บาดทะยัก Tetanus ภาวะติดเชื้อบาดทะยัก Clostridium tetani อาการชักแข็ง หลังแอ่น ทำให้กล้ามเนื้อ หดเกร็งตลอดเวลา เชื้อโรคจะอยู่ในดิน สนิมตามมีด เข็ม หรือ ตะปู

บาดทะยัก โรคติดเชื้อ แผลจากสนิม

โรคบาดทะยัก เป็นโรคติดต่อ เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เกิดและพบได้ทุกที่ทั่วโลก เกิดได้กับคน ในทุกเพศและทุกวัย การตัดสายสะดือ ในเด็กทารกแรกเกิด หากไม่รักษาความสะอาด ก็สามารถทำให้เกิด บาดทะยัก ได้ สาเหตุหนึ่งของการตาย  สูงในหลายประเทศ อาทิเช่น ประเทศในแถบเอเชีย อาฟริกา อเมริกาใต้ โดยเฉพาะประเทศกลุ่มด้อยการพัฒนา

บาดทะยักในทารกแรกเกิดอาการมักจะเริ่มเมื่อทารกอายุประมาณ 3-10 วัน อาการแรกที่จะสังเกตได้คือ เด็กดูดนมลำบาก หรือไม่ค่อยดูดนม ทั้งนี้เพราะมีขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ บาดทะยัก เป็นโรคที่เกิดจากตัวเชื้อโรคบาดทะยัก เข้าสู่แผล ทำให้มีอาการกระตุกและชักแข็ง หลังแอ่น โดยมากสามารถทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุของการเกิดบาดทะยัก

เกิดจากเชื่อโรคบาดทะยัก ซึ่งพบว่าเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายโดยทาง ตะปู เข็ม หรือกิ่งไม้ ตำร่างกาย หรือแผลไฟไหม้ แผลกดทับ สัตว์กัด(สุนัข แมว ค้างควา หนู) แผลเรื้อรัง แผลเบาหวาน ฟันผุ หูชั้นกลางอักเสบ  ซึ่งเชื้อบาดทะยักนั้นสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง คือ

  • ผ่านทางแผลสด โดยส่วนใหญ่จะเป็นแผลขนาดเล็กๆแต่ลึก เช่น แผลจากตะปู หรือเศษไม้ตำ แผลอื่นๆ เช่น แผลถูกสัตว์กัด แผลถลอก แผลฉีกขาด แผลถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือแม้แต่แผลผ่าตัดก็พบได้ ถ้าระบบปลอดเชื้อของห้องผ่าตัดไม่มาตรฐาน หรือการดูแลแผลผ่าตัดที่ไม่สะอาด รวมทั้งแผลจากการถอนฟัน รักษารากฟัน ก็มีโอกาสติดเชื้อนี้ได้เช่นกัน
  • ผ่านทางแผลเรื้อรัง เช่นแผลเบาหวาน และแผลเป็นฝี
  • ผ่านทางการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน พบในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด หรือการสักลาย (Tattoo)
  • ผ่านทางสายสะดือในเด็กแรกคลอด เกิดจากมารดาที่ไม่เคยฉีดวัคซีนบาดทะยัก และการใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาดตัดสายสะดือเด็ก
  • จากการเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ
  • มีบางกรณีที่ไม่พบสาเหตุว่า เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางไหน

อาการของโรคบาดทะยัก

สำหรับผู้ที่ติดเชื้อบาทยักนั้น พบว่าจะมีอาการเกร็งที่เนื้อรอบแผล หลังจากนั้นผู้ป่วยจะเกร็งอ้าปากไม่ได้ กลืนน้ำลายไม่ได้ คอและหลังมีการเกร็ง ปวดตามตัว หายใจลำบาก และอาจจะเสียชีวิตในที่สุด

ซึ่งสำหรับระยะการเกิดโรคนั้น ระยะฟักตัวของโรค จะอยู่ที่ประมาณ 4 ถึง 21 วัน แต่โดยส่วนมาก 10 วัน โดยขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม และตำแหน่งของแผล และเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ส่วนระยะติดต่อ เชื้อบาดทะยักจะไม่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปสู่บุคคลหนึ่งโดยตรง  โรคบาดทะยักมักจะเกิดกับกล้ามเนื้อลายและเส้นประสาท ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่เราสั่งได้

ผู้ป่วยจะเกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบแผล หลังจากนั้นภายใน 1 สัปดาห์ จะเกิดอาการเกร็งตัวที่กล้ามเนื้อ ทำให้อ้าปากไม่ได้ กลืนน้ำลายลำบาก คอและหลังมีอาการเกร็ง มีอาการปวดทั่วร่างกาย ทำให้หายใจลำบาก และอาจจะเสียชีวิตด้วยภาวะหายล้มเหลว อาการที่สำคัญของโรคบาดทะยักนั้น มีดังนี้

  • ปวดหัว
  • ปวดบริเวณกราม
  • เกรงตามกล้ามเนื้อ
  • ปวดตัว
  • กลืนน้ำลายไม่ได้
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • มีไข้สุงและเหงื่อออก
  • หัวใจเต้นเร็วและความดันโลหิตสูงขึ้น

การรักษาโรคบาดทะยัก

ผู้ป่วยต้องรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ ชื่อ penicillin ให้ยาคลายกล้ามเนื้อ ฉีดวัคซีน Toxoid และทำความสะอาดแผลไม่ให้ติดเชื้ออีก ผู้ป่วยที่เริ่มแสดงอาการของโรคบาดทะยักแล้ว โดยทั่วไปจำเป็นจะต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลในห้องไอซียูเพื่อให้แพทย์เฝ้าดูอย่างใกล้ชิด และอาจได้รับการรักษาต่อไปนี้

  • ให้ยา Tetanus Immunoglobulin และยาปฏิชีวนะ
  • นำเอาเนื้อเยื่อแผลที่ตายแล้วหรือสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่นและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกจากบาดแผล
  • ให้ยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยและชักกระตุกของกล้ามเนื้อ เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อและยาระงับประสาท
  • ผู้ป่วยอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหากมีอาการหายใจลำบาก
  • ส่วนบางรายที่รับประทานอาหารไม่ได้จะต้องใช้หลอดให้อาหารเชื่อมต่อไปยังท้องหรือการหยดสารอาหารเข้าเส้นเลือด

ส่วนใหญ่อาการของโรคบาดทะยักที่ได้รับการรักษาจะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น แม้ว่าจะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน ๆ แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่เสียชีวิตจากโรคบาดทะยักได้เช่นกัน

การป้องกันการเกิดโรคบาดทะยัก

แนวทางการป้องกันการเกิดโรคบาดทะยัก สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

  • ในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงในการทำงานใกล้กับสิ่งที่เป็นต้นเหตุของการเกิดบาดทะยัก เช่น คนที่คลุกคลีต่อของที่มีสนิม ของสกปรก มีโอกาสได้รับการบาดเจ็บ ควรฉีดยาป้องกันโรคบาดทะยัก ป้องกันเอาไว้
  • ในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ ควรซีนวัคซีนป้องกันบาดทะยักตามคำสั่งของแพทย์
  • ให้ทำความสะอาดแผลให้สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • หมั่นรักษาความสะอาดของสิ่งแวดล้อมให้สะอาดเสมอ

โรคบาดทะยัก ( Tetanus ) คือ โรคติดเชื้อบาดทะยัก Clostridium tetani อาการโรคบาดทะยัก ชักแข็ง หลังแอ่น ทำให้กล้ามเนื้อ หดเกร็ง ตลอดเวลา โรคนี้อันตรายถึงชีวิต เชื้อโรคจะอยู่ในดิน ในฝุ่น ที่ติดอยู่ใน มีด เข็ม หรือ ตะปู

เนื้องอกในสมอง เนื้อเยื่อผิดปรกติที่สมอง ทำให้เกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ชัก มีปัญหาการพูดและการฟัง รวมถึงการมองเห็น กลายเป็นมะเร็งสมองได้โรคเนื้องอกในสมอง เนื้องอกในสมอง โรคสมอง โรคระบบประสาทและสมอง

ชนิดของเนื้องอกที่สมอง

สำหรับการแบ่งชนิดของเนื้องอกที่สมองนั้น สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ เนื้องอกที่เป็นเนื้อธรรมดา และ เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย ดดยรายละเอียดของเนื้องอก แต่ละประเภทมีรายละเอียด ดังนี้

  • เนื้องอกในสมองที่เป็นเนื้อธรรมดา ( Benign Brain Tumors ) ซึ่งเนื้องอกชนิดนี้ ไม่อันตรายและเจริญเติบโตช้า สามารถรักษาให้หายขาดได้
  • เนื้องอกในสมองที่เป็นเนื้อร้าย ( Malignant Brain Tumors ) ซึ่งเนื้องอกชนิดนี้ มีอันตรายเจริญเติบโตแบบผิดปกติ เป็น เซลล์มะเร็ง และจะลามเข้าสู่สมอง ไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตได้

สาเหตุของการเกิดเนื้องอกในสมอง

สำหรับการเกิดเนื้องอกที่สมองนั้น เราสามารถแยกสาเหตุของโรคได้ 2 สาเหตุ แยกตามชนิดของเนื้องอก คือ สาเหตุของเนื้องอกในสมองแบบธรรมดา และ สาเหตุของเนื้องอกในสมองแบบเนื้อร้าย โยรายละเอียดของการเกิดเนื้องอกในสมอง มีดังนี้

  • สาเหตุการเกิดเนื้องอกในสมองแบบเนื้อธรรมดา พบว่าเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เซลล์มีการแบ่งตัวและเจริญเติบโตแบบผิดปกติ
  • สาเหตุการเกิดเนื้องอกในสมองแบบเนื้อร้าย เกิดจากเซลล์มะเร็งก่อที่สมอง โดยเซลล์มะเร็งจากอวัยวะอื่นลามเข้าสู่สมอง ทางกระแสเลือด จนเกิดเนื้อร้าย โดยเนื้อร้ายจะเจริญเติบโตได้เร็ว และเป็นอันตรายต่อร่างกาย

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง มี 4 ระยะ เหมือนกับการเกิดมะเร็ง ซึ่งในการดูแลผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง จะไม่แบ่งระยะของมะเร็ง แต่จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่สามารถผ่าตัดรักษาได้ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่ไม่สามารถผ่าตัดรักษาได้ และ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่รักษาแล้วลับมาเป็นซ้ำ

อาการของผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมอง

เมื่อเกิดเนื้อร้ายขึ้นที่สมองนั้น จะแสดงอาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทและสมอง โดยลักษณะอาการของโรคเนื้องอกในสมอง เป็นอาการที่แสดงออกอย่างรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยได้รับความทรมาน โดยสามารถสรุปอาการของโรคได้ดังนี้

  • ปวดอย่างรุนแรง และ เพิ่มความปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการง่วงซึม
  • ประสิทธิภาพในการพูดลดลง พูดจาติดขัด
  • ประสิทธิภาพการฟังลดลง ไม่ได้ยินเสียง
  • ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง มองเห็นเป็นภาพเบลอๆ หรือ มองเห็นภาพซ้อน
  • มีอาการสับสน มึนงง
  • ความจำไม่ดี
  • ประสิทธิภาพการทรงตัวลดลง
  • มีอาการชัก
  • แขนขาอ่อนแรง
  • อัมพาตครึ่งซีก

อาการต่างๆเหล่านี้ บ่งบอกถึงความผิดปรกติของการทำงานของสมองที่เชื่อมต่อกับระบบประสาท หากว่ามีอาการลักษณะดังกล่าว มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเนื้องอกในสมองได้

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกในสมอง

ปัจจัยต่างๆที่ทำให้มีโอกาสเกิดเนื้องอกในสมองนั้น มีหลายปัจจัย สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • พันธุกรรม ในกรณีที่คนในครอบครัวมีประวัติการเกิดเนื้องอกในสมอง พบว่าคนในครอบครัวเดียวกันมีโอกาสการเกิดเนื้องอกในสมอง สูงกว่าคนในครอบครัวที่ไม่มีประวัติ
  • การได้รับรังสีอันตรายเป็นเวลานาน เช่น รังสีจากไมโครเวฟ คลื่นโทรศัพท์ รังสีจากการฉายแสงรักษามะเร็ง รังสีจากระเบิดปรมาณู แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานใดเชื่อมโยงว่ารังสีเหล่านี้ แต่การได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย นั้นเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกในสมองได้
  • อายุ ซึ่งจากสถิติการเกิดโรคเนื้องอกในสมอง พบว่าเกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัย แต่อัตราการเกิดโรคของผู้ใหญ่มีสูงกว่าเด็ก

การวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง

เมื่อพบว่าระบบการทำงานของร่างกายผิดปรกติ ลักษณะคล้ายกับโรคเนื้องอกในสมอง นั้นแพทย์จะทำการวินิจฉัย โดยการซักประวัติ และ อาการโดยเบื้องต้น จากนั้นต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยมีวิธีการตรวจร่างกาย ดังนี้

  • การทำการเอกซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI ) หรือ การทำตรวจเอกซเรย์สมองทางคอมพิวเตอร์ (CT scan) จะทำให้แพทย์เห็นภาพเกี่ยวกับความผิดปรกติของสมองอย่างชัดเจน
  • การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อตรวจให้ชัดเจนว่าเนื้องอกเป็นเนื้องอกชนิดใด
  • การตรวจเลือด เพื่อประเมินสภาพร่างกายโดยทั่วไปของผู้ป่วย
  • ตรวจเอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องอก ปอด และ การแพร่กระจายของโรคมะเร็งสู่ปอด

วิธีรักษาเนื้องอกในสมอง

การรักษาโรคเนื้องอกในสมอง นั้น มีความแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้องอก แบะ สภาพร่างกายของผู้ป่วย  โดยแนวทางการรักษาเนื้องอกในสมอง มีอยู่ 3 วิธีหลัก คือ การผ่าตัด การฉายรังสี การให้ยาเคมีบำบัด และการให้ยารักษาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ

  • การผ่าตัดเพื่อรักษาเนื้องอกในสมอง สามารถทำได้หากจุดที่เกิดเนื้องอกไม่กระทบต่อเนื้อเยื่อและเส้นประสาท ซึ่งการผ่าตันนั้แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกให้มากที่สุด
  • การฉายแสงเพื่อรักษาเนื้องอกในสมอง เป็นการใช้รังสีพลังงานสูง ทำลายเนื้องอกที่สมอง การฉายรังสีนั้นสามารถทำได้ทั้งวิธีการฉายรังสีจากภายนอก และ การฝังรังสี
  • การให้เคมีบำบัด เป็นการใช้ยาเพื่อทำบายเซลล์เนื้องอก โดยการให้เคมีบำบัดมีทั้งรูปแบบยากิน และ ยาฉีด ซึ่งการให้เคมีบำบัดนั้นต้องอยู่ในวินิจฉัยของแพทย์

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดเนื้องอกในสมอง

สิ่งที่ต้องระวังจากการเกิดโรคเนื้องอกในสมอง คือ ภาวะแทรกซ้อน ซึ่งภาวะแทรกซ้อนของโรคเนื้องอกในสมองมีความอันตรายถึงชีวิต โดยสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • การตกเลือดที่สมอง ณ จุดที่มีเนื้องอกอยู่
  • ภาวะการอุดตันของน้ำไขสันหลัง ทำให้โพรงสมองคั่งน้ำ
  • ภาวะสมองเคลื่อนตัวจากฐานกะโหลก ทำให้ความดันสมองเพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิต
  • อาการชัก เมื่อเนื้องอกในสมองขยายตัว หรือ สมองมีอาการบวม เสี่ยงต่อการเกิดลมชัก แพทย์จะให้ทานยาต้านอาการชัก

การป้องกันการเกิดเนื้องอกในสมอง

เนื่องจากในปัจจุบัน การศึกษาทางการแพทย์ยังไม่ทราบยืนยันสาเหตุของการเกิดโรคเนื้องอกในสมองได้ แต่ปัจจัยการเกิดโรค คือ พันธุกรรม การรับรังสีอันตราย และ อายุของผู้ป่วยและภูมิต้านทานต่อโรคของแต่ละคน ดังนั้น ในปัจจัยการเกิดโรคบางอย่างสามารถป้องกันได้ โดยสามารถสมุนปแนวทางการป้องกันการเกิดโรคเนื้องอกในสมอง ได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้รังสีอันตราย เป็นเวลานาน เช่น รังสีไมโครเวฟ รังสีปรมณู
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น ที่มีควันบุหรี่ สถานที่สกปรกไม่ถูกหลักอนามัย
  • หมั่นตรวจร่างกาย คัดกรองโรค เพื่อให้สามารถรักษาโรคได้ทันท่วงที
  • หากมีอาการผิดปรกติ ปวดหัวรุนแรง ให้พบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของโรค

โรคเนื้องอกในสมอง การเกิดเนื้อเยื่อผิดปรกติที่สมอง ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ปวดหัวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ชัก มีปัญหาการพูดและการฟัง รวมถึงการมองเห็น สามารถกลายเป็นมะเร็งสมองได้ หากไม่ได้รับการรักษา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove