ข้อเสื่อม เป็นความสึกหรอของข้อกระดูก ทำให้เกิดอาการเจ็บเวลาเคลือนไหวร่างกาย เกิดจากหลายสาเหตุ พบมากในผู้สูงอายุ แนวทางการรักษา และ การป้องกันทำอย่างไร

ข้อเสื่อม โรต โรคข้อกระดูก

โรคข้อเสื่อม ( Osteoarthritis ) คือ ความผิดปกติของข้อกระดูกแบบเรื้อรัง เป็นอาการจากการสึกหรอที่ผิวกระดูกอ่อนหุ้มข้อ ซึ่งมีปัจจัยการเกิดโรคจากความเสื่อมตามอายุ และ การเกิดอุบัตติเหตุที่ข้อกระดูก กลุ่มเสี่ยง คือ คนอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้หญิงมีโอกาศเกิดข้อเสื่อมมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า โรคข้อเสื่อม จะเกิดกับกระดูกอ่อน เยื่อหุ้มข้อ ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อกระดูกต้นคอ ข้อกระดูกส่วนหลัง

ชนิดของโรคข้อเสื่อม

สำหรับการแบ่งชนิดของโรคข้อเสื่อม สามารถ แบ่งได้ 2 ชนิด คือ ข้อเสื่อมปฐมภูมิ และ ข้อเสื่อมทุติยภูมิ โดยรายละเอียดของชนิดโรคข้อเสื่อม มีดังนี้

  • ข้อเสื่อมปฐมภูมิ ( primary osteoarthritis ) คือ อาการข้อเสื่อม เกิดกับผู้สูงอายุ เป็นการเสื่อมตามวัย มักพบอาการเสื่อมของข้อกระดูก บริเวณข้อใหญ่ๆ เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก และ ข้อกระดูกสันหลัง เป็นต้น
  • ข้อเสื่อมทุติยภูมิ ( secondary osteoarthritis ) คือ ข้อเสื่อมจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การเสื่อมตามวัย เช่น การเกิดอุบัตติเกตุ ทำให้เกิดการแตกหักของผิวกระดูกข้อ การเกิดข้อหลุด ไขข้อกระดูกถูกทำลาย การตายของหัวกระดูก หรือ การติดเชื้อที่ข้อกระดูก รวมถึงความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด

สาเหตุของโรคข้อเสื่อม

สำหรับสาเหตุของข้อเสื่อมเกิดจากเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนระหว่างข้อต่อกระดูกบางลง จากการเสื่อมสภาพ การสึกหรอ หรือ ชำรุด ทำให้ไม่สามารถลดแรงกระแทกระหว่างกระดูกได้อย่างปรกติ ส่งผลให้เกิดการเสียดสีระหว่างข้อกระดูกโดยตรง โดยไม่มีเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน หากปล่อยไว้นานๆ ผู้ป่วยอาจมีอาการกระดูกงอก ( Bone Spurs ) บริเวณข้อต่อนั้นๆ ซึ่งปัจจัยของการเกิดโรคมีหลายปัจจัย

ปัจจัยของการเกิดโรคข้อเสื่อม

สาเหตุที่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้อกระดูกเสื่อม มีหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยที่มาจากร่างกายของผู้ป่วยเอง หรือ ปัจจัยที่เกิดจากอุบัติเหตุและพฤติกรรมการดำรงชีวิตของผู้ป่วยเอง สามารถสรุปปัจจัยการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • การเสื่อมสถาพของกระดูกตามวัย
  • ลักษณะรูปร่างกาย ตามชาติพันธื สำหรับชนชาติที่มีร่างกายใหย่ ก็มีโอกาสข้อเสื่อมได้มากกว่า
  • การประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดข้อเสื่อม เช่น อาชีพที่ต้องยกของหนัก และ อาชีพที่มีการกระแทกสูง
  • การถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม
  • น้ำหนักตัวที่มาก
  • สุขภาพของกระดูก
  • ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน หากร่างกายมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีน้อย อัตราการเสื่อมของผิวกระดูกจะเร็วขึ้น
  • พฤติกรรมส่วนตัว ปฏิเสธไม่ได้ว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิต ที่ไม่ส่งผลดีต่อระบบข้อและกระดูก ทำให้เกิดการเสื่อมของข้อได้ง่าย
  • อุบัติเหตุ ที่ส่งผลกระทบต่อข้อและกระดูก เช่น ข้อเข่าหลุด ข้อมือหัก เป็นต้น ทำให้ผิวหุ้มกระดูกอ่อนถูกทำลายส่งผลทำให้เกิดการเสื่อมที่ข้อที่เร็วกว่าปรกติ

ระยะของโรคข้อเสื่อม

สำหรับโรคข้อเสื่อม มี 3 ลักษณะ คือ กระดูกงอกบริเวณขอบข้อ และ พังผืดบริเวณเยื่อหุ้มข้อ รวมถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงชีวเคมีบริเวณข้อ โดยมีระยะของการเกิดโรค 3 ระยะ คือ ระระแรก ระยะเกิดการเปลี่ยนแปลงของชีวิเคมี และ ระยะการเปลี่ยนแปลงของเมตามบอลิซึม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ข้อเสื่อมระยะแรก จะเกิดกับผิวกระดูกอ่อน ส่วนที่รับน้ำหนักมาก ผิวของกระดูกอ่อนจะเปลี่ยนจากสีเหลือง ผิวกระดูกขรุขระ และ นิ่มลง เกิดการเสื่อมมาก ในบางรายผิวกระดูกอ่อนหลุดลอก เมื่อมีการเคลื่อนไหว จะทำให้เกิดการเสียดสีของข้อกระดูก หากเกิดอาการมากขึ้น จะทำให้เกิดพังผืดรอบกระดูกอ่อน หนาตัวกลายเป็นกระดูกงอก
  • ข้อเสื่อมระยะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและเนื้อเยื่อภายในข้อ เช่น ปริมาณของน้ำเพิ่มขึ้น ขนาดเส้นใยคอลาเจนเล็กลง เส้นใยมีลักษณะหลวม เกิดการเปราะ และแตกสลายง่าย
  • ข้อเสื่อมระยะเกิดการเปลี่ยนแปลงของเมตาบอลิซึม ทำให้เซลล์กระดูกอ่อนเพิ่มมากขึ้น ปริมาณคอลาเจนเพิ่มขึ้น การสร้างดีเอ็นเอเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเซลล์กระดูกอ่อนเพิ่มขึ้น ในขณะที่การสร้างเพื่อชดเชยสิ่งที่ถูกทำลาย จะทำไม่ทันต่อการถูกทำลาย ทำให้เกิดการเสื่อมของข้อตามมา

อาการของโรคข้อเสื่อม

สำหรับการแสดงอาการของโรคข้อเสื่อม จะแสดงอาการเจ็บปวด และ อักเสบที่ข้อกระดูก ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปรกติ ข้อต่อบวม กดที่ข้อต่อกระดูกแล้วเจ็บ ได้ยินการเสียดสีของกระดูกข้อต่อ ไม่สามารถขยับข้อต่อได้เต็มที่ ข้อต่อเกิดการติดแข็ง ซึ่งการแสดงอาการของการอักเสบของข้อต่างๆจะแสดงต่างกัน ลักษณะอาการของข้อเสื่อม มีดังนี้

  • อาการเจ็บปวดตามข้อ อาการจะรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามวัย และเวลาลักษณะจะเป็นๆหายๆ
  • อาการข้อติดและข้อตึง เมื่อเกิดอาการปวด ก็เคลื่อนไหวได้น้อย และความหนาของกระดูกมากขึ้น เกิดการผิดรูปของข้อ อาการที่พบคือ ข้อกระดูกติดและแข็ง อาการข้อติดแข็งจะเกิดในเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง
  • อาการข้อกระดูกมีเสียง เนื่องจากเซลล์กระดูกที่สร้างขึ้นใหม่มีลักษณะไม่เรียบ ผิวขรุขระ เมื่อเกิดการเสียดสีของผิวกระดูกจะทำให้เกิดเสียง ดังกรอบแกรบ
  • อาการบวมตามข้อกระดูก อาการบวมนี้มักจะเกิดหลังจากการทำงานหนักของข้อกระดูก อาการบวมเกิดจาก การหนาตัวของเซลล์กระดูกอ่อนและเชื่อมติดกับเอ็นรอบๆข้อ ทำให้เกิดอาการอักเสบของข้อกระดูก
  • ภาวะน้ำท่วมข้อ เกิดจากการเสื่อมของกระดูกเป็นเวลานาน ทำให้เซลล์กระดูกแตก และ เศษกระดูกติดค้างในช่องว่างระหว่างข้อ ทำให้ร่างกายสร้างน้ำไขข้อขึ้นมาเมื่อมากเกินไปทำให้มีอาการบวมอักเสบบริเวณข้อ
  • อาการข้อกระดูกผิดรูป อาการกระดูกผิดรูป เป็นอาการของข้อเสื่อมระยะสุดท้าย การผิดรูปของข้อ เกิดจากความหนาแน่นและการขยายตัวของกระดูก ลักษณะ เช่น ข้อขยายใหญ่ เป็นต้น

สำหรับความรุนแรงของโรคข้อเสื่อมนั้ เราสามารถแบ่งความรุนแรงของโรคได้ 4 ระดับ คือ ระดับ 1 มีการงอกของกระดูกใหม่จำนวนน้อย ระดับ 2 มีการงอกของกระดูกใหม่จำนวนมาก ระดับ 3 เกิดช่องว่างของข้อกระดูกแคบลง และ ระดับ 4 ช่องว่างระหว่างข้อมีขนาดแคบมาก

การรักษาโรคข้อเสื่อม

สำหรับแนวทางการรักษาโรคข้อเสื่อม ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่สามารถรักษาโรคข้อเสื่อมให้หายขาดได้ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการบรรเทาอาการของโรคและลดความเสื่อมของข้อกระดูก ซึ่งมีแนวทางการรักษา คือ การทำกายภาพบำบัด ใช้ยารักษาโรค และ การผ่าตัด โดยรายละเอียดดังนี้

  • การทำกายภาพบำบัด ทำเพื่อลดอาการบวม ซึ่งจะช่วยให้การเคลื่อนไหวของผู้ป่วยทำได้ดีขึ้น รวมถึงเป็นการป้องกันกระดูกการผิดรูป
  • การใช้ยารักษาโรค จะเป็นยากลุ่ม ยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด และ ยาชา
  • การผ่าตัด จะใช้การผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อน เช่น การผ่าตัดล้างข้อ การผ่าตัดเปลี่ยนจุดรับน้ำหนัก การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม การผ่าตัดเชื่อมข้อ เป็นต้น

การป้องกันโรคข้อเสื่อม

สำหรับการป้องกันโรคข้อเสื่อม สามารถทำได้โดยการทนุถนอมสุขภาพของข้อกระดูก ไม่ใช้งานข้อกระดูกหนักๆ โดยแนวทางการป้องกันข้อเสื่อม มีดังนี้

  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่หนักๆและมีการกระแทกสูง
  • ไม่ควรอยู่ในท่าคุกเข่า นั่งยอง ยืน เป็นเวลานาน
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีแรงกระแทกหรือต้องบิดข้อกระดูก เช่น การกระโดด การยกของหนัก การหมุนตัวด้วยการใช้หัวเข่า

เก๊าท์ Gout ภาวะข้ออักเสบจากกรดยูริกในเลือดสูง เกิดจากการกินอาหาร อักเสบที่ข้อต่างๆ หัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อศอก หัวเข่า ข้อต่อกระดูกมือ การรักษาโรคต้องควบคุมอาหารโรคเก๊าท์ ข้ออักเสบ โรคกระดูก โรคไม่ติดต่อ

โรคเก๊าท์ โรคข้ออักเสบเฉียบพลัน เป็นโรคเกี่ยวกับข้อและกระดูก โรคข้อและกระดูกเป็นโรคที่พบได้บ่อยในมนุษย์ โรคเก๊าท์เกิดจากความผิดปกติของเมตะบอลิสซั่มของกรดยูริกในเลือด เมื่อกรดยูริกในเลือดมีค่าสูงกว่าปกติ ทำให้เกิดตะกอนเป็นผลึกเกลือยูเรตในเนื้อเยื่อตามข้อของกระดูก ก็จะทำให้เกิดอาการข้ออักเสบเฉียบพลัน และเกิดข้ออักเสบเรื้อรัง และส่งผลทำให้ไตทำงานไม่ปรกติในเวลาต่อมา

โรคเก๊าท์ หมายถึง การที่ตะกอนของยูริกตามไขข้อมีมากจนทำให้เกิดการอักเสบ จะมีอาการปวด  อาการบวม อาการแดงและร้อนที่ข้อกระดูก ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นเก๊าท์ มีความเป็นไปได้ที่กรดยูริกในเลือดสูงกว่า แต่การมีกรดยูริกในเลือดสูงนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเก๊าท์กันทุกคน แต่โรคเก๊าท์นี้มักพบในเพศชายมากว่าผู้หญิงถึง 9 เท่า และคนกลางวัยขึ้นไปมักจะเป็นโรคเก๊าท์ และในเพศหญิงมักพบโรคนี้ในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนไปแล้ว

โรคเก๊าท์สามารถรักษาให้หาขาดได้ โดยผู้ป่วยต้องรับประทานยา เพื่อควบคุมกรดยูริกในร่างกายไม่ให้สูง และการควบคุมอาหารที่มีกรดยูริกสูง ควบคู่กับการบำรุงไต ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กรดยูริกคืออะไร

กรดยูริก คือ กรดที่ร่างกายสร้างขึ้นมาส่วนหนึ่ง และเป็นกรดที่ได้จากการรักประทานอาหารจำพวกสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ และพืชผักบางชนิด รวมถึงอาหารทะเล กรดยูริกจะสะสมอยู่บริเวณข้อกระดูก ผนังหลอดเลือด และไต ซึ่งกรดยูริกจะถูกร่างกายขับออกมาทางปัสสาวะ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์ คือ การรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอมาก เครียด เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์เกิดจาก 2 สาเหตุหลักๆ คือ ภาวะกรดยูริกในร่างกายสูง และ ภาวะการขับกรดยูริกออกจากร่างกายลดลง

  • สาเหตุของการเกิดโรคเกาท์จากภาวะกรดยูริกในร่างกายสูง ซึ่งเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับการสลายโปรตีนและสารพิวรินในร่างกาย และการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูงจำนวนมากทำให้การขับกรดยูริกออกจากร่างกายไม่ทัน
  • สาเหตุของการเกิดโรคเกีาท์จากภาวะการขับกรดยูริกออกจากร่างกาย ซึ่งไตเป็นอวัยวะหลักที่ทำหน้าที่ขับกรดยูริกออจการร่างกาย หากว่าไตทำงานได้ไม่ปรกติทำให้การขับกรดยูริกออกจากร่างกายไม่ดี

อาการของโรคเกาท์

ผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์จะมีอาการ ปวด บวม แดง และ ร้อน ในบริเวณ นิ้วหัวแม่เท้า อาการปวดมักจะเป็นๆหายๆ มีอาการปวดเรื้อรังตามข้อและสามารถปวดได้ในทุกข้อกระดูก ใบบางรายที่เป็นเก๊าท์จะพบว่าเป็นนิ่วที่ทางเดินปัสสาวะ อาการของโรคเก๊าท์สามารถแบ่งเป็นข้อๆ ตามอาการ ดังนี้

  1. มีอาการปวด บวม แดงและร้อน ที่ข้อกระดูก โดยเฉพาะที่นิ้วหัวแม่เท้า
  2. อาการปวดข้อจะมีอาการเรื้อรัง เป็นๆหายๆ สร้างความรำคาญ
  3. ปวดตามข้อ ซึ่งสามารถเกิดได้กับข้อทุกข้อไม่ว่าจะเป็น ข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อนิ้ว รวมถึงข้อศอก
  4. โรคเก๊าท์จากสถิติ พบว่าเพศหญิงมีอัตราการเกิดโรคน้อยกว่าเพศชาย
  5. มีอาการแทรกซ้อน คือ นิ่วทางเดินปัสสาวะ
  6. อาการปวดข้อจากโรคเก๊าท์ จะปวดมากขึ้นเวลารับประทานอาหาร จำพวกสัตว์ปีก อาหารทะเล เครื่องใน รวมถึงสุรา เนื่องจากเกิดการกระตุ้นให้ปวด

การรักษาโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ สามารถรักษาได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน และการรับประทานอาหาร ซึ่ง สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา หรือเบียร์ เพราะ เครื่องดื่มเหล่านี้ทำให้กรดยูริกในเลือดสูง
  2. ลดการรับประทานอาหารจำะวก เนื้อสัตว์และอาหารทะเล เพราะอาหารเหล่านี้มีกรดยูริกสูง
  3. เมื่อเกิดอาการปวดกำเริบ ห้าม บีบ นวบ ถู หรือ แม้แต่ประคบร้อน ประคบเย็น เพราะจะทำให้อาการปวดเรื้อรังมากขึ้น
  4. ดื่มน้ำเปล่า และนมสดให้มากขึ้น นมสดและน้ำเปล่าจะช่วยให้ไตขับกรดยูริกได้ดีขึ้น
  5. หลีกเลี่ยงการใช้ยา ที่มีฤทธิ์ทำให้กรดยูริกในเลือดสูงขึ้น เช่น ยาขับปัสสาวะ ยารักษาดรคความดันโลหิตสูง
  6. ออกกำลังกาย และควบคุมอาหาร ให้มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปรกติ

ข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ คือ หากเกิดอาการปวด ห้ามบีบนวด เนื่องจาก การบีบนวดจะทำให้กรดยูริก กระจายตัวตามข้อมากขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบ หากเกิดอาการปวดให้ประคบเย็นเท่านั้น และอาหารที่มีกรดยูริกสูง ไม่ให้รับประทานมาก

การป้องกันโรคเก๊าท์

สำหรับการป้องกันโรคเก๊าท์ สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยไม่รับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง แนวทางการปฎิบัติตนสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ อาหารทะเลบางชนิด เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เป็นต้น
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ
  • หากเกิดอาการปวดอย่างเฉียบพลัน ให้พักการใช้ข้อ และ ประคบเย็นช่วยบรรเทาอาการ

โรคเก๊าท์ เกิดจากกรดยูริกใจร่างกายสูงกว่าปรกติ ดังนี้การรักษาโรคเก๊าท์ต้องบำรุงไต ให้ไตทำงานอย่างปรกติ ให้สามารถขับกรดยูริกออกจากร่างกายได้

สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคเก๊าท์ คือ สมุนไพรบำรุงไต ดังนั้น เราได้รวบรวมสมุนไพรที่ช่วยบำรุงไต มาให้เป็นความรู้สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ สมุนไพรบำรุงไต มีดังนี้

 ลูกยอ ต้นยอ สมุนไพร สมุนไพรไทยยอ  รางจืด สมุนไพร สมุนไพรไทย ไม้ยืนต้นรางจืด

สมุนไพรบำรุงกระดุก สามารถใช้ลดการเกิดโรคเก๊าท์ได้ เราได้รวยรวมสมุนไพร ที่มีสรรพคุณบำรุงกระดูก

มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้
มะละกอ
ส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ส้มโอ
กระชาย สมุนไพร สมุนไพรไทย ต้นกระชาย
กระชาย
กระเฉด สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัวผักกระเฉด
ชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ชะอม
ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ตำลึง

โรคเก๊าท์ ( Gout ) คือ ข้ออักเสบ จากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง เกิดที่หัวแม่ท้าบ่อยที่สุด แต่สามารถเกิดกับข้ออื่นๆได้ เช่น ข้อเท้า ข้อศอก หัวเข่า ข้อต่อกระดูกมือ อาการของโรคเก๊าท์ อักเสบตามข้อกระดูก ปวด บวม แดง ที่ข้อต่ออย่างเฉียบพลัน การรักษาโรคเก๊าท์ ปัจจัยของโรคเก๊าท์ สมุนไพรรักษาโรคเก๊าท์ อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove