สมองขาดเลือดชั่วคราว อัมพฤกษ์ โรคทีไอเอ เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้เกิดร่างกายอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดลำบาก วิงเวียนศีรษะ สูญเสียการทรงตัว สายตาพล่ามัวโรคสมองขาดเลือดชั่วคราว โรคสมอง โรคอัมพฤกษ์ โรคทีไอเอ

โรคสมองขาดเลือดชั่วคราว โรคอัมพฤกษ์ ) หรือ โรคทีไอเอ ย่อมาจากคำว่า Transient ischemic attack ก็คือ สาเหตุหนึ่งของโรคอัมพฤกษ์ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติทางสมอง แต่สามารถหายเองได้ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ ภาวะสมองขาดเลือด

ทำความรู้จักกับ โรคอัมพฤกษ์ คือ โรคที่เกิดจากสมองสูญเสียหน้าที่ชั่วคราว เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอเพียง ซึ่งอาการส่วนใหญ่จะผิดปกติประมาณไม่เกิน 1 ชั่วโมง ซึ่งสามารถหายเองได้ภายใน 1 วัน สาเหตุให้เกิดโรคสมองขาดเลือดชั่วคราว คือ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอชั่วคราว ซึ่งเกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองที่แข็งตัว หรือตีบ และการไหลเวียนของโลหิตทำได้ลดลงชั่วคราว และมีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดในสมอง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคสมองขาดเลือดชั่วคราว

สำหรับปัจจัยการเกิดโรคสมองขาดเลือดชั่วคราว คือ โรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดชั่วคราว

สำหรับอาการสมองขาดเลือดชั่วคราวจะมีอาการคล้ายกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คือ ร่างกายอ่อนแรง ปากเบี้ยว ควบคุมกล้ามเนื้อลำบาก พูดลำบาก วิงเวียนศีรษะ สูญเสียการทรงตัว สายตาพล่ามัว เป็นต้น อาการของโรคหลอดเลือดสมอง ที่สำคัญ คือ

  • แขน ขา อ่อนแรง ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย
  • ปากเบี้ยว หลับตาไม่สนิท
  • พูดไม่ชัด พูดลำบาก นึกคำพูดไม่ออก
  • วิงเวียนศีรษะ เดินเซ มองเห็นภาพซ้อน

การวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองขาดเลือดชั่วคราว

การวินิจฉัยโรคนี้ไม่สามารถทำได้โดย การตรวจวัดสัญญาณชีพ ประกอบด้วย ความดันเลือด การหายใจ และอุณหภูมิของร่างกาย การตรวจการทำงานของระบบประสาท เช่น การทำงานของแขนขา การพูด โดยอาการผิดปกตินั้น จะเป็นไม่เกิน 1 ชั่วโมง และหายเองภายใน 24 ชั่วโมง อาจทำการตรวจเลือด เอ็กเลย์สมอง ด้วย เพื่อวินิจฉัยโรคอย่างแม่นยำ

การวิธีรักษาโรคสมองขาดเลือดชั่วคราว

สามารถทำได้โดยการให้ยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของโรค การรักษาโรค TIA คือ การให้ทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือดขึ้นอยู่กับสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค รวมทั้งการรักษาปัจจัยเสี่ยงข้างต้นที่ได้กล่าวแล้วในหัวข้อ ปัจจัยเสี่ยงถ้าผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยง เช่น รักษาควบคุมโรคเบาหวาน เป็นต้น

การป้องกันการเกิดโรคสมองขาดเลือดชั่วคราว

สามารถทำได้โดย การลดปัจจัยเสียงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง มั้งหมด เช่น ควบคุมน้ำหนัก รับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย ป้องกันการเกิดโรค ความดันดลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง เลิกสูบบุหรี่ เลิกดื่มสุรา ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น

  • ควบคุมอาการ ลดอาหารที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน
  • ปรับพฤติกรรมต่างๆ ไม่ทำสิ่งที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง
  • ควมคุมอาหาร ลออาหารจำพวกไขมัน ที่เป็นสาเหตุของ โรคไขมันในเลือดสูง
  • ลดความอ้วน
  • เลิกสูบบุหรี่
  • หมั่นออกกำลังกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ลดความเครียด
  • ตรวจสุขภาพประจำปี

โรคสมองขาดเลือดมาเลี้ยงชั่วคราว หรือเรียกย่อว่า โรคทีไอเอ (TIA,Transient ischemic attack) หรือที่คนทั่วไปเรียกว่าโรคอัมพฤกษ์ คือ อาการที่ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางสมองแล้วหายเองได้ ซึ่งอาการดังกล่าว ปัจจุบันถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด หรือโรคอัมพาต

สมุนไพรช่วยลดไขมันในเส้นเลือด

สามารถช่วยลดภาวะเสี่ยงของการเกิดโรคสมองขาดเลือดชั่วคราวได้ สมุนไพรช่วยลดไขมันในเส้นเลือด มีดังนี้

ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง
ชุมเห็ดเทศ ต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ สมุนไพรชุมเห็ดเทศ มะกอก สรรพคุณของมะกอก น้ำมันมะกอก โทษของมะกอกมะกอก
อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโดอะโวคาโด แห้ว ต้นแห้ว สรรพคุณของแห้ว สมุนไพรแห้ว

สมองขาดเลือดชั่วคราว อัมพฤกษ์ โรคทีไอเอ คือ ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้เกิดร่างกายอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดลำบาก วิงเวียนศีรษะ สูญเสียการทรงตัว สายตาพล่ามัว โรคนี้เกิดจากอะไร อาการของโรคเป็นอย่างไร การรักษาโรคทำอย่างไร ปัจจัยเสียงของการเกิดโรค

ภาวะสมองขาดเลือด ( stroke ) ทำให้เซลล์สมองตาย ทำให้เกิดอัมพาต์ ผู้ป่วยจะอ่อนแรง มีอาการชา ปากเบี้ยว พูดไม่ได้ ปวดหัว เสียการทรงตัว การรักษาโรคอย่างไร

โรคหลอดเลือดสมอง โรคสมอง โรคหลอดเลือด โรคไม่ติดต่อ

โรคหลอดเลือดสมอง ภาษาอังกฤษ เรียก stroke เป็นโรคหลอดเลือดและสมอง ซึ่งเป็นภาวะสมองขาดเลือด ที่เกิดจากการ ตีบ อุดตัน หรือแตก ของหลอดเลือดในสมอง ซึ่งส่งผลทำให้เนื้อเยื่อสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองจึงหยุดชะงัก ซึ่งความผิดปรกติของหลอดเลือดสมอง สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ หลอดเลือดสมองตีบตัน และ หลอดเลือดสมองปริแตก รายละเอียดของแต่ละประเภท มีดังนี้

  1. หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ภาษาอังกฤษ เรียก ischemic stroke ประเภทการตีบหรืออุดตัน เป็นสาเหตุมากถึง ร้อยละ 80 ซึ่งเกิดจากลิ่มเลือดก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดที่สมอง จนอุดตันทางเดินของเลือดที่จะไปเลี้ยงสมอง นอกจากสาเหตุของลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดแล้ว การสะสมไขมันในเส้นเลือดก็เป็นสาเหตุของการตีบตันของเส้นเลือดได้ เหมือนกัน
  2. หลอดเลือดสมองแตกหรือฉีกขาด ภาษาอังกฤษ เรียก hemorrhagic stroke เราพบได้ร้อยละ 20 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุเกิดจากความเปราะบางของหลอดเลือดและร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง หรือการเกิดความยืดหยุ่นของหลอดเลือดจากการสะสมไขมันในเส้นเลือด การที่หลอดเลือดสมองแตก จะทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยงสมองอย่างฉับพลัน

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดในสมอง

มีหลายปัจจัย ซึ่งมีทั้งปัจจัยที่ป้องกันได้และปัจจัยที่สามารถป้องกันได้ เช่น อายุ เพศ ภาวะเลือดแข็งตัวเร็วกว่าปรกติ ปัจจัยเหล่านี้ป้องกันไม่ได้ แต่ปัจจัยอื่นๆที่สามารถป้องกันได้ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในโลหิตสูง โรคหัวใจ การสูบบุหรี่ การใช้ยาคุมกำเนิด การขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

เราสามารถสังเกตุจากอาการผิดปรกติ ได้โดย ผู้ป่วยจะอ่อนแรง มีอาการชา ปากเบี้ยว พูดไม่ได้ ควบคุมน้ำลายไม่ได้ ปวดหัว เวียนหัว สายตาพร่ามัว เสียการทรงตัว เมื่อพบอาการดังกล่าว ต้องนำตัวพบแพทย์โดยด่วน อาการที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมองมีดังนี้

  • ชาบริเวณแขน ขา ใบหน้า หรือบริเวณข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
  • สับสน มีปัญหาทางการสื่อสาร พูดไม่เข้าใจ
  • เห็นภาพซ้อน ตามัว (เพียงข้างเดียว)
  • เวียนศีรษะ หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • วิงเวียน ทรงตัวไม่อยู่ บางรายอาจเป็นลมหมดสติ

การตรวจวินิจฉัยว่าเราเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่

สามารถตรวจได้หลายวิธี เช่น ตรวจเลือด ดูระดับน้ำตาลในเลือด ดูระดับไขมันในเลือด หาอาการอักเสบของหลอดเลือด การทำการตรวจวัดคลืนไฟฟ้าหัวใจ การสแกนสมอง เป็นต้น

การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีความแตกต่างกันในผู้ป่วยที่หลอดเลือดสมองตีบตัน และ หลอดเลือดสมองแตก การรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบ สามารถรักษาได้โดย การทำให้เลือดไหลเวียนตามปกติ แพทย์จะให้ยาละลายลิ่มเลือด แต่ต้องรักษาภายใน 4 ชั่วโมง ส่วนการรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดสมองแตกหรือฉีกขาด คือ ต้องควบคุมปริมาณเลือดที่ออก รักษาความดันเลือดให้ปรกติ ทีมแพทย์อาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายของสมอง ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของความดันเลือด

การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

สามารถทำได้โดย ควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ เช่น ป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ หรือขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น ควบคุมอาหารให้สมดุล หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หวาน มัน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม เลิกสูบบุหรี่และการดื่มสุรา เป็นต้น


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove