ลิ่มเลือดอุดตันในปอด โรคพีอี Pulmonary Embolism ภาวะการอุดกั้นในปอดจากกลิ่มเลือด ทำให้เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก แขนขาบวม อันตรายทำให้เสียชีวิตอย่างกระทันหันได้ลิ่มเลือดอุดตันในปอด โรคพีอี โรคระบบทางเดินหายใจ โรคปอด

โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด มีปัจจัยหลายประการ เช่น ภาวะพันธุกรรม อายุ โรคประจำตัว และ พฤตอกรรมการใช้ชีวิตในประจำวัน โรคนี้เป็นเพชรฆาตเงียบ คนแข็งแรงก็สามารถเสียชีวิตได้ หากประมาท โรคนี้มีอัตราการเสียชีวิตสูง รองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง

สาเหตุของการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด

สำหรับสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอด เราสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 ประเภท คือ สาเหตุจากการเกิดโรคมาก่อน และ สาเหตุที่ไม่พบว่ามีการเกิดโรคมาก่อน ซึ่ง สาเหตุของการเกิดโรคจากการเกิดโรคมาก่อน เช่น เกิดเมื่อได้รับการผ่าตัดและ ต้องนอนนิ่งๆเป็นเวลานานๆ การป่วยเป็นมะเร็งบางชนิด การรับประทานยาบางประเภท ภาวะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นต้น ส่วนในสาเหตุการเกิดอีกประเภท คือ การเกิดลิ่มเลือดอุดตันโดยไม่มีสาเหตุของอาการมาก่อน

สาเหตุของการเกิดโรค มีปัจจัยสำคัญจากพฤติกรรมเสี่ยง ที่สำคัญ คือ การสูบบุหรี่ และ การไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด สามารถสรุปปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเกิดโรค ดังนี้

  • อายุของผู้ป่วย คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมากที่สุด
  • ภาวะทางพันธุกรรม สำหรับคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเคนเป็นโรคลิ่มเลือด อาจมีความความเสี่ยงให้เกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอดมากขึ้น
  • การเกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรง เช่น กระดูกหัก กล้ามเนื้อฉีก การถูกกระแทดอย่างรุนแรง เป็นต้น
  • การเกิดโรคบางชนิด เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคเหล่านี้มัโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด
  • เคยเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ หรือ เข้ารับการทำเคมีบำบัด
  • อยู่ในภาวะร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เช่น ผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น
  • การสูบบุหรี่
  • โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักตัวเกินมาตราฐาน
  • ภาวะตั้งครรภ์
  • การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน

อาการของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด จะแสดงอาการต่างๆ ซี่งความรุนแรงขึ้นอยู่กับขนาดของลิ่มเลือดที่อุดตันในปอด โดย อาการต่างๆ สามารถสังเกตุ ได้ดังนี้

  • หายใจไม่ออก หายใจลำบาก โดยเกิดแบบฉับพลัน และ จะมีอาการหนักขึ้นหากออกแรง หรือ ออกกำลังกาย
  • เจ็บหน้าอก รู้สึกแน่นหน้าอก เมื่อหายใจเข้าลึกๆ อาการเจ็บหน้าอกจะไม่หายแม้นั่งพักแล้วก็ตาม
  • มีอาการไอเป็นเลือด มีเลือดปนมากับเสมหะเวลาไอ
  • มีไข้สูง
  • วิงเวียนศีรษะ
  • เหงื่อออกมาก
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • ชีพจรเต้นอ่อน
  • ผิวมีสีเขียวคล้ำ
  • ปวดขา และ มีอาการขาบวมเฉพาะน่อง
  • หน้ามืดเป็นลม และ หมดสติ

อาการต่างๆนี้ มีอาการของโรคที่รุนแรง ผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดไปอุดตันในปอด สามารถเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

การรักษาโรคลิ่มเลือดอุดตั้นในปอด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนี้ คือ การรักษาลิ่มเลือดที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดมีขนาดใหญ่ขึ้น และ ไม่ให้เกิดลิ่มเลือดใหม่ หากรักษาได้ทัน จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน แนวทางการรักษาโรค มีดังนี้

  • การใช้ยารักษา โดยใช้ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และ ยาสลายลิ่มเลือด
  • การสอดท่อเข้าทางหลอดเลือด เพื่อกำจัดลิ่มเลือดที่อุดตัน
  • การใช้ตะแกรงกรองลิ่มเลือด เพื่อไม่ให้ไปอุดกั้นที่ปอด การรักษาแนวทางนี้ สำหรับคนที่ไม่สามารถรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดได้
  • การผ่าตัด โดยผ่าตัดกำจัดลิ่มเลือด

การป้องกันโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด

แนวทางการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอด คือ การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดลิ่มเลือด แนวทางการป้องกัน มีดังนี้

  • ควบคุมน้ำหนักตัว ให้อยู่ในมาตราฐาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น เป็นสิ่งจำเป็นช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้
  • เลิกสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทั้งหลายทั้งปวง

โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด โรคพีอี ( Pulmonary Embolism ) ภาวะการอุดกั้นในปอด ที่เกิดจากกลิ่มเลือด ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย และ ไอ เป็นอันตรายทำให้เสียชีวิตอย่างฉับพลันได้ สาเหตุ อาการ และ การรักษา ทำอย่างไร

แคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) เกิดจากการดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง การรักษาโรคทำอย่างไรโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

ภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ภาษาอังกฤษ เรียก Hypocalcemia เป็น โรคต่อมไร้ท่อ ไม่ใช่โรคติดต่อ เกิดจาก ความผิดปรกติของร่างกาย หาก กล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง อาจสงสัยว่าเป็น โรคแคลเลซี่ยมในเลือดต่ำ แล้ว โรค นี้มี สาเหตุจากอะไร อาการของโรคเป็นอย่างไร เราจะต้องทำอย่างไรเมื่อเป็น โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรคนี้ ป้องกันได้หรือไม่อย่างไร และ สมุนไพรที่ช่วยบำรุงแคลเซี่ยม มีอะไรบ้าง เนื้อหามี ดังนี้

แคลเซียมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) คือ ภาวะที่ร่างกายมีแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ซึ่ง ค่าแคลเซียมที่ปรกติของมนุษย์ อยู่ที่ 8-10.5 mg/dL หากว่านำ เลือด ไปตรวจและมี ค่าแคลเซี่ยมต่ำกว่า 8 mg/dL แปลว่าท่านได้เข้าสู่ โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรค นี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกศาสนา ทุกวัย

สาเหตุของภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ

สาเหตุหลักจากแคลเซียมในเลือดมีต่ำกว่าปรกติ อวัยวะที่มีส่วนใน การช่วยให้การดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกาย ประกอบด้วย ต่อมพาราไทรอยด์ ไต ตับอ่อน ลำไส้ เป็นต้น ซึ่ง สาเหตุที่ทำให้เกิดการดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ มี สาเหตุ แยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • ความสามารถในการทำงานของ ต่อมพาราไทรอยด์ น้อยลง อาจจะเกิด จากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ส่งผลกระทบกับ ต่อมพาราไทรอยด์
  • การไม่ตอบสอนต่อ ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ของร่างกายมนุษย์
  • อาการพิการ ของ ต่อมพาราไทรอยด์ มา แต่กำเนิด
  • รับประทานอาหารประเภท แมกนีเซี่ยม และ แคลเซี่ยม น้อย
  • โรคเกี่ยวกับไต ทำให้ความสามารถของไตทำได้น้อยลง ทำให้มีการ ขับแคลเซี่ยมออกมามาก  ส่งผลให้ร่างกาย ไม่สามารถสร้างวิตามินดี ได้
  • โรคเกี่ยวกับลำไส้ ที่ ไม่สามารถดูดซึมแคลเซี่ยม ได้ตามปรกติ
  • โรคตับอ่อนอักเสบ ทำให้ ไม่สามารถดูดซึมแคลเซียม ได้ตามปรกติ
  • ปัญหาจาก การใช้ยา บางชนิด เช่น ยากันชัก ยาเพิ่มมวลกระดูก เป็นต้น

อาการของโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ

อาการของโรค นี้จะทำให้ ความดันเลือดต่ำ มี ภาวะการเกรงของกล้ามเนื้อ  โดยเฉพาะ บริเวณมือ เท้า และ ปาก สามารถแพร่กระจายไปตามผิวหนังได้ ซึ่งอาจส่งผลให้ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และ กล้ามเนื้อกล่องเสียงหด และ เกร็ง ทำให้ หายใจลำบาก ซึ่ง อาการของโรคภาวะแคลเซี่ยมต่ำ ต้องระวังเรื่องของ โรคแทรกซ้อน ของ การขาดแคลเซียม เช่น โรคกระดูกพรุน ต้อกระจก ฟันไม่แข็งแรง ร่างกายเจริญเติบโตช้า และสมองไม่เจริญเติบโต เป็น ปัญญาอ่อน ได้

การรักษาโรคภาวะแคลเซียมต่ำ

สามารถทำได้โดยการให้แคลเซี่ยมชดเชยส่วนที่ขาดเข้าสู่ร่างกาย ให้ยาและอาหารเสริม นอกจากนั้นแล้ว การรักษา อาการของโรคที่เป็น สาเหตุของการดูดซึมแคลเซี่ยมผิดปรกติ เช่น รักษาลำไส้อักเสบ รักษาไต รักษาตับอ่อน รักษาต่อมพาราไทรอยด์ และ ปรับปรุงพฤติกรรมการบริโภค ให้ทาน อาหารที่มีแคลเซียม มากขึ้น

การป้องกันโรคแคลเซียมในเลือดต่ำ

สำหรับภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ มีแนวทางการป้องกันการเกิดโรค ได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการที่ร่างกายควรได้รับ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมและวิตามินดี เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาทะเล ผักใบเขียวและผลไม้ ไข่ และอาหารที่มีโปรตีน เป็นต้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์และเลิกสูบบุหรี่
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • เดินรับแสงแดดอ่อน ๆ ในตอนเช้า เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินดีในเลือด

โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ เกิดจาก แคลเซี่ยมในร่างกายไม่เพียงพอ จากสาเหตุต่างๆ ซึ่งเราจึงขอนำเสนอ สมุนไพรที่มีแคลเซี่ยม และ ธาตุเหล็ก ที่ มีประโยชน์ต่อกระดูก มีรายละเอียดดังนี้

ชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ชะอม  เป็นไม้พุ่ม ขนาดไม่สูง ก้านของชะอมจะมีหนามแหลม ใบมีขนาดเล็ก คล้ายใบกระถิน ใบอ่อนของชะอมมีกลิ่นฉุน ปลายใบแหลม ดอกของชะอม มีสีขาว ดอกขนาดเล็ก ผลของชะอมเป็นฝัก
ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Lvy Gourd, Coccinia มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cocconia grandis (L.) Voigt ชื่ออื่น ๆ ของผักตำลึง เช่น ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท ผักตำนินตำลึงนิยมนำมาทำอาหาร
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Piper sarmentosum Roxb. ชื่ออื่นๆของชะพลู เช่น ปูนก ปูลิง ช้าพลู  นมวา ผักอีเลิศ ชื่อเรียกของชะพลูก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น
ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย
ขมิ้น พืชที่ปลูกง่าย ลักษณะเหมือขิง ขมิ้น มีชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn ชื่ออื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้น
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศ
กระเทียม ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Garlic สรรพคุณของกระเทียม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดความดันรักษาแผลสด เป็นยาฆ่าเชื้อ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ
มะเขือยาว สมุนไพร สมุนไพรไทย ผัดสวนครัว
มะเขือยาว ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า SO-LANUM MELONGENA LINN เป็น พืชผัก มีสรรพคุณทางสมุนไพร สามารถช่วย ขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล ลดความดันโลหิต แก้ท้องเสีย
พริกไทย สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
พริกไทย ภาษาอังกฤษ เรียก Pepper สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ขับสารพิษ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงกระดูก บำรุงฟัน บำรุงสายตา  ยาอายุวัฒนะ ต้านมะเร็ง
กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมนุไพร
กระเจี๊ยบเขียว  Lady‘s Finger มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Abelmoschus esculentus Moench. ชื่ออื่นๆ ของกระเจี๊ยวเขียว เช่น กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย

โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) คือ ภาวะการมีสารอาหารแคลเลซี่ยมในเลือดต่ำกว่าปรกติ สาเหตุเกิดภาวะดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ ทำให้เกิดอาการ กล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง โรคระบบต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ  โรคนี้มีสาเหตุจากอะไร อาการโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ การรักษาและป้องกันโรคแคลเซียมในเลือดต่ำ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove