ติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( E.coli ) เป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย อุจจาระร่วง โรคทั่วไปที่พบบ่อยในช่วงอากาศร้อน อาหารเน่าเสียบ่อย การติดเชื้ออีโคไลรักษาอย่างไรE.Coli โรค การติดเชื้อแบคทีเรีย แบคทีเรียอีโคไล

แบคทีเรียอีโคไล ภาษาอังกฤษ เรียก Escherichia coli เรียกย่อๆว่า E. coli คือ เชื้อแบคทีเรียประเภทหนึ่งพบในลําไส้ของสิ่งมีชีวิตในสัตว์เลือดอุ่นรวมถึงมนุษย์ โดยปกติแล้วแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) จะไม่ทําอันตรายต่อร่างกายของสิ่งมีชีวิต หากอยู่ในลําไส้ของสิ่งมีชีวิตจะมีประโยชน์ช่วยย่อยอาหาร แต่หากแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เข้าสู่อยวัยวะอื่นๆของร่างกาย จะทำให้เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง เช่น ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่สร้างสารพิษ ซึ่งทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ ซึ่งอาการที่พบบ่อย คือ ท้องร่วง และ อุจจาระมีเลือดปน และในบางรายอาจมีอาการรุนแรง ทำให้เกิดความผิดของไต

กลไกของการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) จะสร้างชิกา ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ STX1 ( Shiga toxin 1 ) และ STX2 ( Shiga toxin 2 ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) จะสร้างโปรตีนชื่อ อินติมิน ( Intimin ) ซึ่งโปรตีนอินติมินใช้ในการเข้าไปเกาะเซลล์ที่เยื่อบุผนังของลำไส้ และ จะสร้างสารพิษ ชนิดเอนเทอโรฮีโมลัยซิน ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกและไตวายในที่สุด

ชนิดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) สามารถแบ่งได้ 6 ชนิด ประกอบด้วย  Enterotoxigenic E coli ( ETEC ), Enterohemorrhagic E coli ( EHEC ) , Enteropathogenic E coli ( EPEC ) , Enteroinvasive E coli ( EIEC ) , Enteroaggregative E coli ( EAEC ) , Shiga-toxin producing E coli ( STEC ) รายละเอียดของเชื้อโรคแต่ละชนิด มีดังนี้

  • ETEC ( Enterotoxigenic E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ ทำให้อุจจาระเหลว เชื้อโรคชนิดนี้จะเข้าไปเกาะที่ผนังของลำไส้เล็กและปล่อยสารพิษเข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้ เป็นสาเหตุของอาการถ่ายอุจจาระเหลว
  • EHEC ( Enterohemorrhagic E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ ทำให้มีการถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เชื้อโรคชนิดนี้จะสร้างสารพิษในลำไส้ทำให้มีเลือดออกเวลาถ่ายอุจจาระ
  • STEC ( Shiga-toxin producing E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ จะเข้าไปจับที่ผนังของลำไส้ใหญ่ จากนั้นจะปล่อยสารพิษหลายชนิด ซึ่งสารพิษเป็นพิษต่อผนังหลอดเลือด
  • EPEC ( Enteropathogenic E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ จะทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว เชื้อโรคชนิดนี้จะเกาะอยู่ตามลำไส้เล็ก
  • EIEC ( Enteroinvasive E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ ทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเหลว เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายลำไส้ใหญ่ และปล่อยสารพิษ จนทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเหลว
  • EAEC ( Enteroaggregative E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ จะเกาะอยู่ในลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก และปล่อยสารพิษ(toxin) เข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้

สาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

โดยปกติแล้วแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) จะอาศัยอยู่ในลําไส้ของสิ่งมีชิวิต เช่น สุกร โค กระบือ เป็นต้น และ เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) จะถูกขับออกจากสิ่งมีชีวิตผ่านทางอุจจาระ เมื่ออุจจาระลงดินหรือลงสู่แหล่งน้ำ หากสภาพสิ่งแวดล้อมเหมาะแก่การเจริญเติบโตของแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ก็จะเป็นแหล่งเพาะแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชั้นดี และ เชื้อเหล่านี้จะสามารถปนเปื้อนอาหารและน้ำดื่ม และสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ในที่สุด

ช่องทางการเข้าสู่ร่างกายของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์โดยทางอาหารหรือการสัมผัส   สามารถสรุปสาเหตุทั่วไปที่อาจทำให้ได้รับเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ได้ดังนี้

  • การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )
  • การสัมผัสเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) และ เข้าสู่ร่างกายในช่องทางต่างๆ เช่น แผล ปาก หู จมูก เป็นต้น
  • การสัมผัสมูลสัตว์ที่มีเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )ปะปน
  • การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )
  • การว่ายน้ำในสระน้ำหรือแหล่งน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )ปะปน

อาการของผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ การแสดงอาการของโรคมีตั้งแต่ไม่แสดงอาการใดๆเลยจนถึงเกิดอาการรุนแรง เช่น ขับถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาการคลื่นไส้อาเจียน มีไข้ต่ำ ปวดท้อง ขับถ่ายมีเลือดปน ซึ่งความรุนแรงต่างๆของอาการนั้นขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายของแต่ละคน

หากการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เกิดกับเด็กทารกหรือเด็กเล็ก อาการมักจะไม่แน่นอน บางรายคล้ายอาการของเด็กโต คือ ท้องร่วง ต่อมาจะเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบ และหากเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เข้ากระแสเลือด จะทำให้มีไข้สูง ตาเหลือง หายใจลำบาก เบื่ออาหาร อาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว มีอาการซึมเศร้า และหากรักษาล่าช้า อาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

สำหรับแนวทางการรักษาอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ไม่จำเป้นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา เนื่องจากอาการของโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) สร้างสารพิษออกมา การให้ยาปฏิชีวนะในการรักษาอาจเป็นการกระตุ้นให้ เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ปล่อยสารพิษออกมามากขึ้น ซึ่งทำให้อาการของโรคหนักมากขึ้น การรักษาใช้การประคับประครองการสูญเสียน้ำในร่างกายควบคู่กับควบคุมไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ให้น้ำเกลือร่วมกับการให้ยาลดไข้ และร่างกายจะมีกระบวนการในการขับสารพิษออกจากร่างกายทำให้อาการดีขึ้นและหายเป็นปรกติได้เอง

การป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

สำหรับแนวทางการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการรับสารพิษหรือสิ่งสกปรกเข้าสู่ร่างกายในช่องทางต่างๆ รวมถึงทำร่างกายให้แข็งแรงสามารถรับมีกับเชื้อโรคได้ ซึ่งสามารถสรุปแนวทางต่างๆได้ดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากการเข้าห้องน้ำ รวมถึงหลังจากการสัมผัสสัตว์ ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
  • ถ่ายอุจจาระลงในห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะ โดยไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแหล่งน้ำ
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุก และถูกสุขลักษณะ
  • ควรเก็บอาหารประเภทเนื้อสัตว์ไว้ในอุณหภูมิต่ำ เพื่อลดการเกิดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ในเนื้อสัตว์
  • ล้างผักสดให้สะอาด โดยการปล่อยน้ำไหลผ่านผักประมาณ 2 นาที
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • หากมีอาการท้องเสียขั้นรุนแรง ควรไปพบแพทย์โดยด่วน และอย่ารับประทานยาระงับถ่ายอุจจาระ

การติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัว เพราะ เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เป็นเชื้อโรคที่พบเป็นปกติทุกคนอยู่แล้ว ก่อโรคแต่ไม่มีความรุนแรง ดังนั้น ไม่ควรจะตื่นตระหนกกับการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

มือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสเอนเทอโร Enterovirus พบบ่อยเด็ก อาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว มีตุ่มเล็กๆบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ในปาก หายได้เอง

โรคมือเท้าปาก โรคติดต่อ โรคเด็ก โรคติดเชื้อ

โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย หรือ โรคมือเท้าปาก คือ โรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เกิดบ่อยในช่วงฤดูฝน เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเตอโรไวรัส ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ ลักษณะอาการของโรคส่วนใหญ่ ไม่มีมีอาการรุนแรง โดยลักษณะอาการ คือ มีไข้ และ มีตุ่มเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และ ในปาก สามารถหายได้เอง แต่ประมาทไม่ได้หากเกิดอาการติดเชื้อขึ้นสมองและมีอาการสมองอักเสบร่วมด้วย จะเป็นอันตรายอาการรุนแรง ทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุของโรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปาก หรือ โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ( Enterovirus ) ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ค็อกแซคกีเอและบี ( Coxsackie A , B ), ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 ( Enterovirus 71 – EV71 ) , ไวรัสเอ็คโคไวรัส ( Echovirus )  แต่ไวรัสที่พบว่าเป็นสาเหตุการติดเชื้อมากที่สุด คือ ไวรัสค็อกแซคกีเอชนิด 16  (Coxsackievirus A 16 ) อาการมักจะไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถหายได้เอง แต่หากติดเชื้อจาก ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 อาการจะหนัก และหากเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

สำหรับช่องทางการติดเชื้อไวรัสสู่ร่างกายมนุษย์เกิดจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจาก จมูก ลำคอ ละอองน้ำมูกน้ำลาย หรือ น้ำเหลือง ของผู้มีเชื้อโรค การดูดเลียนิ้วมือ รวมถึงจากการรับประทานอาหาร การดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค โดยสถานที่ที่มักมีการระบาดของโรค เช่น โรงเรียนอนุบาล และ สถานรับเลี้ยงเด็ก เป็นต้น

ระยะของการเกิดโรคมือเท้าปาก

สำหรับระยะการเกิดโรคมี 2 ระยะ คือ ระยะฟักตัวของโรค และ ระยะเกิดซ้ำ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ระยะฟักตัวของโรค เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ภายใน 7 วัน ผู้ป่วยจึงจะแสดงอาการ
  • ระยะการเป็นซ้ำ โรคนี้สามารถเกิดซ้ำได้ หากเชื้อไวรัสเป็นคนละสายพันธุ์ กับที่เคยเกิด

อาการของโรคปากเท้าเปื่อย

โรคมือเท้าปากมีระยะฟักตัวของโรคภายใน 7 วัน หลังจากเชื้อโรคฟักตัวผู้ป่วยจะมีอาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว แต่อาการป่วยสามารถหายได้เองได้ภายใน 14 วัน จะเห็นแผลแดงเล็กๆตามปาก ลักษณะเป็นตุ่มน้ำ โรคมือเท้าปาก ต้องระวังการเกิดแทรกซ้อน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น ซึ่งอาการแทรกซ้อนเหล่านี้อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อน ที่ควรสังเกตุ มีดังนี้

  • เด็กมีอาการซึมลง ไม่เล่น ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม
  • บ่นปวดศีรษะมาก ปวดทนไม่ไหว
  • มีอาการพูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง หรือเห็นภาพแปลกๆ
  • ปวดต้นคอ คอแข็ง มีการรับรู้สับสน ซึมลง และอาเจียน
  • มีอาการสะดุ้งผวา ตัวสั่นๆ แขนหรือมือสั่นบ้าง
  • มีอาการไอ หายใจเร็ว ดูเหนื่อยๆ หน้าซีด มีเสมหะมาก โดยอาจมีหรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้

แนวทางการรักษาโรคมือเท้าปาก

สำหรับโรคมือเท้าปากปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคเฉพาะทาง ซึ่งการรักษาโรคนั้นสามารถทำได้โดยการประคับประครองรักษาตามอาการของโรค และ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค ผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้มากๆ และ หากเกิดอาการอ่อนเพลียมากๆเกิดไปให้ไปรับน้ำเกลือที่โรงพยาบาลหรือทานเกลือแร่เสริม

การป้องกันโรคมือเท้าปาก

เนื่องจากโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อโรค สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันการเกิดโรค คือ การรักษาสุขอนามัยของสภาพแวดล้อมที่ดี  ลดการเกิดเชื้อโรคในภาวะรอบตัว แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • ควรล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับอาหารให้เด็กรับประทาน
  • รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และ ปรุงใหม่ๆ
  • ไม่ใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะช้อน จาน ชาม แก้วน้ำ และ ขวดนม
  • สำหรับผู้ดูแลเด็ก เมื่อเช็ดน้ำมูกหรือน้ำลายให้เด็กแล้วต้องล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว
  • ทำความสะอาดเสื้อผ้าหรือผ้าอ้อมให้สะอาด

โรคมือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสเอนเทอโร ( Enterovirus ) พบบ่อยเด็ก ลักษณะอาการ คือ มีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว และ มีตุ่มเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก สามารถหายได้เอง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove