ลำไส้ขาดเลือด ลำไส้กลืนกัน ( Intestinal Anemia ) ทำให้เนื้อเยื่อเน่า อาการปวดท้อง อาเจียนเป็นสีเหลืองเขียว อจุุจระเป็นเมือกแดง ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนลำไส้ขาดเลือด ไส้เน่า โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ

โรคลำไส้ขาดเลือด หรือ ลำไส้กลืนกัน สาเหตุของโรค การรักษา อาการของโรค การอักเสบของลำไส้จากการขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้ลำไส้เน่า ไส้ทำลุ หากปวดท้อง อาเจียนเป็นสีเหลืองเขียว อจุุจระเป็นเมือกสีแดง แสดงอาการเริ่มต้นของไส้เน่า มาทำความรู้จักกับโรคลำไส้ขาดเลือดกันว่าเป็นอย่างไร

โรคลำไส้ขาดเลือด
คือ ภาวะการขาดเลือดมาเลี้ยงลำไส้ ทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื้อของลำไส้ ส่งผลให้เกิดอาการเนื้อเยื่อเน่าตาย สาเหตุที่ทำให้ลำไส้ขาดเลือดที่พบได้บ่อยที่สุด คือ โคภาวะลำไส้กลืนกัน การเกิดลำไส้กลืนกัน พบมากกับเด็กเล็ก ซึ่งเรายังไม่ทราบสาเหตุของโรคอย่างชัดเจน ถ้าเกิดการกลืนและซ้อนกันเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนนั้นได้ไม่ดี เกิดการขาดเลือด จนกระทั่งลำไส้เน่าตาย

โรคลำไส้ขาดเลือด เป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูหนาว จนถึงต้นฤดูร้อน เป็นช่วงเดียวกันกับช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ที่ทำให้เกิดลำไส้ติดเชื้อ โดยสถิติการเกิดโรคลำไส้ขาดเลือดนั้นพบว่า อัตราการเกิดโรคที่ 1 ต่อ  250 คน หรือ 4 ต่อ 1,000 คน โอกาสที่เกิดมากเป็นเด็ก ช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี และมักเกิดขึ้นในเด็กที่สมบูรณ์แข็งแรงดี

ปัจจัยของการเกิดโรคลำไส้ขาดเลือด

สำหรับโรคลำไส้ขาดเลือด มีปัจจัยต่างๆที่ทำให้ลำไส้ขาดเลือด มีรายละเอียด ดังนี้

  • เกิดจากการติดเชื้อในช่องท้อง
  • โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบลำไส้ เช่น โรคตับอ่อนอักเสบ หรือโรคเบาหวาน
  • การอักเสบที่ลำไส้
  • ได้รับบาดเจ็บที่ช่องท้อง
  • โรคเกี่ยวกับระบบเลือดและหัใจ เช่น โรคลิ่มเลือด

ปัจจัยของการเกิดโรคลำไส้ขาดเลือด นั้น เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ขาดเลือดไปเลี้ยง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ความร้ายแรงของโรคมากขึ้น คือ โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจ รวมถึงโรคความดันโลหิตต่ำ

อาการของผู้ป่วยโรคลำไส้ขาดเลือด

ลักษณะของอาการลำไส้ขาดเลือดนั้นจะมีลักษณะของอาการแบบเฉียบพลัน และมักเกิดกับเด็กทารก ที่ไม่สามารถพูดเพื่อบอกได้ว่า เกิดอะไรขึ้น ดังนั้น จำเป็นต้องสังเกตุอาการ ดังต่อไปนี้

  • มีอาการปวดท้องแบบเป็นๆหายๆ ซึ่งหากอาการเกิดกับเด็กทารก เด็กจะร้องไห้โยเย
  • มีอาการอาเจียน และในอาเจียนมีสีเหลืองปนเขียว และอาการอาเจียนจะมีเป็นระยะๆ
  • อุจจาระเหนียว เป็นมูก มีเลือดปน คลายแยมสีแดง คล้ายแยม คืออุจจาระของลูกจะมีลักษณะเหลวเหนียวข้น มีมูกเลือดปน

หากเกิดอาการอุจจาระเป็นแยม สีแดง เมื่อไร แสดงว่าเริ่มอันตรายแล้ว หากไม่รีบทำการรักษาจะทำให้ลำไส้อักเสบ เกิดอาการเน่าเสีย และลำไส้ทะลุ เสียชีวิตในที่สุด

การรักษาผู้ป่วยโรคลำไส้ขาดลือด

สำหรับการรักษาโรคลำไส้ขาดเลือดนั้น มีวิธีรักษาอยู่ 2 วิธี คือ การสวนแป้ง และการผ่าตัดลำไส้ ซึ่งรายละเอียดของการรักษาโรคลำไส้ขาดเลือด มีดังนี้

  • การรักษาลำไส้ขาดเลือด ด้วยการสวนแป้ง เป็นการรักษาทางรังสีวิทยา โดยใช้แป้งสวนก้นของเด็ก ทำให้เกิดแรงดัน ทำให้ลำไส้คลายตัว เมื่อลำไส้คลายตัว เลือดก็สามารถไปเลี้ยงลำไส้ได้ตามปรกติ อาการจะเริ่มดีขึ้น และหายภายใน 2วัน
  • การรักษาลำไส้ขาดเลือด โดยการผ่าตัดลำไส้ สำหรับการผ่าตั้นนั้น จะทำเมื่อการรักษาโดยการสวนแป้งไม่ได้ผล การผ่าตัดจะทำการดึงลำไส้ออกให้คลายตัว ให้เลือดไปเลี้ยงลำไส้ได้ตามปรกติ หากพบว่ามีอาการเน่าของลำไส้แล้สต้องตัดลำไส้ส่วนที่เน่าเสียออกแล้วต่อใหม่

โรคลำไส้กลืนกัน นี้แม้ว่าจะเป็นโรคที่ร้ายแรงและเฉียบพลัน แต่ผลของการรักษาจะดีมากถ้าวินิจฉัยได้เร็ว ปัญหาที่พบบ่อย คือ พ่อ แม่ หรือผู้ดูแลไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้ คิดว่าเป็นโรคลำไส้อักเสบ โรคบิด หรือไวรัสลงกระเพาะ ซื้อยามาให้ลูกกินเอง จนกระทั่งลูกมีอาการของลำไส้ขาดเลือด คือ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดถึงค่อยพามาหาแพทย์ ทำให้ได้รับการรักษาช้าเกินไป ดังนั้น เมื่อใดที่ลูกมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็ควรรีบพามาพบแพทย์เสียแต่เนิ่น ๆ

ภาวะลำไส้ขาดเลือดในเด็ก นั้นเกอดจากการที่ลำไส้ไม่มีเลือดไปเลี้ยง ทำให้ผนังลำไส้เกิดภาวะอักเสบและเน่าตาย จนลำไส้ทะลุ เป็นโรคอันตรายสำหรับเด็ก และการค้นหาสาเหตุของโรคยาก เนื่องจากผู้ป่วยไส่สามารถสื่อสารทางการพูดเพื่อบอกเล่าอาการเพื่อทำการวิเคราะห์และรักษา

โรคเด็กมีอะไรบ้าง

โรคหืดหอบ โรคหอบหืด โรคระบบทางเดินหายใจ หายใจไม่ออกโรคหืดหอบ โรคกลาก ติดเชื้อราที่ผิวหนัง โรคผิวหนัง โรคติดต่อกลาก
ออทิสติก เด็กออทิสติก เด็กปัญญาอ่อน เด็กพิเศษโรคออทิสติก เกลื้อน โรคผิวหนัง ผิวหนังติดเชื้อรา เกิดผื่นโรคเกลื้อน
โรคไฮเปอร์ โรคสมาธิสั้น การรักษาสมาธิสั้น อาการสมาธิสั้นโรคสมาธิสั้น โรคสมองพิการในเด็ก โรคซีพี โรคสมองพิการ สมองขาดออกซิเจนโรคสมองพิการในเด็ก ( โรคซีพี )

โรคลำไส้ขาดเลือด ลำไส้กลืนกัน ลำไส้อักเสบจากการขาดเลือด ( Intestinal Anemia ) คือ ภาวะการขาดเลือดมาเลี้ยงลำไส้ ทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื้อลำไส้ ส่งผลให้เกิดอาการเนื้อเยื่อเน่าตาย ลำไส้เน่า ลำไส้ทะลุ ปวดท้อง อาเจียนเป็นสีเหลืองเขียว อจุุจระเป็นเมือกสีแดง ปัจจัยการเกิดโรค สาเหตุ อาการ การรักษา การดูแล และ การป้องกันการเกิดโรค

ต่อมทอนซิลอักเสบ ( tonsillitis ) ติดเชื้อโรคที่ต่อมทอนซิล ทำให้เจ็บคอบริเวณด้านข้างของช่องปากทั้งสองข้าง หนาวสั่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวต่อมทอนซิลอักเสบ โรคติดเชื้อ ต่อมทอนซิล เจ็บคอ

ต่อมทอนซิลอักเสบ ( tonsillitis ) คือ ภาวะการอักเสบของต่อมทอนซิล เกิดจากเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ที่น้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยโรคต่อมทอนซิลอักเสบ ส่งผลให้เกิดอาการ เจ็บคอ เจ็บมากบริเวณด้านข้างของช่องปากทั้งสองข้าง หนาวสั่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

วันนี้เราขอเสนอ โรคต่อมทอลซิลอักเสบ ก่อนอื่นเราควรทำความรู้จักกับเจ้าต่อมทอนซิลก่อน ว่ามันคืออะไร มีหน้าที่ทำอะไร ต่อมทอนซิล ภาษาอังกฤษ เรียก tonsils คือ ต่อมตัวหนึ่งในร่างกาย อยู่บริเวณคอ มีหน้าที่ ดักจับและทำลายเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางคอ ต่อมทอนซิลจึงเป็นต่อมที่ต้องเผชิญกับเชื้อโรคบ่อยที่สุดในร่างกาย รองจากผิวหนัง ในตัวต่อมทอนซิล เป็นเนื้อเยื่อในกลุ่มต่อมน้ำเหลือง ภายในต่อมมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิด โดยปรกติต่อมทอนซิล จะมีอยู่ 3 ตำแหน่ง คือ

ต่อมทอนซิล ในคนคอมีอยู่ 3 ตำแหน่งคือ ต่อมทอนซิลที่อยู่ด้านข้างของช่องปาก เรียก พาลาทีนทอนซิล(palatine tonsil) ต่อมทอนซิลที่อยู่บริเวณโคนลิ้น เรียก ลิงกัวทอนซิล(lingual tonsil) และ ต่อมทอนซิลที่ช่องหลังโพรงจมูก เรียก อาเดียนอยทอนซิล (adenoid tonsil)

การที่ ต่อมทอนซิลอักเสบ นั้น หมายถึง ภาวะการอักเสบของต่อมทอนซิล ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ซึ่งการอักเสบอาจจะสามารถลามไปถึงโคนลิ้น และที่ด้านหลังโพรงจมูกได้ สามารถลามจนเกิดโรคคออักเสบได้

สาเหตุของการเกิดโรคต่อมทอนซิลอักเสบ

โดยมากเกิดจากเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่  และบางส่วนเกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อโรคจะอาศัยอยู่ที่น้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย สามารถติดต่อได้จากการหายใจและการสัมผัสเชื้อโรคในช่องทางต่างๆ และมีเชื้อโรคชนิดหนึ่ง ชื่อ บีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัส  กลุ่มเอ(group  A beta-hemolytic streptococcus) ซึ่งทำให้เกิดหนองที่ต่อมทอนซิลได้

อาการของผู้ป่วยโรคต่อมทอนซิลอักเสบ

จะมีอาการคล้ายกับคออักเสบทั่วไป โดยผู้ป่วยจะเจ็บคอ และจะเจ็บมากบริเวณด้านข้างของช่องปากทั้งสองข้าง โดยปรกตอแล้วผู้ป่วยจะเจ็บมากกว่า 2 วัน ทำให้การกลืนน้ลาย หรืออาหารทำได้ลำบาก ผู้ป่วยจะมีไข้ หนาวสั่น คัดจมูก มีน้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ในผู้ป่วยบางรายอาจเจ็บหู มีการอาเจียนหลังรับประทานอาหาร มีกลิ่นปาก เป็นต้น

การรักษาผู้ป่วยโรคต่อมทอนซิลอักเสบ

สามารถทำการรักษาได้หลายระดับ ตั้งแต่ การรักษาทั่วไป การให้ยารักษาโรค การรักษาโรคแทรกซ้อน และการผ่าตัด รายละเอียดของการรักษาในระดับต่างๆ มีดังนี้

  • การรักษาในระดับทั่วไป แนะนำให้ผู้ป่วยหยุดทำงาน และหยุดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ร่างกายได้หยุดพักผ่อน และหยุดการแพร่กระจายเชื้อโรค ให้ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารอ่อนๆ ให้รักษาความสะอาดของสุขอนามัยต่างๆ รวมถึงอาหาร ทานยาลดไข้ ให้บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ อมยาอมแก่เจ็บคอ และหากอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง ให้เข้ารับยาปฏิชีวนะ จากแพทย์
  • การรักษาในระดับใช้ยารักษา ซึ่งหาการพักผ่อน การทานอาหารเบาๆและสะอาดยังไม่ทำให้อาการดีขึ้น จำเป็นต้องให้ยารักษาเพิ่ม ซึ่งให้ยารักษาตามอาการของโรค เช่น ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ ยาแก้อักเสบ เป็นต้น
  • การรักษาในระดับรักษาอาการแทรกซ้อน ซึ่งโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากสาเหตุของต่อมทอนซิลอักเสบ เช่น เกิดหนองที่ต่อมทอนซิล โรคหัวใจ โรคไต ภาวะการหายใจอุดตัน จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาให้ทันท่วงที
  • การรักษาในระดับที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด  สังเกตุจากการที่ต่อมทอนซิลเกิดอักเสบ เป็นหนอง และไม่ตอบสนองการรักษา ทำให้ต่อมทอนซิลโต มีโอกาสทำใหเเกิดมะเร็งที่ต่อมทอนซิลหรือ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง จำเป็นต้องผ่าตักเอาเนื้อร้ายออก

การป้องกันการเกิดโรคต่อมทอนซิลอักเสบ

สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยง การสัมผัสกับเชื้อโรค และการสร้างภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย โดยรายละเอียดดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เมื่อเกิดโรคก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันรักษาให้หายได้เอง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ หากร่างกายอ่อนเพลีย ก็จะทำให้ร่างกายขาดภูมิต้านทานเชื้อโรคต่างๆได้
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม เจ็บคอ

อาการหนึ่งเมื่อเกิด โรคต่อมทอนซิลอักเสบ คือ อาการมีไข้ ซึ่งเราขอนำเสนอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ช่วยลดไข้ เมื่อเรามีไข้หากไม่ทำการควบคุมไข้ไม่ให้สูงก้จะ ช่วยลดอาการช็อก เนื่องจากความร้อนในร่างกายสูงเกินไป สมุนไพรช่วยลดไข้ มีดังนี้

หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลาตรีผลา
ตะลิงปลิง ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของตะลิงปลิงตะลิงปลิง ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว
อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโดอะโวคาโด ทองพันชั่ง สมุนไพร พืชท้องถิ่น สรรพคุณของทองพันชั่งทองพันชั่ง

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove