หลอดเลือดดำส่วนลึกอักเสบจนเกิดลิ่มเลือดอุดตัน โรคอันตรายถึงชีวิต เกิดจากการนั่งนานๆ อาการบวมที่เท้า เห็นเส้นเลือดโปงพอง ปวดกล้ามเนื้อ เป็นตะคริวที่น่อง

โรคชั้นประหยัด โรคหลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน โรคหลอดเลือด โรคไม่ติดต่อ

โรคชั้นประหยัด ( Deep vein thrombosis ) คือ ภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกอักเสบ เกิดลิ่มเลือดอุดตัน ปอดและหัวใจ อันตรายถึงชีวิต โรคนี้เกิดกับคนนั่งนานๆ ไม่ค่อยได้ขยับตัว อาการของโรค บวมที่เท้า เห็นเส้นเลือดโปงพอง ปวดกล้ามเนื้อ เป็นตะคริวที่น่อง และ ปวดที่กระดูกข้อเท้า พบในคนที่เดินทางเครื่องบินชั้นประหยัดบ่อย โรคเส้นเลือดดำส่วนลึกอุดตัน

แต่จริงๆแล้วโรคนี้ คือ โรคเส้นเลือดดำส่วนลึกอุดตัน เป็นภาวะเสี่ยงของคนที่นั่งนานๆ โดยไม่ได้ขยับตัว อย่างชาวออฟฟิตทั้งหลาย อาการเบื้องต้น ที่พบ คือ มีอาการปวด และเป็นตะคริวที่น่อง เท้าบวม ในบางราย เส้นเลือดแดงโป่งพอง เหงื่อออกมาก หนาวสั่น และปวดมากที่กระดูกข้อเท้า

ทำความรู้จักกับ เส้นหลอดเลือดดำส่วนลึก คือ เส้นเลือดดำที่นำเลือดที่ใช้แล้วส่งกลับสู่หัวใจ โดยหลอดเลือดดำ มี 2 ชนิด คือ หลอดเลือดดำที่ผิว(superficial vein) เราสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ และ หลอดเลือดดำส่วนลึก(deep vein) ซึ่งหลอดเลือดชนิดนี้จะอยู่ในกล้ามเนื้อ ไม่สามารถมองเห็นได้ หากหลอดเลือดดำคั่งก็จำทำให้เลือดดำหยุดไหลเวียน และแข็งตัวได้ ซึ่งส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้

สาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดดำอุดตั้น คือ

  1. อุบัติเหตุเกี่ยวกับกระดูกหัก หรือการกระแทกกล้ามเนื้อ หรือการผ่าตัด
  2. ภาวะเลือดแข็งตัวง่าย
  3. การนั้งเป็นเวลานานโดยไม่ได้ขยับตัว

อาการของผู้ป่วยโรคชั้นประหยัด

สำหรับ อาการของผู้ป่วยโรคชั้นประหยัด หรือ โรคหลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน คือ จะมีอาการบวมที่เท้า จะเห็นว่ามีเส้นเลือดโปงพอง ปวดกล้ามเนื้อ และเป็นตะคริวที่น่อง และจะปวดมากที่กระดูกข้อเท้า หากมีอาการหอบเหนื่อยด้วยให้รีบนำตัวส่งแพทย์โดยด่วน เนื่องจากลิ่มเลือดอาจไปอุดตันที่ปอด และอาจหลุดไปอุดเส้นเลือดในอวัยวะอื่นๆได้ เช่น หัวใจ และสมอง เป็นต้น

การตรวจโรคชั้นประหยัด หรือ หลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน สามารถทำได้โดย

  1. สังเกตุอาหาร เช่น บวมเท้าข้างเดียว เจ็บบริเวณน่อง เวลาเยียดขาตรงปลายเท้ากระดกเข้าหาตัว เส้นเลือดดำโป่งและมีสีคล้ำ มีไข้ต่ำๆ
  2. การฉีดสารเข้าเส้นเลือดเพื่อดูว่ามีอาการลิ่มเลือดอุดตันหรือไม่
  3. ทำการแสกน MRI วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูง แต่ไม่เจ็บและให้ผลวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ

การรักษาโรคชั้นประหยัด สามารถทำได้โดย การให้ยา heparin หรือยา low molecular weight heparin และหลังจากนั้นให้ยา warfarin เพื่อป้องกันลิ่มเลือดอีก 3 เดือน

การป้องกันหลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน สามารถทำได้โดย

  1. ไม่นั่งเป็นเวลานานๆ โดยไม่ขยับตัว หรือลุกขึ้นจากที่นั่ง
  2. ทำการเกร็งกล้ามน่อง เพื่อลดการกดรัดของหลอดเลือด
  3. ไม่สวมเสื้อคับหรือรัด เกินไป เพราะจะทำให้เลือดไม่ไหลเวียน
  4. ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  5. ในระหว่างเดินทางไกลไม่ควรดื่มสุรา เนื่องจากอาจทำให้หลับเพลิน จนทำให้กำทับที่หลอดเลือดดำโดยไม่รู้ตัว

โรคดีวีที เป็นปัญหาที่สายการบินระหว่างประเทศมักมองข้ามซึ่งเฉพาะในอังกฤษมีกรณีผู้ประสบโรคนี้จากการนั่งเครื่องบินานๆแล้วถึง 30,000 ราย ทั้งนี้ สายการบินต่างๆ ควรจะแจ้งคำเตือนแก่ผู้โดยสารลงบนตั๋วเครื่องบิน เพื่อเป็นการป้องกัน ปัจจุบันอัตราผู้ป่วยโรคดีวีทีเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้วงการแพทย์ได้พยายามหาทางแก้ปัญหานี้โดยได้แนะนำผู้ที่จะโดยสารเครื่องบินให้ดื่มน้ำมากๆ และให้เคลื่อนไหวร่างกายบ้างขณะอยู่บนเครื่องในอังกฤษนั้นแพทย์อาจแนะนำยา “Airogym” ให้เป็นพิเศษเพื่อป้องกันอาการเลือดเป็นลิ่มนอกจากยาเม็ดดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกหลายทางเลือกสำหรับผูที่ไม่อยากมีอาการโรคชั้นประหยัด คือการสวมถุงเทาชนิดพิเศษที่เรียกว่า “Elastic Socks” ขณะอยู่บนเครื่องบิน ปัจจุบันสายการบินบางแห่งได้เริ่มจากถุงเท้าอีลาสติกให้แก่ผู้โยสารแล้ว ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ของอังกฤษได้ทำการทดสอบถุงเท้าชนิดนี้และบอกว่าผู้โดยสารที่ไม่ใส่ถุงเท้านี้จะมีอาการเลือดเป็นลิ่ม นอกจากดังกล่าวแล้วคุณหมอบางคนยังแนะนำให้ผู้โดยสารกินยาแอสไพรินก่อนขึ้นเครื่อง เพราะยาแอสไพรินสามารถทำให้เลือดจางลงและป้องกันเลือดเป็นลิ่มๆได้

สมุนไพรที่มีสรรพคุณบำรุงเลือด อาจช่วยป้องกันโรคต่างๆที่เกี่ยวกับเลือดได้ เราจึงของนำเสนอความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ สมุนไพรบำรุงเลือด มาเสนอให้เพื่อน มีดังนี้

ยางนา น้ำมันยางนา สมุนไพร สรรพคุณของยางนายางนา ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว
หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโดอะโวคาโด
ลูกสมอไทย สมอไทย ราชาสมุนไพร สมุนไพรไทยสมอไทย ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลาตรีผลา

หลอดเลือดแดงที่ขาตีบ เลือดไม่สามารถไหลเวียนที่ขาได้จากการตีบของเส้นเลือดบริเวณขา ส่งผลเกิดอาการปวดขา ปวดน่อง เป็นตะคริว ชาที่เท้า ขาอ่อนแรง โดยเฉพาะเวลาเดินหลอดเลือดที่ขาตีบ โรคหลอดเลือด โรคไม่ติดต่อ

หากมีอาการเส้นเลือดตีบที่ขา แต่เป็นไม่มาก ก็จะยังไม่เห็นอาการชัดเจน แต่หากมีอาการ เราสามารถสังเกตุได้จากอาการดังนี้ คือ ปวดน่อง เป็นตะคริว ชาที่เท้า ขาอ่อนแรง โดยเฉพาะเวลาเดิน  จะมีการปวดขาเมื่อต้องเดินนานๆ และอาการเหล่านี้จะเป็นๆ หายๆ ดังนั้น หากพบว่ามีอาการลักษณะนี้ สามารถสันนิฐานได้ว่า ท่าเป็นโรค เส้นเลือดขาตีบ แล้ว

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดขาตีบ

สำหรับปัจจัยที่ทำให้เส้นเลือดที่ขาตีบ มีดังนี้

  • พันธุ์กรรม
  • อายุที่สูงขึ้น
  • อาการหลอดเลือดแดงแข็งตัว
  • การสูบบุหรี่
  • ภาวะอ้วน
  • การพักผ่อนน้อย
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • ภาวะโรคแทรกซ้อน เป็นผลข้างเคียงของการเกิดโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และ โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

หากท่านมีอาการดังกล่าวต้องแจ้งให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด เมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะซักประวัติเพิ่มเติม ครวจร่างกายเพิ่มเติม และส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม

อาการของผู้ป่วยโรคเส้นเลือดแดงที่ขาตีบ

เราจะสังเกตุได้อย่างไรว่า มีอาการเป็นโรคเส้นเลือดแดงตีบ คือ ขนที่ขาจะน้อย สีผิวของขาจะคล้ำ หรือในผู้ป่วยบางคนขาจะซีด ไม่สามารถคลำชีพจรที่หลังเท้าได้ เท้าเย็น เป็นแผลเรื้อรังที่เท้า เล็บหนา บางลายจะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และ ถ้าเป็นหนักมาก นิ้วเท้าอาจเน่าได้

  • ขนที่เท้าหรือขาจะน้อย
  • สีผิวของขาจะคล้ำขึ้น บางรายอาจจะซีด
  • คลำชีพขจรที่หลังเท้าไม่ได้
  • เท้าจะเย็นอุณหภูมิเท้าสองข้างไม่เท่ากัน
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศในชายที่เป็นความดันโลหิตสูง
  • แผลเรื้อรังที่เท้า
  • เล็บหนาตัว
  • หากเป็นมากจะมีการเน่าของนิ้ว

การตรวจโรคเส้นเลือดแดงขาตีบ

สามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  1. การตรวจด้วยวิธี ankle-brachial index (ABI) เป็นการวัดความดันเลือดที่แขนและขา
  2. การฉีดสี Arteriogram เข้าไปที่เส้นเลือด เพื่อตรวจสอบตำแหน่งที่ตีบของเส้นเลือด
  3. การวัดระดับน้ำตาลในเลือด
  4. การวัดระดับไขมันในเลือด
  5. การตรวจคลื่นไฟฟ้าที่หัวใจ

การรักษาโรคเส้นเลือดแดงที่ขาตีบ

สามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ การลดปัจจัยเสี่ยงของโรคทั้งหมด การรักษาสามารถทำได้ดังนี้

  1. การเดิน เพื่อช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดแดงมีการสร้างใหม่
  2. หลีกเลี่ยงการประคบน้ำแข็งหรือน้ำร้อน
  3. เลือกสวมรองเท้าที่พอดีกับขนาดของเท้า
  4. ลดการบริโภคอาหารประเภทไขมัน แป้งและน้ำตาล
  5. งดการสูบบุหรี่
  6. บริโภคอาหารประเภทวิตามินB ให้มากขึ้น
  7. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  8. ใช้ยารักษาควบคู่ไปด้วย ยากที่ใช้จะเป็นยา ต้านเกล็ดเลือด
  9. การควบคุมระดับไขมันในเลือด

หากรักษาโดยการลดอาการเสี่ยงของโรคแล้วยังไม่ดีขึ้น สามารถใช้การทำ Balloon ที่เส้นเลือดแดงบริเวณที่มีการตีบได้

การป้องกันโรคเส้นเลือดแดงตีบที่ขา

สามารถทำได้โดยงดปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด เช่น รักษาระดับน้ำตาลและไขมันในเส้นเลือดให้อยู่ในระดับปรกติ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดการสูบบุหรี่ ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี เป็นต้น

  • รักษาระดับไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หยุดสูบบุหรี่
  • รักษาน้ำหนัก อย่าให้อ้วน
  • ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติ

สมุนไพรใช้ลดน้ำหนัก สามารถช่วยป้องกันและรักษาการเป็นโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบได้ เราจึงได้รวบรวมสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยลดความอ้วน มาให้เป็นความรู้เสริม มีดังนี้

ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลาตรีผลา ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว
แมงลัก เมล็ดแมงลัก ใบแมงลัก สมุนไพรแมงลัก อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโดอะโวคาโด
ชุมเห็ดเทศ ต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ สมุนไพรชุมเห็ดเทศ ต้นกระเจีียว ดอกกระเจียว สรรพคุณของกระเจียว ประโยชน์ของกระเจียวกระเจียว

โรคเส้นเลือดขาตีบ คือ ภาวะเลือดไม่สามารถส่งไปไหลเวียนที่ขาได้ เนื่องจากเกิดการตีบที่เส้นเลือด บริเวณขา เป็น โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด ไม่ใช้โรคติดต่อ ส่งผลให้เกิดอาการปวดขา ปวดน่อง เป็นตะคริว ชาที่เท้า ขาอ่อนแรง โดยเฉพาะเวลาเดิน และจะดีขึ้นเมื่อได้พัก ปัจจัยเสียงที่ทำให้เกิดโรคนี้ การรักษาโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove