คางทูม Mumps อาการต่อมน้ำลายอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส RNA มีไข้ บวมที่หลังหู บวมที่หน้าหู บวมที่คาง ปวดเวลาเคี้ยวอาหาร หากรักษาช้าอาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้

คางทูม โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ การรักษาโรคคางทูม

โรคคางทูม ภาษาอักกฤษ เรียก Mumps เป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัส RNA เป็นไวรัสในกลุ่ม paramyxovirus สามารถติดต่อได้ทางน้ำลายหรือเสมหะ ซึ่งผู้ติดเชื้อจะทำให้เกิดอาการมีไข้และต่อมน้ำลายอักเสบ อาจทำให้ตับอ่อนอักเสบ เพศชายอาจมีอาการอัณฑะอักเสบในเพศชาย ส่วนสตรีอาจมีอาการรังไข่อักเสบ และสามารถลามไปถึงอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้

โรคนี้มีวัคซีนในการป้องกันโรค ในปี พ.ศ. 2556 กระทรวงสาธารณะสุข ประเทศไทย มีการแนะนำให้เปลี่ยนการฉีดวัคซีน MMR ครั้งที่ 2 จากเด็กอายุ 4-6 ปี เลื่อนเข้ามาเป็นอายุ 2 ½ ปี เพื่อเร่งการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กที่ได้รับวัคซีนครั้งแรกในอายุ 9 เดือนแล้วไม่ได้ผล  ส่วนในภาคเอกชน สำหรับเด็กที่รับวัคซีน MMR ครั้งแรกที่อายุ 12 เดือน อาจรับวัคซีนครั้งที่ 2 ที่อายุ 2 ½ ปี หรือ 4-6 ปีตามปกติก็ได้

สาเหตุของโรคคางทูม

โรคคางทูมเกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มพารามิกโซ ( paramyxovirus ) ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อมาจากน้ำลาย หรือ การสัมผัสสารคัดหลังของผู้มีเชื้อโรค เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะเข้าสู่กระแสเลือดและแพร่กระจายไปสู่ยังอวัยวะต่างๆ และ เริ่มแสดงอาการที่ต่อมน้ำลาย โดยทำให้เกิดอาการอักเสบ

อาการของคางทูม

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคคางทูม หลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อประมาณไม่เกิน 20 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้ อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร หลังจากนั้นจะเกิดอาการต่อมน้ำลายอักเสบ ซึ่งมีอาการบวมที่ใต้หู้ ผิวหนังเหนือต่อมน้ำลายจะบวม แดง หน้าหน้าส่วนใบหูบวมลงมาคลุมขากรรไกรจะปวดมากเวลาพูดและการกลืนหรือเคี้ยวอาหาร อาการบวมนี้จะแสดงอาการไม่เกิน 7 วัน ในเพศชายจะมีอาการอัณฑะอักเสบ อาจทำให้สมองอักเสบ หากมีอาการปวดหัว มีอาการซึม คอแข็ง หลังแข็ง ให้ส่งตัวหาแพทย์ด่วน

โรคแทรกซ้อนจากโรคคางทูม

สำหรับโรคคางทูมหากไม่รักษาให้หายขาดอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น อัณฑะอักเสบ รังไข่อักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และระบบประสาทหูอักเสบ โดยรายละเอียดดังนี้

  • อัณฑะอักเสบจากโรคคางทูม โดยส่วนมากชายที่เป็นคางทูมร้อยละ 25 จะมีอาการอัณฑะอักเสบ ลูกอัณฑะจะปวดบวม เจ็บและรู้สึกอึดอัด หากไม่รีบรักษา อาจทำให้เป็นหมันได้
  • รังไข่อักเสบจากโรคคางทูม หากเกิดผู้หญิงเป็นโรคคางทูม จะทำให้มีไข้และปวดท้องน้อย หากการตั้งครรภ์มีอัตราเสี่ยงต่อการแท้งบุตรสูง
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากโรคคางทูม เนื่องจากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง ทำให้ปวดศีรษะอย่างหนัก คอแข็ง หลังแข็ง หากรักษาไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้
  • ระบบประสาทหูอักเสบจากโรคคางทูม เนื่องจากโรคคางทูม อยู่ในจุดที่ใกล้กับระบบประสาทหู อาการประสาทหูอักเสบจะเข้าไปทำลายระบบการได้ยิน ทำให้หูชั้นในอักเสบ ซึ่งหากไม่รักษาสามารถทำให้หูหนวกได้
  • สูญเสียการได้ยิน ในผู้ป่วยคางทูม 1 ใน 20 คนอาจสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว และ 1 ใน 20,000 อาจสูญเสียการได้ยินแบบถาวร

การรักษาโรคคางทูม

สำหรับแนวทางการรักษาโรคคางทูมในปัจจุบันไม่มียาที่รักษาโรคคางทุมโดยเฉพาะ แต่มีวัคซีนกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานโรค การรักษาโรคคางทูมร่างกายจะสามารถสร้างภูมิต้านทานโรคและรักษาตัวเองให้หายขาดได้ ซึ่งการรักษาแพทย์จะให้ยาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ยาแก้ปวด รวมถึงการแนะนำให้พักผ่อนร่างกายให้มากที่สุด สำหรับปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรค เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรค

การป้องการโรคคางทูม

สำหรับปัจจุบันสามารถป้องกันโรคคางทูมได้ โดยการใช้วัคซีน ซึ่งต้องฉีด2 ครั้ง ในช่วงอายุ อายุ 9 ถึง 12 เดือน และต้องฉีดซ้ำอีกครั้งในช่วง อายุ 4 ถึง 6 ปี นอกจากการมีวัคซีนในการป้องกันโรค การดูแลตนเองให้ร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และ พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นแนวทางการป้องกันการเกิดโรคทุกโรคที่ดีที่สุด

โรคคอตีบ ( Diphtheria ) การติดเชื้อแบคทีเรียที่ทางเดินหายใจ ติดต่อสู่คนได้ อาการมีไข้ มีเสมหะ เจ็บคอ หายใจลำบาก มีแผลตามตัว หากไม่รักษาเป็นอันตรายถึงชีวิต

โรคคอตีบ โรคระบบทางเดินหายใจ ติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ ติดเชื้อที่คอ

โรคคอตีบ ( Diphtheria ) คือ โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชนิด Chorynebac terium diphtheriae เป็นโรคพบได้น้อยในประเทศที่พัฒนาแล้ว โรคคอตีบมีฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโรค ต้องฉีดวัคซีนตั้งแต่เป็นทารกอายุ 2 เดือนโรคที่พบได้บ่อยในประเทศในเขตร้อน เมื่ออดีตโรคคอตีบมีอาการที่รุนแรงเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตจนนวนมาก

สาเหตุของการเกิดโรคคอตีบ

สำหรับโรคคอตีบเกิดจากเชื้อแบคทีเรียคอตีบ ชื่อว่า โครินแบคทีเรียดิฟทีเรีย ( Corynebacterium diphtheriae ) เชื้อโรคเมื่อเข้าสู่งร่างกายเชื้อโรคจะปล่อยสารพิษ ( Exotoxin ) ออกมาทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ โดยเฉพาะเยื่อบุคอหอย กล้ามเนื้อหัวใจ และ เส้นประสาท ซึ่งโรคคอตีบนี้สามารถติดต่อกันได้ โดยการรับเชื้อทางปาก หรือ การหายใจ เช่น การไอ การจาม หรือ การสัมผัสน้ำลายหรือเสมหะของคนที่มีเชื้อโรคคอตีบ หลังจากได้รับเชื้อภายใน 10 วันผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรคคอตีบ

อาการของผู้ป่วยโรคคอตีบ  

การแสดงอาการของผู้ป่วยโรคคอตีบ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอ มีไข้ มีน้ำมูก ครั่นเนื้อครั่นตัว ต่อมน้ำเหลืองโต หายใจลำบาก กลืนน้ำลายไม่สะดวก และ ผิวหนังจะมีอาการผิดปรกติ เช่น มีแผลที่ผิวหนัง มีอาการอักเสบที่แผล เจ็บแผล และ มีหนองที่แผล ผู้ป่วยโรคคอตีบหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้เกิดอาการต่างๆจากโรคแทรกซ้อนเพิ่มได้ คือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ภาวะหัวใจล้มเหลว น้ำท่วมปอด หัวใจเต้นผิดปรกติ อาจทำให้เป็นอัมพาต ปากเบี้ยว ตาเข มือเท้าชา และ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ได้ สามารถสรุบลักษณะอาการของโรคคอตีบ ได้ดังนี้

  • มีไข้สูง แต่ไม่เกิน 39 องศาเซลเซียส
  • รู้สึกหนาวสั่น
  • อ่อนเพลีย
  • เจ็บคอมาก
  • หายใจลำบาก
  • หอบเหนื่อย
  • คออาจบวม
  • ไอมีเสียงดังเหมือนสุนัขเห่า
  • เสียงแหบ
  • น้ำมูกอาจมีเลือดปน
  • มีแผลบริเวณผิวหนัง บริเวณแขนและขา

ระยะของโรคคอตีบ

สำหรับระยะของอาการโรคคอตีบ มี 2 ระยะ คือ คอตีบระยะฟักตัวของโรค และ คอตีบระยะติดต่อ ซึงรายละเอียดของโรคคอตีบแต่ละระยะ มีดังนี้

  • คอตีบระยะฟักตัว ตั้งแต่ได้รับเชื้อจะแสดงอาการภายใน 10 วัน ในบางกรณีผู้ติดเชื้ออาจจะไม่แสดงอาการใดๆเลยก็ได้ ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการเหล่านี้ มักเป็นแหล่งแพร่เชื้อสำคัญในชุมชน
  • คอตีบระยะติดต่อ หลังจากติดเชื้อได้ประมาณ 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคคอตีบ ซึ่งสามารถแพร่เชื้อโรคได้ในระยะนี้จากการไอ การจาม และ สารคัดหลั่ง

การรักษาโรคคอตีบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรคคอตีบ สามารถรักษาโรคคอตีบได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น penicillin หรือ Erythromycin ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 14 วัน  เมื่อให้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อกับผู้ป่วย แพทย์จะการรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการของโรคอื่นๆ เช่น ให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ให้น้ำเกลือและให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ ใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อช่วยในการหายใจ ให้ออกซิเจน เป็นต้น

การป้องกันโรคคอตีบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการติดเชื้อโรคคอตีบ สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ สรุปแนวทางการป้องกันการเกิดโรคคอตีบได้ ดังนี้

  • เข้ารับการฉีดวัควีนป้องกันโรคคอตีบ
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้สะอาด เพื่อป้องกันอาการติดเชื้อ
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ใช้หน้ากากอนามัยหากต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยงในการรับเชื้อโรค
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยในระยะติดต่อ

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove