อาการเวียนศรีษะจากความผิดปรกติของหูชั้นใน และ ความผิดปรกติของระบบเลือด เลือดไหวเวียนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการโลกหมุน หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้อาเจียนโรคเวียนศีรษะ โรคหู บ้านหมุน โรคไม่ติดต่อ

โรคเวียนศีรษะ ภาษาอังกฤษ เรียก Dizziness หากท่านมีอาการ เช่น มึนหัว บ้านหมุน หนักหัว เป็นลม เป็นสัญญานว่าท่านกำลังเป็นโรคเวียนศรีษะ สาเหตุ การรักษา และการป้องกันโรคเวียนหัว อยู่ในเนื้อหา ในบทความนี้ แต่สาเหตุที่พบบ่อย โรคนี้เกิดจาก ความผิดปรกติของหูชั้นใน และความผิดปรกติของระบบเลือด

การตรวจวินิจฉัยโรคเวียนศรีษะ

แพทย์จะสังเกตุจากอาการ อยู่ 3 ส่วน ใหญ่ๆ คือ ลักษณะของอาการเวียนศรีษะ ระยะเวลาในการเวียนศรีษะ และอาการอื่นๆที่เกิดขึ้นในช่วงที่เวียนศรีษะ เป็นต้น  ซึ่งการตรวจวินิจฉัย จะทำการตรวจระบบหู ตรวจตา ตรวจการได้ยิน ตรวจหู คอ จมูก ตรวจชีพขจร วัดความดัน ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจการทำงานของหัวใจตรวจความเครียด ตรวจการทรงตัว และ ตรวจระบบประสาท เป็นต้น ซึ่งการตรวจทั้งหมดเพื่อดูความผิดปรกติของร่างกายว่าเกิดจากจุดใดที่มหให้เกิดอาการเวียนหัว

อาการของผู้ป่วยโรคเวียนศรีษะ

ทางการแพทย์แบ่งลักษณะของอาการ เป็น 4 ชนิด คือ การเวียนศรีษะแบบโลกหมุน การเวียนศรีษะแบบหน้ามืดเป็นลม การเวียนศรีษะแบบมึนๆหนักศรีษะ และการเวียนศรีษะแบบสูญเสียการทรงตัว รายละเอียด ดังนี้

  1. การเวียนศีรษะ แบบโลกหมุน ภาษาอังกฤษ เรียก vertigo ลักษณะ คือ ผู้ป่วยจะเห็นภาพหมุน หมุนมากจนต้องหลับตา หากเปิดตาก็จะทำให้เวียนหัว คลื่นไส้อาเจียน ได้ สาเหตุของอาการโลกหมุน เกิดจากความผิดปรกติของ หูชั้นใน ซึ่งโรคเกี่ยวกับหูชั้นในเช่น Benign paroxysmal positional vertigo (BPPV) หูชั้นในอักเสบจากเชื้อไวรัส น้ำเลี้ยงในหูชั้นในเพิ่มขึ้น เนื้องอกกดเส้นประสาท  และการบริโภคยาบางชนิด เช่น Aspirin, streptomycin, gentamicin, caffeine, alcohol และยาเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และยาเกี่ยวกับโรคหัวใจ เป็นต้น
  2. การเวียนศรีษะ แบบหน้ามืดเป็นลม ภาษาอังกฤษ เรียก Fainting อาการจะเกิดขึ้นตอน นั้งหรือนอนอยู่แล้วลุกขึ้นกระทันหัน แล้วเกิดอาการ หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออก หน้าซีด ต้องนั้งหรือนอนสักพักก็จะค่อยๆดีขึ้น ในผู้ป่วยบางรายถึงกับคลื่นไส้อาเจียน สาเหตุของอาการแบบนี้ เกิดจาก ภาวะความดันโลหิตต่ำ และอาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
  3. การเวียนศรีษะ แบบหนักศีรษะมึนๆ ลักษณะอาการแบบนี้เป็นอาการที่พบบ่อยสุดในอาการของผู้ป่วยโรคปวดศรีษะ ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ ความผิดปรกติของหูชั้นใน และโรคเครียด
  4. การเวียนศีรษะ แบบเสียการทรงตัว ผู้ป่วยจะไม่สามารถทรงตัวได้ ซึ่งสาเหตุของอาการลักษณะนี้ เกิดจาก ความผิดปรกติของหูชั้นใน โรคระบบประสาท โรคข้อเสื่อม โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และการใช้ยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับและยากันการชัก เป็นต้น

การป้องกันและการดูแลตนเองเบื้องต้น

สามารถทำได้โดย การนอนพัก อย่าเปลี่ยนท่าอย่างกระทันหัน หันศีรษะช้าๆ หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลง หลีกเลี่ยงการขับยานพาหนะ การขึ้นลงบันได หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือขณะอยู่ในยานพาหนะ เป็นต้น

อาการเวียนหัวสาเหตุหนึ่งเกิดจากการที่เลือดไหวเวียนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ซึ่งอาการเลือดเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ อาจเกิดจากการตีบตันในเส้นเลือด ซึ่งไขมันที่เกาะตัวในเส้นเลือดเป็นสาเหตุของการทำให้เส้นเลือดตีบตัน ดังนั้น สมุนไพรที่ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเวียนหัวได้ จึงขอแนะนำสมุนไพรช่วยลดไขมันในเส้นเลือด มีดังนี้

คาเคา โกโก้ สรรพคุณของโกโก้ สมุนไพรคาเคา คะน้าเม็กซิกัน ผักไชยา สมุนไพร ต้นผงชูรสผักไชยา
เก๋ากี้ สมุนไพร โกจิเบอร์รี่ สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่เก๋ากี้ โกจิเบอร์รี่ ลูกสมอไทย สมอไทย ราชาสมุนไพร สมุนไพรไทยสมอไทย
ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง

โรคเวียนศรีษะ ( Dizziness ) คือ ภาวะความผิดปรกติของหูชั้นใน และ ความผิดปรกติของระบบเลือด อาการเวียนหัวสาเหตุหนึ่งเกิดจากการที่เลือดไหวเวียนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการ โลกหมุน หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท หูคอจมูก การรักษาโรค และ การป้องกันการเกิดโรค

โรคไทรอยด์ ( Thyroid gland ) ภาวะต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไป ส่งผลให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เหงื่อออกง่าย หงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น

ไทรอยด์เป็นพิษ โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

ไทยรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ของร่างกายมนุษย์ ซึ่งต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่หลักคือ ผลิตฮอร์โมน ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ จึงหมายถึง ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนผิดปกติ และการขาดไอโอดีน หรือการมีไอโอดีนในร่างกายมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดโรคกับต่อมไทรอยด์ได้

ไทรอยด์เป็นพิษ ( Hyperthyroidism , Overactive Thyroid ) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย และหงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะส่งผลให้ระบบในร่างกายทั้งหมดผิดปรกติ ซึ่งระบบประสาทจะไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้

ความผิดปรกติของไทรอยด์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ

  1. ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน เป็น ภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมามากเกินความจำเป็น  ส่งผลให้หัวใจเต้นแรง ใจสั่น นอนไม่หลับ และน้ำหนักตัวลด ทำให้มีอารมณ์แปรปรวนบ่อย
  2. ฮอร์โมนไทรอยด์ขาด (Hypothyroidism) เป็นภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมาน้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง รู้สึกหนาว ระบบความจำเสื่อม ตัวบวม ท้องผูก ถ้าเกิดกับเด็กจะทำให้ตัวการเจริญเติบโตของเด็กไม่ดี ตัวจะแคระแกรน
  3. ฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ เป็นภาวะที่ฮอร์โมนของร่างกายหลั่งออกมาปกติ แต่มีความผิดปกติที่ตรงต่อมไทรอยด์

สาเหตุของการเกิดไทรอยด์เป็นพิษ

สาเหตุของโรคไทรอยด์เป็นพิษนั้นเกิดขึ้นจาก การทำงานมากกว่าปรกติของต่อมไทรอยด์ จนทำให้ร่างกายมีปริมาณของฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าความต้องการของร่างกาย สามารถแยกสาเหตุได้ 3 สาเหตุหลัก ๆ ประกอบด้วย

  • การรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนมากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์
  • การอักเสบของต่อมไทรอยด์ การอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุของต่อมไทรอยด์สามารถส่งผลต่อการทำงานของของต่อมไทรอยด์ได้ โดยการอักเสบของต่อมไทรอยด์จะทำให้ฮอรโมนไทรอยด์ถูกผลิตออกมามากขึ้น และทำให้ฮอร์โมนรั่วไหลออกไปที่กระแสเลือด ทั้งนี้การอักเสบของต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ ยกเว้นอาการไทรอยด์อักเสบแบบกึ่งเฉียบพลันที่เกิดขึ้นได้น้อย สามารถส่งผลให้เกิดอาการเจ็บได้
  • เนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ เป็นกรณีที่พบได้น้อย เนื้องอกที่เกิดบริเวณไทรอยด์ และเนื้องอกที่เกิดบริเวณต่อมใต้สมอง อาจส่งผลให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษได้
  • การได้รับการเสริมฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ยาที่มีส่วนประกอบของไอโอดีนบางชนิด เช่น ยาอะไมโอดาโรน (Amiodarone) ที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษ

อาการของโรคไทยรอยด์

สำหรับอาการของโรคไทรอยด์เป็นพิษ นั้น ผู้ป่วยจะมีความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปรกติ ทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย ใจสั่น ในผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ระบบการเผาผลาญ ของร่างกายถูกกระตุ้น ทำให้น้ำหนักตัวลดลง นอนไม่หลับ ท้องเสียง่าย เนื่องจากระบบทางเดินอาหารถูกกระตุ้นให้ทำงาน ตาโปนเยื่อหลังนัยน์ตาขยาย ในผู้หญิงอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน ซึ่งสามารถสรุปอาการของโรคเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้ ดังนี้

  • อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว
  • นอนหลับยาก
  • มีปัญหาสายตา เช่น ตาโปน เห็นภาพซ้อน เป็นต้น
  • สุขภาพผมเปลี่ยนไป ผมเปราะบางขาดง่าย และมีอาการผมร่วง
  • ผู้หญิงมีรอบเดือนผิดปกติ ประจำเดือนมีสีจางและมาไม่สม่ำเสมอ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะบริเวณต้นขาและต้นแขน
  • เล็บยาวเร็วผิดปกติ
  • หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้ง/นาที โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
  • มือสั่นตลอดเวลา
  • มีอาการคัน
  • เหงื่อออกมาก
  • ผิวหนังบาง
  • น้ำหนักลด แต่มีความอยากอาหารมากขึ้น
  • อาจพบเต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นในเพศชาย

มะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid carcinoma) มีทั้งชนิดรุนแรงและไม่รุนแรง จะพบมากในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แต่พบว่าผู้ชายจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าผู้หญิง

การรักษาโรคไทรอยด์

โรคของต่อมไทรอยด์สามารถรักษาได้อย่างไร เมื่อเราพบว่าร่างกายมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน สามารถทำการรักษาได้โดย กินยาลดการทำงานของต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือ การกินน้ำแร่รังสีไอโอดีน
เมื่อเราพบว่าร่างกายเป็นภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป สามารถรักษาได้โดย การกินยาไทรอยด์เพิ่มระดับฮอร์โมน และให้ยาขับน้ำ เพื่อลดการบวมของร่างกาย
หากพบว่าเป็นมะเร็งต่อมไทยรอยด์ จะต้องทำการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ และกินยาน้ำแร่รังสีไอโอดีน รวมถึงฉายรังสีรักษา

การดูแลตนเองเมื่อเป็นไทยรอยด์

เมื่อมีอาการผิดปกติดังกล่าวหรือสังเกตเห็นมีก้อนเนื้อผิดปกติในบริเวณต่อมไทรอยด์ และ/หรือลำคอ ควรรีบพบแพทย์เสมอภายใน 1 – 2 สัปดาห์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้การรักษาได้ผลดีกว่า ใช้เวลารักษาและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาน้อยกว่าการรักษาในระยะที่เป็นโรคเรื้อรังหรือเป็นโรคมะเร็งในระยะลุกลาม

ป้องกันไม่ให้เกิดโรคของต่อมไทรอยด์

การป้องกันโรคไทยรอยด์ในทางการแพทย์นั้น โรคต่อมไทรอยด์ ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคคอพอก ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการขาดสารไอโอดีน ดังนั้น การป้องกันโรคไทรอยด์ เราต้อง รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของ ไอโอดีนในปริมาณที่เหมาะสม โดยอาหารที่มีสารไอโอดีย เช่น อาหารทะเล เกลือทะเล นอกจากการรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน การออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ก็สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโนคนี้ได้


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove