ตาเหล่ Strabismus ลักษณะตาดำข้างใดข้างหนึ่งผิดปกติ ไม่ขนานกัน ดวงตาไม่ประสานกัน ตาเหล่มีกี่ชนิด ตาเหล่แท้ ตาเหล่เทียม การรักษาโรคสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด

ตาเหล่ ตาเข โรคตา โรคไม่ติดต่อ

ตาเหล่ ภาษาทางการแพทย์ เรียก Strabismus คือ ภาวะตาข้างใดข้างหนึ่งมีอาการผิดปกติ โดยไม่ได้มีจุดโฟกัสในการมองเห็นเป็นจุดเดียว ภาวะลูกตาทั้ง 2 ข้างไม่ขนานกัน และการทำงานของดวงตาเมื่อมองวัตถุไม่ประสานกัน โดยผู้ป่วยจะใช้เพียงตาข้างที่ปกติในการมองวัตถุ และในส่วนของดวงตาข้างที่เหล่ อาจเบนเข้าด้านในห ด้านนอก ขึ้นบน หรือ ลงล่าง ก็ได้

ตาเหล่เทียม ( Pseudostrabismus ) คือ ภาวะตาเหล่ที่พบในเด็กเสียเป็นส่วนมาก เนื่องจากสันจมูกยังโตไม่เต็มที่และบริเวณหัวตากว้าง ( Epicanthus ) จึงทำให้ลักษณะเหมือนกับตาเหล่ แต่เมื่อร่างกายเจริญเติบดตเต็มีที่ตาเหล่จะหายเอง

ชนิดของอาการตาเหล่

โรคตาเหล่สามารถแบ่งได้ 5 ชนิด มีรายละเอียด ดังนี้

  1. ตาหนึ่งอยู่ตรงกลาง แต่อีกตาเฉออก
  2. ตาข้างหนึ่งอยู่ตรงกลาง แต่ตาอีกข้างกลับหมุนเข้าใน
  3. ตาหนึ่งอยู่ตรงกลาง อีกข้างหนึ่งกลอกออกมาทางหางตาหรือออกนอก
  4. ตาเหล่ขึ้นบน
  5. ตาเหล่ลงล่าง

ปัญหาของอาการตาเหล่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งผลเสียของอาการตาเหล่ ประกอบด้วย

  1. เสียบุคลิกภาพ สิ่งที่ทำให้เห็นได้ชัดของการตาเหล่ คือ ภาพดวงตาดำที่ผิดปรกติ ดูไม่สวยงาม ส่วนมากคนตาเหล่จะรู้สึกเหมือนเป็นปมด้อย มักไม่ค่อยสู้หน้าคน สิ่งนี้จะเปิดการปั่นทอนจิตใจอย่างช้าๆโดยไม่รู้ตัว
  2. การเกิดบุคลิกภาพที่ผิดจากบุคคลทั่วไป โดยคนตาเหล่จะมีโฟกัสภาพที่ไม่ปรกติก ในคนตาเหล่จะใช้การหันหน้าเอียงคอ เพื่อชดเชยความผิดปกติ ซึ่งสิ่งนี้จะยิ่งทำให้บุคลิกผิดไปจากคนทั่วไป
  3. ความสามารในการมองเห็นน้อยกว่าคนตาปกติ เนื่องจากตาทั้ง 2 ข้างไม่ทำงานร่วมกันหรือเรียกว่าต่างคนต่างทำ ต้องใช้ตาข้างเดียวเป็นหลัก จึงมองวัตถุเล็ก ๆ ไม่เป็นภาพ 3 มิติ ทำให้ทำงานที่ละเอียดได้ไม่ดีนัก เช่น งานเย็บปักถักร้อยหรืองานฝีมือต่าง ๆ เพราะอย่าลืมว่าการมองเห็นที่ดีที่สุดคือต้องมองเห็นภาพเป็น 3 มิติในวัตถุขนาดเล็ก ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยตาที่เห็นชัดทั้ง 2 ข้าง และทำงานประสานสอดคล้องกันเสมอ
  4. เกิดภาวะตาขี้เกียจ เรียก Amblyopia ถากปล่อยทิ้งไว้ดดยไม่แก้ไข อาจถึงขั้นตาบอดได้

สาเหตุของการเกิดโรคตาเหล่

สำหรับการเกิดโรคตาเหล่นั้นเกิดจากหลายปัจจัย อาจเกิดจากกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในเด็ก ซึ่งบางคนอาจเกิดเป็นมาตั้งแต่กำเนิด ส่วนในเด็กที่มีสายตาสั้นมากๆ ซึ่งสามารถสรุปสาเหตุของโรคตาเหล่ มีดังนี้

  • ภาวะทางพันธุ์กรรม โรคตาเหล่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมมได้
  • ความผิดปรกติของสายตาของผู้ป่วยเอง  การใช้สายตาเพ่งบ่อยๆหรือกล้ามเนื้อตาขาดสมดุล สามารถทำให้เกิดตาเหล่ได้
  • ความผิดปรกติของกล้ามเนื้อตาข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้กล้ามเนื้อตาไม่สมดุล
  • ความผิดปรติของระบบประสาทส่วนกลาง ส่งผลต่อการควบคุมกล้ามเนื้อตา เช่น  เนื้องอกในสมอง มะเร็งในส่วนศีรษะ มะเร็งส่วนลำคอ โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ
  • ภาวะการเกิดโรคที่ส่งผลอันตรายต่ออาการตาเหล่ เช่น โรคเอเพิร์ท ( Apert Syndrome ) โรคสมองพิการ ( Cerebral Palsy: CP ) โรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด ( Congenital Rubella ) เนื้องอกหลอดเลือดชนิดฮีแมงจิโอมา ( Hemangioma ) โรคอินคอนติเนนเทีย พิกเมนไท ซินโดรม ( Incontinentia Pigmenti Syndrome ) โรคพราเดอร์-วิลลี่ ซินโดรม ( Prader-Willi Syndrome ) โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกคลอดก่อนกำหนด ( Retinopathy of Prematurity: ROP ) โรคมะเร็งจอตาในเด็ก ( Retinoblastoma ) เป็นต้น

การรักษาโรคตาเหล่

สำหรับแนวทางการรักษาโรคตาเหล่ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ การใช้เครื่องมือร่วมกับการทำกายภาพบำบัด และ การผ่าตัด ซึ่งรายละเอียดของการรักษาทั้ง 2 วิธีนี้ มีดังนี้

  • การรักษาโดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์และการทำกายภาพบำบัด เพื่อเป็นการปรับบุคลิกภาพและความสามารการมองเห็นให้เป็นปรกติให้ได้มากที่สุด เช่น การใส่แว่น การฝึกกล้ามเนื้อตา การฉีดนาที่กล้ามเนื้อ เป็นต้น รายละเอียดของการรักษาด้วยวิธีนี้ มีดังนี้
    • การให้แว่นสายตา ใช้รักษาในผู้ป่วยตาเหล่ที่มีสาเหตุมาจากสายตาผิดปกติ เช่น สายตายาวที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดตาเหล่เข้า หรือ สายตาสั้นที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดตาเหล่ออก
    • ให้แว่น prism ซึ่งช่วยหักเหแสงให้ตกลงพอดีที่จุดรับภาพที่จอตา
    • การฝึกกล้ามเนื้อตา
    • การรักษาด้วยยา เช่น การฉีดโบท็อกช์ (Botulinum Toxin) โดยฉีดที่กล้ามเนื้อตา ทำให้กล้ามเนื้อมัดนั้นอ่อนแรง มีฤทธิ์อยู่นานประมาณ 2-3 เดือน
    • การรักษาตาขี้เกียจ (Amblyopia) ในเด็กตาเหล่ที่มีภาวะตาขี้เกียจ จำเป็นต้องรีบให้การรักษาทันที และต้องรักษาก่อนที่จะผ่าตัดแก้ไขตาเหล่ และควรรักษาช่วงก่อนที่เด็กจะอายุมากกว่า 7 ปี ซึ่งเมื่อเด็กอายุมากกว่า 8-9 ปีขึ้นไปมักรักษาไม่ได้ผลแล้ว ตาข้างนั้นก็จะมัวอย่างถาวร การรักษาตาขี้เกียจทำโดยการปิดตาข้างที่ดี เพื่อกระตุ้นให้ตาข้างที่เป็นตาขี้เกียจได้ใช้งาน ควรปิดตาอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง จนกว่าสายตาทั้งสองข้างจะมองเห็นปกติแต่ละรายอาจใช้เวลาไม่เท่ากัน
  • การรักษาโดยการผ่าตัด แพทย์จะผ่าตัดกล้ามเนื้อตา เพื่อทำให้ตาตรง การรักษาด้วยการผ่าตัดควรเข้ารับการรักษาตั้งแต่เด็ก หากไม่ยอมรักษาตั้งแต่เด็ก ก็สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดแต่ประสิทธิภาพการมองเห็นจะไม่สามารถกลับมาปรกติ เหมือนการรักษาตั้งแต่เด็กได้

การดูแลผู้ป่วยตาเหล่หลังการผ่าตัด

หลังจากการผ่าตัดแพทย์จะปิดตาข้างที่ผ่าตัดไว้ 1 วัน จากนั้นก็สามารถเปิดใช้สายตาได้ตามปกติ แต่ในการนอนนั้นให้ใส่ที่ครอบตาเพื่อป้องกันการถูกกระทบกระเทือนในช่วงสัปดาห์แรก และไม่ควรให้น้ำเข้าตาเพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อได้

หลังจากการผ่าตักรักษาตาเหล่และผ่าช่วงของการดูแลในสัปดาห์แรก จะทำให้ตาดูตรงเป็นปกติ สวยงาม มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น
ประสิทธิภาพการมองเห็นของตาทั้ง 2 ข้างก็จะดีขึ้น

การป้องกันโรคตาเหล่

สำหรับการป้องกันนั้นป้องกันได้ยาก เนื่องจากปัจจัยการเกิดโรคควบคุมไม่ได้ การป้องกันตาเหล่ต้องเริ่มจากการป้องกันที่สาเหตุและหากพบว่ามีอาการตาเหล่ให้รีบรับการรักษาอย่างเร็ว ผู้ป่วยจึงจะมีโอกาสกลับมามีดวงตาที่มองเห็นได้ปกติ รวมทั้งการมองเห็นความลึกของสิ่งต่าง ๆ ก็จะดีขึ้น นอกจากนี้ ต้องดูแลสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคที่ทำให้เกิดอาการตาเหล่

ริดสีดวงตา ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่หนังตา ทำให้เกิดตุ่มเล็กๆใต้หนังตา หากไม่รักษาทำให้ตาบอดได้ สามารถเกิดได้ในทุกเพศ ทุกวัย พบในเพศหญิงสูงกว่าเพศชายมาถึง 2 เท่า

ริดสีดวงตา ตาติดเชื้อ โรคตา โรคติดเชื้อ

ริดสีดวงตา ( Trachoma ) คือ โรคเกี่ยวกับอวัยวะดวงตา เกิดจากการอักเสบที่หนังตาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ตาอักเสบเรื้อรัง พบบ่อยในพื้นแห้งแล้ง ทุรกันดารที่มีฝุ่นมาก หรือ มีแมลงวันชุกชุม การอักเสบของหนังตาส่งผลต่อ เปลือกตา ขนตา เยื่อบุตา กระจกตา รวมถึงทางเดินของน้ำตา ซี่งสามารถเกิดขึ้นได้กับตาทั้งสองข้าง สามารถติดต่อได้จากการสัมผัส การสัมผัสขี้ตา หรือ สารคัดหลั่งจากตา ลำคอ และ จมูก ได้

สาเหตุของโรคริดสีดวงตา

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคริดสีดวงตาเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Chlamydia trachomatis ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค มี 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม Trachomatis กลุ่ม Chlamydia pneumoniae และ กลุ่ม Chlamydia psittaci ซึ่งการติดต่อจากเชื้อโรคสู่คนเกิดจากการสัมผัสเชื้อโรคทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเกิดจากการสัมผัสขี้ตาหรือสารคัดหลั่ง การติดต่อผ่านทางแมลงวัน หรือ เกิดจากการใช้ของร่วมกับผู้มีเชื้อโรค เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว รวมไปถึงการว่ายน้ำในแหล่งน้ำเดียว เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคริดสีดวงตาที่สำคัญ คือ สภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขอนามัย สภาพแวดล้อมแออัด ใช้น้ำสะอาด การใช้อุปกรณ์อุปโภคบริโภคที่ไม่สะอาด แมลงวัน

อาการของโรคริดสีดวงตา

สำหรับอาการของผู้ติดเชื้อแบคทีเรียที่ดวงตา ผู้ป่วยจะเริ่มจากตาแดง น้ำตาไหล และมีขี้ตามาก เมื่อเปิดดูที่หนังตาด้านในจะพบตุ่มเล็กๆ เราเรียกตุ่มเล็กๆใต้หนังตาว่า Follicle การติดเชื้อซ้ำบ่อยๆจะมีผลทำให้เกิดอาการอักเสบของเปลือกตา เกิดพังผืดดึงรั้งจนเกิดแผลที่บริเวณเปลือกตา และสาเหตุนี้เป็นต้นเหตุขนตาชี้ลงจนบาดกระจกตา ผู้ป่วยที่เป็นริดสีดวงที่ตาจึงพบอาการเจ็บตาและเคืองดวงตามากขึ้น และจะมีขี้ตามาก และจะลามไปถึงดวงตาทำให้เกิดฝ้าขาวที่กระจกตาได้ ระยะของอาการโรคริดสีดวงตา สามารถแบ่งได้ 3 ระยะ คือ ระยะริดสีดวงแน่นอน ระยะเริ่มเป็นแผลเป็น และ ระยะหายและเป็นแผลเป็น รายละเอียดของระยะการเกิดโรค มีดังนี้

  • ระยะที่เป็นริดสีดวง อาการอักเสบจะน้อยลง ถ้าพลิกเปลือกตาดู จะเห็นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีเหลือง นอกจากนี้ ส่วนบนสุดของตาดำ จะมีหลอดเลือดฝอยวิ่งเข้าไปในตาดำ เป็นลักษณะเฉพาะของโรคริดสีดวงตา เพราะ ปกติคนเราจะไม่มีหลอดเลือดฝอยจากเยื่อบุตาเข้าสู่ตาดำเลย ในระยะนี้ และหากไม่รับการรักษา ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3
  • ระยะเริ่มเป็นแผลเป็น ระยะนี้จะมีอาการเคืองตา แต่แทบจะไม่มีอาการอะไรเลย ส่วนตุ่มเล็ก ๆ ที่เยื่อบุเปลือกตา ก็ค่อย ๆ ยุบและหายไป แต่จะเกิดพังผืดจนกลายเป็นแผลเป็น ส่วน แพนนัส ที่ตาดำ ก็ยังเห็นอยู่เช่นเดิม ในระยะนี้การใช้ยารักษาจะไม่ค่อยได้ผล
  • ระยะหายและเป็นแผลเป็น ระยะนี้เชื้อจะหายไปหมด ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะไม่รักษาก็ตาม และ แพนนัส ก็ค่อย ๆ หายไป แต่จะเกอดภาวะแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อและอักเสบบ่อย

การรักษาริดสีดวงตา

สามารถแนวทางการรักษาริดสีดวงตา สามารถรักษาด้วยการรับประทานยา การใช้ยาปฏิชีวนะ และ การผ่าตัด โรคนี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ไม่ควรรักษาเอง ถ้าให้ยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ แพทย์อาจทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น การเพาะเชื้อคลามีเดียในเซลล์ การขูดเยื่อบุตาย้อมส่วนด้วย Geimsa stain หรือ Immunofluorescein เป็นต้น และ รักษาต่อไป ในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น อาจต้องผ่าตัดแก้ไขเปลือกตา ที่เป็นแผลเป็น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อน หรือ อาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา

การป้องกันโรคริดสีดวงตา

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคต้องป้องกันจากสาเหตุของโรค คือ เชื้อแบคทีเรีย การป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย จะช่วยให้สามารถป้องกันโรคได้ รายละเอียดดังนี้

  1. รักษาความสะอาดของใบหน้าเสมอ โดยเฉพาะในเด็กๆเพื่อป้องกันไม่ให้แมลงตอมตา ซึ่งเป็นทางติดต่อและแพร่กระจายโรคได้ทางหนึ่ง
  2. กำจัดแมลงวัน โดยการกำจัดขยะให้ถูกวิธี และไม่ทิ้งขยะใกล้บ้าน
  3. ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว
  4. ใช้น้ำสะอาด และมีน้ำสะอาดใช้อย่างเพียงพอในกิจวัตรส่วนตัว
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  6. พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  7. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรไทยน่ารู้

สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์หรือแร่ธาตุที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น นำมาแปรสภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง รับประทานสด การนำมาพอก การต้ม เป็นต้น
กัญชา สรรพคุณของกัญชา สมุนไพร น้ำมันกัญชา
กัญชา
ตะขบ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตะขบ
ตะขบ
ลูกใต้ใบ สมุนไพร สรรพคุณของลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม
ลูกใต้ใบ
หญ้าหวาน สตีเวีย สมุนไพร สมุนไพรให้ความหวาน
หญ้าหวาน
โรคต่างๆและการรักษาโรค
โรค ( Disease ) หมายถึง ความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานผิดปรกติของอวัยวะ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ
แก้วหูทะลุ โรคหูคอจมูก การรักษาแก้วหูทะลุ โรคหู
แก้วหูทะลุ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ
ข้อหลุด ข้อเคลื่อน โรคข้อและกระดูก ข้อหลุดรักษาอย่างไร
ข้อหลุด
เหงือกร่น รักษาเหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน
เหงือกร่น