เลือดออกในวุ้นตา ตาขาวมีรอยแดงเหมือมมีเลือดคั่งในดวงตา เกิดจากเส้นเลือดที่ตาฉีก ทำให้การมองเห็นไม่ชัดแต่ไม่เจ็บตา เลือดออกในวุ้นตาอันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร

เลือดออกในวุ้นตา โรคตา สายตาพร่ามัว โรคต่างๆ

เลือดออกในวุ้นตา ( Vitreous hemorrhage ) เกิดจากหลอดเลือดที่จอประสาทตาฉีกขาด จากหลายสาเหตุ เช่น อุบัติเหตุ ทำให้เลือดคั่งอยู่ในวุ้นตา ทำให้ลักษณะเป็นสีแดงๆที่ตาขาว ทำให้เกิดอาการสายตาพร่ามัว แต่ไม่มีอาการเจ็บปวดดวงตา

สาเหตุที่ทำให้เลือดออกในน้ำวุ้นตา

สำหรับสาเหตุของรอยแดงลักษณะมีเลืิอดขังอยู่ที่ดวงตา เกิดจากสาเหตุหลายสาเหตุ โดยมีปัจจัยเสี่ยงจากความผิดปรกติของดวงตาเอง และ ภาวะแทรกซ้อนของโรคที่ส่งผลต่อดวงตา สามารถสรุปสาเหตุของภาวะเลือดออกในวุ้นตา มีดังนี้

  1. ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน หรือ เบาหวานขึ้นตา พบว่าเป็นสาเหตุหลักของอาการเลือดออกในวุ้นตา
  2. ภาวะจอตาขาด แต่ยังโดยไม่มีอาการหลุดลอก พบว่าร้อยละ 15 ของผู้ป่วยเลือดออกในวุ้นตามีสาเหตุมาจากจอตาขาดแต่ยังไม่หลุดลอก
  3. ภาวะขั้วประสาทตาและจานประสาทตาหลุด พบว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยเกิดจากขั้วประสาทตาและจานประสาทตาหลุด
  4. ภาวะจอตาหลุดลอก พบว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยมีเลือดออกที่วุ้นในตาเกิดจากจอตาหลุด

อาการของโรคเลือดออกในวุ้นตา

การแสดงอาการของผู้ป่วยโรคเลือดออกในวุ้นตา จะแสดงอาการที่ความผิดปรกติของการมองเห็น คือ สายตาพร่ามัวแต่ไม่มีอาการปวดดวงตา การมองเห็นเหมือนมีอะไรลอยไปมา เหมือนมองเห็นหยักไย่ หรือ มองเห็นเหมือนมีเงาเคลื่อนที่ หรือ เห็นเป็นเงาสีแดงเคลื่อนไปมา โดยอาการสายตาพร่ามัวมักจะเกิดตอนตื่นนอน อาการเลือดออกในวุ้นตาสามารถสรุปอาการโดยทั่วไป ได้ดังนี้

  • ลักษณะการมองเห็นพร่ามัวแต่ไม่มีอาการเจ็บปวดดวงตา อาการสายตามัวจะมากที่สุดตอนตื่นนอน และก็จะค่อยๆมองเห็นได้ดีขึ้น
  • การมองเห็นภาพผิดปรกติ เช่น เห็นภาพคนลอยไปลอยมา มองเห็นเหมือนหยักไย่ มองเห็นเป็นเงาเคลื่อนที่ เป็นต้น
  • หากมีอาการปวดที่ดวงตา เกิดขึ้นกับผู้ป่วยบางกรณีที่มีการแทรกซ้อนจากภาวะต้อหิน

อาการของโรคเลือดออกในวุ้นตา นอกจากอาการโดยตรง คือ การมองภาพพร่ามัวแล้ว ยังมีผลข้างเคียงจากการเกิดเลือดออกในวุ้นตาได้ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

  • ภาวะ Hemosiderosis bulbi คือ อาการตาพล่ามั่ว ที่เกิดจากการเกาะตัวของธาตุเหล็กที่แก้วตา
  • ภาวะ Proliferative vitreo retinopathy คือ ภาวะพังผืดดึงรั้งจอตา อาจทำให้เกิดตาบอดได้
  • ภาวะ Ghost cell glaucoma คือ การเกิดต้อหิน เซลล์ที่มาจากเม็ดเลือดแดง ไหลย้อนเข้ามาในช่องที่อยู่ของวุ้นตา ทำให้เกิดการอุดตันในช่องด้านหน้าของลูกตา ส่งผลต่อความดันตา ทให้สูงขึ้นจนเกิดต้อหิน
  • ภาวะ Hemolytic glaucoma การที่สิ่งแปลกปลอมเข้าไปอุดตันทางเดินของน้ำในตา

การรักษาโรคเลือดออกในวุ้นตา

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเลือดออกในวุ้นตา การรักษาใชเการฉีดยา ผ่าตัด การทำเลเซอร์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดโรคและลักษณะความรุนแรงของอาการ แต่โดยทั่วไปแล้วอาการเลือดในวุ้นตาจะค่อยๆถูกร่างกายดูดซึมและหายเองได้ แนวทางการรักษาที่จำเป็นต้องรักษา มีดังนี้

  • สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการจอตาหลุดลอก ต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัดวุ้นตาและผ่าตัดแก้ไขจอตาให้เข้าที่ และ จะรักษาด้วยลเซอร์ เพื่อป้องกันมิให้เลือดออกซ้ำ
  • รักษาด้วยการฉีดยา Vascular endothelial growth factor เข้าไปในวุ้นตา เพื่อลดการเกิดหลอดเลือดเกิดใหม่
  • รักษาด้วยการฉีดยา Hyaluronidase เข้าไปในวุ้นตา เพื่อละลายเลือด

ป้องกันการโรคเลือดออกในวุ้นตา

สำหรับแนวทางการป้องกันอาการเลือดออกในวุ้นตา ต้องป้องกันสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค และ การหมั่นสังเกตุความผิดปรกติของดวงตา แนวทางการป้องกันเลือดออกในวุ้นตา มีรายละเอียดดังนี้

  • ไม่ขยี้ตาแรงๆ
  • ดูแลสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากจำเป็นต้องทำกิจกรรมที่ต้องกระแทกหรือมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดอุบัตติเหตุที่ดวงตา ต้องสวมเครื่องป้องกันดวงตา
  • ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำทุกปี
  • ระมัดระวังการใช้ชีวิตประจำวัน ลดความเสี่ยงทั้งหมดที่มีโอกาสให้เกิดอุบัตติเหตุกับดวงตา

เลือดออกในวุ้นตา อาการตาขาวมีรอยแดง เหมือมมีเลือดคั่งในดวงตา เกิดจากเส้นเลือดที่ตาฉีก ทำให้การมองเห็นไม่ชัดแต่ไม่เจ็บดวงตา เลือดออกในวุ้นตาอันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร

ต้อกระจก เลนส์ตาขาวขุ่น ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด โรคเสี่ยงผู้สูงอายุ เกิดจากโปรตีนที่เลนส์ตาเสื่อมตามวัย อาการมองไม่ชัด แนวทางการรักษาต้อกระจกต้องทำอย่างไรโรคต้อกระจก โรคตา โรคไม่ติดต่อ การรักษาต้อกระจก

โรคต้อกระจก ( Cataract ) คือ ภาวะที่เลนส์ตาขุ่นมัว ซึ่งมีสาเหตุจากหลายอย่าง เช่น ภาวะโดยกำเนิด การได้รับอุบัติเหตุ ความผิดปรกติของดวงตาเอง เป็นต้น มักเกิดกับคนอายุมากกว่า 70 ปี ซึ่งการที่เลนส์ตาขุ่นมัว ทำให้แสงไม่สามารถเข้าไปในตาได้ตามปกติ การมองเห็นภาพจึงไม่ชัดเจน โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย

สถานการณ์โรคต้อกระจกในประเทศไทย

สำหรับสถานการณ์ผู้ป่วยตาต้อกระจกในประเทศไทย เหมือนกับประเทศอื่นๆทั่วไป ประชากรที่มีอายุมากตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงและอัตราการเกิดต้อกระจกสูง เช่น ในพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมืองจะพบผู้ป่วยต้อกระจกในระดับรุนแรง คือ พบว่ามีลักษณะต้อสุก ประมาณร้อยละ 20 ถึง 30 ของคนผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา สำหรับการรักษาต้อกระจกในประเทศไทย มีโครงการลดการตาบอดจากต้อกระจก ทำให้อัตราการตาบอดจากโรคต้อกระจกลดจำนวนลงอย่างเห็นได้ชัด

สาเหตุของการเกิดต้อกระจก

สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดต้อกระจก คือ ภาวะความเสื่อมของโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของเลนส์ตา ส่งผลให้เลนส์ตาขุ่น ซึ่งพบว่าความเสื่อมตามอายุขัยมีผลต่อความเสื่อมนี้ พบว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยทั้งหมดเกิดจากการเสื่อมสภาพของดวงตาตามวัย แต่ร้อยละ 20 มีสาเหตุของการเกิดโรคมาจากสาเหตุอื่น ซึ่งเราสามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดต้อกระจก มีรายละเอียด ดังนี้

  • ภาวะการเกิดต้อกระจกโดยกำเนิด เกิดจากมารดาติดหัดเยอรมันในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หรือบางทีเป็นกรรมพันธ์ และ โภชนาการของเด็กไม่ดี เรียกว่า ขาดสารอาหาร
  • ภาวะต้อกระจกจากการได้รับอุบัติเหตุ การถูกกระทบกระเทือนดวงตาอย่างรุนแรง ในบางครั้งต้อกระจกจะเกิดขึ้นหลังจากเกิดอุบัติเหตุแล้ว 2-3 ปี
  • ภาวะความผิดปรกติของดวงตาเอง เช่น ต้อหิน ม่านตาอักเสบ ตาติดเชื้อ เป็นต้น
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดความอ้วน ยาหยอดตา เป็นต้น
  • การได้รับรังสีต่างๆกระทบดวงตาเป็นเวลานาน เช่น ช่างเชื่อม การอยู่ในที่แสงจ้านานๆ เป็นต้น
  • การสูบบุหรี่และการดื่มสุรา ทำให้ร่างกายเสื่อมเร็วกว่าปรกติ รวมถึงสุขภาพดวงตาด้วย
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน เป็นต้น

อาการผู้ป่วยโรคต้อกระจก

สำหรับผู้ป่วยโรคต้อกระจกจะแสดงอาการที่สายตา และ ประสิทธิภาพการมองเห็นภาพ โดยไม่มีอาการปวดตา ไม่มีอาการตาแดง แต่อย่างใด สามารถสรุปลักษณะของอาการโรคต้อกระจกได้ดังนี้

  • สายตาพล่ามัวมากขึ้นเมื่ออยู่ในที่ๆมีแสงสว่างจัด แต่มองเห็นภาพปรกติในที่มืด
  • การมองเห็นผิดปรกติ เช่น การอ่านหนังสือต้องใช้แว่นช่วยอ่าน มองเห็นภาพซ้อน มองเห็นแสงกระจายตอนขับรถกลางคืน เป็นต้น
  • สามารถสังเกตเห็นต้อสีขาวตรงรูม่านตาอย่างชัดเจน

การรักษาโรคต้อกระจก

แนวทางการรักษาโรคต้อกระจกในปัจจุบันสามารถรักษาได้โดยลอกต้อกระจกและการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเทียม เนื่องจากมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย และ มีความปลอดภัยสูง การรักษาโรคต้อกระจก มีแนวทางที่ต้องพิจารณาก่อนทำการรักษา ดังนี้

  • หากต้อกระจกยังน้อยอยู่ และไม่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในประจำวันมาก อาจสามารถรอให้ต้อกระจกแก่และสุกก่อนก็ได้
  • หากมีความผิดปรกติกับดวงตา เช่น ตาแดง ปวดตา ตาพล่ามัวรวดเร็ว ให้รีบพบแพทย์ทันที
  • หากเกิดต้อกระจกในระยะปานกลาง สามาถรับการรักษาด้วยการผ่าตัดได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของคนไข้เอง
  • หากเกิดในระยะที่เป็นมากแล้ว ระยะนี้เรียก ว่า ต้อกระจกแก่ หรือ ต้อกระจกสุกแล้ว หากพร้อมสำหรับการผ่าตัด ให้สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดลอกต้อกระจกได้

การป้องกันโรคต้อกระจก

สำหรับโรคต้อกระจก สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ด้วยการดูแลสุขภาพดวงตา ไม่ให้อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค แนวทางการป้องกันโรคต้อกระจก มีรายละเอียด ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ
  • ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดกับดวงตา ควรใส่เครื่องป้องกันดวงตาหากจำเป็น
  • สวมแว่นตากันแดด หากจำเป็นต้องออกนอกสถานที่ที่มีแสงแดดจัด
  • หากใช้สายตาอย่างหนัก ควรแบ่งเวลาในการพักการใช้สายตาเป็นระยะๆ
  • ไม่ควรสูบบุหรี่และการดื่มสุรา
  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • หากอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตาประจำปีอย่างต่อเนื่อง

โรคต้อกระจก ภาวะเลนส์ตาขาวขุ่น ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด โรคเสี่ยงสำหรับผู้สูงอายุ สาเหตุของต้อกระจกเกิดจากโปรตีนที่เลนส์ตาเสื่อมตามวัย อาการของโรค เช่น มองไม่ชัด แนวทางการรักษาต้อกระจกต้องทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove