ออทิสติก ( Autistic Disorder ) ออทิสซึม ( Autism ) ความบกพร่องของพัฒนาการในเด็ก มีลักษณะเฉพาะตัว เด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะ ด้านสังคม ภาษา และการสื่อความหมายออทิสติก เด็กออทิสติก เด็กปัญญาอ่อน เด็กพิเศษ

Autism มาจากภาษากรีก หมายถึง การแยกตัวอยู่ตามลำพัง เปรียบเสมือน กำแพงใสที่กั้นบุคคลเหล่านี้ออกจากสังคมรอบข้าง โรคออทิสติก เรียกว่า พีดีดี พบว่า มีแนวโน้มการเกิดโรคสูงขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก โดยเพศชายพบมากกว่าเพศหญิง ผู้ป่วยโรคออทิสติกต้องดูแลช่วยเหลืออย่างเหมาะสม และต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง โรคนี้ที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของสมอง ทำให้เกิดความบกพร่องของพัฒนาการและสติปัญญา และทำให้เกิดความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย

การเกิดโรคออทิสติก พบในเด็กเฉลี่ย 1000 คนพบ 2 ถึง 8 คน ป่วยเป็นโรคออทิสติก ในประเทศไทยพบว่ามีอัตราส่วน 9 คนต่อ 10,000 คน พบว่าเพศชายเกิดมากกว่าเพศหญิง

สาเหตุของการเกิดโรคออทิสติก

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดออทิสติกในปัจจุบัน นั้นยังไม่สามารถสรุปสาเตุที่ชัดเจนได้ แต่กลไกการของการเกิดโรคที่สำคัญส่วนหนึ่งมาจากเลือดไปเลี้ยงเซลล์สมองไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์สมองบางส่วนทำงานน้อยหรือไม่ทำงาน จนเกิดความผิดปกติของสมองและระบบประสาท แต่ไม่พบความผิดปกติที่เกิดจากการเลี้ยงดู หรือบุคลิกภาพของพ่อแม่ สามารถสรุปสาเหตุและปัจจัยที่มีโอกาสทำให้เกิดโรคออทิสติดได้ ดังนี้

  • ความผิดปกติของระบบประสาทและสมอง ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคออทิสติก มีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมอง ด้วยความผิดปกติของสมองและการทำงานของสมองบกพร่อง
  • ความผิดปกติของสารสื่อประสาท
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม  ผู้ป่วยโรคออทิสติก มีโอกาสเป็นโรคนี้หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
  • ปัจจัยทางการเลี้ยงดู พ่อแม่ของเด็กกลุ่มโรคออทิสติกมีความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูกต่ำ ห่างเหินเย็นชา ผู้ป่วยโรคออทิสติกมักมีภาวะตึงเครียดจากการดูแล ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะวิตกกังวล หรือซึมเศร้าได้

อาการของโรคออทิสติก

ลักษณะอาการของโรคที่สามารถสัมผัสได้อย่างชัดเจน คือ ความผิดปกติด้านการเข้าสังคม ( Social disturbance ) เป็นความบกพร่องที่มีความรุนแรงมากที่สุดของกลุ่มโรคออทิสติก โดยลักษณะอาการที่พบ ประกอบด้วย

  • ไม่มองหน้า ไม่สบตา ขณะสนทนาหรือการทำกิจกรรมต่างๆ
  • ไม่แสดงออกทางอารมณ์ รวมถึง สีหน้า ท่าทาง การยิ้ม
  • ไม่มีท่าทางแสดงออกเพื่อการสื่อสาร เช่น ไม่ชี้นิ้วบอกถึงสิ่งที่ต้องการ ไม่พยักหน้า หรือ ส่ายหน้า เพื่อแสดงออกถึงความต้องการ
  • ไม่ตอบสนองต่อเสียงเรียกหา ไม่สนใจเวลาพูดคุยด้วย
  • ชอบเล่นคนเดียว ไม่สนใจเข้าไปเล่นกับเด็กคนอื่น
  • ไม่แสดงอารมณ์หรือท่าทางดีใจ เช่น ยิ้ม วิ่งมาหา หรือ เข้ามากอด และไม่ร้องตาม พ่อแม่ ไม่เข้ามาแสดงความรักกับพ่อแม่ เช่น การกอด การจูบ การเข้ามาซบอก
  • ไม่เข้าใจสถานการณ์ทางสังคมที่ซับซ้อน
  • ไม่สามารถทำท่าเลียนแบบผู้ใหญ่ได้ เช่น แต่งหน้า หวีผม

ความผิดปกติหรืออาการอื่นๆที่พบร่วมกับผู้ที่มีอาการป่วยโรคออทิสติก

สำหรับผู้ป่วยโรคออทิสติกนั้นมักพบว่ามีอาการของโรคอื่นๆร่วมด้วยเสมอ เป็นความผิดปกติที่พบร่วมกับกลุ่มโรคออทิสติกได้ โดยสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • โรคปัญญาอ่อน พบว่าร้อยละ 70 ของผุ้ป่วยโรคออทิสติก มีภาวะปัญญาอ่อนร่วมด้วย
  • อาการชัก ผู้ป่วยโรคออทิสติก มีโอกาสการชักสูงกว่าคนทั่วไป ส่วนใหญ่อาการชักมักเริ่มในวัยรุ่น ช่วงอายุที่มีโอกาสชักมากที่สุด คือ 10 -14 ปี
  • มีปัญหาเรื่องการนอน ผู้ป่วยโรคออทิสติก จะนอนยาก นอนน้อย และ นอนไม่เป็นเวลา
  • มีปัญหาด้านการกินอาหาร ซึ่งผู้ป่วยจะไม่กินสิ่งที่ไม่อยากกิน
  • มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว และการทรงตัว ไม่สามารถทำได้อย่างปรกติเหมือนคนทั่วไป
  • มีปัญหาทางอารมณ์

การรักษาโรคออทิสติก

โรคออทิสติก ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การรักษาเพื่อเป้าหมายของการรักษาคือการส่ง เสริมพัฒนาการและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ใกล้เคียงเด็กปกติมากที่สุด การวินิจฉัยและได้รับการรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย และต่อเนื่องทำให้ผลการรักษาดี โดยวิธีการรักษาที่เหมาะสมคือ บูรณาการ การรักษาด้านต่างๆเข้าด้วยกันตามความจำเป็นของเด็กแต่ละคน วิธีการรักษา ได้แก่

  • การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม เช่น การลดพฤติกรรมความก้าวร้าวและการใช้ความรุนแรง
  • การฝึกพูด การพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสารที่ล่าช้ากว่าคนปรกติ จะช่วยลดพฤติกรรมความก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อสารได้ตามที่ต้องการ
  • การส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นๆควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และ การปรับพฤติกรรม
  • การศึกษาพิเศษควรจัดการศึกษาที่มีระบบชัดเจน ไม่มีสิ่งเร้าที่มากเกินไป และ ควรวางแผนการศึกษาร่วมกันระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน
  • การฝึกอาชีพ มองหอาอาชีพให้เหมาะสมกับพัฒนาการของผู้ป่วย เพื่อให้ผุ้ป่วยสามารถดำรงชีพได้ด้วยตนเอง
  • รักษาด้วยยา การใช้ยาเพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และ ช่วยให้เด็กสามารถฝึกได้ง่ายขึ้น ยาจะไม่ใช่ยาที่รักษาอาการของโรค แต่เป็นยาที่ควบคุมพฤติกรรมของเด็ก

แนวทางดูแลและช่วยเหลือเด็กออทิสติก

สำหรับการเลี้ยงดูเด็กออทิสติกนั้น มีแนวทางการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก โดยมีแนวทาง ดังนี้

  • ต้องส่งเสริมกำลังใจคนในครอบครัว ( Family Empowerment ) ครอบครัว มีความสำคัญที่สุดในการช่วยเหลือเด็กออทิสติกให้สามารถดำรงชีวิตได้ ความรู้ความเข้าใจ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ ผู้ปกครองตั้งเริ่มเรียนรู้ และส่งเสริมทักษะต่างๆในการดูแลตัวเองของเด็กออทิสติก
  • ต้องส่งเสริมพัฒนาการความสามารถของเด็ก ( Ability Enhancement ) การเสริมสร้างโอกาสให้เด็ก มีความสามารถที่หลากหลายด้วยกิจกรรม เช่น ดนตรี กีฬา และศิลปะ จะช่วยให้เด็กมีโอกาสแสดงความสามารถมากขึ้น
  • ส่งเสริมพัฒนาการ ( Early Intervention ) การจัดกิจกรรมเพื่อใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กตามวัย โดยยึดหลักและลำดับขั้นพัฒนาการของเด็กปกติ ควรเน้นในเรื่องการมองหน้าสบตา การมีสมาธิ การฟัง และการทำตามคำสั่ง ทักษะเหล่านี้ อาจทำให้เกิดความเครียดทั้งกับผู้ปกครองและตัวเด็กเอง แต่เมื่อเด็กมีทักษะพื้นฐานเหล่านี้ดีแล้ว การต่อยอดในทักษะที่ยากขึ้นก็จะไม่ยากอีกต่อไป
  • พฤติกรรมบำบัด ( Behavior Therapy ) ส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง และหยุดพฤติกรรมที่จะเป็นปัญหา เสริมสร้างทักษะด้านภาษา ด้านสังคม และทักษะอื่นๆ เมื่อเด็กมีพฤติกรรมตามที่เราต้องการ ต้องชมเชย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
  • ฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ( Medical Rehabilitation ) เช่น การแก้ไขการพูด ทำกายภาพบำบัด
  • การแก้ไขการพูด ( Speech Therapy ) พัฒนาการทางภาษาต้องใกล้เคียงปกติที่สุด การแก้ไขการพูดมีความสำคัญ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือผู้ปกครอง ซึ่งใกล้ชิดกับเด็กที่สุด
  • กิจกรรมบำบัด ( Occupational Therapy ) การประยุกต์กิจวัตรประจำวันและกิจกรรมต่างๆ สามารถทำให้เด็กออทิสติกสามารถกลับไปดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปรกติที่สุด นักกิจกรรมบำบัด ( Occupational Therapist ) จะเป็นผู้ที่ประยุกต์ใช้กิจกรรมต่างๆ มาช่วยในการบำบัดเด็กตามสภาพปัญหาของเด็กแต่ละคน
  • การฟื้นฟูความสามารถทางการศึกษา ( Educational Rehabilitation ) การศึกษามีบทบาทสำคัญในการเพิ่มทักษะด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
  • การฟื้นฟูความสามารถการเข้าสังคม ( Social Rehabilitation ) ฝึกฝนทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กออทิสติกสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ
  • ฝึกทักษะการใช้นชีวิตประจำวัน ( Activity of Daily Living Training ) การจัดกระบวนการเรียนรู้ ในกิจวัตรประจำวัน ต้องฝึกฝนจนเกิดความเคยชิน เพื่อให้เขาสามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเอง
  • ฝึกทักษะทางสังคม ( Social Skill Training ) ความบกพร่องที่สำคัญของเด็กออทิสติก เพื่อช่วยให้เด็กออทิสติกสามารถเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม เพื่อสามารถปรับตัวเข้าสังคมได้
  • ฟื้นฟูทักษะทางอาชีพ ( Vocational Rehabilitation ) ปัจจุบันการทำงานประกอบอาชีพส่วนตัว เพื่อเป้าหมายให้เด็กออทิสติกสามารถทำงาน มีรายได้ และดำรงชีวิตโดยอิสระ เพื่อพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด
  • การบำบัดทางเลือก ( Alternative Therapy ) การบำบัดรักษาในปัจจุบันยังมีแนวทางการบำบัดทางเลือกที่หลากหลาย  สามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับสภาพปัญหา สิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจกับปัญหา การบำบัดทางเลือก เช่น การสื่อความหมายทดแทน ( Augmentative and Alternative Communication; AAC ) ศิลปกรรมบำบัด ( Art Therapy ) ดนตรีบำบัด ( Music Therapy ) เครื่องเอชอีจี ( HEG; Hemoencephalogram ) การฝังเข็ม ( Acupuncture ) การบำบัดด้วยสัตว์ ( Animal Therapy ) การบำบัดด้วยหุ่นยนต์ ( Robot Therapy ) เป็นต้น

โรคออทิสติก ( Autistic Disorder ) หรือ ออทิสซึม ( Autism ) คือ ความบกพร่องของพัฒนาการในเด็ก ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว  โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะ ด้านสังคม ภาษา และการสื่อความหมาย ได้ ปัญหานี้เป็นตั้งแต่เล็ก และแสดงให้เห็นได้ก่อนอายุ 3 ขวบ โรคนี้ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้  เด็กออทิสติกต้องดูแลอย่างไร

ท้องเสีย ภาวะการถ่ายอุจจาระเหลว เกิน 3 ครั้งในหนึ่งวัน ลักษณะอุจจาระเป็นน้ำ มีมูกเลือก สาเหตุจากการติดเชื้อโรค การป้องกันและรักษาอาการท้องร่วงต้องทำอย่างไรท้องเสีย ท้องร่วง อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ

อาการท้องร่วงนั้น หากโดยอาจถ่ายเป็นน้ำหรือเป็นมูกเลือด จะเรียกว่าเป็น โรคบิด หากมีอาการท้องเสียอย่างรวดเร็วใน 14 วันจะเรียก ท้องเสียเฉียบพลัน และหากท้องเสียแบบต่อเนื่องนาน 30 วันจะเรียกว่า ท้องเสียต่อเนื่อง และหากท้องเสียนานเกิน 30 วันจะเรียก ท้องเสียเรื้อรัง

ลักษณะอาการของโรคท้องร่วง

อาการสำคัญของโรคท้องร่วง คือ การถ่ายอุจจาระตั้งแต่วันละ 3 ครั้ง จะมีอาการ คือ ปวดอุจจาระ ถ่ายเป็นน้ำหรือถ่ายเหลว อ่อนเพลีย อาจมีอาการ มีไข้ และปวดเมื่อยตามตัวด้วย ซึ่งสามารถเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ เชื้อไวรัส เราสามารถสรุปอาการสำคัญได้ดังนี้

  • มีอาการกระหายน้ำ
  • ปัสสาวะน้อย ลักษณะปัสสาวะมีสีเหลืองเข็ม
  • ปากแห้ง
  • ลิ้นแห้ง
  • ผิวแห้ง
  • หากเกิดอาการขาดน้ำอย่างรุนแรงจะเกิดอาการ วิงเวียนศรีษะ มึนงง กระสับกระส่าย และอาจเกิดอาการช็อกได้

สาเหตุของการเกิดอาการท้องร่วง

เราสามารถสรุปสาเหตุของการเกิดท้องร่วงได้ คือ จากการเกินอาหารไม่สะอาดจนเกิดอาหารเป็นพิษ การติดเชื้อโรคทั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย โดยราลยะเอียดของสาเหตุการเกิดโรคท้องร่วงมี ดังนี้

  • อาหารเป็นพิษ เกิดจากอาหารที่ปรุงสุกแต่ทิ้งไว้นานจนเกิดเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย เจริญเติบโตในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เชื้อโรคสามารถสร้างสารพิษออกมาได้ ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ ปวดท้องแบบบิดๆ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • เกิดจากการติดเชื้อโรค มักเกิดกับเด็กๆอายุต่ำกว่า 2 ปี มักเกิดในฤดูร้อน เชื้อโรคจะทำลายเยื่อบุลำไส้เล็ก ทำให้ลำไส้ลดการหลั่งน้ำย่อย แบคทีเรียในลำไส้สลายเกิดเป็นกรด และทำให้อุจจาระร่วงมากขึ้น
  • อหิวาตกโรค โรคนี้ปัจจุบันไม่พบบ่อย คนไข้จะมีอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง โรคนี้เกิดจากการกินน้ำหรืออาหารที่ไม่สะอาด ที่มีเชื้อโรคเจือปน

อาการอุจจาระเป็นมูกเลือด เกิดจากสาเหตุ 2 กลุ่ม คือ ติดเชื้อแบคทีเรีย และ ติดเชื้ออะมีบา

อาการของโรคท้องร่วง

ลักษณะที่เด่นชัดของโรคท้องร่วง คือ ผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำครั้งละมากๆ และหลายครั้ง ในบางคนจะถ่ายอุจจาระมีลักษณะเหมือนน้ำซาวข้าว ซึ่งการถ่ายเหลว ทำให้ผู้ป่วยเสียน้ำในร่างกายอย่างรวด ส่งผลต่อความดันโลหิตต่ำ จนเกิดอาการช็อก และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ปัจจุบันมีวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรค มีทั้งยาฉีดและยากิน แต่ไม่แนะนำให้ใช้ ยกเว้นคนที่จะเดินทางไปในประเทศที่มีโรคนี้ชุกชุม เช่น อินเดีย บังคลาเทศ สามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้

การรักษาอาการท้องร่วง

สำหรับการรักษาอาการท้องร่วง ให้ป้องกันอาการร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรง ด้วยการดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่ สำหรับการรักษาให้แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ คนที่อายุต่ำกว่า 2 ปี และ คนที่อายุเกิน 2 ปี โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ดื่มครั้งละ ครึ่งแก้ว โดยการใช้ช้อนป้อนไม่ควรให้ดูดจากขวดนม เนื่องจาก เด็กจะกระหายน้ำและดื่มน้ำอย่างรวดเร็ว ทำให้น้ำที่ดื่มดูดซึมเข้าสู่ร่างกายไม่ทัน ควรให้อาหารเหลว เช่น น้ำข้าวต้ม น้ำแกงจืด และนมแม่
  • หากผู้ป่วยเป็นเด็กอายุมากกว่า 2 ปี ควรให้ดื่มน้ำเกลือแร่ครั้งละ 1 แก้ว โดยให้จิบทีละน้อยแต่บ่อยๆ หากมีอาการดีขึ้นก็ให้หยุดดื่มน้ำเกลือแร่ และให้กินอาหารที่อ่อนๆ เพื่อให้ลำไส้ฟื้นตัวเร็วจากการติดเชื้อ

การดูแลตนเอเมื่อท้องร่วง

ข้อปฏิบัตตนเมื่ออยู่ในภาวะท้องเสีย ให้ทำตัวดังนี้

  • ให้พักผ่อนให้เพียงพอ หากทำงานให้หยุดทำงาน หากรียนหนังสือให้หยุดเรียน
  • ให้ดื่มน้ำมากๆ หรือ ดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไป
  • ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ รสจืด
  • ควรรีบพบแพทย์เมื่อ มีอาการท้องเสียและไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน ปวดท้องมาก คลื่นไส้ อาเจียน ตัวเหลืองและตาเหลือง มีไข้สูง อุจจาระเป็นมูกเลือด อุจจาระมีสีดำและเหนียวเหมือนยางมะตอย

ป้องกันอาการท้องร่วง

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • กินอาหารสุกและปรุงใหม่เสมอ
  • ดื่มน้ำสะอาด ไม่ควรกินน้ำแข็ง
  • ล้างมือให้สะอาดเสมอโดยเฉพาะก่อนกินอาหาร
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย เช่น วัคซีนโรคตับอักเสบ

ท้องเสีย คือ ภาวะการถ่ายอุจจาระเหลว เกิน 3 ครั้งในหนึ่งวัน ลักษณะอุจจาระเป็นน้ำ หรือ มีมูกเลือก สาเหตุจาก อาหารเป็นพิษ ติดเชื้อโรค หรือ อหิวาตกโรค การป้องกันและการรักษาท้องร่วงทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove