibrosis) หรือผู้ป่วยโรคหอบหืด (asthma) อาการ คือ มีไข้ ไอ เสมหะเหนียวอุดหลอดลม เอ็กซเรย์พบฝ้าในปอด บางรายมีอาการไอเป็นเลือด บางคนมีอาการคัดจมูกเรื้อรัง น้ำมูกเป็นหนองปนเลือด มีกลิ่นเหม็น แบบไซนัสอักเสบเรื้อรัง ไม่ดีขึ้นแม้จะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
  • อาการแบบก้อนเชื้อรา ( aspergilloma )  เป็นเชื้อราที่รวมตัวกันเป็นก้อนอยู่ภายในปอด มักเกิดในปอดที่มีโพรงของถุงลมอยู่ก่อน ก้อนของเชื้อราจะอยู่ภายในโพรงถุงลม กลิ้งไปมาได้ภายในโพรง ในระยะแรกจะไม่มีอาการ อาจตรวจพบโดยบังเอิญจากการเอ็กซเรย์ ต่อมาจึงจะมีอาการไอเป็นเลือด และมักออกมาเป็นจำนวนมากจนถึงขั้นเสียชีวิต
  • อาการแบบทำลายปอดเรื้อรัง ( chronic necrotizing pulmonary aspergillosis, CNPA ) มักพบในผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ( COPD ) ที่ต้องพึ่งยาสเตอรอยด์ ผู้ป่วยที่ติดสุรา อาการคือมีไข้ ไอ หอบ เจ็บหน้าอก เป็นสัปดาห์ถึงเดือน เสมหะมีเลือดปนหนอง น้ำหนักลด เอ็กซเรย์พบมีปอดอักเสบหรือเป็นฝีในปอด แต่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะโดยทั่วไป
  • อาการแบบลุกลาม ( invasive aspergillosis ) มักพบในผู้ป่วยที่มีระดับเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะและต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยที่เป็นลูคีเมีย มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง เชื้อแอสเปอร์จิลลัสจะลุกลามจากปอดเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้มีไข้สูง หนาวสั่น ไอเป็นเลือด หายใจเร็ว หอบ เขียว และเกิดการติดเชื้อของอวัยวะต่าง ๆ ได้ทั่วรางกาย ในรายที่เริ่มเป็นที่ไซนัส เมื่อเชื้อลุกลามจะมีการทำลายกระดูกบริเวณใบหน้า ทำให้เจ็บปวด มีเลือดออกจากจมูก

การรักษาโรคแอสเปอรืจิลโลซิส

สำหรับการรักษาโรคนี้ สามารถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคแอสเปอร์จิลโลสิสที่ได้ผลดี คือ Voriconazole , Posaconazole , Amphothericin B , Itraconazole , และ Caspofungin ในช่วงแรกที่ผลการตรวจยังไม่ยืนยันกลับมาทั้งหมดควรให้ยา Amphothericin B ไปก่อน เพราะเป็นยาครอบจักรวาลของโรคติดเชื้อราแทบบทุกชนิด แต่ยา Voriconazole ใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อ Zygomycetes ที่ทำให้เกิดโรค Mucormycosis ที่มีอาการคล้ายกันแบบไซนัสอักเสบ

โรคแอสเปอร์จิลโลสิสแบบก้อนเชื้อราที่ยังไม่แสดงอาการอะไรอาจยังไม่ต้องรักษา เพราะยารับประทานหรือฉีดโดยทั่วไปได้ผลเพียง 60% แต่เมื่อเริ่มมีอาการไอเป็นเลือดแล้วควรรักษาทันที เพราะบางครั้งเลือดออกมากจนหายใจไม่ทันและอาจเสียชีวิต การรักษามีทั้งการผ่าตัดและการใช้ยาฆ่าเชื้อราหยดเข้าไปในก้อนโดยตรง ขึ้นกับขนาดและตำแหน่งของก้อน

โรคแอสเปอร์จิลโลสิสแบบแพ้เชื้อราเป็นอาการที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ การรักษาต้องใช้ยา Corticosteroids ชนิดรับประทาน (ชนิดสูดดมที่ใช้กันเป็นประจำในภาวะหลอดลมตีบไม่ได้ผล) และอาจให้ยา Itraconazole ร่วมด้วยก็ได้ นอกจากนั้นควรใส่ผ้าปิดจมูกกันฝุ่นละอองเมื่อเข้าไปในแหล่งกักตุนของเชื้อ เช่น ฟาร์มไก่ กรงนก และในห้องปรับอากาศ

โรคแอสเปอร์จิลโลซิสจะควบคุมและป้องกันอย่างไร ควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค ใส่ผ้าปิดจมูกกันฝุ่นละออง ในคนที่มีประวัติการแพ้เชื้อราควรหลีกเลี้ยงการทำงานใกล้กับสัตว์ปีก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove