แคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) เกิดจากการดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง การรักษาโรคทำอย่างไรโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

ภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ภาษาอังกฤษ เรียก Hypocalcemia เป็น โรคต่อมไร้ท่อ ไม่ใช่โรคติดต่อ เกิดจาก ความผิดปรกติของร่างกาย หาก กล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง อาจสงสัยว่าเป็น โรคแคลเลซี่ยมในเลือดต่ำ แล้ว โรค นี้มี สาเหตุจากอะไร อาการของโรคเป็นอย่างไร เราจะต้องทำอย่างไรเมื่อเป็น โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรคนี้ ป้องกันได้หรือไม่อย่างไร และ สมุนไพรที่ช่วยบำรุงแคลเซี่ยม มีอะไรบ้าง เนื้อหามี ดังนี้

แคลเซียมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) คือ ภาวะที่ร่างกายมีแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ซึ่ง ค่าแคลเซียมที่ปรกติของมนุษย์ อยู่ที่ 8-10.5 mg/dL หากว่านำ เลือด ไปตรวจและมี ค่าแคลเซี่ยมต่ำกว่า 8 mg/dL แปลว่าท่านได้เข้าสู่ โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรค นี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกศาสนา ทุกวัย

สาเหตุของภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ

สาเหตุหลักจากแคลเซียมในเลือดมีต่ำกว่าปรกติ อวัยวะที่มีส่วนใน การช่วยให้การดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกาย ประกอบด้วย ต่อมพาราไทรอยด์ ไต ตับอ่อน ลำไส้ เป็นต้น ซึ่ง สาเหตุที่ทำให้เกิดการดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ มี สาเหตุ แยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • ความสามารถในการทำงานของ ต่อมพาราไทรอยด์ น้อยลง อาจจะเกิด จากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ส่งผลกระทบกับ ต่อมพาราไทรอยด์
  • การไม่ตอบสอนต่อ ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ของร่างกายมนุษย์
  • อาการพิการ ของ ต่อมพาราไทรอยด์ มา แต่กำเนิด
  • รับประทานอาหารประเภท แมกนีเซี่ยม และ แคลเซี่ยม น้อย
  • โรคเกี่ยวกับไต ทำให้ความสามารถของไตทำได้น้อยลง ทำให้มีการ ขับแคลเซี่ยมออกมามาก  ส่งผลให้ร่างกาย ไม่สามารถสร้างวิตามินดี ได้
  • โรคเกี่ยวกับลำไส้ ที่ ไม่สามารถดูดซึมแคลเซี่ยม ได้ตามปรกติ
  • โรคตับอ่อนอักเสบ ทำให้ ไม่สามารถดูดซึมแคลเซียม ได้ตามปรกติ
  • ปัญหาจาก การใช้ยา บางชนิด เช่น ยากันชัก ยาเพิ่มมวลกระดูก เป็นต้น

อาการของโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ

อาการของโรค นี้จะทำให้ ความดันเลือดต่ำ มี ภาวะการเกรงของกล้ามเนื้อ  โดยเฉพาะ บริเวณมือ เท้า และ ปาก สามารถแพร่กระจายไปตามผิวหนังได้ ซึ่งอาจส่งผลให้ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และ กล้ามเนื้อกล่องเสียงหด และ เกร็ง ทำให้ หายใจลำบาก ซึ่ง อาการของโรคภาวะแคลเซี่ยมต่ำ ต้องระวังเรื่องของ โรคแทรกซ้อน ของ การขาดแคลเซียม เช่น โรคกระดูกพรุน ต้อกระจก ฟันไม่แข็งแรง ร่างกายเจริญเติบโตช้า และสมองไม่เจริญเติบโต เป็น ปัญญาอ่อน ได้

การรักษาโรคภาวะแคลเซียมต่ำ

สามารถทำได้โดยการให้แคลเซี่ยมชดเชยส่วนที่ขาดเข้าสู่ร่างกาย ให้ยาและอาหารเสริม นอกจากนั้นแล้ว การรักษา อาการของโรคที่เป็น สาเหตุของการดูดซึมแคลเซี่ยมผิดปรกติ เช่น รักษาลำไส้อักเสบ รักษาไต รักษาตับอ่อน รักษาต่อมพาราไทรอยด์ และ ปรับปรุงพฤติกรรมการบริโภค ให้ทาน อาหารที่มีแคลเซียม มากขึ้น

การป้องกันโรคแคลเซียมในเลือดต่ำ

สำหรับภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ มีแนวทางการป้องกันการเกิดโรค ได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการที่ร่างกายควรได้รับ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมและวิตามินดี เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาทะเล ผักใบเขียวและผลไม้ ไข่ และอาหารที่มีโปรตีน เป็นต้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์และเลิกสูบบุหรี่
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • เดินรับแสงแดดอ่อน ๆ ในตอนเช้า เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินดีในเลือด

โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ เกิดจาก แคลเซี่ยมในร่างกายไม่เพียงพอ จากสาเหตุต่างๆ ซึ่งเราจึงขอนำเสนอ สมุนไพรที่มีแคลเซี่ยม และ ธาตุเหล็ก ที่ มีประโยชน์ต่อกระดูก มีรายละเอียดดังนี้

ชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ชะอม  เป็นไม้พุ่ม ขนาดไม่สูง ก้านของชะอมจะมีหนามแหลม ใบมีขนาดเล็ก คล้ายใบกระถิน ใบอ่อนของชะอมมีกลิ่นฉุน ปลายใบแหลม ดอกของชะอม มีสีขาว ดอกขนาดเล็ก ผลของชะอมเป็นฝัก
ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Lvy Gourd, Coccinia มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cocconia grandis (L.) Voigt ชื่ออื่น ๆ ของผักตำลึง เช่น ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท ผักตำนินตำลึงนิยมนำมาทำอาหาร
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Piper sarmentosum Roxb. ชื่ออื่นๆของชะพลู เช่น ปูนก ปูลิง ช้าพลู  นมวา ผักอีเลิศ ชื่อเรียกของชะพลูก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น
ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย
ขมิ้น พืชที่ปลูกง่าย ลักษณะเหมือขิง ขมิ้น มีชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn ชื่ออื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้น
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศ
กระเทียม ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Garlic สรรพคุณของกระเทียม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดความดันรักษาแผลสด เป็นยาฆ่าเชื้อ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ
มะเขือยาว สมุนไพร สมุนไพรไทย ผัดสวนครัว
มะเขือยาว ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า SO-LANUM MELONGENA LINN เป็น พืชผัก มีสรรพคุณทางสมุนไพร สามารถช่วย ขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล ลดความดันโลหิต แก้ท้องเสีย
พริกไทย สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
พริกไทย ภาษาอังกฤษ เรียก Pepper สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ขับสารพิษ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงกระดูก บำรุงฟัน บำรุงสายตา  ยาอายุวัฒนะ ต้านมะเร็ง
กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมนุไพร
กระเจี๊ยบเขียว  Lady‘s Finger มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Abelmoschus esculentus Moench. ชื่ออื่นๆ ของกระเจี๊ยวเขียว เช่น กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย

โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) คือ ภาวะการมีสารอาหารแคลเลซี่ยมในเลือดต่ำกว่าปรกติ สาเหตุเกิดภาวะดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ ทำให้เกิดอาการ กล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง โรคระบบต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ  โรคนี้มีสาเหตุจากอะไร อาการโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ การรักษาและป้องกันโรคแคลเซียมในเลือดต่ำ

เชื้ออีโคไล E.coli ทำให้เกิดอาการ เช่น ท้องร่วง ปอดอักเสบ กรวยไตอักเสบ หรือ สมองอักเสบ เชื้ออีโคไลอาศัยอยู่ที่ที่ขาดออกซิเจนได้ การรักษาโรคและป้องกันทำอย่างไรอีโคไล ท้องเสีย ท้องร่วง โรคระบบทางเดินอาหาร

Escherichia coli ( E. coli ) คือ เชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่พบในลําไส้ของมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่น ซึ่งปกติแล้วแบคทีเรียชนิดนี้ไม่ทําอันตรายต่อร่างกายสิ่งมีชีวิต และเมื่ออาศัยอยู่ในลําไส้ก็จะช่วยย่อยอาหาร แต่หาก E. coli เข้าสู่อยวัยวะอื่นๆของร่างกาย จะทำให้อวัยวะนั้นๆติดเชื้ออย่างรุนแรงได้ เช่น โรคติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น และ เชื้อ E. coli บางสายพันธุ์ที่ทําให้เกิดโรคท้องเสียได้ หากเชื้อโรคปนเปื่อนในอาหารที่เรารับประทาน

กลไกของการติดเชื้ออีโคไล

เชื้ออีโคไลจะสร้างชิกา สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ STX1( Shiga toxin 1 ) และ STX2 ( Shiga toxin 2 ) เชื้ออีโคไล จะสร้างโปรตีนชื่ออินติมิน( Intimin ) ซึ่งเชื้อนี้ใช้ในการเข้าไปเกาะเซลล์ที่เยื่อบุผนังของลำไส้ และจะสร้างสารพิษชนิดเอนเทอโรฮีโมลัยซิน ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก และไตวายในที่สุด

ชนิดของเชื้อแบคทีเรีย E. coli

กลไกการก่อโรค เมื่อเชื้อ E. coli เข้าสู่ร่างกาย จะสร้างสารพิษต่างๆ สารพิษ enterotoxin ทําให้เกิดอาการท้องร่วงแบบเฉียบพลัน ถ่ายเหลวเป็นน้ํา สร้างสารพิษ Shiga ทําให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ถ่ายเป็นมูกเลือด เป็นต้น ซึ่งเชื้ออีโคไล E.coli ( Escherichia coli ) มีหลายชนิด  ประกอบด้วย  Enterotoxigenic E coli (ETEC), Enterohemorrhagic E coli (EHEC), Enteropathogenic E coli (EPEC),Enteroinvasive E coli (EIEC),Enteroaggregative E coli (EAEC),Shiga-toxin producing E coli (STEC) รายละเอียดของเชื้อโรคแต่ละชนิด มีดังนี้

  • ETEC (Enterotoxigenic E coli) เชื้อโรคชนิดนี้ทำให้อุจจาระเหลว เชื้อโรคชนิดนี้จะเข้าไปเกาะที่ผนังของลำไส้เล็กและปล่อยสารพิษเข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้ เป็นสาเหตุของอาการถ่ายอุจจาระเหลว
  • EHEC (Enterohemorrhagic E coli ) เชื้อโรคชนินนี้ทำให้มีการถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เชื้อโรคชนิดนี้จะสร้างสารพิษในลำไส้ทำให้มีเลือดออกเวลาถ่ายอุจจาระ
  • STEC (Shiga-toxin producing E coli ) เชื้อโรคนี้จะเข้าไปจับที่ผนังของลำไส้ใหญ่ จากนั้นจะปล่อยสารพิษหลายชนิด ซึ่งสารพิษเป็นพิษต่อผนังหลอดเลือด
  • EPEC (Enteropathogenic E coli ) เชื้อโรคชนิดนี้ จะทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว เชื้อโรคชนิดนี้จะเกาะอยู่ตามลำไส้เล็ก
  • EIEC (Enteroinvasive E coli ) เชื้อชนิดนี้ ทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเหลว เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายลำไส้ใหญ่ และปล่อยสารพิษ จนทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเหลว
  • EAEC (Enteroaggregative E coli )เชื้อโรคชนิดนี้จะเกาะอยู่ในลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก และปล่อยสารพิษ(toxin) เข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้

สาเหตุของการติดเชื้ออีโคไล

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรีย E. coli เกิดจากการรับเชื้อ E. coli ทางอาหารหรือการสัมผัส โดยสามารถสรุปสาเหตุทั่วไปที่อาจทำให้ได้รับเชื้อ E. coli มีดังนี้

  • การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อ E. coli
  • มือที่สัมผัสเชื้อโรค และ เข้าสู่ร่างกายในช่องทางต่างๆ เช่น แผล ปาก หู จมูก เป็นต้น
  • การสัมผัสมูลสัตว์ที่มีเชื้อโรค E coli ปะปน
  • การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ E coli
  • การว่ายน้ำในสระน้ำ หรือ แหล่งน้ำ ที่มีเชื้อ E. coli ปะปน

อาการของผู้ป่วยติดเชื้ออีโคไล

หากเกิดกับเด็กทารกและเด็กเล็ก พบว่าอาการผุ้ติดเชื้อไม่แน่นอน อาการคล้ายในเด็กโต คือ ท้องร่วงจากการติดเชื้อไวรัส ต่อมาจะเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบ หากเชื้อโรคเข้ากระแสเลือด จะทำให้ มีไข้สูง ตาเหลือง หายใจลำบาก เบื่ออาหาร อ้วก ถ่ายอุจจาระเหลว มีอาหารซึมเศร้า หากรักษาช้า อาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

หากเกิดกับเด็กโต จะเกิดทางเดินอาหารอักเสบ หรือทางเดินปัสสาวะอักเสบ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลว อาจจะถ่ายมีเลือดปน ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้  หากเชื้อโรคเข้ากระแสเลือด จะทำให้ มีไข้สูง ตาเหลือง หายใจลำบาก เบื่ออาหาร อ้วก ถ่ายอุจจาระเหลว มีอาหารซึมเศร้า หากรักษาช้า อาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การรักษาผู้ป่วยติดเชื้ออีโคไล

ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ยังไม่มีวิธีรักษาผู้ติดเชื้อโรคชนิดนี้โดยเฉพาะ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้น และ หายเป็นปกติได้เอง สิ่งที่สามารถทำได้ คือ ประคับประครองผู้ป่วยไม่ให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ และ ไม่ให้อ่อนเพลียเกินไป

การป้องกันการติดเชื้ออีโคไล

วิธีรักษาผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแบคทีเรีย อีโคไล แต่ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดท้องได้ในเบื้องต้น และควรหลีกเลี่ยงยาแก้ปวดในกลุ่มสเตอรอยด์ เช่น ยาแอสไพริน เพราะจะยาตัวนี้จะไปทำลายไตของผู้ป่วย สามารถทำได้โดยการ รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขอนามัย ทานอาหารที่ปรุงสุก

  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุก และถูกสุขลักษณะ
  • ควรเก็บอาหารประเภทเนื้อสัตว์ไว้ในอุณหภูมิต่ำ
  • สำหรับผักสด ควรล้างน้ำให้สะอาด โดยการปล่อยน้ำไหลผ่านผักประมาณ 2 นาที
  • ในการประกอบอาหารควรปรุงให้สุกในระดับอุณหภูมิ 71  องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • ยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมืออยู่เสมอ
  • เมื่อมีอาการท้องเสียขั้นรุนแรง ควรไปพบแพทย์โดยด่วน และอย่ารับประทานยาระงับถ่ายอุจจาระ

การติดเชื้ออีโคไล E.coli ทำให้เกิดอาการ เช่น ท้องร่วง ปอดอักเสบ กรวยไตอักเสบ หรือ สมองอักเสบ Mr. Theodur Escherich คือ ผู้ค้นพบเชื้อโรค E coli เชื้ออีโคไล สามารถอาศัยอยู่ในสถานที่ที่ขาดออกซิเจนได้ การรักษาโรคติดเชื้ออีโคไล และ การป้องกันการเกิดโรคติดเชื้ออีโคไล


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove