โรคอัลไซเมอร์ ความผิดปรกติของโครโมโซม คู่ที่ 1 14 19 และ 21 ทำให้ความจำเสื่อม หลงลืม พฤติกรรมเปลี่ยนไป ในที่สุดจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และ เสียชีวิตในที่สุดโรคอัลไซเมอร์ ความจำเสือม อัลไซล์เมอร์ โรคสมอง

โรคอัลไซเมอร์ ภาษาอังกฤษ เรียก Alzheimer’s disease คือ ความผิดปรกติของโครโมโซม คู่ที่ 1 14 19 และ 21 ไม่ใช่โรคติดต่อ สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ โรคที่เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม ทำให้เกิดอาการ เช่น ความจำเสื่อม หลงลืม นิสัยและพฤติกรรมเปลี่ยน ซึ่งอาการจะค่อยๆเป็นอย่างละช้าๆ จนในที่สุดผู้ป่วยจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และ เสียชีวิตในที่สุด โรคอัลไซเมอร์ สามารถพบได้มากกับผู้ป่วยที่อายุมาก อายุยิ่งมากเท่าไรก็มีโอกาสเป็นมากขึ้น จากสถิติ ประชากรไทย ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นโรคนี้ร้อยละ 2 ถึงร้อยละ 4

สาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์

ซึ่งทางการแพทย์พบว่า ร้อยละ 7 ของผู้ป่วยสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งเป็นความผิดปรกติของโครโมโซม คู่ที่ 1 14 19 และ 21 ซึ่งในผู้ป่วยที่เป็นโรคปัญญาอ่อน หรือโรคกลุ่มอาการดาวน์ (Down’s syndrome) หลังจากอายุเกิน 40 ปี จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ในที่สุด นอกจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแล้วยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ เช่น อายุที่มากขึ้น การเกิดอุบัติเหตุที่สมอง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโหิตสูง สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเกิดอัลไซลเมอร์ได้

อาการของโรคอัลไซเมอร์เป็นอย่างไร

อาการของโรคนี้สามารถแบ่งได้ เป็น 4 ระยะ คือ ระยะก่อนสมองเสื่อม สมองเสื่อมระยะแรก สมองเสื่อมระยะปานกลาง และสมองเสื่อมระยะสุดท้าย ซึ่งรายละเอียดของอาการสมองเสื่อมแต่ละระยะมีดังนี้

  1. ระยะก่อนสมองเสื่อม ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องการจดจำสิ่งที่พึ่งเรียนรู้มาไม่นาน แต่ว่ายังไม่มีอาการที่ชัดเจน ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ และยังสามารถตัดสินใจทำในสิ่งต่างๆได้ ยกเว้นเรื่องที่สลับซับซ้อน
  2. สมองเสื่อมระยะแรก ในระยะนี้ผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจำระยะสั้น หรือความจำที่เพิ่งเรียนรู้มา ลักษณะอาการ เช่น ลืมของ ลืมเวลานัด ทานยารักษาโรคซ้ำๆ ถามซ้ำ พูดซ้ำ ในระยะนี้การใช้ชีวิตของผู้ป่วยเริ่มไม่เป็นปกติ แต่ยังสามารถสื่อสารบอกความคิดพื้นฐานของตนได้ ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆได้ แต่ขาดความคล่องแคล่วเหมือนปรกติ
  3. สมองเสื่อมระยะปานกลาง ในระยะนี้ผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจำระยะสั้นไปเลย ส่วนความจำระยะยาว และความรู้ทั่วไป จะค่อยๆเสื่อมลง ในระยะนี้ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะอาศัยอยู่ในบ้านของตัวเองแต่จะมีความรู้สึกว่าอยู่ต่างสถานที่ตลอดเวลา เรื่องของภาษาและการพูดจะมีปัญหาชัดเจน ทักษะเรื่องของการอ่านและการเขียน จะค่อยๆเสื่อมลง ผู้ป่วยรู้สึกสับสน วิตกกังวล หงุดหงิด โมโหง่าย และอารมณ์แปรปรวน
  4. สมองเสื่อมระยะสุดท้าย ในระยะนี้ผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจทั้งหมด ทั้ง ระยะสั้น ระยะยาว และความรู้ทั่วไป ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยจะไม่สามารถทำกิจกรรมใดๆได้เลย แม้กระทั้งการอาบน้ำ การกินข้าว การแต่งตัว การเดิน หรือการนั่ง และไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้

ผลข้างเคียงของโรคอัลไซเมอร์เป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ และส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายใน 10 ปี ซึ่งการใช้ชีวิตจะเริ่มลำบาก และจะเปลี่ยนแปลงมาก เมื่อความทรงจำหาย

การรักษาโรคอัลไซเมอร์ 

ปัจจุบันยังไม่มี ยาหรือวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้ แต่การรักษาสามารถทำได้ด้วยการให้ยาเพื่อช่วยชะลออาการของโรค โดย ยาที่ให้ มีอยู่ 4 ชนิด คือ Donezpezil , Rivastigmin, Galantamine, และ Memantine  และการให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง เช่น ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด การบำบัดโดยอาศัยสัตว์เลี้ยง

การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

ผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการความจำเสื่อม ให้หยุดขับรถด้วยตนเอง ไม่ควรให้ผู้ป่วยไปยังสถานที่ไม่คุ้นเคยเพียงลำพัง ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยไปทำธุระสำคัญคนเดียว เช่น การทำธุรกรรมทางการเงิน และเมื่อมีอาการมากต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา พาผู้ป่วยพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินอาการ ควรให้ผู้ป่วยพกป้ายประจำตัว ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเบอร์ติด อย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการพลัดหลง

ป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์สามารถทำได้อย่างไร

เราได้รวบรวมมาให้ มีรายละเอียด ดังนี้

  1. ในผู้หญิงวัยหมดประำเดือน ต้องให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือให้ฮอร์โมนชนิดผสมเอสโตรเจน-โปรเจสโตโรน  ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ ดังนั้นต้องระวังการบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม
  2. ให้รับประทานอาหาร ที่มีสิตามินบี 12 และมีกรดโฟลิกสูง จำพวก ผักและผลไม้สด ธัญพืชต่างๆ น้ำมันมะกอก ปลา ไวน์แดง
  3. ลดการบริโภค อาหารประเภท ไขมันสูง เค็มจัด หวานจัด และอาหารจานด่วนต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงของดรค โรคไขมันในเส้นเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  5. ทำกิจกรรมที่ฝึกสมองและความคิด เช่น อ่านหนังสือ เล่นหมากรุก เป็นต้น

สมุนไพรช่วยบำรุงสมอง

ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาทได้ มีดังนี้

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพร
หอมหัวใหญ่
มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้
มะละกอ
กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมนุไพรชมจันทร์
งาดำ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรงาดำ
หญ้าคา สมุนไพร สมุนไพรไทย
หญ้าคา
มะพร้าว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชยืนต้น
มะพร้าว
กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมนุไพร
กระเจี๊ยบเขียว
ตะไคร้ สมุนไพร พืชสมุนไพร สมุนไพรไทย
ตะไคร้

โรควัวบ้า ( BSE ) โรคจากสัตว์ติดต่อสู่คนคน ส่งผลต่อสมอง ทำให้อารมณ์แปรปรวน ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ ตาบอด พูดไม่ได้ ความจำเสื่อม เสียชีวิตในที่สุดโรควัวบ้า โรคระบบประสาท โรคติดเชื้อ

โรควัวบ้า ภาษาอังกฤษ เรียก Bovine Spongiform Encephalopathy เรียกย่อว่า BSE เป็น โรค ชนิดหนึ่งที่เกิดกับ ระบบประสาท ในวัวและมนุษย์ ซึ่งเป็น ความผิดปรกติของโปรตีนในเยื่อสมอง เรียกว่า พรีออน (prion) ซึ่งเป็น สาเหตุของโรค โรค นี้พบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1986 ในสหราชอาณาจักร และมี การแพร่ระบาด ไปยังประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศในยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และ แคนาดา

โรควัวบ้า นี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลอง และพบว่า โรค นี้ไม่ได้ เกิดขึ้นในเฉพาะกับวัว แต่ในสัตว์อื่นๆ ก็สามารถพบได้ เช่น แพะ แกะ หมู หนู ลิง เป็นต้น การแพร่กระจาย เชื้อวัวบ้า เกิดจาก การที่สัตว์กินโปรตีนที่ผิดปรกติ ชื่อ พรีออน จากเนื้อและกระดูกของสัตว์ที่มีเชื้อวัวบ้า ซึ่ง เชื้อวัวบ้า สามารถ ถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก ได้ โดยโรคนี้โดยปรกติจะอยู่นาน 2-8 ปี จึงจะส่งผล กระทบต่อระบบสมอง โดยจะมีอาการ ตัวสั่น เดินกระโผลกกระเผลก ส่ายตัวไปมา ดุร้าย และ คลั่ง และ อาจมีน้ำหนักลดลง โดยปรกติ วัวที่ติดเชื้อจะตายทุกตัว

การถ่ายทอดเชื้อ โรควัวบ้า สู่คน ก็เหมือนกับสัตวือื่นคือ การบริโภคเนื้อ ที่มีสารปนเปื้อนวัวบ้า โดยอาการ จะ เกิดความผิดปรกติของประสาท รับความรู้สึก จากนั้นการเคื่อนไหวจะผิดปรกติ ความจำเสื่อม และ เสียชีวิตในที่สุด ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคนี้ได้

การระบาดของโรควัวบ้า 

สำหรับการระบาดของโรควัวบ้า สามารถเกิดขึ้น 3 วิธี คือ การระบาดโดยไม่ทราบสาเหตุ การถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก และ การได้รับเชื้อโปรตีนพรีออน เข้าสู่ร่างกาย

อาการของโรควัวบ้า

สำหรับอาการของโรควัวบ้า จะเริ่มจากผู้ป่วยง่วงนอน เบื่ออาหาร เมื่อยล้า ความจำเสีย ซึมเศร้า และ อารมณ์แปรปรวน การเคลื่อนไหวผิดปรกติ ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อได้ ตาบอด ไม่สามารถพูดได้ ความจำเสื่อม และเสียชีวิตในที่สุด

การตรวจวินิจฉัยโรควัวบ้า

สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรควัวบ้า สามารถทำได้โดย เจาะไขสันหลัง เพื่อนำน้ำไขสันหลังไปตรวจ ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง ตรวจ Computerized tomography ของสมอง

การป้องกันโรควัวบ้า

สามารถทำได้โดยการ รักษาสุขอนามัย ประกอบด้วย ล้างมือ ปิดแผล ป้องกันเชื้อโรค เข้าทางแผล สวมถุงมือ เมื่อต้องอยู่ในสถานที่เสียงต่อการติดโรค รับประทานอาหารที่สุก

โรควัวบ้า เป็น โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง เราจึงรวบรวม สมุนไพรบำรุงสมอง มาเป็นความรู้เพิ่มเติมให้เพื่อนๆ มีดังนี้

คาเคา โกโก้ สรรพคุณของโกโก้ สมุนไพรคาเคา โกฐเชียง สรรพคุณของตังกุย ตังกุย สมุนไพรตังกุย
ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว เก๋ากี้ สมุนไพร โกจิเบอร์รี่ สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่เก๋ากี้ โกจิเบอร์รี่
มะกอก สรรพคุณของมะกอก น้ำมันมะกอก โทษของมะกอกมะกอก อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโดอะโวคาโด

โรควัวบ้า เรียกย่อ BSE  คือ โรคติดต่อที่เกิดขึ้นกับวัว สาเหตุของโรควัวบ้า คือ สารจากโปรตีน พรีออน ( prion ) สามารถติดต่อมายังคนและทำให้สมองเสื่อม ส่งผลให้เกิดอาการ ง่วงนอน เบื่ออาหาร เมื่อยล้า ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อได้ ตาบอด พูดไม่ได้ ความจำเสื่อม และเสียชีวิตในที่สุด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove