โรคฝีดาษ ไข้ทรพิษ ไข้หัว Smallpox โรคติดต่อร้ายแรงจากเชื้อไวรัสวาริโอลา ติดต่อจากการหายใจและสัมผัสผู้ป่วย ทำให้ปวดหัว ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ผื่นขึ้นที่ตามตัวโรคฝีดาษ โรคติดเชื้อ โรคผิวหนัง โรคติดต่อ

โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Variola ถือเป็นโรคติดต่อชนินหนึ่ง เป็นโรคติดต่อร้ายแรง โรคนี้เป็นโรคติดเชื้อจาก poxvirus ซึ่งผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง สามารถระบาดได้ โรคเป็นโรคระบาด โรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ หรือ ไข้หัว สำหรับใน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Small pox หรือ Variola โดยคำว่า Variola มาจากภาษาละติน แปลว่า จุด หรือตุ่ม โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยอาการหลักของผู้ป่วย คือ มีผื่นที่เป็นตุ่มหนองขึ้นตามผิวหนัง ซึ่งดูเป็นที่น่ารังเกียจ และผื่นเหล่านี้เองก็สามารถแพร่เชื้อได้ด้วย โรคนี้ติด ต่อกันได้ค่อนข้างง่าย มีโอกาสเสียชีวิตได้สูง ยังไม่มียารักษา มีวัคซีนสำหรับป้องกันได้ แต่ในปัจจุบันโรคนี้ได้ถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปแล้ว จึงไม่มีการแนะนำให้ฉีดวัคซีนในประชากรทั่วไปอีกต่อไป

สาเหตุของการเกิดโรคฝีดาษ

สาเหตุของโรคฝีดาษ เกิดจากไวรัส DNA เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ พบว่ามี 2 ชนิด คือ ชนิดแรก variolar major มีความรุนแรงสูงอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ พบว่าอัตราการตายมากถึง 1 คน ใน 3 คน ชนิดที่สอง alastrim ชนิดนี้อาการไม่รุนแรงเท่ากับชนิดแรก ชนิดนี้ไม่ตายมากเท่าชนิดแรกแต่ผู้ติดเชื้อ จะมีสะเก็ดที่ผิวหนังนานเป็นปี

โรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษติดต่อกันได้อย่างไร โรคนี้สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสตัวผู้ป่วย หรือรับเชื้อโรคจากผู้ป่วย จากการ ไอ จาม หรือตอนพูด นอกจากนี้อาจจะสามารถติดต่อได้ทางเสื้อผ้า ที่นอน ผ้าห่ม หรือ เสื้อของผู้ป่วย

อาการของผู้ป่วยโรคฝีดาษ

สำหรับอาการของโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ ผู้ป่วยจะ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดเมื่อยตามตัว มีไข้สูง ถ้าเกิดในในเด็กจะมีอาเจียน  มีอาการชัก และหมดสติ หลังจากนั้นผู้ป่วยโรคฝีดาษมีผื่นแดงแขนและขา จากนั้นจะมีอาการคันมากที่ผิวหนังและจะกลายเป็นตุ่มขึ้นที่ผิวหนังจากนั้นแผลจะแห้งและเป็นสะเก็ดในประมาณ 2 สัปดาห์ต่อมา อาการของโรคฝีดาษ สามารถแยกอาการเป้นข้อๆ ได้ดังนี้

  • อาการเริ่มแรก เริ่มด้วยปวดศีรษะ สะท้าน ปวดหลัง ปวดตามกล้ามเนื้อแขนขา ไข้จะขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว สูงไดถึง 41-41.5องศา ในเด็กจะมีอาเจียน ชัก และหมดสติ ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีผื่นแดงเกิดขึ้นใน 2 วันแรก ผื่นมักจะขึ้นบริเวณแขนหรือขา
  • ระยะออกผื่น ประมาณวันที่ 3 หลังมีไข้ ผื่นที่แท้จริงของฝีดาษจะเริ่มปรากฏขึ้นจะเริ่มที่หน้า แล้วไปที่แขน หลัง และขา ผื่นมักเป็นมากบริเวณที่ผิวหนังตึง เช่นที่ข้อมือ โหนกแก้ม สะบัก เป็นต้น ผื่นจะขึ้นเต็มที่ภายในเวลา 2 วัน ไข้จะเริ่มลงในวันที่ 2-3 หลังผื่นขึ้น และอาการต่างๆจะดีขึ้น ลักษณะผื่น จะเริ่มเป็นผื่นขนาดหัวเข็มหมุด และโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในวันที่2 และกลายเป็นตุ่มน้ำในวันที่ 3 ใส ในวันที่ 5 จะเป็นตุ่มน้ำขุ่น การเปลี่ยนแปลงของผื่นจะเป็นไปพร้อมกันทั้งตัว ในวันที่ 8 ผื่นจะเริ่มแห้งโดยเริ่มที่หน้าก่อน ผื่นจะกลายเป็นสะเก็ดในวันที่12-13
  • ระยะติดต่อตั้งแต่ตอนที่เริ่มมีอาการ และช่วงสัปดาห์แรก ที่จะเป็นช่วงที่มีโอกาสแพร่เชื้อได้ง่ายที่สุด ไปจนถึงตอนที่แผลแห้งเป็นสะเก็ดแล้ว

การรักษาโรคฝีดาษ

สำหรับ การรักษาโรคฝีดาษ หรือ การรักษาไข้ทรพิษ ในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถหายาที่มารักษาโรคนี้ได้โดยตรง แต่สามารถรักษาตามอาการ โดยเมื่อพบผู้ป่วยเราต้องแยกผู้ป่วยออกจากคนอื่น เพื่อป้องกันการติดเชื้อ จากนั้นให้ผู้ป่วยพักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำมากๆเพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ รักษาความสะอาดให้มากที่สุด ไม่ต้องอาบน้ำเช็ดตัวก็พอ

  1. ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่ใช้รักษาโรค
  2. ต้องแยกนอนโรงพยาบาลที่รับเฉพาะโรคติดต่อ
  3. การรักษาประคับประคองและรักษาตามอาการ
    • ให้ผู้ป่วยนอนพักในที่นอนที่สะอาด และทำความสะอาดที่นอนบ่อยๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย
    • แก้ไขภาวะขาดน้ำและความผิดปกติของเกลือแร่
    • ระวังรอยโรคที่ปากและตา โดยทำความสะอาดอวัยวะทั้งสองบ่อยๆ
    • ไม่ควรอาบน้ำหรือใช้น้ำยาใดๆทาเคลือบผิวหนัง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคฝีดาษ

  1. ผิวหนัง อาจจะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม เมื่อหายแล้วจะมีแผลลึก
  2. ระบบทางเดินหายใจ เกิดการอักเสบที่กล่องเสียง ทำให้กล่องเสียงบวม เกิดปอดบวมได้บ่อย
  3. กระดูก เกิดการอักเสบของกระดูกจากเชื้อไวรัสได้บ่อย มักพบในวันที่10-12 ของโรค ในเด็กมักจะเป็นรุนแรงและมีการทำลายของกระดูกและข้อ
  4. ตา เกิดเยื่อบุตาอักเสบ และการบวมของหนังตา
  5. ระบบประสาทส่วนกลาง เกิดการอักเสบของสมองในระยะท้ายของโรค

การป้องกันโรคฝีดาษ

สำหรับโรคฝีดาษนั้น สามารถป้องกันได้อย่างไร เราสารมารถป้องกันได้โดยการปลูกฝี ด้วยการฉีดวัคซีน หลังการฉีดวัคซีนจะมีภูมิอยู่ได้ 3-5 ปี การใช้วัคซีนก็ยังมีผลข้างเคียงเช่นกัน โดยผู้ที่ได้รับวัคซีนบางรายอาจจะได้รับผลข้างเคียงไม่ร้ายแรง หรือบางรายอาจลุกลามกลายเป็นโรคฝีดาษได้ จึงทำให้ในปัจจุบันได้มีการยกเลิกการให้วัคซีนไปแล้ว แต่ก็ยังคงมีวัคซีนเก็บรักษาไว้ในกรณีที่อาจเกิดการระบาดอย่างไม่คาดคิด

สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย ไข้ทรพิษ อาการปวดเมื่อยตามตัวเป็นอาการหนึ่งที่จะเกิดขึ้นกับคนเป็นไข้ทรพิษ ดังนั้นการใช้สมุนไพรแก้ปวดเมื่อยจะช่วยลดความปวดของผู้ป่วยได้ สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย ประกอบด้วย

แคนา ต้นแคนา สมุนไพร ประโยชน์ของแคนาแคนา
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศกระเทียม
หญ้าคา สมุนไพร สมุนไพรไทยหญ้าคา
ไมยราบ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกไมยราบ
มะเฟือง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้มะเฟือง
มะระ สมุนไพร พืชรสขม ประโยชน์ของมะระมะระ
ขิง สมุนไพร สรรพคุณของขิง ประโยชน์ของขิงขิง
ฟ้าทลายโจร สมุนไพร สมุนไพรไทย ประโยชน์ของฟ้าทะลายโจรฟ้าทะลายโจร

โรคฝีดาษ ไข้ทรพิษ ไข้หัว ( Smallpox ) คือ โรคติดต่อร้ายแรง โรคระบาด เกิดจากเชื้อไวรัสวาริโอลา Variola Virus สามารถติดต่อจากการหายใจ และ ใกล้ชิดและสัมผัสผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ เกิดผื่นที่แขน หลัง ขา และ บริเวณผิวหนังที่ตึง และทำให้เกิดแผลสะเก็ด

มือเท้าปากเปื่อยเกิดจากเชื้อไวรัสเอนเทอโร Enterovirus พบบ่อยในเด็ก อาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดตามตัว มีตุ่มเล็กๆบริเวณมือเท้าและปาก ไม่มียารักษาโรคโรคมือเท้าปาก โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ

โรคปากเปื่อย เท้าเปื่อย เป็น โรคติดต่อ สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งพบมากในเด็ก เด็กป่วยเป็น โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยบ่อย โรคนีเกิดจากการติดเชื้อไวรัสจะมีอาการเป็นไข้ และมีตุ่มเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก อาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง

โรคปากเปื่อย เท้าเปื่อย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่ม Enteroviruses ซึ่งมีเป็นเชื้อไวรัสที่มีหลายสายพันธุ์ ส่วนใหญ่โรคปากเปื่อยและเท้าเปื่อยเกิดจาการติดเชื้อไวรัสชื่อ coxsackie A16 และ Enterovirus 71

สาเหตุของโรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปาก หรือ โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ( Enterovirus ) ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ค็อกแซคกีเอและบี ( Coxsackie A , B ), ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 ( Enterovirus 71 – EV71 ) , ไวรัสเอ็คโคไวรัส ( Echovirus )  แต่ไวรัสที่พบว่าเป็นสาเหตุการติดเชื้อมากที่สุด คือ ไวรัสค็อกแซคกีเอชนิด 16  (Coxsackievirus A 16 ) อาการมักจะไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถหายได้เอง แต่หากติดเชื้อจาก ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 อาการจะหนัก และหากเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

การติดเชื้อไวรัส เกิดจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจาก จมูก ลำคอ ละอองน้ำมูกน้ำลาย หรือ น้ำเหลือง ของผู้มีเชื้อโรค การดูดเลียนิ้วมือ รวมถึงจากการรับประทานอาหาร การดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค โดยสถานที่ที่มักมีการระบาดของโรค เช่น โรงเรียนอนุบาล และ สถานรับเลี้ยงเด็ก

ระยะของการเกิดโรคมือเท้าปาก

สำหรับระยะการเกิดโรคมี 2 ระยะ คือ ระยะฟักตัวของดรค และ ระยะเกิดซ้ำ

  • ระยะฟักตัวของโรค เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ภายใน 7 วัน ผู้ป่วยจึงจะแสดงอาการ
  • ระยะการเป็นซ้ำ โรคนี้สามารถเกิดซ้ำได้ หากเชื้อไวรัสเป็นคนละสายพันธุ์ กับที่เคยเกิด

อาการของโรคปากเท้าเปื่อย

ผู้ป่วยจะมีอาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว แต่อาการป่วยสามารถหายได้เอง จะเห็นแผลแดงเล็กๆตามปาก ลักษณะเป็นตุ่มน้ำ โรคมือเท้าปาก ต้องระวังการเกิดแทรกซ้อน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น ซึ่งอาการแทรกซ้อนเหล่านี้อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อน ที่ควรสังเกตุ คือ

  • เด็กมีอาการซึมลง ไม่เล่น ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม
  • บ่นปวดศีรษะมาก ปวดทนไม่ไหว
  • มีอาการพูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง หรือเห็นภาพแปลกๆ
  • ปวดต้นคอ คอแข็ง มีการรับรู้สับสน ซึมลง และอาเจียน
  • มีอาการสะดุ้งผวา ตัวสั่นๆ แขนหรือมือสั่นบ้าง
  • มีอาการไอ หายใจเร็ว ดูเหนื่อยๆ หน้าซีด มีเสมหะมาก โดยอาจมีหรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้

การรักษาโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย

โรคนี้ยังไม่มียาที่สามารถรักษาโดยตรง สามารถทำได้โดยการรักษาตามอาการทั่วไป ผู้ป่วยต้องพักผ่อนมากๆ หากเกิดอาการอ่อนเพลียมากๆให้ไปรับน้ำเกลือที่โรงพยาบาลหรือทานเกลือแร่ แต่ต้องระวังอาการแทรกซ้อนทางสมองและหัวใจ

การป้องกันโรคมือเท้าปากเปื่อย

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ป่วยโรคนี้
  2. ดูแลสุขอนามัยให้สะอาด
  3. ไม่ใช้ภาชนะต่างๆร่วมกับผู้ป่วยโรคนี้
  4. หลีกเลี้ยงการใช้ผ้าเช็ดตัว และการสัมผัสน้ำลายหรือน้ำมูกของผู้ป่วย

โรคมือเท้าปากเปื่อย ( Hand Foot Mouth Disease ) การติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ( Enterovirus ) พบบ่อยในทารกและเด็ก อาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว และ มีตุ่มเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก แต่อาการป่วยสามารถหายได้เอง โรคมือเท้าปาก แต่บางรายจะมีอาการรุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove