ภาวะไขมันสะสมในเส้นเลือดสูงกว่าปรกติ เกิดจากพฤติกรรมการกิน ไม่ใช่โรคติดต่อแต่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ทำให้มีความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ซึ่งเป็นอันตราย

ไขมันในเส้นเลือดสูง โรคจากความอ้วน โรคหลอดเลือด ภาวะอ้วน

โรคไขมันในเลือดสูง คือ ภาวะไขมันสะสมในเส้นเลือดสูงกว่าปรกติ ไม่ใช่โรคติดต่อ สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เกิดจากการกินที่ไม่เหมาะสม ฝรั่งเป็นมากกว่าไทย ทำให้มีความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจ

สาเหตุของการเกิดโรคไขมันในเลือดสูง

เราสามารถแบ่งสาเหตุของโรคได้ ดังนี้

  1. การถ่ายทอดทางพันธุกรรม จะสังเกตุว่าในพ่อแม่ที่อ้วน ลูกก็จะอ้วนตาม
  2. ภาวะเบาหวาน การสะสมน้ำตาลในเลือดมากก็มีโอกาสไขมันในเส้นเลือดสูง จะสังเกตุว่า คนเป็นเบาหวานส่วนใหญ่เป็นโรคไขมันในเส้นเลือดสูง
  3. การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง
  4. การไม่ออกกำลังกาย เนื่องจากการบริโภคไขมันเข้าร่างกายแต่การเผาผลาญน้อยทำให้การสะสมไขมันมากขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไขมันในเลือดสูง

เราสามารถแบ่งพฤติกรรมหรือสิ่งที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้ ดังนี้

  1. ภาวะน้ำหนักตัวเกิน หรือ อ้วน
  2. พฤติกรรมชอบทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ เป็นต้น
  3. ไม่ชอบออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นการเผาผลาญสารอาหารต่างๆในร่างกายรวมถึงไขมันสะสมในร่างกายด้วย หากไม่ออกกำลังกายก็จะเกิดการสะสมไขมันโดยการเผาผลาญน้อย
  4. การถ่ายทอดทางพันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคเบาหวาน ก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคไขมันในเส้นเลือดสูงได้
  5. การสูบบุหรี่

อาการของโรคไขมันเลือดสูง

โดยส่วนมากจะไม่มีอาการแสดงให้เห็น แต่สังเกตุได้จากรูปร่างของผู้ป่วย หากอ้วนมาก ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนผอม แต่คนผอมก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เป็นโรคนี้ เราสามารถตรวจเลือดเพื่อหาค่าไขมันในเส้นเลือดได้

ผลข้างเคียงของภาวะไขมันในเลือดสูง

สามารถทำให้ร่างกายเกิดโรคต่างๆมากมายตามมา ดังนี้
การมีระดับไขมันในเส้นเลือดสูง มีความเสี่ยงทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือด และอาจถึงอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้ และภาวะนี้จะพบมากในผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไปและผู้หญิงอายุ55 ปีขึ้นไป

การรักษาโรคไขมันในเลือดสูง

สามารถทำได้โดยการใช้ยาและการไม่ใช้ยา รายละเอียด ดังนี้

การรักษาโดยไม่ใช้ยา

  1. ควบคุมอาหาร อาหารที่มีคอเลสเทอรอลสูง เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ กุ้ง หอย ปลาหมึก ไข่ปลา เป็นต้น ต้องไม่บริโภคมากเกินไป และต้องลดอาหารทีมีไขมันสูง เช่น อาหารผัด อาหารทอด อาหารที่ใช้น้ำมัน เนย หรือกะทิ เป็นต้น
    ลดอาหารประเภทแป้ง เช่น ปาท่องโก๋ โดนัท เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นสปาเกตตี มักกะโรนี บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น และอา หารที่มีน้ำตาลสูง
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยเผาผลาญไขมันและน้ำตาลในร่างกาย
  3. การลดน้ำหนัก หากปฏิบัติตามข้อ 1 และข้อ 2 เชื่อว่าน้ำหนักจะลดโดยอัตโนมัติ

การรักษาโดยใช้ยารักษา

ยาที่ใช้รักษาจะใช้ ยากลุ่มHMG-CoA reductase inhibitor ยากลุ่มช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากลำไส้ วิตามินบีรวมชื่อNiacinและยากลุ่ม Fibrates  ซึ่งรายลละเอียด ดังนี้

  1. ยากลุ่ม HMG-CoA reductase inhibitor จะช่วยลดการผลิตไขมันจากตับ ส่งผลให้คอเลสเทอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันลงได้
  2. ยากลุ่มช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากลำไส้ (Cholesterol absorption inhibitor และ bile acid sequestrants)
  3. วิตามินบีรวม ชื่อ Niacin จะช่วยลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ และช่วยเพิ่มระดับไขมัน HDL ได้
  4. ยากลุ่ม Fibrates จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้

สมุนไพรช่วยลดความอ้วน

สามารถช่วยแก้ปัญหาความอ้วน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไขมันโลหิตสูง เราได้รวบรวมให้เพื่อนๆ ดังนี้

กระถิน สรรพคุณของกระถิน ประโยชน์ของกระถิน สมุนไพรกระถิน
พริก สมุนไพร สรรพคุณของพริก ประโยชน์ของพริกพริก
เห็ดหอม สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของเห็ดหอมเห็ดหอม
ผักคะน้า สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักคะน้าผักคะน้า
ถั่วเขียว สมุนไพร สรรพคุณถั่วเขียว ประโยชน์ของถั่วเขียวถั่วเขียว
ถั่วเหลือง สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว ประโยชน์ของถั่วเหลืองถั่วเหลือง

หัวใจโต ( Cardiomegaly ) ภาวะหัวใจใหญ่กว่าปกติ ทำให้ความดันโลหิตสูง แต่หัวใจสูบฉีดเลือดได้ไม่ดี อาการเหนื่อยง่าย หายใจเร็ว เวียนหัว อ่อนเพลีย เท้าบวม แน่นหน้าอกโรคหัวใจโต โรคหัวใจ ภาวะหัวใจโต

ภาวะหัวใจโต นั้นไม่ใช่โรค แต่เป็นสภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นจากที่เกิดจากการเกิดโรคของ หัวใจ ปอด และหลอดเลือด ซึ่งโดยแล้ว ภาวะหัวใจโต สามารถพบได้ 2 ลักษณะ คือ หัวใจโตจากผนังห้องหัวใจหนาผิดปกติ (Hypertrophy) และ ห้องของหัวใจมีการขยายผิดปกติ (Dilatation)

หัวใจโต พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ แต่พบได้สูงขึ้นในผู้สูงอายุจากการเสื่อมของเซลล์ต่างๆของหัวใจตามธรรมชาติ และโอกาสเกิดหัวใจโต ใกล้เคียงกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย จากสถิติการเกิดโรคหัวใจโต นั้นพบว่าในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ บ่อยๆ เป็นประจำ จะมีภาวะหัวใจโต

โรคหัวใจโต ไม่ใช้โรคติดต่อ แต่ความร้ายแรงของโรคสามารถทำให้เสีชีวิตได้ โรคนี้มักเกิดกับคนที่มีความดันโลหิตสูง ซึ่งทำให้หัวใจทำงานหนัก โรคหัวใจโต คือ โรคที่ขนาดของหัวใจที่โตกว่าปกติ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ

  1. หัวใจโตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ การที่กล้ามเนื้อหัวใจใหญ่ขึ้น เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนัก บีบตัวมากขึ้น ลักษณะนี้ ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคลิ้นหัวใจตีบ ได้
  2. หัวใจโตจากกล้ามเนื้อหัวใจทำงานไม่ดี ทำให้มีเลือดคั่งหัวใจ ทำให้เหมือนลูกโป่ง

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจโต

มีปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจโต ประกอบด้วย

  • อายุที่สูงขึ้น
  • การสูบบุหรี่
  • ภาวะอ้วน
  • การดื่มสุรา
  • ความผิดปกติของการเผาผลาญและการใช้พลังงานของร่างกาย มักเกิดจากการเป็นโรคแทรกซ้อนของโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และ โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับคนมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดหัวใจ มีโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคสูงกว่าปรกติ

สาเหตุของโรคหัวใจโต

เราสามารถแยกสาเหตุที่ทำให้หัวใจโตได้ ดังนี้

  1. โรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากการทำมีการสูบฉีดเลือดมาจะทำให้หัวใจทำงานหนัก ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจโต
  2. โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือโรคลิ้นหัวใจตีบ หรืออาการอักเสบติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ
  3. ความผิดปรกติของกล้ามเนื้อหัวใจ(Cardiomyopathy) เช่น การดื่มสุรามาก ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย
  4. ความผิดปรกติ จากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่น ผนังหัวใจรั่ว เป็นต้น
  5. โรคหัวใจเต้นผิดปกติ สามารถทำให้หัวใจโตได้
  6. ความดันปอดสูง เป็นสาเหตุทำให้หัวใจโตได้
  7. โรคไทรอยด์ ซึ่งโรคนี้ทำให้หัวใจทำงานหนัก เป็นสาเหตุของหัวใจโต
  8. การสะสมธาตุเหล็กในร่างกายมากเกินไป ทำให้เกิดโรค Hemochromatosis
  9. เกิดจากความผิดปรกติของโปรตีนในกล้ามเนื้อหัวใจ เรียกว่า Amyloidosis

อาการของโรคหัวใจโต

ผู้ป่วยมักไม่ค่อยเห็นอาการผิดปรกติมาก เพราะผู้ป่วย ยังมีหัวใจที่ทำงานปรกติ แต่สามารถสังเกตุอาการ ต่างๆ ได้ เช่น เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว มีอาการเวียนหัว อ่อนเพลียง่าย มีใจสั่น เท้าบวม ไอตอนนอน และจะแน่นหน้าอกตอนนอนราบ สามารถแยกอาการให้ชั้ดเจนมากขึ้น เป็นข้อๆ มีดังนี้

  • เหนื่อยง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะเมื่อต้องออกแรง
  • วิงเวียน คล้ายเป็นลม ง่าย
  • หัวใจเต้นผิดปกติ อาจ เบา เร็ว ช้า หรือ ไม่สม่ำเสมอ
  • อาจมีอาการไอผิดปกติโดยไม่รู้สาเหตุ
  • หายใจลำบาก
  • อาจบวม เท้า แขน ขา ใบหน้า
  • อาจเจ็บหน้าอก
  • อาจนอนราบไม่ได้ นอนราบแล้วจะหายใจลำบาก

เราสามารถการตรวจโรคหัวใจโตได้หลายวิธี มีดังนี้

  1. การทำเอ็กซ์เรย์ปอดและหัวใจ
  2. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูความผิดปรกติของการเต้นของหัวใจ
  3. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจ การบีบตัวของหัวใจ และการทำงานของลิ้นหัวใจ
  4. การตรวจแสกนMRI
  5. เจาะเลือดตรวจ

การรักษาโรคหัวใจโต

สามารถทำได้ โดยการใช้ยารักษา และการผ่าตัด

  1. การให้ยารักษาใช้ยาจำพวก ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดัน เพื่อป้องกันหัวใจวาย
  2. การผ่าตัด จำเป็นต้องตรวจดูความผิดปรกติที่ชัดเจน เช่น การผ่าตัดในกรณีมีความผิดปรกติที่ลิ้นหัวใจ หรือในกรณีที่หนักมาก จำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ

การป้องกันการเกิดโรคหัวใจโต

สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ที่ทำให้ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง และระดบน้ำตาลในเลือดสูง เช่น เลิกการสูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนัก ปรับการรับประทานอาหารโดยรับประทานอาหารรสจืด ลดการบริโภคน้ำตาล ควบคุมความดันดลหิต ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ

สมุนไพรลดความดันโลหิต ความดันโลหิตสูงเป็นสามเหตุของโรคหัวใจโต เราจึงแนะนำสมุนไพรที่สรรพคุณช่วยในเรื่องลดความดันโลหิต มี ดังนี้

ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง
มะกอก สรรพคุณของมะกอก น้ำมันมะกอก โทษของมะกอกมะกอก ทองพันชั่ง สมุนไพร พืชท้องถิ่น สรรพคุณของทองพันชั่งทองพันชั่ง
ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลาตรีผลา ต้นพลูคาว พลูคาว สรรพคุณของพลูคาว ประโยชน์ของพลูคาวพลูคาว

โรคหัวใจโต ( Cardiomegaly ) คือ ภาวะหัวใจใหญ่กว่าปกติ สาเหตุของหัวใจโต มีหลากหลายสาเหตุ ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจสูบฉีดเลือดได้ไม่ดี เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว เวียนหัว อ่อนเพลีย ใจสั่น เท้าบวม ไอตอนนอน แน่นหน้าอก ทำให้หัวใจล้มเหลวได้ การรักษาและป้องกันโรคหัวใจโตำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove