โรคคอตีบ Diphtheria ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ทางเดินหายใจ อาการร้ายแรง ทำให้อักเสบที่เยื่อบุจมูก คอ และ หลอดลม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ร่างกายอ่อนแรงได้

โรคคอตีบ โรคหูคจมูก โรคติดเชื้อ โรคลำคอ

โรคคอตีบ ( Diphtheria ) เป็นโรคเกิดจากทางเดินหายใจติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Chorynebac terium diphtheriae ปัจจุบันเป็นโรคพบได้น้อยในประเทศที่พัฒนาแล้วเนื่องจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ตั้งแต่เป็นทารกอายุ 2 เดือนอย่างทั่วถึง แต่ยังเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศในเขตร้อนที่ยังไม่พัฒนาหรือกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย โรคคอตีบจัดเป็นโรครุนแรงเป็นสาเหตุให้เสียชีวิต (ตาย) ได้ ทั้งนี้ความรุนแรงของโรคขึ้นกับการได้รับยาต้านสารพิษและยาปฏิชีวนะอย่างรวดเร็วภายใน 1 – 2 วันหลังมีอาการ ซึ่งช่วยลดอัตราเสียชีวิตลงเหลือประมาณ 1% แต่ถ้ามาพบแพทย์ล่าช้า หรือเมื่อผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 5 ปี หรืออายุสูงตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หรือเกิดผลข้างเคียงแล้ว อัตราเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 20%

สาเหตุของการเกิดโรคคอตีบ

สำหรับต้นเหตุของโรคคอตีบเกิดจาก เชื้อแบคทีเรียคอตีบ ชื่อว่า โครินแบคทีเรียดิฟทีเรีย ( Corynebacterium diphtheriae ) เชื้อคอตีบ หลังจากนั้นเชื้อชนิดนี้จะปล่อยสารพิษ (Exotoxin) ออกมาทำลายเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะเยื่อบุคอหอย กล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นประสาท โรคคอตีบสามารถติดต่อได้จากการรับเชื้อทางปากหรือหายใจ จากผู้ที่มีเชื้อโรค เช่น การไอ การจาม การสัมผัสน้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย หลังจากได้รับเชื้อ 2-10 วันผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการ

อาการของผู้ป่วยโรคคอตีบ  

ผู้ป่วยจะมี น้ำมูก เจ็บคอ มีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว พบว่ามีอาการต่อมน้ำเหลืองโต หายใจและกลืนน้ำลายลำบาก จะมีแผลที่ผิวหนัง มีอาการอักเสบที่แผล เจ็บ และมีหนองเขียวที่แผล หากไม่รักษาให้ทันท่วงที จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ คือ การอักเสบที่กล้ามหัวใจ จะทำให้มีภาวะหัวใจล้มเหลว  เกิดภาวะน้ำท่วมปอด การเต้นของหัวใจจะผิดปกติ หรืออาจจะส่งผลถึงเส้นประสาทที่สมอง อาจเป็นอัมพาต เกิดปากเบี้ยว ตาเข มือเท้าชา และกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถสรุบอาการของโรคคอตีบได้ดังนี้

  • มีไข้มักไม่เกิน 39 องศาเซลเซียส (Celsius) อาจรู้สึกหนาวสั่น
  • อ่อนเพลีย เจ็บคอมาก กิน/ดื่มแล้วเจ็บคอมากจึงกิน/ดื่มได้น้อย
  • หายใจลำบาก หายใจไม่ออก หายใจเร็ว หอบเหนื่อย
  • คออาจบวมและไอมีเสียงดังเหมือนสุนัขเห่า
  • มีแผ่นเยื่อในจมูก ต่อมทอนซิล ลำคอ และกล่องเสียง ก่ออาการค่อยๆมีเสียงแหบลงเรื่อยๆ และน้ำมูกอาจมีเลือดปน/น้ำมูกเป็นเลือด
  • อาจมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอบวมโตซึ่งโตได้ทั้งสองข้าง
  • หลังจากมีอาการทางเดินหายใจแล้ว อาจพบมีแผลบริเวณผิวหนังพบได้ทั่วตัวแต่พบบ่อยบริเวณแขนและขา แผลมีลักษณะเหมือนแผลทั่วไป แต่เมื่อตรวจเชื้อจะพบว่าเกิด จากเชื้อโรคคอตีบ

ระยะของโรคคอตีบ

สำหรับอาการของโรคคอตีบนั้นสามารถแบ่งได้ 2 ระยะ ตามลักษณะของอาการของโรค คือ คอตีบระยะฟักตัวของโรค และ คอตีบระยะติดต่อ ซึงรายละเอียดของโรคคอตีบแต่ละระยะ มีดังนี้

  • คอตีบระยะฟักตัวของโรค  ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนแสดงอาการจะใช้เวลาประมาณ 1-7 วัน (โดยเฉลี่ย 3 วัน) แต่อาจนานได้ถึง 10 วัน และผู้ป่วยมักมีอาการอยู่นาน 4-6 สัปดาห์หรืออาจนานกว่านี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ในบางกรณีผู้ติดเชื้ออาจจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลยก็ได้ ซึ่งกลุ่มผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการเหล่านี้ (Carrier) มักจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญในชุมชน
  • คอตีบระยะติดต่อ ผู้ที่มีอาการของโรคคอตีบจะมีเชื้ออยู่ในจมูกและลำคอได้นาน 2-3 สัปดาห์ แต่บางครั้งอาจนานถึงหลายเดือน ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างเต็มที่แล้วเชื้อจะหมดไปภายใน 1 สัปดาห์

การรักษาโรคคอตีบ

แนวทางการรักษาโรคคอตีบ สามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น penicillin หรือ Erythromycin ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาเพื่อฆ่าเชื้อโรค กับแพทย์ ประมาณ 2 สัปดาห์ ผ่าตัดเอาแผ่นฝ้าขาวออกเพื่อไม่ให้อุดหลอดลม พักผ่อนให้มากๆ

การป้องกันโรคคอตีบ

แนวทางการป้องกันการติดเชื้อโรคคอตีบ สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ สรุปแนวทางการป้องกันการเกิดโรคคอตีบได้ ดังนี้

  • การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดโอกาสติดเชื้อต่างๆซึ่งรวมทั้งเชื้อโรคคอตีบและลดการติดโรคที่ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำเช่น ติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์
  • ใช้หน้ากากอนามัย
  • การร่วมมือกันในชุมชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีสุขอนามัยที่ดี
  • โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน (DTP vaccine) หรือฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก (DT vaccine)
  • ผู้ที่สัมผัสโรคหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการป้องกัน ซึ่งแพทย์จะเพาะเชื้อจากคอหอย ติดตามอาการเป็นเวลา 7 วัน และให้รับประทานยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ในขนาดเดียวกันกับที่ใช้รักษา แต่ให้รับประทานป้องกันเพียง 7 วัน และจะฉีดวัคซีนป้องกันให้ถ้าไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อนหรือฉีดไม่ครบ แต่ถ้าเคยฉีดวัคซีนป้องกันมาแล้วและเข็มสุดท้ายได้รับมานานเกิน 5 ปี แพทย์จะฉีดวัคซีนกระตุ้นให้อีกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยในระยะติดต่อ ควรสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับผู้ป่วย

โรคคอตีบ ( Diphtheria ) ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินหายใจ อาการร้ายแรง ทำให้อักเสบที่เยื่อบุจมูก คอ และ หลอดลม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการอักเสบ และ อ่อนแรง ได้ การรักษาโรคคอตีบ การป้องกันโรคคอตีบ

คางทูม Mumps ต่อมน้ำลายอักเสบจากเชื้อไวรัส RNA อาการมีไข้ บวมที่หลังหู บวมที่หน้าหู บวมที่คาง ปวดเวลาเคี้ยวอาหาร ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ การรักษาทำอย่างไรคางทูม ต่อมน้ำลายอักเสบ โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ

โรคคางทูม โรคติดต่อ โรคติดเชื้อไวรัส บวมที่หลังหู บวมที่หน้าหู บวมที่คาง ปวดเวลาเคี้ยวอาหาร เป็นการติดเชื้อที่ต่อมน้ำลาย โรคคางทูมมีโรคแทรกซ้อนอะไรบ้าง การป้องกันโรคคางทูมทำอย่างไร ผู้ป่วยโรคนี้ต้องดูแลตัวเองอย่างไร

โรคคางทูม ภาษาอักกฤษ เรียก Mumps ถือเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง โรคเกี่ยวกับการติดเชื้อ เป็นการติดเชื้อไวรัส RNA ซึ่งไวรัสในกลุ่ม paramyxovirus ทำให้ผู้ติดเชื้อมีไข้และต่อมน้ำลายอักเสบ อาจจะทำให้ตับอ่อนอักเสบได้ และในบางคนพบว่ามีอัณฑะอักเสบในเพศชาย และมีรังไข่อักเสบในเพศหญิง อาการอาจสามารถลามไปถึงเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ โรคคางทูมสามารถติดต่อกันได้ทาง น้ำลายและเสมหะ

สาเหตุของโรคคางทูม

โรคคางทูม เกิดจากการติดเชื้อโรค เป็นเชื้อไวรัสกลุ่มพารามิกโซ(paramyxovirus) ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อมาจากน้ำลาย หรือการการไอ การจาม รวมถึงการสัมผัสน้ำลายของผู้มีเชื้อโรคดังกล่าว เมื่อเชื้อเข้าไปในร่างกาย จะเข้าสู่กระแสเลือด ก่อนที่จะแพร่กระจายไปสู่ยังอวัยวะต่าง ๆ เมื่อเข้าสูต่อมน้ำลายทำให้เกิดการอักเสบ

อาการของคางทูม

โรคคางทูมมีอาการอย่างไร หลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อไปประมาณ 7-20วัน จะมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหารหลังจากนั้นต่อมน้ำลายจะอักเสบ จะมีอาการบวมที่ใต้หู้ เราเรียกว่าต่อม parotid ผิวหนังเหนือต่อมน้ำลายจะบวม แดง อาการบวมจะเริ่มจากหน้าใบหูบวมมายังหลังใบหู และลงมาคลุมขากรรไก อาการบวมมักจะไม่เกิน 7 วัน  ปวดมากเวลาพูด กลืนและเคี้ยวอาหาร ในเพศชายจะมีอาการอัณฑะอักเสบ หลังจากต่อมน้ำลายอักเสบแล้ว 4-10 วัน โรคคางทูมอาจทำให้สมองอักเสบได้ โดยสังเกตุอาการโดย ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดหัวและมีอาการซึม คอแข็ง หลังแข็ง หากพบอาการดังกล่าวให้พบแพทย์โดยด่วน

โรคแทรกซ้อนที่มากับคางทูม

โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากการเป็นโรคคางทูม เช่น โรคอัณฑะอักเสบ รังไข่อักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และระบบประสาทหูอักเสบ รายละเอียดดังนี้

  • อัณฑะอักเสบจากโรคคางทูม โดยส่วนมากชายที่เป็นคางทูมร้อยละ 25 จะมีอาการอัณฑะอักเสบ ลูกอัณฑะจะปวดบวม เจ็บและรู้สึกอึดอัด หากไม่รีบรักษา อาจทำให้เป็นหมันได้
  • รังไข่อักเสบจากโรคคางทูม หากเกิดผู้หญิงเป็นโรคคางทูม จะทำให้มีไข้และปวดท้องน้อย หากการตั้งครรภ์มีอัตราเสี่ยงต่อการแท้งบุตรสูง
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากโรคคางทูม เนื่องจากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง ทำให้ปวดศีรษะอย่างหนัก คอแข็ง หลังแข็ง หากรักษาไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้
  • ระบบประสาทหูอักเสบจากโรคคางทูม เนื่องจากโรคคางทูม อยู่ในจุดที่ใกล้กับระบบประสาทหู อาการประสาทหูอักเสบจะเข้าไปทำลายระบบการได้ยิน ทำให้หูชั้นในอักเสบ ซึ่งหากไม่รักษาสามารถทำให้หูหนวกได้

การรักษาโรคคางทูม

การรักษาโรคคางทูม ไม่มียาที่รักษาโรคคางทุมได้เฉพาะทาง ทำได้โดยการรักษาอาการตามโรค เช่น ยาแก้ปวดและการพักผ่อนให้มาก

การป้องการโรคคางทูม

โรคคางทูมสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน ซึ่งต้องฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุ 9 ถึง 12 เดือน และต้องฉีดซ้ำอีกครั้งในช่วง อายุ 4 ถึง 6 ปี

การดูแลผู้ป่วยโรคคางทูม

โรคคางทูมมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส การดูแลผู้ป่วยในระยะที่ยังไม่มีอาการแทรกซ้อน สามารถทำได้เพียง ให้พักผ่อน ช่วยลดไข้ และร่างกายจะรักษาตัวเองตามธรรมชาติ โดยทั่วไปอาการไข้จะอยู่ในช่วงไม่เกิน 6 วัน และอาการบวมจะลดลงเองภายใน 10 วัน ซึ่งผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ และทานยาลดไข้ เวลาปวดให้ใช้น้ำเย็นประคบ เลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่แข็ง ควรรักษาตัวอยู่บ้านเพื่อไม่ให้แพร่เชื้อโรคสู่ผู้อื่น

สมุนไพรช่วยแก้ปวด สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บสำหรับผู้ป่วยโรคคางทูมได้ เราได้รวบรวมมาให้ ดังนี้

โหระพา ต้นโหระพา ใบโหระพา สรรพคุณของโหระพาโหระพา ผักชี ผักสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของผักชีผักชี
แห้ว ต้นแห้ว สรรพคุณของแห้ว สมุนไพรแห้ว ต้นมะยม มะยม สรรพคุณของมะยม สมุนไพรมะยม
ต้นพลูคาว พลูคาว สรรพคุณของพลูคาว ประโยชน์ของพลูคาวพลูคาว เผือก ต้นเผือก ประโยชน์ของเผือก สรรพคุณของเผือกเผือก

โรคคางทูม ( Mumps ) ต่อมน้ำลายอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส RNA อาการคางทูม มีไข้ บวมที่หลังหู บวมที่หน้าหู บวมที่คาง ปวดเวลาเคี้ยวอาหาร อาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove